เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูเกี่ยวกับการทำงานของสื่อมวลชนในห้วงแรกที่อุบัติมหันตภัยสึนามิ โดยเฉพาะสื่อทีวีที่ถูกวิจารณ์อย่างหนัก
แต่ที่โด่งดังไปทั่วโลกกับภาพคลื่นยักษ์สึนามิถล่มหาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต และภาพคลื่นยักษ์กำลังถาโถมเข้ามาที่บ้านลายัน ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ในเช้าวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งบันทึกไว้ได้โดยทีมข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 จังหวัดภูเก็ต และกลายเป็นภาพชุดแรกที่เผยแพร่ไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลก
โดยสำนักข่าวต่างประเทศ ทั้ง เอพี ซีเอ็นเอ็น สกายนิวส์ บีบีซี รอยเตอร์ เอ็นเอชเค เอเอฟพีและยูโรนิวส์ ที่ล้วนแต่ใช้ภาพชุดเดียวกันทั้งหมด ด้วยจำนวนทีมงานที่ไม่มากเลย แต่มีข้อได้เปรียบตรงอยู่ในพื้นที่ เช้าวันนั้นพวกเขาทำงานกันอย่างไรบ้าง “ผู้จัดการรายวัน” ได้พบและพูดคุยกับทีมข่าว สทท. 11 ภูเก็ต สถานีข่าวท้องถิ่นที่กำลังกลายเป็นที่สนใจของนักข่าวชาวต่างชาติอยู่ในขณะนี้

“วันนั้น (26 ธันวาคม 2547) เวลาประมาณ 07.50 น.ผมกำลังล้างรถอยู่ที่บ้านพัก จู่ๆ รถก็เกิดอาการไหวยวบยาบ เหมือนกับมีใครมาขย่ม เสาไฟฟ้าหน้าบ้านก็โงนเงนสั่นไหว มั่นใจว่าเกิดแผ่นดินไหวแน่นอนแล้ว เลยโทรศัพท์ไปปลุกนักข่าวที่มีอยู่เพียงคนเดียวให้เดินทางมาที่สถานีโดยด่วน จากนั้นจึงเดินทางไปที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฝั่งตะวันตก จ.ภูเก็ต เพื่อขอข้อมูลว่าเกิดแผ่นดินไหวที่ไหนกันแน่”
ชาญ ม่วงศรี 1 ในช่างภาพของทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ต เล่าถึงวันเกิดเหตุอย่างตื่นเต้น เขาคิดว่าเหตุการณ์นี้คงไม่ร้ายแรงอะไรมากนักเพียงแต่จะไปขอรายละเอียดเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นจะได้เตรียมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ทันเวลา หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เพราะก่อนหน้านี้เมื่อปี 2545 เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่งแต่ครั้งนั้นไม่มีการสูญเสีย
“พอไปถึงพบว่าเจ้าหน้าที่ศูนย์อุตุฯ กำลังสาละวนอยู่กับโทรศัพท์ที่ชาวบ้านโทรเข้ามาสอบถามเหตุการณ์กันอย่างไม่ขาดสาย อีกทั้งคอมพิวเตอร์ก็มาหยุดทำงานไปเฉยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ก็ยังมีบางเครื่องที่พอใช้งานได้ ทำให้เราทราบว่าได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งนับว่ามีความรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านมา แต่ตอนนั้นยังไม่มีหน่วยงานไหนออกมาให้ข้อมูลว่าจะเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ”
จากนั้นประมาณ 8.00 น. เขาเดินทางกลับสถานี แต่แล้วก็ต้องเปลี่ยนเส้นทางเมื่อมีโทรศัพท์จากแหล่งข่าวคนหนึ่งเข้ามาบอกว่าเกิดคลื่นขนาดใหญ่ ซัดเข้ามาที่เกาะรายา ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะภูเก็ตไปประมาณ 25 ก.ม.จากนั้นเพียงอึดใจเดียว มีโทรศัพท์เข้ามาอีกจากชาวบ้านในพื้นที่เกาะกะทะ บ้านลายัน ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ว่ามีแผ่นดินแยกและคลื่นขนาดใหญ่ถล่มชายหาดและบ้านเรือนเสียหาย เขาและทีมงานจึงรีบมุ่งหน้าสู่ ต.เชิงทะเล ทันที
