เชียงใหม่ - ชนเผ่าลาหู่ภาคเหนือ จัดงานประเพณีกินวอ หรืองานเทศกาลปีใหม่ และร่วมไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
เมื่อไม่นานมานี้ ชนเผ่าลาหู่ ในภาคเหนือ ทั้งจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน กว่า 2 พันคน ได้ร่วมกันถวายความไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครรินทร์ บริเวณมูลนิธิรักษ์ชนบท บ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ด้วยในสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่าน ที่ทรงมีพระเมตตาต่อชนเผ่าลาหู่ ทั้งด้านการแพทย์ การศึกษา และส่งเสริมอาชีพมาโดยตลอด รวมทั้งยังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่ได้อาศัยผืนแผ่นดินไทย อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
ขณะเดียวกันนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นประธานเปิดงานเทศกาลปีใหม่หรือประเพณีกินวอ เพื่อสืบสานประเพณีของชนเผ่า โดยมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และขอขมาลาโทษ ที่ได้ล่วงเกินในปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังได้ทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ในการปลูกพืชผลทางการเกษตรตลอดจนมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงพระชนม์พรรษา 80 พรรษา
นายติณย์ ชัยสุริยา ประธานศูนย์ส่งเสริมและประสานงานองค์กรพัฒนาลาหู่ เผยว่า ชนเผ่าลาหู่อพยพมาจากประเทศจีน อาศัยกระจัดกระจาย ตามพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบันมีมากมีมากกว่า 7 กลุ่ม รวมกว่า 1 แสนคน
เมื่อไม่นานมานี้ ชนเผ่าลาหู่ ในภาคเหนือ ทั้งจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน กว่า 2 พันคน ได้ร่วมกันถวายความไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครรินทร์ บริเวณมูลนิธิรักษ์ชนบท บ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ด้วยในสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่าน ที่ทรงมีพระเมตตาต่อชนเผ่าลาหู่ ทั้งด้านการแพทย์ การศึกษา และส่งเสริมอาชีพมาโดยตลอด รวมทั้งยังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ต่อพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่ได้อาศัยผืนแผ่นดินไทย อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
ขณะเดียวกันนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นประธานเปิดงานเทศกาลปีใหม่หรือประเพณีกินวอ เพื่อสืบสานประเพณีของชนเผ่า โดยมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และขอขมาลาโทษ ที่ได้ล่วงเกินในปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังได้ทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ในการปลูกพืชผลทางการเกษตรตลอดจนมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงพระชนม์พรรษา 80 พรรษา
นายติณย์ ชัยสุริยา ประธานศูนย์ส่งเสริมและประสานงานองค์กรพัฒนาลาหู่ เผยว่า ชนเผ่าลาหู่อพยพมาจากประเทศจีน อาศัยกระจัดกระจาย ตามพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบันมีมากมีมากกว่า 7 กลุ่ม รวมกว่า 1 แสนคน