ศูนย์ข่าวศรีราชา - การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดประชุมตัวแทนโรงงานในนิคมฯ เพื่อเตรียมแผนฉุกเฉินแก้วิกฤตขาดน้ำอีกรอบ เหตุไม่มั่นใจ "น้ำบาดาล" มีพอป้อนโรงงาน เตรียมขนน้ำดิบจากแหล่งอื่นทางเรือมาทดแทน
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (14 กรกฎาคม) นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นายเนตร อัจฉริยะพิทักษ์ หัวหน้าโครงการชลประทานระยอง นายนพดล เหมะรัตน์ ผู้แทนกัสโก้ นายโกศล จันทรเสนา ผู้แทนจากอิสท์วอเตอร์ นายอุโรม แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 8 ชลบุรี และผู้อำนวยการฝนหลวง ได้มีการประชุมหารือถึงความคืบหน้าการดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำ โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานจำนวนมากเข้าร่วมประชุม
นายนพดล เหมะรัตน์ ผู้แทนจากบริษัท Gusco ซึ่งเป็นบริษัทจัดการระบบสาธารณูปโภคของการนิคมอุตสาหกรรม ชี้แจงถึงการเตรียมแผนฉุกเฉินเรื่องแหล่งน้ำว่า กรณีการขนย้ายน้ำดิบจากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ในโรงงาน วิธีที่ดีที่สุดคือการขนย้ายทางเรือ ซึ่งเรื่องนี้ได้เตรียมแผนระยะยาวไว้แล้วโดยการจัดทำระบบลอจิสติกส์ขนส่งน้ำทางเรือ
จากการตรวจสอบน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่ามีศักยภาพ จึงเตรียมแผนทำจุดสูบน้ำบริเวณวัดบางนานอก เชื่อมต่อท่อส่งน้ำมายังท่าเรือมาบตาพุด มีระยะทาง 230 กิโลเมตร นอกจากนี้จะต้องทำอู่ลอย (ทุ่นเก็บน้ำ) เก็บกักน้ำ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ด้านนายวราวุฒิ ขันติยานนท์ ผู้อำนวยการฝนหลวง ชี้แจงว่าจากการปฏิบัติภารกิจที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนที่ลงอ่างเก็บน้ำดอกกรายตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายนถึงวันนี้รวม 14 วัน มีปริมาณน้ำฝนที่ลงอ่าง 145.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 1,973,252.00 ลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลระยะเวลา 20 วันปริมาณน้ำฝน 219.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 3,648,169.00 ลูกบาศก์เมตร อ่างหนองค้อ 13 วัน ปริมาณน้ำฝน 229.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 552,962.32 ลูกบาศก์เมตร อ่างมาบประชัน 10 วัน ปริมาณน้ำฝน 139.2 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 170,212.00 ลูกบาศก์เมตร อ่างกลางดง 5 วัน ปริมาณน้ำฝน 81.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 66,610 ลูกบาศก์เมตร (มิถุนายน) รายงานล่าสุดตั้งแต่ 29 มิถุนายนถึงวันนี้ปริมาณน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล–ดอกกราย 211.000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
นายอุโรม แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 8 กล่าวว่า ในส่วนของศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค 8 ได้รับนโยบายในการขุดเจาะน้ำบาดาลในระบบแนวตั้งเพื่อเสริมในระบบให้ได้ 50,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มั่นใจว่าจะดำเนินการเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้แน่นอน ส่วนเรื่องคุณภาพน้ำบาดาลที่เป็นข่าวว่ามีคลอไรด์เกินมาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนที่จะส่งต่อให้โรงงาน เรื่องนี้ตนได้รับนโยบายให้ดำเนินการเจาะน้ำบาดาลให้ได้ตามเป้าเท่านั้น ส่วนเรื่องคุณภาพน้ำจะต้องคุยกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ด้านนายเนตร