“เรารีบบึ่งรถไปเชิงทะเล และ โทรประสานกับนักข่าวที่อยู่ทางสถานีให้รีบเขียนข่าวและส่งแฟ็กซ์ไปกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมออกอากาศ พร้อมกับโทรประสานช่างภาพอีกทีมให้ไปเก็บภาพที่หาดป่าตองเพราะมีโทรศัพท์แจ้งมาว่ามีคลื่นยักษ์เกิดขึ้นเช่นกัน และหลังจากนั้นก็ไม่สามารถติดต่อกันทางโทรศัพท์ได้อีกเลย ส่วนผมพอไปถึงปากทางเข้าบ้านลายัน ภาพแรกที่เห็นคือน้ำทะเลสูงเลยเข่ากำลังทะลักเข้ามาท่วมถนน มีเรือลอยอยู่บนถนน คนงานก่อสร้างที่ตั้งแคมป์อยู่บริเวณนั้นอพยพหนีตายกันอย่างโกลาหล มีชาวบ้านมาบอกให้ผมรีบออกไปจากบริเวณนั้นเพราะน้ำกำลังทะลักเข้ามาอย่างหนัก”

นั่นคือเหตุการณ์แรกที่ชาญได้บันทึกไว้ ก่อนจะเดินทางกลับสถานีช่อง 11 ภูเก็ต เพื่อเตรียมส่งภาพและข่าวเข้ากรุงเทพฯ ทันที ในขณะที่ช่างภาพอีกทีมก็เดินทางไปถึงหาดป่าตองและกำลังบันทึกภาพเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มหาดป่าตองที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า
“กว่าจะไปถึงหน้าหาดป่าตองผมต้องลงจากรถยนต์ ขอซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ของคนแถวนั้น เพราะรถยนต์เข้าไปไม่ได้ มีคนอพยพหนีตายขึ้นมาบนเขาป่าตองจำนวนมาก ทำให้รถติดและไม่สามารถนำรถเข้าไปหน้าหาดได้ กว่าจะไปถึงหน้าหาดก็ต้องโบกมอร์เตอร์ไซค์ตั้ง 3 ครั้ง”
นพดล เจริญพงศ์ ช่างภาพทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ตเจ้าของภาพ “สึนามิถล่มหาดป่าตอง” ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก เล่าให้ฟังด้วยความตื่นเต้น นี่เป็นเหตุการณ์แรกในชีวิตช่างภาพของเขา เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเจอมาเลยตั้งแต่เกิด
“ไปถึงหาดป่าตองตอนนั้นผู้คนกำลังแตกตื่นวิ่งหนีคลื่นกันอย่างสับสนวุ่นวาย บางส่วนก็ช่วยกันลำเลียงนักท่องเที่ยวที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล บ้านเรือนร้านค้าได้รับความเสียหาย รถยนต์และมอร์เตอร์ไซค์ถูกคลื่นซัดจมลงไปในทะเล ขณะเดียวกันคลื่นก็ยังคงซัดเข้ามาที่ชายหาดเป็นระลอกๆ แต่ไม่รุนแรงเท่ากับลูกแรก ถามว่าตอนนั้นกลัวมั้ยตอบได้เลยว่ากลัว แต่คิดว่ายังไงๆ ก็ต้องเก็บภาพมาให้ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผมไม่เคยพบ อยากจะเก็บภาพมาให้คนอื่นได้ชมว่ามันเป็นอย่างไร รุนแรงและน่ากลัวขนาดไหน ซึ่งภาพที่ได้มาก็ไม่ถือว่าสมบูรณ์มากนักแต่ก็เป็นภาพชุดแรกที่คนไทยและทั่วโลกได้เห็น สิ่งที่เกิดขึ้นกับภูเก็ตแห่งนี้”
ด้วยจำนวนทีมงานที่มีน้อย นพดลจึงต้องรีบตีรถกลับสถานีทันทีเพื่อที่จะส่งภาพชุดแรกเข้ากรุงเทพฯ ให้เร็วที่สุด โดยมีนักข่าวที่มีอยู่คนเดียวในขณะนั้นรายงานข่าวส่งแฟ็กซ์เข้ากรุงเทพฯ ไปก่อนหน้าแล้ว
ณขจร จันทวงศ์ นักข่าวที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียงเดือนเศษ และวันที่เกิดเหตุก็ตรงกับช่วงที่บรรณาธิการข่าวลาพักร้อน อีกทั้งนักข่าวอีกคนก็ลาไปซ้อมรับปริญญา เขาจึงต้องรับบทบาททั้งผู้สื่อข่าว รีไรเตอร์ และ บรรณาธิการข่าวจำเป็น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีน้องนักศึกษาฝึกงานเป็นผู้ช่วย และมีหัวเรือใหญ่อย่าง อัมพวัน เจริญกุล ผ.สทท.11 ภูเก็ต คอยดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
“ผมถูกปลุกให้ตื่นมาทำข่าวประมาณ 8 โมงเช้า ตอนนั้นยังนอนหลับอยู่ที่หาดในยาง ยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น คืนนั้นเพื่อนชวนให้ไปนอนหน้าหาดในยาง โชคดีที่ไม่ไป หากนอนหน้าหาดก็คงนอนกันถึงเช้าและคงจะหลับไม่ตื่นแล้ว เพราะหาดในยางถูกคลื่นซัดเสียหายและมีคนตายหลายราย ” ณขจร เล่าด้วยความตื่นเต้นไม่แพ้กัน วันที่ 26 ธ.ค. 47 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ…เขาเหลือเวลาช่วยงานที่ ช่อง 11 ภูเก็ต อีกเพียง 5 วัน ก่อนจะย้ายไปทำงานหนังสือพิมพ์
“พอไปถึงสถานี มีข่าวด่วนเช้าวันนั้นที่เตรียมไว้ส่งเข้ากรุงเทพฯ คือข่าวการเสียชีวิตของอดีต ส.ส.เรวุฒิ จินดาพล ขณะที่กำลังเขียนข่าวนั้นอยู่ ก็มีโทรศัพท์เข้ามาจากชาวบ้านเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่ากำลังเกิดคลื่นยักษ์ขึ้นที่หาดป่าตองและหาดลายัน ต.เชิงทะเล ซึ่งก่อนหน้านี้ช่างภาพของเราได้เดินทางไปเก็บภาพในพื้นที่แล้ว จึงรีบเขียนข่าวตามที่ได้รับแจ้ง
หลังจากนั้นไม่นานช่างภาพที่ไปเก็บภาพหาดป่าตอง กับ ต.เชิงทะเล เดินทางมาถึงสถานีพอดี ประกอบกับโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาจากเกาะพีพีและพื้นที่อื่นๆ มีเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ภาพและข่าวสึนามิถล่มหาดป่าตองชุดแรกก็ถูกส่งไปที่ สทท.กรุงเทพฯ ทันที จนลืมส่งข่าวส.ส.เรวุฒิเสียชีวิตไปเลย หลังจากส่งภาพแรกไปแล้ว เราก็ทยอยส่งภาพและข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นอย่างต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด แต่ก็ปลื้มใจที่ทุกคนช่วยกันเต็มที่ ทั้งหน้าที่ของผู้สื่อข่าว และ ต้องคอยตอบข้อซักถามและให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในเวลานั้น ตกบ่ายจึได้รู้ว่าสึนามิสร้างความเสียหายอย่างหนัก ผมรู้สึกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถึงแม้จะเคยเจอน้ำท่วมใหญ่ที่ อ.หาดใหญ่ มา 2 ครั้ง แต่ก็ไม่เท่าภัยพิบัติครั้งนี้...ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียทุกคน” ณขจรกล่าว สีหน้าหดหู่

ภาพข่าวคลื่นยักษ์สึนามิชุดแรกของทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ต ถูกส่งไปที่ส่วนกลางเมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.และได้ออกอากาศเผยแพร่เมื่อเวลา 11.00 น.ไล่เลี่ยกับโทรทัศน์ช่องอื่นๆ รวมทั้งสำนักข่าวต่างประเทศที่ได้ใช้ภาพชุดเดียวกันเผยแพร่ข่าวมหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต ให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลกได้รับทราบข่าวร้ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ทีมผลิตรายการที่เดินทางไปทำสารคีที่เกาะยาว จ.พังงา ซึ่งขึ้นฝั่งได้ก่อนเกิดคลื่นยักษ์ไม่กี่นาที ก็ทำหน้าที่รายงานข่าวทางโทรศัพท์เข้ากรุงเทพฯ เป็นระยะๆ ในอีกทางหนึ่งด้วย
ตลอดทั้งวันทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ต ทำงานกันอย่างหนัก ด้วยข้อจำกัดทางด้านทีมงานที่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงลาพักร้อน รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ อีกหลายอย่าง กว่าทีมงานทั้งหมดจะได้พักผ่อนในวันนั้นก็ล่วงเข้า 02.00 น.ของวันถัดไปและต้องตื่นมาทำงานต่อเวลา 05.30 น. ได้พักผ่อนเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็ยังแตกต่างกันโดยสิ้งเชิงกับผู้ประสบภัยที่ต้องสูญเสียบ้าน สูญเสียทรัพย์สินและคนอันเป็นที่รัก คืนนั้นเขาคงแทบไม่ได้หลับได้นอนเลย …
ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่เคยพบเคยเจอมาก่อน เป็นความสูญเสียที่จะติดตาติดใจไปอีกนานในฐานะคนทำงานข่าวพวกเขาภูมิใจที่ได้ร่วมรายงานข่าวครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและของโลก ให้ประชาชนได้รับรู้ความน่ากลัวของภัยร้ายนี้ แต่ถ้าเหตุการณ์ลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกไม่ว่าที่ใดในโลกก็ตาม...นั่นคือสิ่งจะทำให้พวกเขาและทุกๆ คนสบายใจมากกว่านี้...
บทบาทโทรทัศน์ท้องถิ่น บทบาทที่สื่อต่างชาติทึ่ง!
ภายหลังภาพและข่าวความเสียหาย จากคลื่นยักษ์สึนามิถูกเผยแพร่และเกาะติดอย่างต่อเนื่องทั้งจากสื่อไทยและสื่อต่างชาติทุกๆ แขนง ช่อง 11 ภูเก็ต ในฐานะที่ได้เอื้อเฟื้อภาพข่าวสึนามิถล่มเกาะภูเก็ต ให้กับสถานีโทรทัศน์ภายในประเทศ รวมทั้งสำนักข่าวต่างประเทศ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ทั้งสิ้น กำลังเป็นที่สนใจจากสื่อมวลชนต่างประเทศ ไม่เฉพาะความมีน้ำใจในการเอื้อเฟื้อภาพข่าวเท่านั้น แต่เมื่อสื่อทีวีของเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสได้มาบรรทึกเทปและสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบการทำงานทั้งหมดของสทท.11 ภูเก็ต เขากลับได้พบว่าสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นแห่งนี้ ยังมีอีกบทบาทหนึ่งซึ่งควรได้รับการชมเชยและบรรทึกไว้ให้ทั่วโลกได้รับรู้...
“ก่อนหน้านี้ไม่นาน มีสื่อทีวีจากฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม มาที่สถานีเพื่อขอสัมภาษณ์และบรรทึกภาพการทำงานของเรา ซึ่งประเด็นที่เขาให้ความสนใจในตอนแรก คือการรับมือกับสถานการณ์คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นในวันแรก เขาสงสัยและทึ่งเมื่อได้รับคำตอบว่า ทีมงานของเราในขณะเกิดเหตุมีอยู่เพียงไม่กี่คนแต่ก็สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดี อีกทั้งยังเอื้อเฟื้อภาพให้ช่องอื่นและสำนักข่าวต่างประเทศนำไปเผยแพร่ได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ภาพ นับเป็นสิ่งที่เขาประทับใจมาก”
อัมพวัน เจริญกุล ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ภูเก็ต เล่าให้ “ผู้จัดการรายวัน” ฟังด้วยความภาคภูมิใจกับผลงานที่ทีมงานทุกคนร่วมมือร่วมใจทำกันอย่างเต็มที่ แต่สิ่งที่ทำให้สื่อต่างชาติทึ่งในบทบาทของทีวีท้องถิ่นไทย ไม่ได้มีเพียงแค่นั้น นอกเหนือจากความพยายามในการเกาะติดสถานการณ์ข่าวอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังได้จัดรายการสดเพื่อเป็นสื่อกลางให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนติดต่อสื่อสารถึงกัน เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประสบภัยในวันเกิดเหตุ
“วันนั้นสถานีกลายเป็นที่พักพิงของประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่หนีมาหลบภัยบนเขารังที่มีมากกว่า 1,000 คน เรานำอาหาร ผลไม้ และ น้ำดื่ม มามอบให้ผู้ที่มาหลบภัย ทุกๆ ห้องของสำนักงานข่าวถูกเปิดให้เป็นที่พักพิงของนักท่องเที่ยวและประชาชน หลังจากนั้นเราจัดรายการสดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ญาติผู้สูญหายที่ต้องการติดต่อกัน ได้ใช้เป็นสื่อกลาง ซึ่งตลอด 4 วันที่มีรายการ มีนักท่องเที่ยวและประชาชนได้ใช้ช่องทางนี้ติดต่อกับคนที่พลัดหลงจนได้เจอกันหลายราย โดยเฉพาะเด็กชาวต่างชาติคนหนึ่งที่พลัดหลงกับพ่อแม่ เจ้าหน้าที่จากรพ.มิชชันได้พามาออกรายการกับทางสถานี ทำให้พ่อแม่เขาที่ชมอยู่ที่กระบี่รู้ว่าลูกอยู่ที่ภูเก็ต จึงมารับกลับไปอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาพ่อแม่ลูกอีกครั้ง เมื่อเล่าให้สื่อทีวีต่างชาติฟัง เขายิ่งทึ่งและเขียนในข่าวของเขาว่า ช่อง 11 ภูเก็ต คือศูนย์กลางความช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการช่วยให้คนที่พลัดพรากได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง เราทุกคนทำงานกันอย่างเต็มที่และไม่ใช่ทำงานข่าวอย่างเดียว แต่ทำครบวงจร ทำให้ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด” ผอ.อัมพวัน กล่าว
ถึงแม้จะเป็นเพียงสถานีโทรทัศน์ในท้องถิ่นและปฏิบัติงานบนข้อจำกัดหลายอย่างแต่เมื่อได้รับกำลังใจจากหลายๆ ฝ่ายก็พอจะทำให้ทีมงานทุกคนมีแรงฮึดเพิ่มขึ้นมาบ้างและภารกิจต่อไปของ สทท.11ภูเก็ตคือเกาะติดการฟื้นฟูความเสียหายจากคลื่นยักษ์เพื่อให้ทุกฝ่ายมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นไปอีก...ทั้งหมดนั้นพอจะทำให้เห็นภาพ ว่าทำไมสื่อต่างชาติถึงต้องทึ่งกับการทำงานของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นเล็กๆ แห่งนี้…
แต่ที่โด่งดังไปทั่วโลกกับภาพคลื่นยักษ์สึนามิถล่มหาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต และภาพคลื่นยักษ์กำลังถาโถมเข้ามาที่บ้านลายัน ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ในเช้าวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งบันทึกไว้ได้โดยทีมข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 จังหวัดภูเก็ต และกลายเป็นภาพชุดแรกที่เผยแพร่ไปทั่วประเทศไทยและทั่วโลก
โดยสำนักข่าวต่างประเทศ ทั้ง เอพี ซีเอ็นเอ็น สกายนิวส์ บีบีซี รอยเตอร์ เอ็นเอชเค เอเอฟพีและยูโรนิวส์ ที่ล้วนแต่ใช้ภาพชุดเดียวกันทั้งหมด ด้วยจำนวนทีมงานที่ไม่มากเลย แต่มีข้อได้เปรียบตรงอยู่ในพื้นที่ เช้าวันนั้นพวกเขาทำงานกันอย่างไรบ้าง “ผู้จัดการรายวัน” ได้พบและพูดคุยกับทีมข่าว สทท. 11 ภูเก็ต สถานีข่าวท้องถิ่นที่กำลังกลายเป็นที่สนใจของนักข่าวชาวต่างชาติอยู่ในขณะนี้
“วันนั้น (26 ธันวาคม 2547) เวลาประมาณ 07.50 น.ผมกำลังล้างรถอยู่ที่บ้านพัก จู่ๆ รถก็เกิดอาการไหวยวบยาบ เหมือนกับมีใครมาขย่ม เสาไฟฟ้าหน้าบ้านก็โงนเงนสั่นไหว มั่นใจว่าเกิดแผ่นดินไหวแน่นอนแล้ว เลยโทรศัพท์ไปปลุกนักข่าวที่มีอยู่เพียงคนเดียวให้เดินทางมาที่สถานีโดยด่วน จากนั้นจึงเดินทางไปที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฝั่งตะวันตก จ.ภูเก็ต เพื่อขอข้อมูลว่าเกิดแผ่นดินไหวที่ไหนกันแน่”
ชาญ ม่วงศรี 1 ในช่างภาพของทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ต เล่าถึงวันเกิดเหตุอย่างตื่นเต้น เขาคิดว่าเหตุการณ์นี้คงไม่ร้ายแรงอะไรมากนักเพียงแต่จะไปขอรายละเอียดเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นจะได้เตรียมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ทันเวลา หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เพราะก่อนหน้านี้เมื่อปี 2545 เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่งแต่ครั้งนั้นไม่มีการสูญเสีย
“พอไปถึงพบว่าเจ้าหน้าที่ศูนย์อุตุฯ กำลังสาละวนอยู่กับโทรศัพท์ที่ชาวบ้านโทรเข้ามาสอบถามเหตุการณ์กันอย่างไม่ขาดสาย อีกทั้งคอมพิวเตอร์ก็มาหยุดทำงานไปเฉยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ก็ยังมีบางเครื่องที่พอใช้งานได้ ทำให้เราทราบว่าได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งนับว่ามีความรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านมา แต่ตอนนั้นยังไม่มีหน่วยงานไหนออกมาให้ข้อมูลว่าจะเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ”
จากนั้นประมาณ 8.00 น. เขาเดินทางกลับสถานี แต่แล้วก็ต้องเปลี่ยนเส้นทางเมื่อมีโทรศัพท์จากแหล่งข่าวคนหนึ่งเข้ามาบอกว่าเกิดคลื่นขนาดใหญ่ ซัดเข้ามาที่เกาะรายา ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะภูเก็ตไปประมาณ 25 ก.ม.จากนั้นเพียงอึดใจเดียว มีโทรศัพท์เข้ามาอีกจากชาวบ้านในพื้นที่เกาะกะทะ บ้านลายัน ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ว่ามีแผ่นดินแยกและคลื่นขนาดใหญ่ถล่มชายหาดและบ้านเรือนเสียหาย เขาและทีมงานจึงรีบมุ่งหน้าสู่ ต.เชิงทะเล ทันที
“เรารีบบึ่งรถไปเชิงทะเล และ โทรประสานกับนักข่าวที่อยู่ทางสถานีให้รีบเขียนข่าวและส่งแฟ็กซ์ไปกรุงเทพฯ เพื่อเตรียมออกอากาศ พร้อมกับโทรประสานช่างภาพอีกทีมให้ไปเก็บภาพที่หาดป่าตองเพราะมีโทรศัพท์แจ้งมาว่ามีคลื่นยักษ์เกิดขึ้นเช่นกัน และหลังจากนั้นก็ไม่สามารถติดต่อกันทางโทรศัพท์ได้อีกเลย ส่วนผมพอไปถึงปากทางเข้าบ้านลายัน ภาพแรกที่เห็นคือน้ำทะเลสูงเลยเข่ากำลังทะลักเข้ามาท่วมถนน มีเรือลอยอยู่บนถนน คนงานก่อสร้างที่ตั้งแคมป์อยู่บริเวณนั้นอพยพหนีตายกันอย่างโกลาหล มีชาวบ้านมาบอกให้ผมรีบออกไปจากบริเวณนั้นเพราะน้ำกำลังทะลักเข้ามาอย่างหนัก”
นั่นคือเหตุการณ์แรกที่ชาญได้บันทึกไว้ ก่อนจะเดินทางกลับสถานีช่อง 11 ภูเก็ต เพื่อเตรียมส่งภาพและข่าวเข้ากรุงเทพฯ ทันที ในขณะที่ช่างภาพอีกทีมก็เดินทางไปถึงหาดป่าตองและกำลังบันทึกภาพเหตุการณ์คลื่นยักษ์ถล่มหาดป่าตองที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า
“กว่าจะไปถึงหน้าหาดป่าตองผมต้องลงจากรถยนต์ ขอซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ของคนแถวนั้น เพราะรถยนต์เข้าไปไม่ได้ มีคนอพยพหนีตายขึ้นมาบนเขาป่าตองจำนวนมาก ทำให้รถติดและไม่สามารถนำรถเข้าไปหน้าหาดได้ กว่าจะไปถึงหน้าหาดก็ต้องโบกมอร์เตอร์ไซค์ตั้ง 3 ครั้ง”
นพดล เจริญพงศ์ ช่างภาพทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ตเจ้าของภาพ “สึนามิถล่มหาดป่าตอง” ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก เล่าให้ฟังด้วยความตื่นเต้น นี่เป็นเหตุการณ์แรกในชีวิตช่างภาพของเขา เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเจอมาเลยตั้งแต่เกิด
“ไปถึงหาดป่าตองตอนนั้นผู้คนกำลังแตกตื่นวิ่งหนีคลื่นกันอย่างสับสนวุ่นวาย บางส่วนก็ช่วยกันลำเลียงนักท่องเที่ยวที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล บ้านเรือนร้านค้าได้รับความเสียหาย รถยนต์และมอร์เตอร์ไซค์ถูกคลื่นซัดจมลงไปในทะเล ขณะเดียวกันคลื่นก็ยังคงซัดเข้ามาที่ชายหาดเป็นระลอกๆ แต่ไม่รุนแรงเท่ากับลูกแรก ถามว่าตอนนั้นกลัวมั้ยตอบได้เลยว่ากลัว แต่คิดว่ายังไงๆ ก็ต้องเก็บภาพมาให้ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผมไม่เคยพบ อยากจะเก็บภาพมาให้คนอื่นได้ชมว่ามันเป็นอย่างไร รุนแรงและน่ากลัวขนาดไหน ซึ่งภาพที่ได้มาก็ไม่ถือว่าสมบูรณ์มากนักแต่ก็เป็นภาพชุดแรกที่คนไทยและทั่วโลกได้เห็น สิ่งที่เกิดขึ้นกับภูเก็ตแห่งนี้”
ด้วยจำนวนทีมงานที่มีน้อย นพดลจึงต้องรีบตีรถกลับสถานีทันทีเพื่อที่จะส่งภาพชุดแรกเข้ากรุงเทพฯ ให้เร็วที่สุด โดยมีนักข่าวที่มีอยู่คนเดียวในขณะนั้นรายงานข่าวส่งแฟ็กซ์เข้ากรุงเทพฯ ไปก่อนหน้าแล้ว
ณขจร จันทวงศ์ นักข่าวที่เพิ่งเข้ามาทำงานได้เพียงเดือนเศษ และวันที่เกิดเหตุก็ตรงกับช่วงที่บรรณาธิการข่าวลาพักร้อน อีกทั้งนักข่าวอีกคนก็ลาไปซ้อมรับปริญญา เขาจึงต้องรับบทบาททั้งผู้สื่อข่าว รีไรเตอร์ และ บรรณาธิการข่าวจำเป็น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีน้องนักศึกษาฝึกงานเป็นผู้ช่วย และมีหัวเรือใหญ่อย่าง อัมพวัน เจริญกุล ผ.สทท.11 ภูเก็ต คอยดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
“ผมถูกปลุกให้ตื่นมาทำข่าวประมาณ 8 โมงเช้า ตอนนั้นยังนอนหลับอยู่ที่หาดในยาง ยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น คืนนั้นเพื่อนชวนให้ไปนอนหน้าหาดในยาง โชคดีที่ไม่ไป หากนอนหน้าหาดก็คงนอนกันถึงเช้าและคงจะหลับไม่ตื่นแล้ว เพราะหาดในยางถูกคลื่นซัดเสียหายและมีคนตายหลายราย ” ณขจร เล่าด้วยความตื่นเต้นไม่แพ้กัน วันที่ 26 ธ.ค. 47 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ…เขาเหลือเวลาช่วยงานที่ ช่อง 11 ภูเก็ต อีกเพียง 5 วัน ก่อนจะย้ายไปทำงานหนังสือพิมพ์
