เชียงราย- ผู้ว่าการ กฟภ.ระดมสมอง ปรับสภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่เครือข่ายทั่วประเทศทั้ง 12 เขต ที่ จ.เชียงราย เผย การใช้ไฟฟ้าของประชาชน มีการเติบโตลดลงเหลือราว 5% เหตุประชาชนประหยัดขึ้น แต่อนาคตจะต้องหาพลังงานทดแทน เล็งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15 ปี ในการสร้าง
วันนี้ (24 ก.ค.) นายประเจิด สุขแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พร้อมด้วย นายเกียรติศักดิ์ เกียรติโชควิวัฒน์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ฝ่ายปฏิบัติการเครือข่าย จัดการประชุม สรุปผลการดำเนินงานของสายปฏิบัติการเครือข่ายทั่วประเทศ จำนวน 12 เขต ณ โรงแรมดุสิตไอร์แลนด์รีสอร์ท จ.เชียงราย โดยมี นายกิตติ สรรพอุดม ผู้จัดการการไฟฟ้า จ.เชียงราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมราว 150 คน
ภายในงานมีการนำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นโดยเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาแสดง เช่น เครื่องมือที่ใช้เปิด-ปิด เครื่องจ่ายไฟฟ้าระยะไกล สามารถใช้งานได้ดีในถิ่นทุรกันดาร หรือ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ และในงานยังมีการแสดงนิทรรศการฉลองสิริราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครองราชย์ครบ 60 ปี และมอบทุนการศึกษา ให้บุตรและธิดาของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า จ.เชียงราย ด้วย
นายประเจิด สุขแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการให้มีความพร้อมในการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้มีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างพอเพียงและต่อเนื่อง ไม่ให้มีปัญหากระแสไฟฟ้าตก หรือไฟฟ้าดับ โดยปัญหาที่พบว่ากระแสไฟฟ้าดับ ส่วนใหญ่มาจากปัญหาอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าล้มเท่านั้น ส่วนปัญหาทางเทคนิคไม่ค่อยพบ
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าราว 20,000 เมกะวัตต์ และขณะนี้แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าอาจเติบโตลดลงไปบ้าง เช่น จากเติบโตเพิ่มปีละ 7% ในปี 2548 แต่ปีนี้น่าจะเติบโตเหลือราว 5% เพราะการรณรงค์ประหยัดพลังงาน และมีการปรับค่าเอฟที (FT) หรือค่าบริการขึ้นไปแล้ว 10 สตางค์ ถึงเดือน ต.ค.2549 และรัฐบาลได้ให้นโยบายแล้ว ว่า จะยังไม่มีการปรับค่าไฟฟ้าขึ้นอีกไปจนถึง เดือน ก.พ.2550 หรือ 4 เดือน ต่อจากเดือน ต.ค.2549
แนวโน้มราคาค่าไฟฟ้าก็เกิดมาจากปัจจัยเรื่องการใช้ของประชาชน หากความต้องการมาก ราคาก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทย มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าครอบคลุมแล้ว 99.5% ยังมีอีกส่วนน้อย คือ 0.5% ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ สาเหตุเพราะอาจติดขัดที่ไม่สามารถปักเสาไฟฟ้า หรือพาดสายไฟฟ้าได้ เช่น อยู่ในเขตป่าไม้ เป็นต้น
แต่ก็มีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ ดังที่มีปรากฏ เช่น บางหมู่บ้านใน จ.เชียงราย มีการใช้โซลาร์เซลล์กันแล้ว และได้ผลดี ทางราชการมีการสนับสนุนเงินค่าติดตั้งราว 25,000 บาท ต่อหลังคาเรือน
ในอนาคต พลังงานไฟฟ้า และน้ำมัน จะเริ่มหายากขึ้น ดังนั้น จึงต้องหาทางที่จะหาพลังงานทดแทน เนื่องจากปัจจุบัน กระแสฟ้าที่ได้มาจากพลังงานงานก๊าซ, พลังงานถ่านหิน, พลังงานน้ำ และซื้อจากเพื่อนบ้าน เช่น เขื่อนน้ำงึม ส.ป.ป.ลาว ซึ่งต่อไปอาจจะต้องหาพลังงานทดแทนที่นานาประเทศใช้กัน อาทิ พลังงานจากปรมาณู หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งในประเทศที่เจริญ อย่างประเทศญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา มีการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ทำให้ได้ไฟฟ้าในราคาถูก และพอที่จะใช้ในการจ่ายให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังมีความวิตก เรื่องความปลอดภัยกันมาก ดังนั้น จึงต่องเร่งให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบ และมาตรฐานต่างๆ เพราะหากเริ่มคิดกันวันนี้อีกอย่างน้อย 15 ปี ถึงจะมีการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ จึงอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล
