เมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 11 NEWS 1, บริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ,หอการค้าจังหวัดภูเก็ต และโรงแรมกะตะบีช รีสอร์ท ร่วมกันจัด เสวนาเรื่อง " ล้มแล้วลุกขึ้นสู้ กอบกู้อันดามัน" เพื่อระดมความคิด แสวงหาแนวทางฟื้นฟูความเสียหาย จากโศกนาฏกรรมคลื่นยักษื สึนามิ ขึ้นที่โรงแรมกะตะบีช รีสอร์ท จังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ , นายปมุข อัจฉริยะฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ,นายยรรยง ข้อเพชร เจ้าของโรงแรมเขาหลักลากูนา , นายธรรมศักดิ์ ภู่พันธ์วิวัฒน์ กรรมการหอการค้าไทย เขต 16 ( กระบี่ พังงา ภูเก็ต) , นายพัฒนพงษ์ เอกวานิช นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ตและ นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
การเสวนาครั้งนี้มี นายสำราญ รอดเพชร และนางสาวจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ เป็นผู้ดำเนินรายการ

สำราญ - วันนี้เรา จะมองไปข้างหน้า จะกอบกู้ฟื้นฟูอย่างไร เราจะมองภาพเศรษฐกิจที่เป็นหัวขบวนรถจักรก่อนนะครับว่าสามารถที่จะเดินไปข้างหน้า จะฉุดกันไปอย่างไร ท่านแรกขอ เรียนถาม คุณโชติศักดิ์ อาสภวิริย กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอี แบงก์ ก่อนว่า ตอนนี้เม็ดเงินมันกระจายตัวไปอยู่ตรงไหนบ้าง
โชติศักดิ์ - เวลานี้มีเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ทั้งภาครัฐ และเอกชน กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยถูกมาก 0.01 เปอร์เซ็นต์ เกือบไม่มีต้นทุนเลย และให้ธนาคารพาณิชย์มาปล่อยต่อ ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ 6 จังหวัด ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ 1 ปีก่อน ที่เหลือดูสถานการณ์และแบงก์ชาติคงจะพิจารณาต่อไป
แต่อย่างน้อยที่สุด เวลานี้มีแน่นอน 30,000 ล้านบาท ทุกธนาคารพาณิชย์ ท่านเป็นลูกค้าที่ไหน ไปที่นั่นได้เลย แล้วไปบอกตรงนี้เลยว่า มีเงิน 30,000 ล้าน คุณจะขอใช้สิทธิ์นี้ เชื่อว่าธนาคารทุกธนาคารคงยินดีให้ความช่วยเหลือสนับสนุนนะครับ เพราะว่ากระทรวงการคลังได้ประชุมหลายครั้งแล้วและก็ท่านนายกสมาคมธนาคารไทย คุณโทนี ( ชาติศิริ โสภณพนิช ) และก็กรรมการผู้จัดการใหญ่ทุกธนาคาร ก็ยืนยันนะครับว่าให้ความช่วยเหลือ ท่านไปติดต่อได้เลยนะครับ
อันที่สอง เรามองว่า ธุรกิจที่เป็นอย่างที่บอก ไม่ใช่ขนาดเล็ก ขนาดย่อย ที่เป็นเพิงๆ อันนี้เราไม่พูดกัน มาพูดตรงอันใหญ่ก่อน เพราะอันใหญ่เป็นแม่เหล็ก ถ้าอันใหญ่ดี พวกนั้นสุขสบายตามมา เหมือนมีร่ม
เราคิดอย่างนี้ครับ พวกที่เป็นโรงแรม รีสอร์ท หรือเป็นสถานที่ที่ต้องใช้เงินในการลงทรัพย์สินถาวร จำนวนมากพอสมควร อย่างเช่นโรงแรม ถ้าจะให้กู้เงินใหม่ ก็คงให้กู้นะครับ แต่ว่าหนี้ 2 ก้อนนี้ จะเหลือบ่ากว่าแรงที่เขาจะแบกไว้ เพราะว่าจะกลายเป็นหนี้ 2 ก้อน เอาละโชคดีหน่อย มีประกัน เอาประกันมาลดภาระหนี้เก่าไปส่วนหนึ่ง แต่เรามองว่า เพื่อแบ่งเบาภาระ ไม่ให้ต้องแบกหนี้มาก ก็มีการจัดตั้งกองทุน อันนี้ต้องให้เครดิต คุณมัชฌิมา คุณก้องเกียรติ และก็คุณกิตติรัตน์ (ณ ระนอง) ผมนั่งอยู่ในรถตู้คันนั้นด้วย และเราก็คิดกันว่า เราจะจัดตั้งกองทุนขึ้นมาช่วย เข้าไปถือหุ้น การเข้าไปถือหุ้นนี้ก็จะเป็นเงิน เงินส่วนนี้คุณก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ถูกไหมครับ เราก็กะว่า เอาเงินก้อนนี้ไปถือหุ้น ในกิจการที่ต้อง มีโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้เวลา ในการที่จะกลับมา อันนี้เป็นเงินร่วมลงทุนนะครับ เอาเข้าไปร่วมลงทุน ในจำนวนหนึ่งซึ่งจะผ่อนปรนท่านได้

ในเวลาเดียวกัน เราก็เสนอแนวความคิด ว่า ให้แบงก์พาณิชย์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ ได้มีโอกาสพิจารณาว่าเขาจะได้เอาหนี้บางส่วน มาแปรเป็นทุน เพื่อที่ใน 2-3 ปีจะได้อุ้มพวกท่านที่เป็นผู้ประกอบการขนาดที่จะต้องมีทรัพย์สินถาวร จำนวนหนึ่ง อุ้มไว้ก่อน เราช่วยกันอุ้มไว้ก่อน เพราะมันต้องใช้เวลาในการบูรณะ ทั้งความรู้สึกนึกคิด จิตใจ และอินฟราสตรัคเจอร์ เราอุ้มไว้สัก 3 ปี และหลังจากนั้นก็ค่อยๆ ให้สิทธิ์ท่านซื้อคืนไป อันนี้จะเป็นตัวที่แบ่งเบาภาระ
กองทุนนี้มี 2 อัน อันหนึ่ง จัดตั้งโดยสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ มีจำนวน 3,000 ล้านบาท ใครเป็นลูกค้าแบงก์ไหน ไปติดต่อได้เลยนะครับ เขาจะพิจารณาในเรื่องนั้น และมีอีกประเด็นหนึ่งคือว่านอกเหนือจากกองทุนนี้จะเข้าไปลงแล้ว ก็อาจจะมีให้แบงก์แปลงหนี้บางส่วนเป็นทุน ท่านจะได้แบ่งเบาภาระไปด้วย
ถัดมาอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการผ่อนชำระ ถ้าเราดูภูเก็ต ส่วนใหญ่ก็เป็นทัวริสต์ ก็จะมีรายได้เป็นฤดูกาล เมื่อรายได้เป็นฤดูกาล การผ่อนชำระคงจะต้องผ่อนปรน ในช่วงขณะนี้ทุกแบงก์มีโปรแกรมเหมือนกันหมด คือพักหนี้ไว้ก่อน พวกที่บาดเจ็บสาหัส ตรงนี้เราพักไว้เลย ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย พักไว้ก่อน และการพักหนี้นะครับ โดยหลักแล้วจะเป็นเอ็นพีแอลแน่นอน
แต่ว่ากำลังทำเรื่องขอผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ให้กรุณาอนุเคราะห์ เป็นกรณีพิเศษในบริเวณเหล่านี้ เขาไม่ได้เป็นคนเกเรเลย วันดีคืนดีพายุก็มาโถมทับ มันก็เกิดเหตุ เพราะฉะนั้นจะขอให้พิจารณากันส่วนนี้ ว่าอย่าเพิ่งเป็นเอ็นพีแอลเลย เพราะไม่งั้นความท้อแท้มันจะมา
อันนี้กำลังคุยกันอยู่ ก็คงเป็นดุลพินิจของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะต้องช่วยกันในยามนี้
เมื่อไม่เป็นเอ็นพีแอล ก็จัดตารางการชำระหนี้ให้แมทช์กับรายได้ เวลานี้รายได้มันหายวับไปกับตา แต่จะค่อยๆทยอยกลับมา ก็ต้องให้เวลา ปีแรกอาจจะชำระน้อยหน่อย ดอกเบี้ยน้อยหน่อย และตั้งพักไว้ อย่าไปคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ถือว่าต้องช่วยกัน เดี๋ยวเราค่อยมาคืนเมื่อตอนมี
ขอความกรุณาท่านนะครับ เห็นใจซึ่งกันและกัน ท่านต้องเห็นใจแบงก์เหมือนกัน ว่า แบงก์เขาอยู่ภายใต้กฎกติการะเบียบของแบงก์ชาติและกติกาสากล กติกาตลาดหลักทรัพย์ และเขาต้องแบกเอ็นพีแอลเยอะๆ และถ้าท่านจะ .. ขอโทษนะครับไม่ได้ว่ากัน แต่ถ้าท่านจะเอาแต่ได้ อีกหน่อย ก็ไม่มีแบงก์ไหนกล้า ไม่มีแบงก์ไหน อยากจะเข้ามาช่วย ต้องช่วยซึ่งกันและกัน ท่านต้องช่วยแบงก์เหมือนกัน ท่านต้องตรงๆ กับแบงก์

จินดารัตน์ -เรียนเชิญคุณยรรยง ข้อเพชร เจ้าของโรงแรมเขาหลัก ลากูนา
จ.พังงาค่ะ สูญเสียมากมายแค่ไหน วันนี้เหลืออะไรบ้างค่ะ
ยรรยง - ชายหาดเขาหลักที่เราสูญเสียไปเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ผมคิดว่าทั้งหมดน่าจะประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เรามีห้องพักอยู่ประมาณ 5,500 ห้องนะครับ และก็โรงแรมทั้งหมดประมาณ 60 แห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม 3 ดาว ถึง 3 ดาวครึ่งประมาณ 2,000 กว่าห้อง ที่เหลือจะเป็น 4 ดาวกับ 5 ดาว การเติบโตค่อนข้างรวดเร็วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สมัยที่ผมทำใหม่ๆ รายได้ของการท่องเที่ยว จ.พังงา เมื่อปี 2538 ประมาณ 300 ล้านบาท ปีที่แล้ว รายได้จากการท่องเที่ยว 6,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการเติบโตของเขาหลักรวดเร็วมาก จนควบคุมกันไม่ค่อยอยู่
ขณะนี้เท่าที่คุยกันในสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวประมาณ 3-4 ครั้งและท่านรัฐมนตรีสมคิดก็ได้มาประชุมด้วย เรากำลังเสนอแผนที่จะให้ทางภาครัฐช่วยในเรื่องการฟื้นฟู การกอบกู้ขึ้นมาใหม่และส่วนใหญ่ยังจะสู้กันอยู่ และบางส่วนอาจจะท้อแท้บ้าง เพราะว่ามีหลายโรงแรมที่สูญเสียคนที่รักไป ก็ไม่ใช่น้อย ซึ่งก็อาจจะใช้ระยะเวลาในการเยียวยา
แต่อยากเรียนว่า เขาหลักจำเป็นจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้อีกครั้ง มันไม่ใช่ทำเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว หรือธุรกิจโรงแรมอย่างเดียว ขณะนี้ผมเชื่อว่า คนในพังงา ทุกคนพึ่งพาธุรกิจการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า
จากสมัยก่อนที่ผมเริ่มทำงานเพื่อ พ.ศ. 2538 ทุกครั้งที่ขับรถเข้าโรงแรม ช่วงก่อสร้าง รถที่สวนผมไม่เกิน 2 คัน ขณะนี้ถ้านับเมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่เป็นช่วงไฮซีซัน รถเริ่มติดบ้างเป็นบางจุดนะครับ และอุบัติเหตุก็เกิดขึ้นทุกวัน อุบัติเหตุสูงสุดที่เกิดขึ้นใน จ.พังงา คือที่บริเวณเขาหลัก คืออยากสะท้อนให้เห็นภาพความเจริญ ของชายหาดเขาหลักที่เป็นมา
ในอดีตที่ผ่านมาการต่อสู้ของผม เพื่อจะเริ่มต้นธุรกิจรีสอร์ทที่ จ.พังงา ผมบอกได้เลยว่ามันยากกว่า ณ จุดเริ่มต้นวันนี้มากนัก สมัยก่อน ผมเชิญเอเย่นต์ไปที่โรงแรม หนีบ้าง ไปรับที่โรงแรมก็ป่วยไม่ลงมาหาบ้าง ไปดูโรงแรมตั้งหลายคน พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ชายหาดเขาหลักไม่มีอะไรเลย แต่จากจุดนั้นที่ได้ต่อสู้มา เราก็พยายามหยุดจุดขายความที่ไม่มีอะไรเลย จนประสบผลสำเร็จในตลาดหลักของเราคือตลาดเยอรมันนะครับซึ่งแต่เดิม ตลาดเหล่านี้ เป็นตลาดของ จ.ภูเก็ต ของจ.กระบี่ แต่การที่เขาหลักฟื้นฟูขึ้นมาตอนเมื่อปี 2538 ถึง 2540 ไม่ใช่ว่าเขาหลักจะแย่งแขกจากภูเก็ต
ผมอยากจะเรียนว่า ในโลกของความเป็นจริง นักท่องเที่ยวจะเป็นผู้ที่เลือกสินค้าในการที่จะบริโภค แหล่งท่องเที่ยวไหนทำความชื่นชอบให้กับนักท่องเที่ยวได้ นักท่องเที่ยวก็จะไปแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

ที่บอกว่าภูเก็ตล้มแล้วลุกขึ้นสู้ตั้งหลายหน หลายครั้ง ผมบอกได้เลยว่า 5-6 ปีที่ผ่านมา เขาหลักประสบปัญหาคล้ายๆ ภูเก็ตเหมือนกัน แต่เขาหลัก ไม่ค่อยล้ม ตั้งแต่วายทูเค ตั้งแต่บาหลีบอมบ์ มาถึง 9/11 มาถึงซาร์ส มาถึงชิคเค้น ฟลู ผลประกอบการของผมไม่เคยลดลง มีแต่เพิ่มขึ้น รายได้ทุกปีเพิ่มขึ้น หนี้ผ่อนแบงก์ไม่เคยเลื่อนชำระ ดอกเบี้ยไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว
สิ่งที่มาพูดในวันนี้คืออยากจะสร้างความมั่นใจกับทุกคนว่า เมื่อสินค้าดี การท่องเที่ยวผมเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องโฆษณามากนะครับ คุณภาพของสินค้าจะเป็นตัวโฆษณาที่ดีสำหรับการท่องเที่ยว และลูกค้าของบริเวณเขาหลักจะเป็นรีพีทเตอร์เยอะ
แต่หลังจากที่กลุ่มทุนใหญ่ๆ เข้าไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะจากภูเก็ตบ้าง กรุงเทพฯบ้าง จากเมืองนอกบ้าง ทิศทางการท่องเที่ยวเริ่มเปลี่ยนไปเล็กน้อย ผมบอกได้เลย การตลาดเริ่มผสมมากขึ้น มีเอเชียเข้าไปบ้าง มีชาติที่ไม่เคยเข้ามา เข้าไปมากขึ้น เพราะฉะนั้นการพัฒนาการท่องเที่ยวช่วงหลัง มันก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ไม่น้อยเลย
การพัฒนาช่วงหลัง ผมบอกได้เลยหลายคนก็อปปี้แบบของภูเก็ตไป โดยที่ไม่คิดว่าศักยภาพของงาน มันไม่เหมือนภูเก็ต และคนละเรื่อง พอก็อปปี้ภูเก็ตไป พอไปลงที่พังงา ส่วนใหญ่จะเจ๊งกันเยอะ ผมบอกได้เลยว่า ที่ไปลงใหม่ๆ เจ๊งกันเยอะ
ช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ โรงแรมที่เต็มจริงๆ มีไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ อีก 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือมีแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ แค่นั้นเอง คือบางครั้งข่าวออกไป อาจจะสับสน อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง โรงแรมผมตอนนั้น เขาหลัก ลากูนา ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เขาหลัก บันดารี 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม วันที่เกิดเหตุนะครับ แต่โรงแรมที่มี 150 ห้อง ที่อยู่ละแวกใกล้เคียงกัน มีแขก 10-20 ห้อง นี่คือความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรามาคุยกันว่าทำไมโรงแรมของผมทำไมเต็ม ทำไมโรงแรมที่ทำ 4-5 ดาว ไม่เต็ม คือถ้าเรามาคุยกันให้ดีๆ และมาใส่ความรู้ความเข้าใจให้ดี ผมคิดว่า ภาพเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น

