ศูนย์ข่าวศรีราชา- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ร่วมกับสภาทนายความ ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด เพื่อยื่นถึงสำนักงานบังคับคดี เพื่อขอชะลอคดีการรื้อถอนรีสอร์ตตามคำพิพากษาของศาลไว้ก่อน
นางดุจหทัย นาวาพาณิช ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด เผยว่า วานนี้ (17 ส.ค.) กลุ่มผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ได้เดินทางเข้าพบกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและสภาทนายความแห่งประเทศไทย เพื่อขอความเป็นธรรมและขอความช่วยเหลือ กรณีที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับเสนอข่าวว่า มีคำสั่งศาลฎีกา พิพากษาให้ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดทั้งหมด 8 ราย
ประกอบด้วย 1.นางเติบ สังข์สุวรรณ กับ นายจเร สังข์สุวรรณ เจ้าของ “ไวท์แซนด์บังกะโล” บริเวณหาดทรายแก้ว 2.น.ส.จิตติกานต์ ตระกูลกาญจน์ “ซันแซนด์” หาดทรายแก้ว
3.นายสมศักดิ์ สุขกระจ่าง “พุทราบีช” บริเวณอ่าวพุทรา 4.นางเบียน ดิษฐ์เหม หรือ พึ่งกุศล “วันเดอร์แลนด์” บริเวณอ่าวช่อ 5.นายดำ ชลสวัสดิ์ กับ นายนพดล ชลสวัสดิ์ “ลุงดำฮัท” บริเวณอ่าวลุงดำ 6.นายทศพล พุฒซ้อน “นากะ” 7.นายพงศธร นาวาพานิช “วงเดือนวิลล่า” บริเวณอ่าววงเดือน 8.นายธูป เจริญผล “ซี ฮอร์ส บังกะโล” บริเวณอ่าววงเดือน
หลังจากที่ศาลตัดสินคดีแล้ว ผู้ประกอบการทั้งหมดจะต้องรอหมายบังคับคดี เมื่อผู้ประกอบการได้รับหมายบังคับคดี ทางผู้ประกอบการจะต้องย้ายออกจากที่ดิน ที่ครอบครองภายใน 8 วัน ส่วนรีสอร์ตและทรัพย์สินจะตกเป็นสมบัติของราชการ
นางดุจหทัย กล่าวต่อไปว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนพร้อมด้วยสภาทนายความแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันออกหนังสือรับรอง ให้แก่ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด ที่กำลังมีปัญหานำไปยื่นให้กับกรมบังคับคดี และสำเนายื่นให้กับสำนักงานบังคับคดี จังหวัดระยอง เพื่อขอชะลอคดีไว้ก่อน เนื่องจากชาวบ้านที่ถูกศาลตัดสินเป็นชาวบ้านที่อาศัยและทำกินมาก่อน ที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
ขณะนี้หนังสือดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและสภาทนายความ ได้ออกให้กับผู้ประกอบการเรียบร้อยแล้ว และชาวบ้านได้นำตัวจริงยื่นกับกรมบังคับคดี ในช่วงเช้าวันนี้ (18 ส.ค.) พร้อมถ่ายสำเนาหนังสือฉบับดังกล่าวไปยื่นที่สำนักงานบังคับคดี จังหวัดระยอง ผู้ว่าราชการจังหวัด ในวันช่วงบ่ายวันเดียวกันด้วย เพื่อขอให้ชะลอการรื้อถอน
นางดุจหทัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะถูกรื้อถอน 2 ราย คือ นางเติบ สังข์สุวรรณ กับ นายจเร สังข์สุวรรณ เจ้าของ “ไวท์แซนด์บังกะโล กับนายสมศักดิ์ สุขกระจ่าง “พุทราบีช” บริเวณอ่าวพุทรา ส่วนพื้นที่อื่นๆ นั้น ยังไม่ได้รับผลกระทบอะไรในช่วงนี้ ซึ่งอยู่ในระหว่างหนังรอหนังสือจากกองบังคับคดี
ด้านนายวสันต์ พานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า หลังจากที่ได้พิจารณาตรวจสอบ โดยให้ผู้ร้องข้อเท็จจริงด้วยลายลักษณ์อักษร และวาจา พร้อมทั้งเอกสารประกอบการพิจารณา และให้องค์การบริหารส่วนตำบลเพ ธนารักษ์พื้นที่ระยอง อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด และกองทัพเรือชี้แจงด้วยลายลักษณ์อักษรและวาจา
ในเบื้องต้นสรุปได้ว่า ราษฎรได้อยู่อาศัยในพื้นที่เกาะเสม็ด ก่อนการประกาศกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดินเขาแหลมเทียน เขาเปล็ด เขาแหลมหญ้า เกาะเสม็ด และเกาะใกล้เคียง ในพื้นที่ตำบลเพ เป็นอุทยานแห่งชาติ ปี 2524 ดังนั้น ราษฎรย่อมได้สิทธิในที่ดินดังกล่าว และที่ดินดังกล่าวไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุอีกด้วย เพราะที่ดินราชพัสดุบนเกาะเสม็ด มีเนื้อที่ประมาณ 2 งาน อันเป็นที่ตั้งของประภาคาร และที่พักเจ้าพนักงานผู้รักษาประภาคาร เท่านั้น
นางดุจหทัย นาวาพาณิช ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด เผยว่า วานนี้ (17 ส.ค.) กลุ่มผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ได้เดินทางเข้าพบกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและสภาทนายความแห่งประเทศไทย เพื่อขอความเป็นธรรมและขอความช่วยเหลือ กรณีที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับเสนอข่าวว่า มีคำสั่งศาลฎีกา พิพากษาให้ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดทั้งหมด 8 ราย
ประกอบด้วย 1.นางเติบ สังข์สุวรรณ กับ นายจเร สังข์สุวรรณ เจ้าของ “ไวท์แซนด์บังกะโล” บริเวณหาดทรายแก้ว 2.น.ส.จิตติกานต์ ตระกูลกาญจน์ “ซันแซนด์” หาดทรายแก้ว
3.นายสมศักดิ์ สุขกระจ่าง “พุทราบีช” บริเวณอ่าวพุทรา 4.นางเบียน ดิษฐ์เหม หรือ พึ่งกุศล “วันเดอร์แลนด์” บริเวณอ่าวช่อ 5.นายดำ ชลสวัสดิ์ กับ นายนพดล ชลสวัสดิ์ “ลุงดำฮัท” บริเวณอ่าวลุงดำ 6.นายทศพล พุฒซ้อน “นากะ” 7.นายพงศธร นาวาพานิช “วงเดือนวิลล่า” บริเวณอ่าววงเดือน 8.นายธูป เจริญผล “ซี ฮอร์ส บังกะโล” บริเวณอ่าววงเดือน
หลังจากที่ศาลตัดสินคดีแล้ว ผู้ประกอบการทั้งหมดจะต้องรอหมายบังคับคดี เมื่อผู้ประกอบการได้รับหมายบังคับคดี ทางผู้ประกอบการจะต้องย้ายออกจากที่ดิน ที่ครอบครองภายใน 8 วัน ส่วนรีสอร์ตและทรัพย์สินจะตกเป็นสมบัติของราชการ
นางดุจหทัย กล่าวต่อไปว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนพร้อมด้วยสภาทนายความแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันออกหนังสือรับรอง ให้แก่ผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ด ที่กำลังมีปัญหานำไปยื่นให้กับกรมบังคับคดี และสำเนายื่นให้กับสำนักงานบังคับคดี จังหวัดระยอง เพื่อขอชะลอคดีไว้ก่อน เนื่องจากชาวบ้านที่ถูกศาลตัดสินเป็นชาวบ้านที่อาศัยและทำกินมาก่อน ที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
ขณะนี้หนังสือดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและสภาทนายความ ได้ออกให้กับผู้ประกอบการเรียบร้อยแล้ว และชาวบ้านได้นำตัวจริงยื่นกับกรมบังคับคดี ในช่วงเช้าวันนี้ (18 ส.ค.) พร้อมถ่ายสำเนาหนังสือฉบับดังกล่าวไปยื่นที่สำนักงานบังคับคดี จังหวัดระยอง ผู้ว่าราชการจังหวัด ในวันช่วงบ่ายวันเดียวกันด้วย เพื่อขอให้ชะลอการรื้อถอน
นางดุจหทัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะถูกรื้อถอน 2 ราย คือ นางเติบ สังข์สุวรรณ กับ นายจเร สังข์สุวรรณ เจ้าของ “ไวท์แซนด์บังกะโล กับนายสมศักดิ์ สุขกระจ่าง “พุทราบีช” บริเวณอ่าวพุทรา ส่วนพื้นที่อื่นๆ นั้น ยังไม่ได้รับผลกระทบอะไรในช่วงนี้ ซึ่งอยู่ในระหว่างหนังรอหนังสือจากกองบังคับคดี
ด้านนายวสันต์ พานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการสิทธิในทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า หลังจากที่ได้พิจารณาตรวจสอบ โดยให้ผู้ร้องข้อเท็จจริงด้วยลายลักษณ์อักษร และวาจา พร้อมทั้งเอกสารประกอบการพิจารณา และให้องค์การบริหารส่วนตำบลเพ ธนารักษ์พื้นที่ระยอง อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด และกองทัพเรือชี้แจงด้วยลายลักษณ์อักษรและวาจา
ในเบื้องต้นสรุปได้ว่า ราษฎรได้อยู่อาศัยในพื้นที่เกาะเสม็ด ก่อนการประกาศกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดินเขาแหลมเทียน เขาเปล็ด เขาแหลมหญ้า เกาะเสม็ด และเกาะใกล้เคียง ในพื้นที่ตำบลเพ เป็นอุทยานแห่งชาติ ปี 2524 ดังนั้น ราษฎรย่อมได้สิทธิในที่ดินดังกล่าว และที่ดินดังกล่าวไม่ตกเป็นที่ราชพัสดุอีกด้วย เพราะที่ดินราชพัสดุบนเกาะเสม็ด มีเนื้อที่ประมาณ 2 งาน อันเป็นที่ตั้งของประภาคาร และที่พักเจ้าพนักงานผู้รักษาประภาคาร เท่านั้น