ศูนย์ข่าวนครราชสีมา-พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย 5 จังหวัดอีสานใต้ แล้ว 25 ราย สุรินทร์แชมป์มากสุด 16 รายตามด้วยโคราช ชี้ส่วนใหญ่รับเชื้อมาจากพื้นที่อื่น ขณะที่อาการของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ยังโคม่า เผยส่งทีมเจ้าหน้าที่เจาะตรวจเลือดเจ้าหน้าที่เขาใหญ่ทั้ง 173 คนหาเชื้อด่วน ระบุสถานที่ท่องเที่ยวบนเขาใหญ่ที่ไม่ใช่ป่าลึกปลอดเชื้อไข้มาลาเรียสามารถท่องเที่ยวได้ตามปกติ
วันนี้( 9 มิ.ย.)นพ.สมชาย ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของไข้มาลาเรีย ในพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง ประกอบด้วย นครราชสีมา,สุรินทร์,ชัยภูมิ,บุรีรัมย์ และมหาสารคาม ว่า ล่าสุดตั้งแต่เตือน ม.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียแล้วจำนวน 25 รายแบ่งเป็นจังหวัดชัยภูมิ 1 ราย, บุรีรัมย์ 1 ราย, สุรินทร์ 16 ราย, นครราชสีมา 7 ราย ส่วน จ.มหาสารคามยังไม่พบผู้ป่วย ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
“ในภาคอีสานการระบาดของไข้มาลาเรียถือว่าเป็นปกติ และมีสถิติผู้ป่วยต่ำมาก สถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมโรคได้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครราชสีมามีผู้ป่วยน้อยมากและเป็นปกติของโรคที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วย มักจะติดเชื้อมาจากพื้นที่อื่นมากกว่า เช่น ประชาชนที่ไปทำงานในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี, ตราด, ตาก และระนอง แล้วนำเชื้อไข้มาลาเรียกลับมาและมีอาการรุนแรงเมื่อกลับมายังภูมิลำเนาแล้ว ” นพ.สมชาย กล่าว
นพ.สมชาย กล่าวอีกว่า การดำเนินการควบคุมโรคนั้น ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย และไม่เสี่ยง สำหรับในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากจะมีการควบคุม และเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น โดยเจ้าหน้าที่จะทำการเจาะตรวจเลือดผู้อยู่พื้นที่เสี่ยงมาตรวจอย่างละเอียด และเร่งทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันให้กับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่พื้นที่เสี่ยงมากจะอยู่ตามจังหวัดที่อยู่ติดตะเข็บแนวชายแดนซึ่งจะมีการตั้งหน่วยมาลาเรียประจำพื้นที่อยู่แล้ว
ส่วนกรณีพบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 3 ราย และเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีน นั้น หนึ่งใน 3 รายนี้ มีอาการโคม่า คือนายคำปอน ภูจำปา อายุ 44 ปี อยู่ที่หมู่ 1 ต.หินตั้ง อ.เมือง จ.นครนายก ทำงานที่จุดกางเต็นท์ลำตะคองบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งขณะนี้อาการยังน่าเป็นห่วง โดยล่าสุดจากรายงานพบว่า อาการที่เกิดขึ้นคล้ายกับมาลาเรียขึ้นสมอง เนื่องจากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้นานไม่ยอมไปพบแพทย์ ประกอบกับนายคำปอน เคยป่วยเป็นโรคปอดมาก่อน ขณะนี้ยังอยู่ในความดูแลของแพทย์ อย่างใกล้ชิด
ส่วนอีก 2 ราย คือนายวิชาญ ปลื้มกมล และนายเสน่ห์ รักชาติ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันรักษาป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำหน้าที่เดินตรวจป่าจากเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ถึง อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
“จากการสอบถามข้อมูลจากญาติผู้ป่วยทราบว่า ทั้ง 3 คนเป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องออกไปเดินตรวจป่า และเข้าไปในป่าลึก ซึ่งในป่าลึกจะมีเชื้อไข้มาลาเรียจากยุงก้นปล่องอยู่แล้ว หากถูกกัดก็ได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายและป่วยเป็นไข้มาลาเรียดังกล่าว ซึ่งผู้ที่ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่ใส่ใจในการป้องกันตนเองจากยุงกัดและมีความชะล่าใจคิดว่าร่างกายแข็งแรงคงไม่เป็นไร จึงตั้งอยู่ในความประมาทไม่ระมัดระวัง” นพ.สมชาย กล่าว
นพ.สมชาย กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมโรคโดยแมลงที่ 5.4 (อ.ปากช่อง) จ.นครราชสีมาเข้าไปติดตาม และเก็บรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมแล้วในวันนี้ (9 มิ.ย.) ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ขณะเดียวกันได้ส่งทีมเข้าไปเจาะตรวจเลือดพนักงานของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อีกครั้งจำนวนทั้งหมด 173 ราย เพื่อนำมาตรวจว่าติดเชื้อไข้มาลาเรียหรือไม่ และขณะนี้ผลการตรวจเสร็จสิ้นไปแล้วจำนวน 73 รายยังไม่พบว่ามีเชื้อไข้มาลาเรียแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนเข้าใจว่า ในพื้นที่อุทยานแห่งขาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ป่าลึกนั้นมีความปลอดภัย และไม่มีการระบาดของไข้มาลาเรีย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์มาตลอดและขอยืนยันว่า สถานที่ท่องเที่ยวเขาใหญ่เป็นสถานที่ปลอดเชื้อไข้มาลาเรีย ฉะนั้นนักท่องเที่ยวก็สามารถเข้าไปเที่ยวชมธรรมชาติภายในอุทยานได้ตามปกติ อย่าตกใจกับข่าวที่เกิดขึ้น
สำหรับอาการไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น เป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรง ติดต่อได้โดยยุงก้นปล่องบางชนิดไปกัดคนที่เป็นไข้มาเลเรียแล้วรับเชื้อไข้มาเลเรียมา เชื้อจะเจริญอยู่ในตัวยุง ประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นเมื่อยุงมีเชื้อไข้มาลาเรีย ไปกัดบุคคลอื่นจะถ่ายเชื้อไข้มาลาเรียให้แก่บุคคลนั้น หลังจากรับเชื้อแล้วประมาณ 10-14 วัน จะมีอาการป่วยเป็นไข้มาลาเรีย
“ฉะนั้นจึงฝากเตือนประชาชนว่าหากจำเป็นจะต้องเข้าป่า ก็ให้หาทายาป้องกันยุง และควรใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดเพื่อเป็นการป้องกันยุงกัด หรือนอนกางมุ้ง และหากมีอาการต้องสงสัยก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที” นพ.สมชาย กล่าวในที่สุด
วันนี้( 9 มิ.ย.)นพ.สมชาย ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของไข้มาลาเรีย ในพื้นที่รับผิดชอบ 5 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง ประกอบด้วย นครราชสีมา,สุรินทร์,ชัยภูมิ,บุรีรัมย์ และมหาสารคาม ว่า ล่าสุดตั้งแต่เตือน ม.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียแล้วจำนวน 25 รายแบ่งเป็นจังหวัดชัยภูมิ 1 ราย, บุรีรัมย์ 1 ราย, สุรินทร์ 16 ราย, นครราชสีมา 7 ราย ส่วน จ.มหาสารคามยังไม่พบผู้ป่วย ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
“ในภาคอีสานการระบาดของไข้มาลาเรียถือว่าเป็นปกติ และมีสถิติผู้ป่วยต่ำมาก สถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมโรคได้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครราชสีมามีผู้ป่วยน้อยมากและเป็นปกติของโรคที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วย มักจะติดเชื้อมาจากพื้นที่อื่นมากกว่า เช่น ประชาชนที่ไปทำงานในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี, ตราด, ตาก และระนอง แล้วนำเชื้อไข้มาลาเรียกลับมาและมีอาการรุนแรงเมื่อกลับมายังภูมิลำเนาแล้ว ” นพ.สมชาย กล่าว
นพ.สมชาย กล่าวอีกว่า การดำเนินการควบคุมโรคนั้น ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย และไม่เสี่ยง สำหรับในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากจะมีการควบคุม และเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น โดยเจ้าหน้าที่จะทำการเจาะตรวจเลือดผู้อยู่พื้นที่เสี่ยงมาตรวจอย่างละเอียด และเร่งทำการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันให้กับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่พื้นที่เสี่ยงมากจะอยู่ตามจังหวัดที่อยู่ติดตะเข็บแนวชายแดนซึ่งจะมีการตั้งหน่วยมาลาเรียประจำพื้นที่อยู่แล้ว
ส่วนกรณีพบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 3 ราย และเข้ารับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีน นั้น หนึ่งใน 3 รายนี้ มีอาการโคม่า คือนายคำปอน ภูจำปา อายุ 44 ปี อยู่ที่หมู่ 1 ต.หินตั้ง อ.เมือง จ.นครนายก ทำงานที่จุดกางเต็นท์ลำตะคองบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งขณะนี้อาการยังน่าเป็นห่วง โดยล่าสุดจากรายงานพบว่า อาการที่เกิดขึ้นคล้ายกับมาลาเรียขึ้นสมอง เนื่องจากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้นานไม่ยอมไปพบแพทย์ ประกอบกับนายคำปอน เคยป่วยเป็นโรคปอดมาก่อน ขณะนี้ยังอยู่ในความดูแลของแพทย์ อย่างใกล้ชิด
ส่วนอีก 2 ราย คือนายวิชาญ ปลื้มกมล และนายเสน่ห์ รักชาติ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันรักษาป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำหน้าที่เดินตรวจป่าจากเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ถึง อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
“จากการสอบถามข้อมูลจากญาติผู้ป่วยทราบว่า ทั้ง 3 คนเป็นเจ้าหน้าที่ที่จะต้องออกไปเดินตรวจป่า และเข้าไปในป่าลึก ซึ่งในป่าลึกจะมีเชื้อไข้มาลาเรียจากยุงก้นปล่องอยู่แล้ว หากถูกกัดก็ได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายและป่วยเป็นไข้มาลาเรียดังกล่าว ซึ่งผู้ที่ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่ใส่ใจในการป้องกันตนเองจากยุงกัดและมีความชะล่าใจคิดว่าร่างกายแข็งแรงคงไม่เป็นไร จึงตั้งอยู่ในความประมาทไม่ระมัดระวัง” นพ.สมชาย กล่าว
นพ.สมชาย กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมโรคโดยแมลงที่ 5.4 (อ.ปากช่อง) จ.นครราชสีมาเข้าไปติดตาม และเก็บรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมแล้วในวันนี้ (9 มิ.ย.) ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ขณะเดียวกันได้ส่งทีมเข้าไปเจาะตรวจเลือดพนักงานของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อีกครั้งจำนวนทั้งหมด 173 ราย เพื่อนำมาตรวจว่าติดเชื้อไข้มาลาเรียหรือไม่ และขณะนี้ผลการตรวจเสร็จสิ้นไปแล้วจำนวน 73 รายยังไม่พบว่ามีเชื้อไข้มาลาเรียแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนเข้าใจว่า ในพื้นที่อุทยานแห่งขาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ป่าลึกนั้นมีความปลอดภัย และไม่มีการระบาดของไข้มาลาเรีย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์มาตลอดและขอยืนยันว่า สถานที่ท่องเที่ยวเขาใหญ่เป็นสถานที่ปลอดเชื้อไข้มาลาเรีย ฉะนั้นนักท่องเที่ยวก็สามารถเข้าไปเที่ยวชมธรรมชาติภายในอุทยานได้ตามปกติ อย่าตกใจกับข่าวที่เกิดขึ้น
สำหรับอาการไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น เป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรง ติดต่อได้โดยยุงก้นปล่องบางชนิดไปกัดคนที่เป็นไข้มาเลเรียแล้วรับเชื้อไข้มาเลเรียมา เชื้อจะเจริญอยู่ในตัวยุง ประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นเมื่อยุงมีเชื้อไข้มาลาเรีย ไปกัดบุคคลอื่นจะถ่ายเชื้อไข้มาลาเรียให้แก่บุคคลนั้น หลังจากรับเชื้อแล้วประมาณ 10-14 วัน จะมีอาการป่วยเป็นไข้มาลาเรีย
“ฉะนั้นจึงฝากเตือนประชาชนว่าหากจำเป็นจะต้องเข้าป่า ก็ให้หาทายาป้องกันยุง และควรใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดเพื่อเป็นการป้องกันยุงกัด หรือนอนกางมุ้ง และหากมีอาการต้องสงสัยก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที” นพ.สมชาย กล่าวในที่สุด