“พอไปถึงสถานี มีข่าวด่วนเช้าวันนั้นที่เตรียมไว้ส่งเข้ากรุงเทพฯ คือข่าวการเสียชีวิตของอดีต ส.ส.เรวุฒิ จินดาพล ขณะที่กำลังเขียนข่าวนั้นอยู่ ก็มีโทรศัพท์เข้ามาจากชาวบ้านเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่ากำลังเกิดคลื่นยักษ์ขึ้นที่หาดป่าตองและหาดลายัน ต.เชิงทะเล ซึ่งก่อนหน้านี้ช่างภาพของเราได้เดินทางไปเก็บภาพในพื้นที่แล้ว จึงรีบเขียนข่าวตามที่ได้รับแจ้ง
หลังจากนั้นไม่นานช่างภาพที่ไปเก็บภาพหาดป่าตอง กับ ต.เชิงทะเล เดินทางมาถึงสถานีพอดี ประกอบกับโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาจากเกาะพีพีและพื้นที่อื่นๆ มีเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ภาพและข่าวสึนามิถล่มหาดป่าตองชุดแรกก็ถูกส่งไปที่ สทท.กรุงเทพฯ ทันที จนลืมส่งข่าวส.ส.เรวุฒิเสียชีวิตไปเลย หลังจากส่งภาพแรกไปแล้ว เราก็ทยอยส่งภาพและข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นอย่างต่อเนื่องภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด แต่ก็ปลื้มใจที่ทุกคนช่วยกันเต็มที่ ทั้งหน้าที่ของผู้สื่อข่าว และ ต้องคอยตอบข้อซักถามและให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในเวลานั้น ตกบ่ายจึได้รู้ว่าสึนามิสร้างความเสียหายอย่างหนัก ผมรู้สึกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถึงแม้จะเคยเจอน้ำท่วมใหญ่ที่ อ.หาดใหญ่ มา 2 ครั้ง แต่ก็ไม่เท่าภัยพิบัติครั้งนี้...ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียทุกคน” ณขจรกล่าว สีหน้าหดหู่
ภาพข่าวคลื่นยักษ์สึนามิชุดแรกของทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ต ถูกส่งไปที่ส่วนกลางเมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.และได้ออกอากาศเผยแพร่เมื่อเวลา 11.00 น.ไล่เลี่ยกับโทรทัศน์ช่องอื่นๆ รวมทั้งสำนักข่าวต่างประเทศที่ได้ใช้ภาพชุดเดียวกันเผยแพร่ข่าวมหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต ให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลกได้รับทราบข่าวร้ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ทีมผลิตรายการที่เดินทางไปทำสารคีที่เกาะยาว จ.พังงา ซึ่งขึ้นฝั่งได้ก่อนเกิดคลื่นยักษ์ไม่กี่นาที ก็ทำหน้าที่รายงานข่าวทางโทรศัพท์เข้ากรุงเทพฯ เป็นระยะๆ ในอีกทางหนึ่งด้วย
ตลอดทั้งวันทีมข่าว สทท.11 ภูเก็ต ทำงานกันอย่างหนัก ด้วยข้อจำกัดทางด้านทีมงานที่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงลาพักร้อน รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆ อีกหลายอย่าง กว่าทีมงานทั้งหมดจะได้พักผ่อนในวันนั้นก็ล่วงเข้า 02.00 น.ของวันถัดไปและต้องตื่นมาทำงานต่อเวลา 05.30 น. ได้พักผ่อนเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็ยังแตกต่างกันโดยสิ้งเชิงกับผู้ประสบภัยที่ต้องสูญเสียบ้าน สูญเสียทรัพย์สินและคนอันเป็นที่รัก คืนนั้นเขาคงแทบไม่ได้หลับได้นอนเลย …
ทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่เคยพบเคยเจอมาก่อน เป็นความสูญเสียที่จะติดตาติดใจไปอีกนานในฐานะคนทำงานข่าวพวกเขาภูมิใจที่ได้ร่วมรายงานข่าวครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและของโลก ให้ประชาชนได้รับรู้ความน่ากลัวของภัยร้ายนี้ แต่ถ้าเหตุการณ์ลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกไม่ว่าที่ใดในโลกก็ตาม...นั่นคือสิ่งจะทำให้พวกเขาและทุกๆ คนสบายใจมากกว่านี้...
บทบาทโทรทัศน์ท้องถิ่น บทบาทที่สื่อต่างชาติทึ่ง!
