แม่ฮ่องสอน – มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เดินหน้าศึกษาโครงการก่อสร้างระบบขนส่งด้วยสายพาน เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน กำหนดเสร็จตุลาคมปีนี้ ด้านจังหวัดดึงสภาพัฒน์-กระทรวงทรัพย์ร่วมเป็นที่ปรึกษาผลักดันโครงการ
นายดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างระบบขนส่งด้วยสายพาน (rope wire) เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ว่า จังหวัดได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าว และร่าง TOR กับบริษัท ปาย เคเบิ้ล ทรานสปอร์ต จำกัด ที่มี นายภูมิ สิระชาดาพงษ์ กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว
ในส่วนที่จังหวัดได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างระบบขนส่งด้วยสายพาน และคณะทำงาน 3 ด้าน อันประกอบไปด้วย 1.คณะทำงานเตรียมกิจกรรมรองรับ 2.คณะทำงานสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน และ 3.คณะทำงานติดตามและประเมินผล
ด้าน นายอริยะ คำนุ่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์บุคคล 7ว คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ โครงการ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เสนอของบประมาณในการศึกษาความเป็นไปได้โครงการดังกล่าว จำนวน 4 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้โครงการดังกล่าวตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 ถึงเดือนตุลาคม 2550
ตลอดเส้นทางจะมีสถานีจอดรับส่งผู้โดยสาร มีจำนวน 3 สถานี ประกอบไปด้วย อำเภอปาย,อำเภอปางมะผ้า, ปลายทางที่ตำบลปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน มีสถานีลูกรอกล้อสำหรับสวมสายพาน จำนวน 21 สถานี และมีสถานีมอเตอร์ จำนวน 16 สถานี
ในขณะเดียวกัน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังได้ขอความร่วมมือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นกรรมการที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวด้วย เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย
นายดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างระบบขนส่งด้วยสายพาน (rope wire) เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ว่า จังหวัดได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าว และร่าง TOR กับบริษัท ปาย เคเบิ้ล ทรานสปอร์ต จำกัด ที่มี นายภูมิ สิระชาดาพงษ์ กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว
ในส่วนที่จังหวัดได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างระบบขนส่งด้วยสายพาน และคณะทำงาน 3 ด้าน อันประกอบไปด้วย 1.คณะทำงานเตรียมกิจกรรมรองรับ 2.คณะทำงานสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน และ 3.คณะทำงานติดตามและประเมินผล
ด้าน นายอริยะ คำนุ่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์บุคคล 7ว คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ โครงการ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เสนอของบประมาณในการศึกษาความเป็นไปได้โครงการดังกล่าว จำนวน 4 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้โครงการดังกล่าวตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 ถึงเดือนตุลาคม 2550
ตลอดเส้นทางจะมีสถานีจอดรับส่งผู้โดยสาร มีจำนวน 3 สถานี ประกอบไปด้วย อำเภอปาย,อำเภอปางมะผ้า, ปลายทางที่ตำบลปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน มีสถานีลูกรอกล้อสำหรับสวมสายพาน จำนวน 21 สถานี และมีสถานีมอเตอร์ จำนวน 16 สถานี
ในขณะเดียวกัน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังได้ขอความร่วมมือสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นกรรมการที่ปรึกษาโครงการดังกล่าวด้วย เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย