พะเยา – ชาวประมงกว๊านพะเยายื่นเงื่อนไขขอลดพื้นที่อนุรักษ์เปิดทางเรือประมงกลับบ้าน แลกตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา 14 ชุมชนริมกว๊าน หลังถูกเจ้าหน้าที่จับกุมขณะแล่นเรือผ่านเขตอนุรักษ์ทุกปี ชงเรื่องผ่าน ส.ส.พะเยานำเสนอสู่การพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด่วน
นางสาวอรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา เขต 1 พรรคไทยรักไทย กล่าวว่า เนื่องจากประกาศจังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2492 เรื่อง กำหนดกว๊านพะเยาเป็นที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ และกำหนดเครื่องมือที่อนุญาตให้ทำการประมง ได้มีการประกาศแบ่งเขตพื้นที่ให้ชาวประมงกว๊านพะเยาสามารถหาปลาได้ และเขตพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ปลา
ปรากฏว่าเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาที่ครอบคลุมพื้นที่บ้านร่องไฮ ต.แม่ใส และ ต.แม่นาเรือ อ.เมืองพะเยา เกิดปัญหาสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนชาวประมงเป็นประจำทุกปี เนื่องจากชาวประมงที่ออกมาหาปลาในกว๊านพะเยา บริเวณเขตที่สามารถหาปลาได้ ถูกเจ้าหน้าที่หน่วยจับกุมของกรมประมงจากจังหวัดลำปางเข้ามาจับกุมทุกปี เพราะขากลับจากหาปลาในกว๊านนำเรือเข้าบ้านต้องผ่านพื้นที่เขตอนุรักษ์ แม้ว่าชาวประมงจะไม่ได้หาปลาในเขตอนุรักษ์ก็ตาม แต่อุปกรณ์หาปลาและปลาที่หาได้คือหลักฐาน ทำให้เจ้าหน้าที่ต่างอ้างเพื่อเอาผิดกับชาวประมง จนเกิดความเดือดร้อนทุกปีเสมอมา
นางสาวอรุณีกล่าวต่อว่า ดังนั้นตนจะนำเข้าไปปรึกษากับผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าจะมีแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซากทุกปี โดยปกติแล้วเมื่อเป็นเพียงประกาศจังหวัดก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ในระดับจังหวัด แต่เมื่อเวลาผ่านมานานทำให้ตนต้องนำเรื่องเข้าปรึกษากับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะการจะขอปรับแก้พื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในกว๊านพะเยา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวประมง ต่างต้องหาทางออกร่วมกันในการแก้ปัญหา
ขณะนี้ชาวประมงในชุมชนรอบกว๊านพะเยาได้จัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลารอบกว๊านขึ้นมาในหลายชุมชน พร้อมกับขอให้ประมงลดพื้นที่เขตอนุรักษ์ที่ครอบคลุมทางเข้าหมู่บ้านริมกว๊านให้สามารถเดินทางเข้าบ้านได้สะดวก
นายอดิเรก วงศ์ภูริวัฒน์ ผู้ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 14 ชุมชนรอบกว๊านพะเยา กล่าวว่า เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน 14 ชุมชนรอบกว๊านพะเยา ขณะนี้ได้ร่วมกันจัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาริมกว๊านพะเยาในพื้นที่ 14 ชุมชน โดยได้ทำแนวเขตกั้นโดยใช้ไม้ไผ่ พร้อมทั้งกั้นและกำจัดผักตบชวาไปในตัว
ทั้งนี้ชาวประมงต้องเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์บริเวณริมกว๊านโดยรอบ ขณะเดียวกันต้องการแลกเปลี่ยนให้กรมประมงลดพื้นที่เขตอนุรักษ์ในกว๊านพะเยาลง พื้นที่หาปลาไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่การเดินทางกลับเข้าบ้านของชาวประมงในพื้นที่ ต.แม่ใส และ ต.แม่นาเรือ จะได้ไม่เกิดปัญหาเหมือนทุกปีที่ผ่าน ไม่ต้องผจญและกังวลว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ประมงจับกุมด้วย
ทั้งนี้การทำการประมงในกว๊านโดยใช้เรือพาย ประชาชนที่มีอาชีพทำการประมงมีจำนวน
ประมาณ 1,000 ราย สามารถทำรายได้ประมาณวันละ 300-2,000 บาท
นางสาวอรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา เขต 1 พรรคไทยรักไทย กล่าวว่า เนื่องจากประกาศจังหวัดเชียงรายเมื่อปี 2492 เรื่อง กำหนดกว๊านพะเยาเป็นที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ และกำหนดเครื่องมือที่อนุญาตให้ทำการประมง ได้มีการประกาศแบ่งเขตพื้นที่ให้ชาวประมงกว๊านพะเยาสามารถหาปลาได้ และเขตพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ปลา
ปรากฏว่าเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาที่ครอบคลุมพื้นที่บ้านร่องไฮ ต.แม่ใส และ ต.แม่นาเรือ อ.เมืองพะเยา เกิดปัญหาสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนชาวประมงเป็นประจำทุกปี เนื่องจากชาวประมงที่ออกมาหาปลาในกว๊านพะเยา บริเวณเขตที่สามารถหาปลาได้ ถูกเจ้าหน้าที่หน่วยจับกุมของกรมประมงจากจังหวัดลำปางเข้ามาจับกุมทุกปี เพราะขากลับจากหาปลาในกว๊านนำเรือเข้าบ้านต้องผ่านพื้นที่เขตอนุรักษ์ แม้ว่าชาวประมงจะไม่ได้หาปลาในเขตอนุรักษ์ก็ตาม แต่อุปกรณ์หาปลาและปลาที่หาได้คือหลักฐาน ทำให้เจ้าหน้าที่ต่างอ้างเพื่อเอาผิดกับชาวประมง จนเกิดความเดือดร้อนทุกปีเสมอมา
นางสาวอรุณีกล่าวต่อว่า ดังนั้นตนจะนำเข้าไปปรึกษากับผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าจะมีแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซากทุกปี โดยปกติแล้วเมื่อเป็นเพียงประกาศจังหวัดก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ในระดับจังหวัด แต่เมื่อเวลาผ่านมานานทำให้ตนต้องนำเรื่องเข้าปรึกษากับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะการจะขอปรับแก้พื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาในกว๊านพะเยา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวประมง ต่างต้องหาทางออกร่วมกันในการแก้ปัญหา
ขณะนี้ชาวประมงในชุมชนรอบกว๊านพะเยาได้จัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลารอบกว๊านขึ้นมาในหลายชุมชน พร้อมกับขอให้ประมงลดพื้นที่เขตอนุรักษ์ที่ครอบคลุมทางเข้าหมู่บ้านริมกว๊านให้สามารถเดินทางเข้าบ้านได้สะดวก
นายอดิเรก วงศ์ภูริวัฒน์ ผู้ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 14 ชุมชนรอบกว๊านพะเยา กล่าวว่า เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน 14 ชุมชนรอบกว๊านพะเยา ขณะนี้ได้ร่วมกันจัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาริมกว๊านพะเยาในพื้นที่ 14 ชุมชน โดยได้ทำแนวเขตกั้นโดยใช้ไม้ไผ่ พร้อมทั้งกั้นและกำจัดผักตบชวาไปในตัว
ทั้งนี้ชาวประมงต้องเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์บริเวณริมกว๊านโดยรอบ ขณะเดียวกันต้องการแลกเปลี่ยนให้กรมประมงลดพื้นที่เขตอนุรักษ์ในกว๊านพะเยาลง พื้นที่หาปลาไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่การเดินทางกลับเข้าบ้านของชาวประมงในพื้นที่ ต.แม่ใส และ ต.แม่นาเรือ จะได้ไม่เกิดปัญหาเหมือนทุกปีที่ผ่าน ไม่ต้องผจญและกังวลว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ประมงจับกุมด้วย
ทั้งนี้การทำการประมงในกว๊านโดยใช้เรือพาย ประชาชนที่มีอาชีพทำการประมงมีจำนวน
ประมาณ 1,000 ราย สามารถทำรายได้ประมาณวันละ 300-2,000 บาท