สิ่งที่น่าผิดหวัง คือการที่ทุนใหม่เข้าไป ไม่ได้ดูบ้าน ของเขาก่อนว่าเขาทำยังไง เป็นยังไง เพราะฉะนั้นการที่เข้าไปลงทุนใหม่ ความสูญเสียก็เกิดขึ้น และคนในจ.พังงา ก็จะไม่ได้ประโยชน์ เพราะโรงแรมไม่มีแขก เมื่อโรงแรมไม่มีแขก พนักงานก็เซอร์วิส ชาร์จ น้อย ร้านค้าก็ขายของได้น้อย
แนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวของภูเก็ต กระบี่ พังงา ไม่ควรจะเหมือนกัน ควรจะมีจุดขายที่ชัดเจน และไม่จำเป็นต้องก็อปปี้แบบกัน ใครมีจุดขายที่ดี นำมาเสนอกัน โดยเฉพาะภูเก็ตกับพังงา ผมคิดว่าถ้าเป็นสินค้าการท่องเที่ยวเดี๋ยวนี้ก็เหมือนกับเหล้าพ่วงเบียร์ ผมบอกได้เลยว่า นักท่องเที่ยวภูเก็ตต้องพึ่งพาทรัพยากรการท่องเที่ยวใน จ.พังงา นักท่องเที่ยวในพังงาต้องพึ่งพาสนามบินของ จ.ภูเก็ต เพราะฉะนั้นวันนี้เขาหลักล้มเหลว ภูเก็ตก็มีผลกระทบด้วย ถ้าภูเก็ตล้มเหลว พังงาก็มีผลกระทบด้วย แต่ทำอย่างไรในอนาคต ให้ภูเก็ตยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง พังงาก็ยืนอยู่ได้ และก็ทำให้เกิดประโยชน์สุขกับภาคอันดามันทั้งภาค และก็ทิศทางการพัฒนาความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ที่เราบอกกันว่า ฉวยวิกฤติเป็นโอกาสเราไม่เคยฉวยได้ซักครั้งนะครับเรามีแต่พูดอย่างเดียวว่า เราจะฉวยวิกฤติเป็นโอกาส พอถึงภาคปฏิบัติทำไม่ได้ ผมเชื่อว่านโยบายรัฐบาลดี แต่พอถึงขั้นปฏิบัติการเราล้มเหลว มาตลอด
สำราญ - ไปฟังเจ้าของโรงแรมที่นี่ เกือบ 300 ห้องและได้รับผลกระทบน้อย แต่ว่าเท่าที่คุยกันเมื่อคืน ท่านก็เป็นห่วงภูเก็ตเยอะเหมือนกัน ไปกันที่ คุณปมุข อัจฉริยฉาย ประธานกรรมการบริหารหอการค้าภูเก็ต และเจ้าของโรงแรมกะตะธานี
ปมุข - ทั้งเครือของเรามีประมาณ 900 ห้อง เฉพาะที่นี่เรามีประมาณ 270 กว่าห้อง และได้รับผลเสียหายบ้าง แต่เราจะไม่พูดด้านความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ผมจะพูดถึงอนาคตของจ.ภูเก็ต ของอันดามัน

เราคงจะต้องยอมรับว่า แหล่งท่องเที่ยวที่มาแรงในอันดามันนั้นคงจะเป็นภูเก็ต พีพี เขาหลัก ขณะนี้ ภาพที่ผมอยากจะเห็นของจ.ภูเก็ต ก็คือ ผมอยากจะเห็นจ.ภูเก็ต เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับเวิลด์ คลาส ที่พูดกันเมื่อตะกี้ว่า ทำวิกฤติให้เป็นโอกาสฟังแล้วมันดูเพราะ และทุกครั้งที่เกิด และโอกาสที่เราจะทำ ผู้ปฏิบัติไม่เคยทำเลย และค่อนข้างประสบความล้มเหลว แต่ครั้งนี้มันเสียหายมากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดระเบียบ ผู้ที่มีหน้าที่ที่จะทำให้วิกฤติเป็นโอกาสนั้น เริ่มมาตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ก็คือเริ่มมาจากนโยบายของภาครัฐ ก็คือนายกรัฐมนตรี ลงมาถึงจังหวัด มาถึงผู้ว่าฯ มาถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทุกคนจะต้องมาจัดระเบียบกันอย่าง จริงจัง เพราะฉะนั้นช่วงนี้จะเป็นช่วงที่โอกาสที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถจัดระเบียบชายหาดได้ดีที่สุด ทำอย่างไรที่จะทำให้ภูเก็ตของเราเป็นเวิลด์ คลาส บีช เดสติเนชั่น ก็คือการจัดระเบียบเท่านั้นเอง