อัจฉริยะพิทักษ์ หัวหน้าโครงการชลประทานระยอง กล่าวว่า การจัดทำแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยผันน้ำจากเขื่อนประแสร์มาลงที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ระยะทาง 40 กิโลเมตร ในขณะนี้จะเปลี่ยนแผนการวางท่อไปที่อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ มาเชื่อมต่อไปลงที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ซึ่งจะทำให้ร่นระยะทางสั้นกว่า 10 เมตร ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว โดยที่ผ่านมารูปแบบของกรมชลประทานที่สร้างอ่างเก็บน้ำก็เพื่อรองรับน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในขณะนี้เราต้องทำทุกวิถีทางจากลุ่มน้ำอื่นมาใช้ในระยะยาวเสริมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำในอนาคต
นายกนิษฐ์ แท่งเพ็ชร ตัวแทนจากบริษัทโกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากการตรวจคุณภาพน้ำในคลองคา อำเภอเมืองระยอง มีศักยภาพ เห็นควรว่าน่าที่มีการเตรียมแผนสร้างเขื่อนปิดปากน้ำระยองบริเวณสะพานเปี่ยมพงษ์สานต์ ขนาดกว้าง 30 เมตร สูง 5 เมตร เพื่อป้องกันน้ำทะเลเข้ามาเจือปน และให้ชลประทานผันน้ำมาลงคลองคาวางท่อมายังท่าเรือน้ำลึกของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ วางเชื่อท่อส่งน้ำต่อไปยังกลุ่มโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางใกล้กว่าและจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้กลุ่มโรงงานเริ่มวิตกกังวลเรื่องน้ำบาดาลที่มีคลอไรด์เกินมาตรฐานจะนำมาใช้ในโรงงานไม่ได้ และการผันน้ำจากแม่น้ำระยองมาใช้ในกลุ่มโรงงานก็เหมือนกัน เวลาฝนตกติดต่อกันนานๆ น้ำในแม่น้ำระยองเริ่มมีปัญหามาก น้ำจะขุ่น ก็ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐาน เพราะหากเกิดการผิดพลาดขึ้นมาจะทำให้โรงงานมีปัญหาทันที
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (14 กรกฎาคม) นายพีระวัฒน์ รุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นายเนตร อัจฉริยะพิทักษ์ หัวหน้าโครงการชลประทานระยอง นายนพดล เหมะรัตน์ ผู้แทนกัสโก้ นายโกศล จันทรเสนา ผู้แทนจากอิสท์วอเตอร์ นายอุโรม แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 8 ชลบุรี และผู้อำนวยการฝนหลวง ได้มีการประชุมหารือถึงความคืบหน้าการดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำ โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานจำนวนมากเข้าร่วมประชุม
นายนพดล เหมะรัตน์ ผู้แทนจากบริษัท Gusco ซึ่งเป็นบริษัทจัดการระบบสาธารณูปโภคของการนิคมอุตสาหกรรม ชี้แจงถึงการเตรียมแผนฉุกเฉินเรื่องแหล่งน้ำว่า กรณีการขนย้ายน้ำดิบจากแหล่งอื่นเข้ามาใช้ในโรงงาน วิธีที่ดีที่สุดคือการขนย้ายทางเรือ ซึ่งเรื่องนี้ได้เตรียมแผนระยะยาวไว้แล้วโดยการจัดทำระบบลอจิสติกส์ขนส่งน้ำทางเรือ
จากการตรวจสอบน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาพบว่ามีศักยภาพ จึงเตรียมแผนทำจุดสูบน้ำบริเวณวัดบางนานอก เชื่อมต่อท่อส่งน้ำมายังท่าเรือมาบตาพุด มีระยะทาง 230 กิโลเมตร นอกจากนี้จะต้องทำอู่ลอย (ทุ่นเก็บน้ำ) เก็บกักน้ำ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ด้านนายวราวุฒิ ขันติยานนท์ ผู้อำนวยการฝนหลวง ชี้แจงว่าจากการปฏิบัติภารกิจที่ผ่านมา ปริมาณน้ำฝนที่ลงอ่างเก็บน้ำดอกกรายตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายนถึงวันนี้รวม 14 วัน มีปริมาณน้ำฝนที่ลงอ่าง 145.