พะเยา - “ท่าวังทอง” ผุดแนวคิดสร้างอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ คาดสร้างแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำอิง เร่งหารือหอจดหมายเหตุฯป้องกันการก่อสร้างผิดรูปแบบ
นายเสนีย์ มานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา เปิดเผยว่า อบต.มีแผนจะดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พ่อขุนงำเมือง พ่อขุนเม็งราย และพ่อขุนรามคำแหง ที่ได้สาบานตนริมแม่น้ำอิง ในอาณาจักรภูกามยาวในอดีตกาล ขึ้นบริเวณริมแม่น้ำอิง วัดสบร่องขุย
ทั้งนี้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้านประวัติศาสตร์พบหลักฐานที่สันนิษฐานได้ว่าเป็นจุดที่สามกษัตริย์ได้ใช้เป็นจุดสาบานตนร่วมกัน นอกจากนี้การสร้างอนุสาวรีย์ดังกล่าวเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้กับคนรุ่นหลัง รวมถึงยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำอิงได้อีกด้วย
“ทราบมาว่าหลาย อบต.ที่มีแม่น้ำอิงไหลผ่านต่างก็ได้สันนิษฐานว่ามีจุดที่คาดว่าจะเป็นที่สาบานตนของสามกษัตริย์ จึงมีแนวคิดสร้างอนุสาวรีย์เหมือนกับ อบต.ท่าวังทอง ดังนั้น ผมคิดว่า อบต.ที่มีแนวคิดเหมือนกันอาจจะมาร่วมกันพิจารณาจุดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ร่วมกัน” นายเสนีย์ กล่าว
ด้านนายนพดล ภู่ชัย หัวหน้าหอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติฯจังหวัดพะเยา กล่าวว่า กรณีการสร้างอนุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ที่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองนั้น ควรได้มีการศึกษารูปแบบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และป้องกันการก่อสร้างที่ผิดรูปแบบ เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์บางอย่างที่ไม่มีความชัดเจนอาจจะต้องทำหนังสือหารือไปยังกรมศิลปากรก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ
นายเสนีย์ มานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา เปิดเผยว่า อบต.มีแผนจะดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พ่อขุนงำเมือง พ่อขุนเม็งราย และพ่อขุนรามคำแหง ที่ได้สาบานตนริมแม่น้ำอิง ในอาณาจักรภูกามยาวในอดีตกาล ขึ้นบริเวณริมแม่น้ำอิง วัดสบร่องขุย
ทั้งนี้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้านประวัติศาสตร์พบหลักฐานที่สันนิษฐานได้ว่าเป็นจุดที่สามกษัตริย์ได้ใช้เป็นจุดสาบานตนร่วมกัน นอกจากนี้การสร้างอนุสาวรีย์ดังกล่าวเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้กับคนรุ่นหลัง รวมถึงยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำอิงได้อีกด้วย
“ทราบมาว่าหลาย อบต.ที่มีแม่น้ำอิงไหลผ่านต่างก็ได้สันนิษฐานว่ามีจุดที่คาดว่าจะเป็นที่สาบานตนของสามกษัตริย์ จึงมีแนวคิดสร้างอนุสาวรีย์เหมือนกับ อบต.ท่าวังทอง ดังนั้น ผมคิดว่า อบต.ที่มีแนวคิดเหมือนกันอาจจะมาร่วมกันพิจารณาจุดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ร่วมกัน” นายเสนีย์ กล่าว
ด้านนายนพดล ภู่ชัย หัวหน้าหอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติฯจังหวัดพะเยา กล่าวว่า กรณีการสร้างอนุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ที่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองนั้น ควรได้มีการศึกษารูปแบบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และป้องกันการก่อสร้างที่ผิดรูปแบบ เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์บางอย่างที่ไม่มีความชัดเจนอาจจะต้องทำหนังสือหารือไปยังกรมศิลปากรก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