นอกจากนี้ ในส่วนการแปรรูป กฟภ.เป็นบริษัทมหาชน ขณะนี้ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้สั่งระงับ แต่ในส่วนของบริษัทในเครือ เช่น ในส่วนของการก่อสร้างและบำรุงรักษา ก็จะมีการดำเนินการตั้งบริษัทในเครือต่อไป เพื่อให้การบริการที่ประทับใจตลอดไป
วันนี้ (24 ก.ค.) นายประเจิด สุขแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พร้อมด้วย นายเกียรติศักดิ์ เกียรติโชควิวัฒน์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ฝ่ายปฏิบัติการเครือข่าย จัดการประชุม สรุปผลการดำเนินงานของสายปฏิบัติการเครือข่ายทั่วประเทศ จำนวน 12 เขต ณ โรงแรมดุสิตไอร์แลนด์รีสอร์ท จ.เชียงราย โดยมี นายกิตติ สรรพอุดม ผู้จัดการการไฟฟ้า จ.เชียงราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมราว 150 คน
ภายในงานมีการนำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ คิดค้นโดยเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาแสดง เช่น เครื่องมือที่ใช้เปิด-ปิด เครื่องจ่ายไฟฟ้าระยะไกล สามารถใช้งานได้ดีในถิ่นทุรกันดาร หรือ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ และในงานยังมีการแสดงนิทรรศการฉลองสิริราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครองราชย์ครบ 60 ปี และมอบทุนการศึกษา ให้บุตรและธิดาของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า จ.เชียงราย ด้วย
นายประเจิด สุขแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการให้มีความพร้อมในการบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้มีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างพอเพียงและต่อเนื่อง ไม่ให้มีปัญหากระแสไฟฟ้าตก หรือไฟฟ้าดับ โดยปัญหาที่พบว่ากระแสไฟฟ้าดับ ส่วนใหญ่มาจากปัญหาอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้าล้มเท่านั้น ส่วนปัญหาทางเทคนิคไม่ค่อยพบ
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าราว 20,000 เมกะวัตต์ และขณะนี้แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าอาจเติบโตลดลงไปบ้าง เช่น จากเติบโตเพิ่มปีละ 7% ในปี 2548 แต่ปีนี้น่าจะเติบโตเหลือราว 5% เพราะการรณรงค์ประหยัดพลังงาน และมีการปรับค่าเอฟที (FT) หรือค่าบริการขึ้นไปแล้ว 10 สตางค์ ถึงเดือน ต.ค.2549 และรัฐบาลได้ให้นโยบายแล้ว ว่า จะยังไม่มีการปรับค่าไฟฟ้าขึ้นอีกไปจนถึง เดือน ก.พ.2550 หรือ 4 เดือน ต่อจากเดือน ต.ค.2549
แนวโน้มราคาค่าไฟฟ้าก็เกิดมาจากปัจจัยเรื่องการใช้ของประชาชน หากความต้องการมาก ราคาก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศไทย มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าครอบคลุมแล้ว 99.5% ยังมีอีกส่วนน้อย คือ 0.5% ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ สาเหตุเพราะอาจติดขัดที่ไม่สามารถปักเสาไฟฟ้า หรือพาดสายไฟฟ้าได้ เช่น อยู่ในเขตป่าไม้ เป็นต้น
แต่ก็มีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ ดังที่มีปรากฏ เช่น บางหมู่บ้านใน จ.เชียงราย มีการใช้โซลาร์เซลล์กันแล้ว และได้ผลดี ทางราชการมีการสนับสนุนเงินค่าติดตั้งราว 25,000 บาท ต่อหลังคาเรือน
ในอนาคต พลังงานไฟฟ้า และน้ำมัน จะเริ่มหายากขึ้น ดังนั้น จึงต้องหาทางที่จะหาพลังงานทดแทน เนื่องจากปัจจุบัน กระแสฟ้าที่ได้มาจากพลังงานงานก๊าซ, พลังงานถ่านหิน, พลังงานน้ำ และซื้อจากเพื่อนบ้าน เช่น เขื่อนน้ำงึม ส.ป.ป.ลาว ซึ่งต่อไปอาจจะต้องหาพลังงานทดแทนที่นานาประเทศใช้กัน อาทิ พลังงานจากปรมาณู หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งในประเทศที่เจริญ อย่างประเทศญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา มีการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ทำให้ได้ไฟฟ้าในราคาถูก และพอที่จะใช้ในการจ่ายให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังมีความวิตก เรื่องความปลอดภัยกันมาก ดังนั้น จึงต่องเร่งให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบ และมาตรฐานต่างๆ เพราะหากเริ่มคิดกันวันนี้อีกอย่างน้อย 15 ปี ถึงจะมีการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ จึงอยู่ที่นโยบายของรัฐบาล
นอกจากนี้ ในส่วนการแปรรูป กฟภ.เป็นบริษัทมหาชน ขณะนี้ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้สั่งระงับ แต่ในส่วนของบริษัทในเครือ เช่น ในส่วนของการก่อสร้างและบำรุงรักษา ก็จะมีการดำเนินการตั้งบริษัทในเครือต่อไป เพื่อให้การบริการที่ประทับใจตลอดไป