ศูนย์ข่าวภูมิภาค - กรมการพัฒนาชุมชนปรับยุทธศาสตร์ จับมือ 75 จังหวัด ฟื้นฟูระบบพัฒนากรอาชีพ “เคาะประตูบ้านแก้จน” ปฏิบัติการแบบถึงลูกถึงคน พ้นจนภายในปี 51 สนองวาระแห่งชาติ
ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยถึงแนวนโยบายในการดำเนินงานว่า ได้กำหนดเป้าหมายหลักไว้ 3 ประการ คือ การแก้ปัญหาความยากจน โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และสารสนเทศชุมชน เพื่อสนองตอบการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล
ทั้งนี้ ได้ร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ช่วยกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาความยากจน โดยใช้กลไกเดิม คือ พัฒนากรประสานกับทางจังหวัด ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านประกบเป้าหมายแบบตัวต่อตัว
“ที่ผ่านมานั้น กรมก็ทำงานของกรมไป จังหวัดก็ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดไป ต่างฝ่ายต่างทำงาน คิดว่า ถ้ามาผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนการดำเนินงาน งบประมาณ จะทำให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้เร็วขึ้น แก้ปัญหาความยากจนได้มากขึ้น เพียงแต่จะต้องปรับบทบาทพัฒนากรให้ชัดเจนขึ้นว่าจะต้องทำอะไร”
ในการแก้ปัญหาความยากจนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างยั่งยืน ต้องใช้วิธีประสาน 2 พลัง คือ ใช้พลังจากชุมชนโดยกระบวนการแผนชุมชน จากเวทีประชาคมของชุมชนนั้นๆ และพลังจากภายนอกโดยแก้ปัญหาระดับครัวเรือนแบบถึงลูกถึงคน ยึดหลักให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และประชาชนมีส่วนร่วม ส่งพัฒนากรลงพื้นที่เคาะประตูบ้านไปพูดคุย สอบถาม กระตุ้นความคิด สร้างจิตสำนึก
“สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องปรับทัศนคติของคนจนให้พร้อมที่จะแก้ปัญหาความจนด้วยตนเองบนพื้นฐานทรัพยากร และทักษะที่มี และส่วนราชการร่วมหาทางออกจากความจนโดยการปรับวิถีการดำรงชีวิต เพื่อให้ฝึกทักษะในการประกอบอาชีพ สนับสนุนทรัพยากร ส่งผลให้ครัวเรือนมีการดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีความสุขพอเพียง และมีครอบครัวอบอุ่นพอเพียง”
ทั้งนี้ การปฏิบัติการจะดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายระดับหมู่บ้านทุกหมู่บ้านจำนวน 74,435 หมู่บ้าน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 - 30 กันยายน 2549, ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550
ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยถึงแนวนโยบายในการดำเนินงานว่า ได้กำหนดเป้าหมายหลักไว้ 3 ประการ คือ การแก้ปัญหาความยากจน โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และสารสนเทศชุมชน เพื่อสนองตอบการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล
ทั้งนี้ ได้ร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ช่วยกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาความยากจน โดยใช้กลไกเดิม คือ พัฒนากรประสานกับทางจังหวัด ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านประกบเป้าหมายแบบตัวต่อตัว
“ที่ผ่านมานั้น กรมก็ทำงานของกรมไป จังหวัดก็ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดไป ต่างฝ่ายต่างทำงาน คิดว่า ถ้ามาผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนการดำเนินงาน งบประมาณ จะทำให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้เร็วขึ้น แก้ปัญหาความยากจนได้มากขึ้น เพียงแต่จะต้องปรับบทบาทพัฒนากรให้ชัดเจนขึ้นว่าจะต้องทำอะไร”
ในการแก้ปัญหาความยากจนให้สัมฤทธิ์ผลอย่างยั่งยืน ต้องใช้วิธีประสาน 2 พลัง คือ ใช้พลังจากชุมชนโดยกระบวนการแผนชุมชน จากเวทีประชาคมของชุมชนนั้นๆ และพลังจากภายนอกโดยแก้ปัญหาระดับครัวเรือนแบบถึงลูกถึงคน ยึดหลักให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และประชาชนมีส่วนร่วม ส่งพัฒนากรลงพื้นที่เคาะประตูบ้านไปพูดคุย สอบถาม กระตุ้นความคิด สร้างจิตสำนึก
“สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องปรับทัศนคติของคนจนให้พร้อมที่จะแก้ปัญหาความจนด้วยตนเองบนพื้นฐานทรัพยากร และทักษะที่มี และส่วนราชการร่วมหาทางออกจากความจนโดยการปรับวิถีการดำรงชีวิต เพื่อให้ฝึกทักษะในการประกอบอาชีพ สนับสนุนทรัพยากร ส่งผลให้ครัวเรือนมีการดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีความสุขพอเพียง และมีครอบครัวอบอุ่นพอเพียง”
ทั้งนี้ การปฏิบัติการจะดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายระดับหมู่บ้านทุกหมู่บ้านจำนวน 74,435 หมู่บ้าน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 - 30 กันยายน 2549, ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550