แพร่ - เกษตรกรผู้ปลุกถั่วเหลือง อ.เมือง ได้ฤกษ์ระดมเครื่องสูบน้ำกว่า 100 เครื่องสูบน้ำเข้าไร่ยืดอายุถั่วเหลืองหลังภัยแล้งเล่นงานหนัก ด้านบริษัทที่ปรึกษา จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ระบุแก่งเสือเต้นเป็นทางเลือกแก้ภัยแล้ง-น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำยม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2548) เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ อ.เมือง จ.แพร่ ประมาณ 100 ราย ได้ใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 50 เครื่อง ระดมสูบน้ำเข้าคลองส่งน้ำ หรือลำเหมืองซอย เข้าไปตามพื้นที่เกษตรกรรม ให้ต้นถั่วเหลืองที่กำลังออกดอก
ก่อนหน้านี้เกษตรกรต้องรอเวลามานานถึง 3 วัน เนื่องจากน้ำที่ผันมาจากแม่น้ำยม ไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม น้ำที่ไหลเข้าคลองส่งน้ำฝั่งซ้าย ที่เกษตรกรกำลังสูบอยู่อาจใช้ได้ไม่ถึงสัปดาห์จึงต้องใช้วิธีการเฉลี่ยน้ำให้ทั่วพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะในเขตชลประทานฝั่งขวาแม่น้ำยม ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก เมื่อน้ำไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ปลายทางได้ โดยได้รับความเสียหายแล้วประมาณ 1,000 ไร่
ด้าน ดร.จีรเกียรติ อภิบุญโยภาส กรรมการบริหาร บริษัทแอสดิคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำ ได้ว่าจ้างให้จัดทำแผนการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยม เปิดเผยว่า ปัญหาใหญ่ของแม่น้ำยมคือน้ำท่วมในฤดูฝน และฤดูร้อนไม่มีน้ำ เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีภูเขามาก เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมน้ำป่า
จากข้อมูลทราบว่าน้ำของแม่น้ำยม มีปริมาณประมาณ 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากการศึกษาพบว่าสามารถบริหารหรือกักเก็บน้ำได้เพียง 390 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 10 เท่านั้น
จากการลงพื้นที่ศึกษามา 15 เดือน ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถจำแนกโครงการออกเป็น 2 ระดับ คือ ส่วนที่ประชาชนต้องการ และ โครงการระดับลุ่มแม่น้ำ
ทั้งนี้หากจะแก้ปัญหาทั้งระบบต้องเริ่มจากการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เพราะจะสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 1,075 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังสามารถผันน้ำไปยังเขื่อนสิริกิติ์อีกประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้หากมีการขุดลอกลำน้ำยม มีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และขนาดใหญ่อีก อ่างน้อยประมาณ 30 แห่ง ปรับปรุงฝายขนาดใหญ่อีก 2-3 แห่ง รวมทั้งทำโครงการแก้มลิงที่จังหวัดสุโขทัย ก็จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ลุ่มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเชื่อว่าหากมีการดำเนินการจริงคงต้องใช้เวลาประมาณ 20 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (25 กุมภาพันธ์ 2548) เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ อ.เมือง จ.แพร่ ประมาณ 100 ราย ได้ใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จำนวน 50 เครื่อง ระดมสูบน้ำเข้าคลองส่งน้ำ หรือลำเหมืองซอย เข้าไปตามพื้นที่เกษตรกรรม ให้ต้นถั่วเหลืองที่กำลังออกดอก
ก่อนหน้านี้เกษตรกรต้องรอเวลามานานถึง 3 วัน เนื่องจากน้ำที่ผันมาจากแม่น้ำยม ไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม น้ำที่ไหลเข้าคลองส่งน้ำฝั่งซ้าย ที่เกษตรกรกำลังสูบอยู่อาจใช้ได้ไม่ถึงสัปดาห์จึงต้องใช้วิธีการเฉลี่ยน้ำให้ทั่วพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะในเขตชลประทานฝั่งขวาแม่น้ำยม ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก เมื่อน้ำไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ปลายทางได้ โดยได้รับความเสียหายแล้วประมาณ 1,000 ไร่
ด้าน ดร.จีรเกียรติ อภิบุญโยภาส กรรมการบริหาร บริษัทแอสดิคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำ ได้ว่าจ้างให้จัดทำแผนการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยม เปิดเผยว่า ปัญหาใหญ่ของแม่น้ำยมคือน้ำท่วมในฤดูฝน และฤดูร้อนไม่มีน้ำ เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีภูเขามาก เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมน้ำป่า
จากข้อมูลทราบว่าน้ำของแม่น้ำยม มีปริมาณประมาณ 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากการศึกษาพบว่าสามารถบริหารหรือกักเก็บน้ำได้เพียง 390 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 10 เท่านั้น
จากการลงพื้นที่ศึกษามา 15 เดือน ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถจำแนกโครงการออกเป็น 2 ระดับ คือ ส่วนที่ประชาชนต้องการ และ โครงการระดับลุ่มแม่น้ำ
ทั้งนี้หากจะแก้ปัญหาทั้งระบบต้องเริ่มจากการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เพราะจะสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 1,075 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังสามารถผันน้ำไปยังเขื่อนสิริกิติ์อีกประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้หากมีการขุดลอกลำน้ำยม มีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และขนาดใหญ่อีก อ่างน้อยประมาณ 30 แห่ง ปรับปรุงฝายขนาดใหญ่อีก 2-3 แห่ง รวมทั้งทำโครงการแก้มลิงที่จังหวัดสุโขทัย ก็จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ในพื้นที่ลุ่มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเชื่อว่าหากมีการดำเนินการจริงคงต้องใช้เวลาประมาณ 20 ปี