นครปฐม - คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดนครปฐม จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเสียงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 คือ เห็นด้วยกับจำนวน ส.ว.160 คน แต่ไม่เห็นด้วยกับการสรรหา ส.ว.และเห็นด้วยกับจำนวน ส.ส.320 คน
นายสมบัติ แจ่มจันทร์เกษม ประธานคณะกรรมาธิการ ประจำจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยคณะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมี นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง รองประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคกลาง ร่วมชี้แจงความเคลื่อนไหวของสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้รับทราบ
โดยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ มีสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว 4 แนวทาง คือ การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม และการทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการแสดงความคิดเห็นของประชาชนชาวอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 200 คน ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ใน 6 ประเด็น ปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 คือ เห็นด้วยกับจำนวนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 160 คน แต่ไม่เห็นด้วยกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา และเห็นด้วยกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 320 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและจำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 4 เขตตามภูมิภาค มีจำนวนเท่ากันเขตละ 20 คน เห็นด้วยกับประเด็นการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีการกระจายอำนาจมากกว่าเดิม
แต่ขอให้มีเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล เพียงหมู่บ้านละ 1 คน จากเดิมมี 2 คน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ส่วนประเด็นการคานและลดดุลอำนาจใบแดงคณะกรรมการเลือกตั้ง เห็นด้วยร้อยละ 90 และประเด็นปัญหาการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เห็นด้วยร้อยละ 95
นายสมบัติ แจ่มจันทร์เกษม ประธานคณะกรรมาธิการ ประจำจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยคณะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมี นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง รองประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคกลาง ร่วมชี้แจงความเคลื่อนไหวของสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้รับทราบ
โดยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ มีสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว 4 แนวทาง คือ การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม และการทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการแสดงความคิดเห็นของประชาชนชาวอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 200 คน ต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ใน 6 ประเด็น ปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 คือ เห็นด้วยกับจำนวนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 160 คน แต่ไม่เห็นด้วยกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา และเห็นด้วยกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 320 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและจำนวน 80 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 4 เขตตามภูมิภาค มีจำนวนเท่ากันเขตละ 20 คน เห็นด้วยกับประเด็นการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีการกระจายอำนาจมากกว่าเดิม
แต่ขอให้มีเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล เพียงหมู่บ้านละ 1 คน จากเดิมมี 2 คน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ ส่วนประเด็นการคานและลดดุลอำนาจใบแดงคณะกรรมการเลือกตั้ง เห็นด้วยร้อยละ 90 และประเด็นปัญหาการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เห็นด้วยร้อยละ 95