อุบลราชธานี-โรงพยาบาลสงฆ์ จังหวัดอุบลราชธานี ขนาด 500 เตียงใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ใกล้เสร็จอยู่ระหว่างก่อสร้างขั้นสุดท้าย ติดตั้งครุภัณฑ์ คาดเปิดให้บริการรักษาพระภิกษุ สามเณร ที่อาพาธทั้งจากภาคอีสานและประเทศเพื่อนบ้านได้ต้นเดือนตุลาคมนี้
วันนี้ (21 ก.ย.) นายกฤษเพชร ศรีปาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสงฆ์ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านปลาดุก ต.ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชธานี โดยมีเตียงรองรับพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธจำนวน 500 เตียง
ปัจจุบันการก่อสร้างอยู่ในขั้นสุดท้าย คือ การปูพื้นกระเบื้องยาง การติดตั้งครุภัณฑ์ ระบบการระบายน้ำรอบตัวอาคารและการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในตัวอาคารผู้ป่วยนอก และตึกอุบัติเหตุ คาดว่าโรงพยาบาลจะสามารถเปิดให้บริการรักษาพระภิกษุสามเณรในภาคอีสานและจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอาทิ ลาว และกัมพูชาในต้นเดือนตุลาคมศกนี้
สำหรับการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์แห่งนี้มาจากจิตศรัทธาของประชาชนต้องการให้มีโรงพยาบาลรักษาอาการอาพาธของพระภิกษุ สามเณร แยกจากฆราวาสที่มีอยู่แล้ว ดังนั้น การเข้ารับการรักษาตัวของพระภิกษุ สามเณร ที่โรงพยาบาลแห่งนี้จึงเป็นพระภิกษุ สามเณร ที่มีอาการหนักและต้องใช้เวลาการพักฟื้นนาน
โดยพระภิกษุที่อาพาธจะถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลทั่วไป เพื่อเข้ารับการรักษาจนกว่าจะหายดีระหว่างการเข้ารักษาตัว ภิกษุสงฆ์ที่เริ่มมีอาการดีขึ้นสามารถลงทำวัตรปฏิบัติศาสนกิจในอุโบสถที่มีอยู่ในโรงพยาบาลได้ด้วย
วันนี้ (21 ก.ย.) นายกฤษเพชร ศรีปาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสงฆ์ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านปลาดุก ต.ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชธานี โดยมีเตียงรองรับพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธจำนวน 500 เตียง
ปัจจุบันการก่อสร้างอยู่ในขั้นสุดท้าย คือ การปูพื้นกระเบื้องยาง การติดตั้งครุภัณฑ์ ระบบการระบายน้ำรอบตัวอาคารและการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในตัวอาคารผู้ป่วยนอก และตึกอุบัติเหตุ คาดว่าโรงพยาบาลจะสามารถเปิดให้บริการรักษาพระภิกษุสามเณรในภาคอีสานและจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงอาทิ ลาว และกัมพูชาในต้นเดือนตุลาคมศกนี้
สำหรับการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์แห่งนี้มาจากจิตศรัทธาของประชาชนต้องการให้มีโรงพยาบาลรักษาอาการอาพาธของพระภิกษุ สามเณร แยกจากฆราวาสที่มีอยู่แล้ว ดังนั้น การเข้ารับการรักษาตัวของพระภิกษุ สามเณร ที่โรงพยาบาลแห่งนี้จึงเป็นพระภิกษุ สามเณร ที่มีอาการหนักและต้องใช้เวลาการพักฟื้นนาน
โดยพระภิกษุที่อาพาธจะถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลทั่วไป เพื่อเข้ารับการรักษาจนกว่าจะหายดีระหว่างการเข้ารักษาตัว ภิกษุสงฆ์ที่เริ่มมีอาการดีขึ้นสามารถลงทำวัตรปฏิบัติศาสนกิจในอุโบสถที่มีอยู่ในโรงพยาบาลได้ด้วย