ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ทันตแพทย์ ม.ขอนแก่น เผยปัญหาคนอีสานเป็นโรคในช่องปากกันจำนวนมาก โดยเฉพาะเด็กกว่า 90% ฟันผุเกือบหมดปาก ส่งผลกระทบด้านสุขภาพตามมา ขณะที่ทันตแพทย์ขาดแคลน ส่วนใหญ่อยู่ตามเมืองใหญ่เพราะเศรษฐกิจดีคนที่อยู่ชนบทหมดโอกาสใช้บริการ
นายอินทรพล หอวิจิตร คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า โรคในช่องปากนับวันจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของคนไทย โดยเฉพาะในเด็กและประชาชนตามชนบทที่ห่างไกล ขณะเดียวกันทันตแพทย์ก็ขาดแคลนอย่างมาก มีทันตแพทย์ที่จบจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศในแต่ละปีจำนวนน้อยมาก เช่น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถผลิตทันตแพทย์ในแต่ละปีประมาณ 50 คนเท่านั้น ขณะที่ภาพรวมทั่วประเทศ ก็สามารถผลิตได้เพียงปีละ 200 คน
นายอินทรพล เปิดเผยว่า จากปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ดังกล่าว รัฐบาลได้กำหนดให้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง เพิ่มจำนวนการผลิตทันตแพทย์เพิ่มขึ้น โดยจากเดิมที่ผลิตได้ทั่วประเทศปีละ 200 คน ให้เพิ่มอีก 200 คน รวมทั่วประเทศต้องผลิตให้ได้ปีละ 400 คน โดยเริ่มตั้งแต่ในปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถผลิตเพิ่มได้อีก 25 คน ทำให้ในช่วงต่อไป จะสามารถผลิตทันตแพทย์ได้ถึงปีละ 75 คน จากเดิมที่ผลิตได้เพียงปีละ 50 คน คาดว่าจะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ได้บ้างในบางส่วน
“แม้จะผลิตทันตแพทย์เพิ่มขึ้น แต่คงแก้ไขปัญหาได้บางส่วนเท่านั้น ปัญหาที่สำคัญเวลานี้ก็คือทันตแพทย์ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในกรุงเทพฯ หรือตามเมืองใหญ่ๆ ซึ่งมีกำลังทางเศรษฐกิจดี เพราะในพื้นที่ดังกล่าวนั้นจะมีผู้มาใช้บริการมาก ส่วนใหญ่เข้าใจปัญหาของโรคในช่องปาก มีความพร้อมทั้งเวลาและเศรษฐกิจ แต่ในเมืองเล็กๆ หรือในชนบท ซึ่งมีจำนวนประชาชนมากกว่ากลับมีจำนวนทันตแพทย์น้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยและคนมาใช้บริการก็น้อย" นายอินทรพล กล่าว และว่า
บางคนอาจขาดความเข้าใจ ยังไม่พร้อมทั้งด้านเศรษฐกิจและเวลา เพราะต้องทำมาหากิน บางคนไม่มีโอกาสไปพบทันตแพทย์ เวลาเกิดโรคในช่องปาก ทั้งฟันผุ หรือบริทันต์ ก็มักจะละเลย ทนได้ก็ทน รอจนกว่าจะทนไม่ไหวค่อยไปพบทันตแพทย์ ซึ่งช่วงนั้นก็รักษาได้ยากแล้ว เรื่องนี้ยังจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ต้องจัดระบบบริการในเชิงรุกเข้าหาประชาชนในพื้นที่ โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้แต่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ยังต้องดำเนินการในเรื่องนี้
นายอินทรพล เปิดเผยต่อว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 24 ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้บริการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ รวมทั้งการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพฟันและโรคในช่องปาก แก่เด็กเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั้ง 19 จังหวัดทั่วภาคอีสาน โดยจัดเป็นโครงการนิทรรศการฟันดีมีสุข จนถึงปัจจุบันนี้ มีหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ร่วมเป็นภาคีและเครือข่ายด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อสร้างจิตสำนึกและได้รับประสบการณ์จริงก่อนจบการศึกษาเป็นทันตแพทย์เต็มตัว
"จากประสบการณ์ตลอดระยะ 24 ปี ที่ดำเนินการ พบว่า ปัญหาโรคในช่องปากส่วนใหญ่มักจะอยู่ในเด็กและกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเด็ก มักมีปัญหาสำคัญคือโรคฟันผุ เนื่องจากพฤติกรรมการกิน ซึ่งเป็นทั้งเด็กในเมืองและในชนบท หากไม่รักษาก็จะมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆตามมา" นายอินทรพล กล่าว
นายอินทรพล เปิดเผยอีกว่า สำหรับโรคในช่องปาก จะมีโรคฟันผุ และโรคบริทันต์ เช่น เหงือกอักเสบหรือปัญหาของโรคในอวัยวะรอบฟัน ซึ่งจากการสำรวจในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เป็นโรคบริทันต์ ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินและขาดการดูแลสุขภาพในช่องปาก แต่ที่น่าสนใจคือในกลุ่มเด็ก
จากการสำรวจในพื้นที่ จ.ขอนแก่น พบว่าเด็กกว่าร้อยละ 94 มีปัญหาโรคในช่องปาก โดยเฉพาะโรคฟันผุ และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มักตามใจเด็ก โดยการให้ขนมหวานเป็นรางวัลล่อใจเมื่อไปโรงเรียนหรือทำความดี รวมทั้งสื่อโฆษณาต่างๆ
“เด็กมีฟันน้ำนม 27 ซี่ เฉลี่ยแต่ละคนจะผุไปแล้ว 7 ซี่ เรื่องนี้ถือว่าเป็นวาระที่สำคัญของชาติ เพราะส่งผลให้สูญเสียฟันน้ำนมค่อนข้างเร็ว ส่งผลต่อสุขภาพ ต่อปัญหาการเรียน ไม่ใช่เป็นแต่เชื้อโรคจากฟันผุอย่างเดียว ยังส่งผลต่อเชื้อโรคที่อยู่ภายในช่องปาก สิ่งที่กินเข้าไป มีปัญหาทั้งเชื้อโรคในช่องปากที่ลุกลามเข้าไป หรือปัญหาสุขภาพร่างกายที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน ปัญหาสื่อการโฆษณา ทำให้เด็กบริโภคสิ่งที่ผิด” นายอินทรพล กล่าวและว่า
รายการเด็กหรือการ์ตูนในทีวี โฆษณาส่วนใหญ่เป็นเรื่องขนม มีฮีโร่ของเด็กมาเป็นสื่อโฆษณา ผู้ปกครองก็ชอบตามใจเด็ก ให้ขนมหวานเป็นรางวัลล่อใจในการให้ไปโรงเรียนหรือทำความดี สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จึงควรหาทางป้องกัน โดยการร่วมมือกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
นายอินทรพล หอวิจิตร คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า โรคในช่องปากนับวันจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของคนไทย โดยเฉพาะในเด็กและประชาชนตามชนบทที่ห่างไกล ขณะเดียวกันทันตแพทย์ก็ขาดแคลนอย่างมาก มีทันตแพทย์ที่จบจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศในแต่ละปีจำนวนน้อยมาก เช่น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถผลิตทันตแพทย์ในแต่ละปีประมาณ 50 คนเท่านั้น ขณะที่ภาพรวมทั่วประเทศ ก็สามารถผลิตได้เพียงปีละ 200 คน
นายอินทรพล เปิดเผยว่า จากปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ดังกล่าว รัฐบาลได้กำหนดให้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง เพิ่มจำนวนการผลิตทันตแพทย์เพิ่มขึ้น โดยจากเดิมที่ผลิตได้ทั่วประเทศปีละ 200 คน ให้เพิ่มอีก 200 คน รวมทั่วประเทศต้องผลิตให้ได้ปีละ 400 คน โดยเริ่มตั้งแต่ในปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถผลิตเพิ่มได้อีก 25 คน ทำให้ในช่วงต่อไป จะสามารถผลิตทันตแพทย์ได้ถึงปีละ 75 คน จากเดิมที่ผลิตได้เพียงปีละ 50 คน คาดว่าจะบรรเทาปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ได้บ้างในบางส่วน
“แม้จะผลิตทันตแพทย์เพิ่มขึ้น แต่คงแก้ไขปัญหาได้บางส่วนเท่านั้น ปัญหาที่สำคัญเวลานี้ก็คือทันตแพทย์ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในกรุงเทพฯ หรือตามเมืองใหญ่ๆ ซึ่งมีกำลังทางเศรษฐกิจดี เพราะในพื้นที่ดังกล่าวนั้นจะมีผู้มาใช้บริการมาก ส่วนใหญ่เข้าใจปัญหาของโรคในช่องปาก มีความพร้อมทั้งเวลาและเศรษฐกิจ แต่ในเมืองเล็กๆ หรือในชนบท ซึ่งมีจำนวนประชาชนมากกว่ากลับมีจำนวนทันตแพทย์น้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยและคนมาใช้บริการก็น้อย" นายอินทรพล กล่าว และว่า
บางคนอาจขาดความเข้าใจ ยังไม่พร้อมทั้งด้านเศรษฐกิจและเวลา เพราะต้องทำมาหากิน บางคนไม่มีโอกาสไปพบทันตแพทย์ เวลาเกิดโรคในช่องปาก ทั้งฟันผุ หรือบริทันต์ ก็มักจะละเลย ทนได้ก็ทน รอจนกว่าจะทนไม่ไหวค่อยไปพบทันตแพทย์ ซึ่งช่วงนั้นก็รักษาได้ยากแล้ว เรื่องนี้ยังจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ต้องจัดระบบบริการในเชิงรุกเข้าหาประชาชนในพื้นที่ โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้แต่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ยังต้องดำเนินการในเรื่องนี้
นายอินทรพล เปิดเผยต่อว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 24 ปี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้บริการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ รวมทั้งการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพฟันและโรคในช่องปาก แก่เด็กเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั้ง 19 จังหวัดทั่วภาคอีสาน โดยจัดเป็นโครงการนิทรรศการฟันดีมีสุข จนถึงปัจจุบันนี้ มีหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ร่วมเป็นภาคีและเครือข่ายด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อสร้างจิตสำนึกและได้รับประสบการณ์จริงก่อนจบการศึกษาเป็นทันตแพทย์เต็มตัว
"จากประสบการณ์ตลอดระยะ 24 ปี ที่ดำเนินการ พบว่า ปัญหาโรคในช่องปากส่วนใหญ่มักจะอยู่ในเด็กและกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเด็ก มักมีปัญหาสำคัญคือโรคฟันผุ เนื่องจากพฤติกรรมการกิน ซึ่งเป็นทั้งเด็กในเมืองและในชนบท หากไม่รักษาก็จะมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆตามมา" นายอินทรพล กล่าว
นายอินทรพล เปิดเผยอีกว่า สำหรับโรคในช่องปาก จะมีโรคฟันผุ และโรคบริทันต์ เช่น เหงือกอักเสบหรือปัญหาของโรคในอวัยวะรอบฟัน ซึ่งจากการสำรวจในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เป็นโรคบริทันต์ ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการกินและขาดการดูแลสุขภาพในช่องปาก แต่ที่น่าสนใจคือในกลุ่มเด็ก
จากการสำรวจในพื้นที่ จ.ขอนแก่น พบว่าเด็กกว่าร้อยละ 94 มีปัญหาโรคในช่องปาก โดยเฉพาะโรคฟันผุ และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มักตามใจเด็ก โดยการให้ขนมหวานเป็นรางวัลล่อใจเมื่อไปโรงเรียนหรือทำความดี รวมทั้งสื่อโฆษณาต่างๆ
“เด็กมีฟันน้ำนม 27 ซี่ เฉลี่ยแต่ละคนจะผุไปแล้ว 7 ซี่ เรื่องนี้ถือว่าเป็นวาระที่สำคัญของชาติ เพราะส่งผลให้สูญเสียฟันน้ำนมค่อนข้างเร็ว ส่งผลต่อสุขภาพ ต่อปัญหาการเรียน ไม่ใช่เป็นแต่เชื้อโรคจากฟันผุอย่างเดียว ยังส่งผลต่อเชื้อโรคที่อยู่ภายในช่องปาก สิ่งที่กินเข้าไป มีปัญหาทั้งเชื้อโรคในช่องปากที่ลุกลามเข้าไป หรือปัญหาสุขภาพร่างกายที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน ปัญหาสื่อการโฆษณา ทำให้เด็กบริโภคสิ่งที่ผิด” นายอินทรพล กล่าวและว่า
รายการเด็กหรือการ์ตูนในทีวี โฆษณาส่วนใหญ่เป็นเรื่องขนม มีฮีโร่ของเด็กมาเป็นสื่อโฆษณา ผู้ปกครองก็ชอบตามใจเด็ก ให้ขนมหวานเป็นรางวัลล่อใจในการให้ไปโรงเรียนหรือทำความดี สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จึงควรหาทางป้องกัน โดยการร่วมมือกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง