ตาก – กลุ่มสตรีบนพื้นที่สูง วอนขอโอกาสทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพสังคมในวันสตรีสากล
บรรยากาศการจัดงานวันสตรีสากลประจำปี 2548 ของจังหวัดตาก ในวันที่ 8 มีนาคน 2548 เวลา 09.00 น. ณ อาคารหอกิตติคุณ เชิงสะพาน สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์200 ปี อำเภอเมืองตาก โดยจังหวัดตาก ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดตาก ได้ผนึกกำลังสตรีจาก 8 อำเภอ 1 กิ่ง ของจังหวัดตาก กว่า 500 คน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงพลังความสามารถ ในการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และสิทธิ์ต่างๆ อีกทั้งเผยแพร่กิจกรรมของสตรี กลุ่มแม่บ้านให้แพร่หลาย พร้อมทั้งมอบรางวัลให้แก่สตรีดีเด่นในแต่ละอำเภอจำนวน 10 รายได้แก่ นางสมพร สุยะ นางสาวสุวรรณา โพธิ์งาม อำเภอแม่บ้านตาก, นางน้อม บูลย์ประมุข อำเภอเเม่ระมาด , นางรำไพ ณ เชียงใหม่ อำเภอแม่สอด
นางมาลี เชื้อสายมาก กิ่งอำเภอวังเจ้า , นางอมร สุรินทร์คำ อำเภอท่าสองยาง , นางเรณู ธรรมจุฑา อำเภออุ้มผาง , นางสำลี สังข์คำ อำเภอสามเงา , นางสมพวง บุญมี อำเภอพบพระ และนางเมตตา ซ่อนกลิ่น ชุมชนเทศบาลเมืองตาก เพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องการทำงานและบำเพ็ญประโยชน์อยางต่อเนื่องของสตรีที่มีต่อชุมชนและสังคม
จากบทบาทและหน้าที่ของสตรีของสตรีต่อสังคมนางสมพร แซ่จือ สตรีจากที่ราบสูง ชาวไทยภูเขา บ้านห้วยเหลือง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก เผยว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อสตรีอย่างวันนี้ ทั้งนี้จากบทบาทและหน้าที่ของสตรีอย่างชาวไทยภูเขา แต่เดิมอาจจะนั้นถูกกีดกันในบางเรื่องรวมถึงในเรื่องของประเพณีการครองคู่ที่ให้อภิสิทธิ์ผู้ชายมีภรรยาได้หลายคน แต่ปัจจุบันก็มีค่านิยม “ผัวเดียวเมียเดียว” มากขึ้น
ทั้งนี้ในฐานะสตรีชาวไทยภูเขา อาจจะขอให้ภาครัฐให้โอกาสในเรื่องการศึกษา และการส่งเสริมกิจกรรมสตรีบนที่ราบสูง ทั้งนี้เห็นว่าการส่งเสริมด้านการศึกษา แก่ชาวไทยภูเขาที่ด้อยโอกาส จะเป็นการเปิดประตูแห่งเสรีภาพเรื่องสิทธิสตรีและเปิดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยภูเขาได้อย่างยั่งยืน โดยสตรีมีบทบาทในการเป็นส่วนร่วมของชุมชน
ด้านนางศรีสมร เทพสุวรรณ์ ผู้อำนวยการวัฒนธรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นสตรีและผู้บริหารส่วนราชการ มีความตระหนักยิ่ง ในเรื่องของบทบาทและแบบอย่างที่จะสื่อออกไป เนื่องจาก ส่วนมากผู้ที่จะเป็นผู้นำส่วนราชการในอดีตจะเป็นผู้ชายมากกว่า
แต่ในปัจจุบันสตรีได้มีบทบาท ในการได้รับโอกาสในการแสดงความสามารถ ในการทำงานเฉกเช่นผู้ชายทั่วไป รัฐบาลปัจจุบันได้ให้เกียรติสตรีได้ เป็นถึงรองประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีคนแรก ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย อีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของบทบาทสตรีที่มีต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ดี อยากให้ผู้ชายที่ถือว่าเป็นบุรุษเพศ ให้เกียรติและหยุดการข่มเหงสตรีในวาระต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการใช้กำลังในครอบครัว และปัญหาการทารุณกรรม การใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมต่อสตรีและเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพครอบครัว มีผลต่อเยาวชน สังคมอย่างร้ายแรง
ในส่วนนี้อยากให้ทุกส่วนของสังคม หันมามองและเข้าใจในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่าง “บูรณาการ” ไม่ใช่เพียงการยกประเด็นมาพูดในวันสตรีแห่งชาติเพียงวันเดียว
บรรยากาศการจัดงานวันสตรีสากลประจำปี 2548 ของจังหวัดตาก ในวันที่ 8 มีนาคน 2548 เวลา 09.00 น. ณ อาคารหอกิตติคุณ เชิงสะพาน สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์200 ปี อำเภอเมืองตาก โดยจังหวัดตาก ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจังหวัดตาก ได้ผนึกกำลังสตรีจาก 8 อำเภอ 1 กิ่ง ของจังหวัดตาก กว่า 500 คน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงพลังความสามารถ ในการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และสิทธิ์ต่างๆ อีกทั้งเผยแพร่กิจกรรมของสตรี กลุ่มแม่บ้านให้แพร่หลาย พร้อมทั้งมอบรางวัลให้แก่สตรีดีเด่นในแต่ละอำเภอจำนวน 10 รายได้แก่ นางสมพร สุยะ นางสาวสุวรรณา โพธิ์งาม อำเภอแม่บ้านตาก, นางน้อม บูลย์ประมุข อำเภอเเม่ระมาด , นางรำไพ ณ เชียงใหม่ อำเภอแม่สอด
นางมาลี เชื้อสายมาก กิ่งอำเภอวังเจ้า , นางอมร สุรินทร์คำ อำเภอท่าสองยาง , นางเรณู ธรรมจุฑา อำเภออุ้มผาง , นางสำลี สังข์คำ อำเภอสามเงา , นางสมพวง บุญมี อำเภอพบพระ และนางเมตตา ซ่อนกลิ่น ชุมชนเทศบาลเมืองตาก เพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องการทำงานและบำเพ็ญประโยชน์อยางต่อเนื่องของสตรีที่มีต่อชุมชนและสังคม
จากบทบาทและหน้าที่ของสตรีของสตรีต่อสังคมนางสมพร แซ่จือ สตรีจากที่ราบสูง ชาวไทยภูเขา บ้านห้วยเหลือง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก เผยว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อสตรีอย่างวันนี้ ทั้งนี้จากบทบาทและหน้าที่ของสตรีอย่างชาวไทยภูเขา แต่เดิมอาจจะนั้นถูกกีดกันในบางเรื่องรวมถึงในเรื่องของประเพณีการครองคู่ที่ให้อภิสิทธิ์ผู้ชายมีภรรยาได้หลายคน แต่ปัจจุบันก็มีค่านิยม “ผัวเดียวเมียเดียว” มากขึ้น
ทั้งนี้ในฐานะสตรีชาวไทยภูเขา อาจจะขอให้ภาครัฐให้โอกาสในเรื่องการศึกษา และการส่งเสริมกิจกรรมสตรีบนที่ราบสูง ทั้งนี้เห็นว่าการส่งเสริมด้านการศึกษา แก่ชาวไทยภูเขาที่ด้อยโอกาส จะเป็นการเปิดประตูแห่งเสรีภาพเรื่องสิทธิสตรีและเปิดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยภูเขาได้อย่างยั่งยืน โดยสตรีมีบทบาทในการเป็นส่วนร่วมของชุมชน
ด้านนางศรีสมร เทพสุวรรณ์ ผู้อำนวยการวัฒนธรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นสตรีและผู้บริหารส่วนราชการ มีความตระหนักยิ่ง ในเรื่องของบทบาทและแบบอย่างที่จะสื่อออกไป เนื่องจาก ส่วนมากผู้ที่จะเป็นผู้นำส่วนราชการในอดีตจะเป็นผู้ชายมากกว่า
แต่ในปัจจุบันสตรีได้มีบทบาท ในการได้รับโอกาสในการแสดงความสามารถ ในการทำงานเฉกเช่นผู้ชายทั่วไป รัฐบาลปัจจุบันได้ให้เกียรติสตรีได้ เป็นถึงรองประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีคนแรก ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย อีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของบทบาทสตรีที่มีต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ดี อยากให้ผู้ชายที่ถือว่าเป็นบุรุษเพศ ให้เกียรติและหยุดการข่มเหงสตรีในวาระต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการใช้กำลังในครอบครัว และปัญหาการทารุณกรรม การใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมต่อสตรีและเด็ก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพครอบครัว มีผลต่อเยาวชน สังคมอย่างร้ายแรง
ในส่วนนี้อยากให้ทุกส่วนของสังคม หันมามองและเข้าใจในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่าง “บูรณาการ” ไม่ใช่เพียงการยกประเด็นมาพูดในวันสตรีแห่งชาติเพียงวันเดียว