นครปฐม – ผู้ว่าฯ นครปฐมเปิดงาน “มหกรรมรวมพลคนพอเพียง” ตามนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมจัดให้มีการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับจังหวัด และคัดเลือกครอบครัว-บุคคลที่ดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นปี 50 ด้วย
วันนี้ (17 ก.ย.) นายปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมรวมพลคนพอเพียง” ตามที่จังหวัดได้กำหนดนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 ประการ คือ ประการแรกการสร้างพื้นฐานความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ตรงกัน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 4 ฐาน
ฐานที่ 1 การเรียนรู้ตนเอง เพื่อให้ชาวบ้านวิเคราะห์ด้วยตนเอง ค้นหาสาเหตุความยากจน และส่งเสริมให้จัดทำบัญชีครอบครัว ฐานที่ 2 การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและประโยชน์ที่ได้รับ เน้นการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ฐานที่ 3 การเรียนรู้สถาบันการเงินและแหล่งทุน เป็นฐานที่สนับสนุนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย ฐานที่ 4 การเรียนรู้กระบวนการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เพื่อจัดประกายความคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำแผนชีวิตของตนเอง และร่วมจัดทำแผนชุมชน
ส่วนประการที่ส 2 ค้นหาต้นแบบและจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นตัวอย่างและขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นๆ สำหรับประการที่สาม บูรณาการพัฒนา พื้นที่ ภารกิจ และบุคลากรทุกภาคส่วนเป็น “ทีมตำบล” ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการและข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบล ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น โดยใช้งบประมาณแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วนรวม 12 หน่วยงาน 201 โครงการเป็นเงินทั้งสิ้น 22,352,147 บาท
นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังได้จัดให้มีการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับจังหวัด และคัดเลือกครอบครัว บุคคลที่ดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ปี 2550 พร้อมมอบโล่และเกียรติบัตรด้วย
สำหรับรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ได้แก่ บ้านรางอีเม้ย หมู่ 7 ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ บ้านกงลาด หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม และบ้านพาดหมอน หมู่ที่ 6 ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
วันนี้ (17 ก.ย.) นายปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมรวมพลคนพอเพียง” ตามที่จังหวัดได้กำหนดนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้ 3 ประการ คือ ประการแรกการสร้างพื้นฐานความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ตรงกัน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 4 ฐาน
ฐานที่ 1 การเรียนรู้ตนเอง เพื่อให้ชาวบ้านวิเคราะห์ด้วยตนเอง ค้นหาสาเหตุความยากจน และส่งเสริมให้จัดทำบัญชีครอบครัว ฐานที่ 2 การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและประโยชน์ที่ได้รับ เน้นการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ฐานที่ 3 การเรียนรู้สถาบันการเงินและแหล่งทุน เป็นฐานที่สนับสนุนการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย ฐานที่ 4 การเรียนรู้กระบวนการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เพื่อจัดประกายความคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดทำแผนชีวิตของตนเอง และร่วมจัดทำแผนชุมชน
ส่วนประการที่ส 2 ค้นหาต้นแบบและจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นตัวอย่างและขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นๆ สำหรับประการที่สาม บูรณาการพัฒนา พื้นที่ ภารกิจ และบุคลากรทุกภาคส่วนเป็น “ทีมตำบล” ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการและข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบล ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น โดยใช้งบประมาณแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วนรวม 12 หน่วยงาน 201 โครงการเป็นเงินทั้งสิ้น 22,352,147 บาท
นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังได้จัดให้มีการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับจังหวัด และคัดเลือกครอบครัว บุคคลที่ดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ปี 2550 พร้อมมอบโล่และเกียรติบัตรด้วย
สำหรับรางวัลชนะเลิศหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ได้แก่ บ้านรางอีเม้ย หมู่ 7 ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ บ้านกงลาด หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม และบ้านพาดหมอน หมู่ที่ 6 ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม