ผู้จัดการออนไลน์ – กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จวก กพร. - กรมทรัพยากรธรณี เล่นเกมเตะถ่วงไม่ลงมือจัดทำยุทธศาสตร์การจัดการแร่โปแตชของประเทศในภาพรวมครอบคลุมทั้งการลงทุน บริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม อ้างเงื่อนไขพิลึกต้องให้ใบอนุญาติประทานบัตรแก่อิตัลไทยก่อนการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ต้องลงทุนสูง
นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ที่คัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ซึ่งเดินทางเข้าพบนายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เมื่อวานนี้ (15 พ.ค.) เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้เร่งผลักดันการศึกษายุทธศาสตร์การจัดการแร่โปแตชของประเทศ (Strategic Environmental Assessment ; SEA ) ก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีและโครงการเหมืองแร่โปแตชอื่นๆ ในภาคอีสาน ว่า
นายสุพจน์ รับปากจะดำเนินการนำเรื่องนี้ไปประสานกับหน่วยงานรับผิดชอบที่มีอำนาจตัดสินใจในส่วนกลาง เพราะที่ผ่านมา ปัญหานี้ผ่านผู้ว่าฯ มาแล้ว 3 คนปัญหายังวนเวียนไม่สามารถแก้ไขได้เพราะมีแต่การตั้งคณะกรรมการพูดคุยกันในระดับพื้นที่เท่านั้น
“ข้อเสนอของกลุ่มชาวบ้านที่เรียกร้องมา ตนจะรับดำเนินการให้” นายสุพจน์ บอกกล่าวกับตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ฯ ที่เข้าพบ
นายเลิศศักดิ์ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีเอกชนยื่นขอสำรวจและผลิตแร่โปแตชในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ จ.ชัยภูมิ จ.สกลนคร จ.อุดรธานี จ.นครราชสีมา จ.ขอนแก่น และ จ.มหาสารคาม ทั้งสิ้น 7 โครงการ รวมพื้นที่ ประมาณ 654,145 ไร่
อย่างไรก็ตาม การจัดการเกี่ยวกับแร่โปแตชในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหามาโดยตลอดในด้านการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสังคมและชุม โดยเฉพาะในพื้นที่จ.อุดรธานี ทางคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงมีมติเรื่องการบริหารจัดการโครงการเหมืองแร่โปแตช เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2549 และเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงฯ ได้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 และครม. มีมติ “รับทราบ” มติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ตามที่ ทส. เสนอ
ทั้งนี้ มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ระบุเรื่องการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีโครงการเหมืองแร่โปแตชว่า “ให้ศึกษาประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์( Strategic Environmental Assesment ; SEA ) เพื่อการบริหารจัดการการด้านสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาแหล่งแร่โปแตช ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้คณะอนุกรรมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่พิจารณา และระบุว่าควรเพิ่มประเด็นในการพิจารณาความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรแร่ ในกรอบยุทธศาสตร์การจัดการแร่โปแตชของประเทศไทย และในด้านสังคม การพัฒนาแหล่งแร่โปแตช จะต้องส่งเสริมให้ดำเนินการภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง”
นายเลิศศักดิ์ เปิดเผยต่อว่า ที่ผ่านมามีการประชุมหลายครั้งเกี่ยวกับการศึกษา SEA เหมืองแร่โปแตช แต่ไม่มีความคืบหน้าเพราะมีข้อติดขัดหลายประเด็น เช่น มีตัวแทนจากฝ่ายกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้เพราะการศึกษามีรายละเอียดมาก ทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านงบประมาณ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน เมษายน 2550 ที่ผ่านมาทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ก็ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นผู้ดำเนินการศึกษาประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์ หรือ SEA โครงการเหมืองแร่โปแตชทั้งหมดในอีสาน และขณะนี้ สผ. ได้เริ่มขบวนการปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยด้านเทคนิคอาจจะต้องใช้หลุมสำรวจที่มีอยู่เดิมประมาณ 200 หลุมในการศึกษาศักยภาพแหล่งแร่ และศึกษาให้เห็นชัดเจนว่ามีชุมชนอยู่ในเขตแหล่งแร่มากน้อยเพียงใด ขณะนี้เป็นเพียงการพูดคุยกันเบื้องต้นเท่านั้น
นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตนได้ทราบมาว่าการศึกษาประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์โครงการเหมืองแร่โปแตช ไม่มีความคืบหน้าแม้จะมีมติกรรมการสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นปี 2549 เนื่องจากกพร. ระบุว่าไม่สามารถจะดำเนินการได้เนื่องจากไม่มีงบประมาณและเทคโนโลยี จะเป็นไปได้ต้องให้บริษัทเอกชนเจ้าของโครงการเหมืองแร่โปแตช เป็นคนศึกษา โดยระบุเงื่อนไขว่าจะต้องอนุญาตประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ให้บริษัทอิตาเลียนไทยก่อน เพราะการศึกษาดังกล่าวต้องลงทุนสูง
“สะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมา กพร. กระทรวงอุตสาหกรรม มิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในขณะที่กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีกลับพบว่า กพร.เข้าข้างบริษัทเร่งรัดการรังวัดปักหมุดโดยไม่มีการประชุมทำความเข้าใจกับชาวบ้าน จนเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับชาวบ้าน 5 คน จากรณีการรังวัดปักหมุดที่ไม่ถูกขั้นตอน
ที่สำคัญการต่อรองว่าต้องให้ประทานบัตรแก่บริษัทอิตาเลียนไทยก่อน แล้วให้บริษัทเป็นผู้ประเมินเชิงยุทธศาสตร์ ตนไม่เข้าใจเลยว่ามีเบื้องหลังอะไรหรือไม่จึงแตะถ่วงขบวนการศึกษา SEA โดยยึดมั่นเพียงแนวทางส่งเสริมหรือพยายามอย่างที่สุดเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่บริษัทเอกชนเช่นนี้ การประเมินแบบใดก็ตาม จะไม่มีประโยชน์หากมีธงอยู่แล้วว่าจะอนุมัติโครงการ” ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา กล่าว
เขายังบอกอีกว่า หาก กพร.ยังไม่เปลี่ยนทิศทางยุทธศาตร์การพัฒนาเหมืองแร่เสียงใหม่ เพื่อประชาชนแล้ว การพัฒนาเหมืองแร่โปแตชไปพร้อมกัน ก็จะเป็นอัตรายกับสิ่งแวดล้อมและสังคมอีสาน หากมองว่าเกลือและแร่โปแตชเป็นแร่ยุทธศาสตร์ของชาติ เพราะมีอยู่มากในอีสาน ก็ต้องมุ่งพัฒนาเพื่อภาคเกษตรกรรม คิดยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกษตรกรพ้นจากบ่วงหนี้สิน คำนึงถึงประชาชนในชาติมากกว่าจะมาต่อรองให้บริษัทเอกชน
นายบุญมี ราชพลแสน รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า ชาวบ้านเห็นว่า ประเด็นยุทธศาสตร์การจัดการแร่โปแตช หรือ SEA ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้เคยมีมติเอาไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นเรื่องที่สำคัญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปปฏิบัติ เพราะแร่โปแตชมีการค้นพบอีกหลายจังหวัดในอีสาน ฉะนั้นการศึกษาจึงชี้ให้เห็นความจำเป็น ความคุ้มค่า ตลอดจนแนวทางการจัดการปัญหาในทุกๆ มิติ
นายบุญมี กล่าวต่อว่า หากมีการนำแร่โปแตชขึ้นมาใช้ แต่ในขณะที่ กพร.ก็รออนุมัติประทานบัตรเป็นรายโครงการ, บริษัทก็มุ่งจะรังวัด, ผู้ว่าฯ ก็จะตั้งคณะกรรมการ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงกรณีย่อยๆ เท่านั้น ดังนั้น กลุ่มอนุรักษ์ฯ จึงมายื่นขอให้ผู้ว่าฯ ช่วยผลักดัน นำเสนอขึ้นไป ชาวบ้านจะรอฟังคำตอบหากยังไม่มีความคืบหน้า ก็คงจะมีการเคลื่อนไหว เข้าไปหากพร.โดยตรง
นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เปิดเผยถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ที่คัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ซึ่งเดินทางเข้าพบนายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เมื่อวานนี้ (15 พ.ค.) เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้เร่งผลักดันการศึกษายุทธศาสตร์การจัดการแร่โปแตชของประเทศ (Strategic Environmental Assessment ; SEA ) ก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีและโครงการเหมืองแร่โปแตชอื่นๆ ในภาคอีสาน ว่า
นายสุพจน์ รับปากจะดำเนินการนำเรื่องนี้ไปประสานกับหน่วยงานรับผิดชอบที่มีอำนาจตัดสินใจในส่วนกลาง เพราะที่ผ่านมา ปัญหานี้ผ่านผู้ว่าฯ มาแล้ว 3 คนปัญหายังวนเวียนไม่สามารถแก้ไขได้เพราะมีแต่การตั้งคณะกรรมการพูดคุยกันในระดับพื้นที่เท่านั้น
“ข้อเสนอของกลุ่มชาวบ้านที่เรียกร้องมา ตนจะรับดำเนินการให้” นายสุพจน์ บอกกล่าวกับตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ฯ ที่เข้าพบ
นายเลิศศักดิ์ ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีเอกชนยื่นขอสำรวจและผลิตแร่โปแตชในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ จ.ชัยภูมิ จ.สกลนคร จ.อุดรธานี จ.นครราชสีมา จ.ขอนแก่น และ จ.มหาสารคาม ทั้งสิ้น 7 โครงการ รวมพื้นที่ ประมาณ 654,145 ไร่
อย่างไรก็ตาม การจัดการเกี่ยวกับแร่โปแตชในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหามาโดยตลอดในด้านการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสังคมและชุม โดยเฉพาะในพื้นที่จ.อุดรธานี ทางคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงมีมติเรื่องการบริหารจัดการโครงการเหมืองแร่โปแตช เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2549 และเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงฯ ได้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 และครม. มีมติ “รับทราบ” มติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ตามที่ ทส. เสนอ
ทั้งนี้ มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ระบุเรื่องการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีโครงการเหมืองแร่โปแตชว่า “ให้ศึกษาประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์( Strategic Environmental Assesment ; SEA ) เพื่อการบริหารจัดการการด้านสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาแหล่งแร่โปแตช ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้คณะอนุกรรมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่พิจารณา และระบุว่าควรเพิ่มประเด็นในการพิจารณาความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรแร่ ในกรอบยุทธศาสตร์การจัดการแร่โปแตชของประเทศไทย และในด้านสังคม การพัฒนาแหล่งแร่โปแตช จะต้องส่งเสริมให้ดำเนินการภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง”