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 1,973,252.00 ลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลระยะเวลา 20 วันปริมาณน้ำฝน 219.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 3,648,169.00 ลูกบาศก์เมตร อ่างหนองค้อ 13 วัน ปริมาณน้ำฝน 229.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 552,962.32 ลูกบาศก์เมตร อ่างมาบประชัน 10 วัน ปริมาณน้ำฝน 139.2 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 170,212.00 ลูกบาศก์เมตร อ่างกลางดง 5 วัน ปริมาณน้ำฝน 81.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำเข้าอ่าง 66,610 ลูกบาศก์เมตร (มิถุนายน) รายงานล่าสุดตั้งแต่ 29 มิถุนายนถึงวันนี้ปริมาณน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล–ดอกกราย 211.000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
นายอุโรม แก้วจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล ภาค 8 กล่าวว่า ในส่วนของศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค 8 ได้รับนโยบายในการขุดเจาะน้ำบาดาลในระบบแนวตั้งเพื่อเสริมในระบบให้ได้ 50,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มั่นใจว่าจะดำเนินการเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้แน่นอน ส่วนเรื่องคุณภาพน้ำบาดาลที่เป็นข่าวว่ามีคลอไรด์เกินมาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนที่จะส่งต่อให้โรงงาน เรื่องนี้ตนได้รับนโยบายให้ดำเนินการเจาะน้ำบาดาลให้ได้ตามเป้าเท่านั้น ส่วนเรื่องคุณภาพน้ำจะต้องคุยกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ด้านนายเนตร อัจฉริยะพิทักษ์ หัวหน้าโครงการชลประทานระยอง กล่าวว่า การจัดทำแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยผันน้ำจากเขื่อนประแสร์มาลงที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ระยะทาง 40 กิโลเมตร ในขณะนี้จะเปลี่ยนแผนการวางท่อไปที่อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ มาเชื่อมต่อไปลงที่อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ซึ่งจะทำให้ร่นระยะทางสั้นกว่า 10 เมตร ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว โดยที่ผ่านมารูปแบบของกรมชลประทานที่สร้างอ่างเก็บน้ำก็เพื่อรองรับน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในขณะนี้เราต้องทำทุกวิถีทางจากลุ่มน้ำอื่นมาใช้ในระยะยาวเสริมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำในอนาคต
นายกนิษฐ์ แท่งเพ็ชร ตัวแทนจากบริษัทโกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากการตรวจคุณภาพน้ำในคลองคา อำเภอเมืองระยอง มีศักยภาพ เห็นควรว่าน่าที่มีการเตรียมแผนสร้างเขื่อนปิดปากน้ำระยองบริเวณสะพานเปี่ยมพงษ์สานต์ ขนาดกว้าง 30 เมตร สูง 5 เมตร เพื่อป้องกันน้ำทะเลเข้ามาเจือปน และให้ชลประทานผันน้ำมาลงคลองคาวางท่อมายังท่าเรือน้ำลึกของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ วางเชื่อท่อส่งน้ำต่อไปยังกลุ่มโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางใกล้กว่าและจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้กลุ่มโรงงานเริ่มวิตกกังวลเรื่องน้ำบาดาลที่มีคลอไรด์เกินมาตรฐานจะนำมาใช้ในโรงงานไม่ได้ และการผันน้ำจากแม่น้ำระยองมาใช้ในกลุ่มโรงงานก็เหมือนกัน เวลาฝนตกติดต่อกันนานๆ น้ำในแม่น้ำระยองเริ่มมีปัญหามาก น้ำจะขุ่น ก็ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐาน เพราะหากเกิดการผิดพลาดขึ้นมาจะทำให้โรงงานมีปัญหาทันที