ภายหลังภาพและข่าวความเสียหาย จากคลื่นยักษ์สึนามิถูกเผยแพร่และเกาะติดอย่างต่อเนื่องทั้งจากสื่อไทยและสื่อต่างชาติทุกๆ แขนง ช่อง 11 ภูเก็ต ในฐานะที่ได้เอื้อเฟื้อภาพข่าวสึนามิถล่มเกาะภูเก็ต ให้กับสถานีโทรทัศน์ภายในประเทศ รวมทั้งสำนักข่าวต่างประเทศ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ทั้งสิ้น กำลังเป็นที่สนใจจากสื่อมวลชนต่างประเทศ ไม่เฉพาะความมีน้ำใจในการเอื้อเฟื้อภาพข่าวเท่านั้น แต่เมื่อสื่อทีวีของเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสได้มาบรรทึกเทปและสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบการทำงานทั้งหมดของสทท.11 ภูเก็ต เขากลับได้พบว่าสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นแห่งนี้ ยังมีอีกบทบาทหนึ่งซึ่งควรได้รับการชมเชยและบรรทึกไว้ให้ทั่วโลกได้รับรู้...
“ก่อนหน้านี้ไม่นาน มีสื่อทีวีจากฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม มาที่สถานีเพื่อขอสัมภาษณ์และบรรทึกภาพการทำงานของเรา ซึ่งประเด็นที่เขาให้ความสนใจในตอนแรก คือการรับมือกับสถานการณ์คลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นในวันแรก เขาสงสัยและทึ่งเมื่อได้รับคำตอบว่า ทีมงานของเราในขณะเกิดเหตุมีอยู่เพียงไม่กี่คนแต่ก็สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดี อีกทั้งยังเอื้อเฟื้อภาพให้ช่องอื่นและสำนักข่าวต่างประเทศนำไปเผยแพร่ได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ภาพ นับเป็นสิ่งที่เขาประทับใจมาก”
อัมพวัน เจริญกุล ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ภูเก็ต เล่าให้ “ผู้จัดการรายวัน” ฟังด้วยความภาคภูมิใจกับผลงานที่ทีมงานทุกคนร่วมมือร่วมใจทำกันอย่างเต็มที่ แต่สิ่งที่ทำให้สื่อต่างชาติทึ่งในบทบาทของทีวีท้องถิ่นไทย ไม่ได้มีเพียงแค่นั้น นอกเหนือจากความพยายามในการเกาะติดสถานการณ์ข่าวอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังได้จัดรายการสดเพื่อเป็นสื่อกลางให้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนติดต่อสื่อสารถึงกัน เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประสบภัยในวันเกิดเหตุ
“วันนั้นสถานีกลายเป็นที่พักพิงของประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่หนีมาหลบภัยบนเขารังที่มีมากกว่า 1,000 คน เรานำอาหาร ผลไม้ และ น้ำดื่ม มามอบให้ผู้ที่มาหลบภัย ทุกๆ ห้องของสำนักงานข่าวถูกเปิดให้เป็นที่พักพิงของนักท่องเที่ยวและประชาชน หลังจากนั้นเราจัดรายการสดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ญาติผู้สูญหายที่ต้องการติดต่อกัน ได้ใช้เป็นสื่อกลาง ซึ่งตลอด 4 วันที่มีรายการ มีนักท่องเที่ยวและประชาชนได้ใช้ช่องทางนี้ติดต่อกับคนที่พลัดหลงจนได้เจอกันหลายราย โดยเฉพาะเด็กชาวต่างชาติคนหนึ่งที่พลัดหลงกับพ่อแม่ เจ้าหน้าที่จากรพ.มิชชันได้พามาออกรายการกับทางสถานี ทำให้พ่อแม่เขาที่ชมอยู่ที่กระบี่รู้ว่าลูกอยู่ที่ภูเก็ต จึงมารับกลับไปอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาพ่อแม่ลูกอีกครั้ง เมื่อเล่าให้สื่อทีวีต่างชาติฟัง เขายิ่งทึ่งและเขียนในข่าวของเขาว่า ช่อง 11 ภูเก็ต คือศูนย์กลางความช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการช่วยให้คนที่พลัดพรากได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง เราทุกคนทำงานกันอย่างเต็มที่และไม่ใช่ทำงานข่าวอย่างเดียว แต่ทำครบวงจร ทำให้ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด” ผอ.อัมพวัน กล่าว
ถึงแม้จะเป็นเพียงสถานีโทรทัศน์ในท้องถิ่นและปฏิบัติงานบนข้อจำกัดหลายอย่างแต่เมื่อได้รับกำลังใจจากหลายๆ ฝ่ายก็พอจะทำให้ทีมงานทุกคนมีแรงฮึดเพิ่มขึ้นมาบ้างและภารกิจต่อไปของ สทท.11ภูเก็ตคือเกาะติดการฟื้นฟูความเสียหายจากคลื่นยักษ์เพื่อให้ทุกฝ่ายมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นไปอีก...ทั้งหมดนั้นพอจะทำให้เห็นภาพ ว่าทำไมสื่อต่างชาติถึงต้องทึ่งกับการทำงานของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นเล็กๆ แห่งนี้…