แม่ฮ่องสอน – ชาวบ้านจาก 4 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลแม่ลาน้อยกว่า 150 คน ประท้วงคัดค้านการเปิดโรงโม่หินใกล้ชุมชน หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อมและถ้ำแก้วโกมนหรือถ้ำน้ำแข็งแห่งเดียวของประเทศ ด้านนายอำเภอ-นายกเทศมนตรีประสานเสียง ยันหากไม่เปิดโรงโม่หินส่งผลกระทบต่อโครงการพัฒนาจังหวัดและผู้ประกอบการ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า ชาวบ้านในพื้นที่ 4 หมู่บ้านของตำบลแม่ลาน้อย กว่า 150 คน ได้รวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานตำบลแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน โดยคัดค้านการเปิดโรงโม่หินในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย เนื่องจากหวั่นว่าจะกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อถ้ำแก้วโกมน หรือถ้ำน้ำแข็ง ที่ห่างออกไปเพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น
ตัวแทนผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่า ผู้ประกอบการโรงโม่หินและหน่วยงานภาครัฐต้องมาชี้แจงทำความเข้าใจและรับทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยราษฎรทั้ง 4 หมู่บ้านกว่า 5,000 คนยังยืนกรานที่จะไม่ให้มีการระเบิดหินในพื้นที่อย่างเด็ดขาด เพราะบริเวณที่ขอเปิดโรงโม่หินหรือระเบิดหิน อยู่ห่างจากถ้ำแก้วโกมน (หรือถ้ำแก้ว) เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น
โดยถ้ำแก้วโกมนเป็นถ้ำแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีหินงอกคล้ายเกล็ดน้ำแข็ง มีความสวยงามเป็นอย่างมาก อีกทั้งการระเบิดหินก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิดที่จะต้องหนีกระเจิงเนื่องจากเสียงดัง
ส่วนเรื่องปัญหาการขาดแคลนหินในการก่อสร้างเป็นปัญหาที่ภาครัฐและผู้รับเหมาจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหากันเอง ไม่ใช่ภาครัฐและผู้ประกอบการทำงานได้แต่ราษฎรเดือดร้อนก็คงไม่ถูกต้อง
ด้านนายสุรพล สันติตินันท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลแม่ลาน้อย เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้านมีความหวาดกลัวต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ พื้นที่ทำกิน ทำให้มีการคัดค้านการเปิดโรงโม่หิน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และการประหยัดพลังงานตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากในสภาพปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นต้องซื้อหินในการก่อสร้างจากเชียงใหม่ จากเดิมที่มีโรงโม่อยู่ในพื้นที่จะเสียค่าขนส่งประมาณ 400 บาท ทุกวันนี้ต้องจ่ายเพิ่มเป็น 3,000 บาทที่ต้องนำหินมาจากเชียงใหม่ และค่าหินก็เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว
นอกจากนี้ยังทำให้หลายๆ โครงการในพื้นที่ต้องชะงักตามๆ กัน เช่น เทศบาลแม่ลานย้อยมีโครงการพัฒนา 28 โครงการเพื่อก่อสร้างถนนแหล่งท่องเที่ยว งบฯ พัฒนาท้องถิ่นก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากไม่มีผู้รับเหมามายื่นซองประกวดราคา
อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขปัญหาทางเทศบาลแม่ลาน้อยได้วางแนวทางไว้ 2 ระดับ คือ ในระดับล่างได้เปิดเวทีเพื่อให้ราษฎรในพื้นที่และผู้ประกอบการโรงโม่ได้ทำความเข้าใจ และรับทราบปัญหาผลกระทบต่างๆ ร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือหรือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้
ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง ทางเทศบาลแม่ลายน้อยจะนำปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนทราบ เพื่อหาแนวทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งยอมรับว่าหากไม่สามารถเปิดโรงโม่หินได้จะกระทบต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างแน่นอน
นายสินชัย นาคิน นายอำเภอแม่ลาน้อยกล่าวว่า โรงโม่หินดังกล่าวมีเพียงแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งหากไม่สามารถดำเนินการได้ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยต้องซื้อมาจากจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อภาครัฐบาลและผู้ประกอบการด้านการก่อสร้าง ตามงบประมาณในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งด้านสาธารณูปโภค สิ่งปลูกสร้าง อาคาร ถนนหลายสาย เช่น ที่ว่าการอำเภอสบเมย ไม่สามารถก่อสร้างอาคารที่ว่าการฯ หลังใหม่ได้ และอาคารเอนกประสงค์ที่ อ.ปาย ก็ไม่มีผู้ประกอบการมาประมูลงานแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า ชาวบ้านในพื้นที่ 4 หมู่บ้านของตำบลแม่ลาน้อย กว่า 150 คน ได้รวมตัวประท้วงที่หน้าสำนักงานตำบลแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน โดยคัดค้านการเปิดโรงโม่หินในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย เนื่องจากหวั่นว่าจะกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อถ้ำแก้วโกมน หรือถ้ำน้ำแข็ง ที่ห่างออกไปเพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น
ตัวแทนผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่า ผู้ประกอบการโรงโม่หินและหน่วยงานภาครัฐต้องมาชี้แจงทำความเข้าใจและรับทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยราษฎรทั้ง 4 หมู่บ้านกว่า 5,000 คนยังยืนกรานที่จะไม่ให้มีการระเบิดหินในพื้นที่อย่างเด็ดขาด เพราะบริเวณที่ขอเปิดโรงโม่หินหรือระเบิดหิน อยู่ห่างจากถ้ำแก้วโกมน (หรือถ้ำแก้ว) เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น
โดยถ้ำแก้วโกมนเป็นถ้ำแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีหินงอกคล้ายเกล็ดน้ำแข็ง มีความสวยงามเป็นอย่างมาก อีกทั้งการระเบิดหินก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิดที่จะต้องหนีกระเจิงเนื่องจากเสียงดัง
ส่วนเรื่องปัญหาการขาดแคลนหินในการก่อสร้างเป็นปัญหาที่ภาครัฐและผู้รับเหมาจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหากันเอง ไม่ใช่ภาครัฐและผู้ประกอบการทำงานได้แต่ราษฎรเดือดร้อนก็คงไม่ถูกต้อง
ด้านนายสุรพล สันติตินันท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลแม่ลาน้อย เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้านมีความหวาดกลัวต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ พื้นที่ทำกิน ทำให้มีการคัดค้านการเปิดโรงโม่หิน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน และการประหยัดพลังงานตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากในสภาพปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นต้องซื้อหินในการก่อสร้างจากเชียงใหม่ จากเดิมที่มีโรงโม่อยู่ในพื้นที่จะเสียค่าขนส่งประมาณ 400 บาท ทุกวันนี้ต้องจ่ายเพิ่มเป็น 3,000 บาทที่ต้องนำหินมาจากเชียงใหม่ และค่าหินก็เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว
นอกจากนี้ยังทำให้หลายๆ โครงการในพื้นที่ต้องชะงักตามๆ กัน เช่น เทศบาลแม่ลานย้อยมีโครงการพัฒนา 28 โครงการเพื่อก่อสร้างถนนแหล่งท่องเที่ยว งบฯ พัฒนาท้องถิ่นก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากไม่มีผู้รับเหมามายื่นซองประกวดราคา
อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขปัญหาทางเทศบาลแม่ลาน้อยได้วางแนวทางไว้ 2 ระดับ คือ ในระดับล่างได้เปิดเวทีเพื่อให้ราษฎรในพื้นที่และผู้ประกอบการโรงโม่ได้ทำความเข้าใจ และรับทราบปัญหาผลกระทบต่างๆ ร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือหรือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้
ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง ทางเทศบาลแม่ลายน้อยจะนำปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนทราบ เพื่อหาแนวทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งยอมรับว่าหากไม่สามารถเปิดโรงโม่หินได้จะกระทบต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างแน่นอน
นายสินชัย นาคิน นายอำเภอแม่ลาน้อยกล่าวว่า โรงโม่หินดังกล่าวมีเพียงแห่งเดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งหากไม่สามารถดำเนินการได้ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยต้องซื้อมาจากจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อภาครัฐบาลและผู้ประกอบการด้านการก่อสร้าง ตามงบประมาณในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งด้านสาธารณูปโภค สิ่งปลูกสร้าง อาคาร ถนนหลายสาย เช่น ที่ว่าการอำเภอสบเมย ไม่สามารถก่อสร้างอาคารที่ว่าการฯ หลังใหม่ได้ และอาคารเอนกประสงค์ที่ อ.ปาย ก็ไม่มีผู้ประกอบการมาประมูลงานแต่อย่างใด