นายเลิศศักดิ์ เปิดเผยต่อว่า ที่ผ่านมามีการประชุมหลายครั้งเกี่ยวกับการศึกษา SEA เหมืองแร่โปแตช แต่ไม่มีความคืบหน้าเพราะมีข้อติดขัดหลายประเด็น เช่น มีตัวแทนจากฝ่ายกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้เพราะการศึกษามีรายละเอียดมาก ทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านงบประมาณ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน เมษายน 2550 ที่ผ่านมาทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ก็ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นผู้ดำเนินการศึกษาประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์ หรือ SEA โครงการเหมืองแร่โปแตชทั้งหมดในอีสาน และขณะนี้ สผ. ได้เริ่มขบวนการปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยด้านเทคนิคอาจจะต้องใช้หลุมสำรวจที่มีอยู่เดิมประมาณ 200 หลุมในการศึกษาศักยภาพแหล่งแร่ และศึกษาให้เห็นชัดเจนว่ามีชุมชนอยู่ในเขตแหล่งแร่มากน้อยเพียงใด ขณะนี้เป็นเพียงการพูดคุยกันเบื้องต้นเท่านั้น
นายเลิศศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตนได้ทราบมาว่าการศึกษาประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์โครงการเหมืองแร่โปแตช ไม่มีความคืบหน้าแม้จะมีมติกรรมการสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นปี 2549 เนื่องจากกพร. ระบุว่าไม่สามารถจะดำเนินการได้เนื่องจากไม่มีงบประมาณและเทคโนโลยี จะเป็นไปได้ต้องให้บริษัทเอกชนเจ้าของโครงการเหมืองแร่โปแตช เป็นคนศึกษา โดยระบุเงื่อนไขว่าจะต้องอนุญาตประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ให้บริษัทอิตาเลียนไทยก่อน เพราะการศึกษาดังกล่าวต้องลงทุนสูง
“สะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมา กพร. กระทรวงอุตสาหกรรม มิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในขณะที่กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีกลับพบว่า กพร.เข้าข้างบริษัทเร่งรัดการรังวัดปักหมุดโดยไม่มีการประชุมทำความเข้าใจกับชาวบ้าน จนเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับชาวบ้าน 5 คน จากรณีการรังวัดปักหมุดที่ไม่ถูกขั้นตอน
ที่สำคัญการต่อรองว่าต้องให้ประทานบัตรแก่บริษัทอิตาเลียนไทยก่อน แล้วให้บริษัทเป็นผู้ประเมินเชิงยุทธศาสตร์ ตนไม่เข้าใจเลยว่ามีเบื้องหลังอะไรหรือไม่จึงแตะถ่วงขบวนการศึกษา SEA โดยยึดมั่นเพียงแนวทางส่งเสริมหรือพยายามอย่างที่สุดเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่บริษัทเอกชนเช่นนี้ การประเมินแบบใดก็ตาม จะไม่มีประโยชน์หากมีธงอยู่แล้วว่าจะอนุมัติโครงการ” ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา กล่าว
เขายังบอกอีกว่า หาก กพร.ยังไม่เปลี่ยนทิศทางยุทธศาตร์การพัฒนาเหมืองแร่เสียงใหม่ เพื่อประชาชนแล้ว การพัฒนาเหมืองแร่โปแตชไปพร้อมกัน ก็จะเป็นอัตรายกับสิ่งแวดล้อมและสังคมอีสาน หากมองว่าเกลือและแร่โปแตชเป็นแร่ยุทธศาสตร์ของชาติ เพราะมีอยู่มากในอีสาน ก็ต้องมุ่งพัฒนาเพื่อภาคเกษตรกรรม คิดยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งให้เกษตรกรพ้นจากบ่วงหนี้สิน คำนึงถึงประชาชนในชาติมากกว่าจะมาต่อรองให้บริษัทเอกชน
นายบุญมี ราชพลแสน รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า ชาวบ้านเห็นว่า ประเด็นยุทธศาสตร์การจัดการแร่โปแตช หรือ SEA ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้เคยมีมติเอาไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นเรื่องที่สำคัญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปปฏิบัติ เพราะแร่โปแตชมีการค้นพบอีกหลายจังหวัดในอีสาน ฉะนั้นการศึกษาจึงชี้ให้เห็นความจำเป็น ความคุ้มค่า ตลอดจนแนวทางการจัดการปัญหาในทุกๆ มิติ
นายบุญมี กล่าวต่อว่า หากมีการนำแร่โปแตชขึ้นมาใช้ แต่ในขณะที่ กพร.ก็รออนุมัติประทานบัตรเป็นรายโครงการ, บริษัทก็มุ่งจะรังวัด, ผู้ว่าฯ ก็จะตั้งคณะกรรมการ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงกรณีย่อยๆ เท่านั้น ดังนั้น กลุ่มอนุรักษ์ฯ จึงมายื่นขอให้ผู้ว่าฯ ช่วยผลักดัน นำเสนอขึ้นไป ชาวบ้านจะรอฟังคำตอบหากยังไม่มีความคืบหน้า ก็คงจะมีการเคลื่อนไหว เข้าไปหากพร.โดยตรง