แหล่งท่องเที่ยวทั่วโลก ที่เป็นบีช เดสติเนชั่น ไม่ว่าจะเป็นฮาวาย มัลดีฟ แคนคูน แคริบเบียน สินค้าที่เขาขายที่ชายหาดเป็นยังไง ผมมั่นใจว่าทุกคนก็คงทราบ และคงจะอยู่ในใจของผู้บริหารระดับสูงแล้วว่า เขาควรจะต้องทำยังไง และผู้ที่ได้รับผลกระทบก็คงจะต้องได้รับการดูแลจากรัฐบาลยังไง
พูดถึงผู้ที่หากินอยู่ตามชายหาด ผมอยากจะเห็นพีพี เป็นดรีม ไอร์แลนด์ ภูเก็ตเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกใฝ่ฝันอยากจะมามาก เราได้รับการพูดว่า ภูเก็ตเป็นดรีม ไอร์แลนด์ ผู้คนอยากจะมา แต่ขณะนี้การท่องเที่ยวของ จ.ภูเก็ต มันพัฒนาเร็วและขยายออกมาอย่างรวดเร็วเหลือเกิน เพราะฉะนั้นคำว่า ดรีมไอร์แลนด์ ก็คงจะเอามาใช้กับภูเก็ตไม่ได้ นอกจากเราต้องพัฒนาจ.ภูเก็ต ของเราให้สินค้าอยู่ในระดับโลก ก็คงจะต้องเป็นเวิลด์ คลาส เดสติเนชั่น
ผมอยากจะเห็นพีพี เป็นดรีม ไอร์แลนด์ เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีนักท่องเที่ยวใฝ่ฝันอยากจะไป มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่าง มีโรงแรมระดับโลกที่ไปลงทุนกัน แต่ไม่หนาแน่นแออัดยัดเยียด เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมาซึ่งทุกคนไปย่ำยีพีพี ทำให้มันสูญเสียความมีเสน่ห์ไปเยอะมากเลย
ขณะนี้ พีพี เหลืออยู่ไม่กี่ห้อง ไม่กี่โรงแรม เพราะฉะนั้นหน่วยที่รับผิดชอบ เป็นไปได้ไหมที่จะต้องเอานักฝัน สถาปนิก มาทำให้มันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ สามารถแข่งกับมัลดีฟ ผมอยากจะเห็นพีพี เป็นดรีม ไอร์แลนด์ นะครับ ผมอยากจะเห็นเขาหลัก มีอินฟราสตรัคเจอร์ มีถนนหนทาง ก่อนที่จะเข้าไปถึงโรงแรม ถนนสวย มีสวน มีความเขียว มีบึง อยากจะเห็นภาพของเขาหลัก เป็นลักษณะเช่นนั้นเหมือนกับที่ลังกาวี ที่ประเทศอินโดนีเซีย ที่โกตาบารู คินนาโกตาบารู สิ่งแวดล้อมเขาสวยมาก มีการออกแบบที่สวย ผมอยากจะเห็นแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลัก เป็นluxury resort
สินค้าของเราขณะนี้ ที่เป็นไข่มุกอันดามัน เรามีอยู่ 3 แหล่งที่เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกมา ก็คือเวิลด์ คลาส เดสติเนชั่น คือภูเก็ต ดรีม ไอร์แลนด์คือ พีพี ส่วน luxury resortคือ เขาหลัก
ผมเชื่อมั่นว่านักท่องเที่ยวยุโรปที่เคยมา จะกลับมาอีก ช่วงนี้เป็นช่วงที่ช็อกโลก ทุกคนไม่มีอารมณ์อยากจะเดินทาง ใช้จังหวะนี้ 2-3 อาทิตย์เคลียร์ ชายหาดไม่ต้องไปพูดถึง สวยสุดยอดอยู่แล้ว ไอ้ที่อยู่บนฝั่ง ตึกรามบ้านช่อง โรงแรมที่พักต่างๆ ที่ระเกะระกะ กวาดให้เร็วที่สุด

ทุกวันนี้เราพยายามทุกวิถีทางในการที่จะสร้างภาพของความเชื่อมั่นกลับคืนมา แต่ในเมื่อคุณสร้างแต่ภาพ ของจริงคุณไม่ได้ทำ อย่าไปสร้าง เราเอาของจริงที่มีอยู่ในทุกวันนี้ ทำให้มันเป็นระดับเวิลด์ คลาส เมื่อเขากลับมา เขาจะอะเมซซิ่ง โอ้ ทำไมมันสวยอย่างนี้ มันสวยกว่าที่เราคิดอีก เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้พวกเราจะต้องคิดให้หนักคือว่า รักษาคุณภาพสินค้า เคลียร์ คลีนอัพ ขัดให้ไข่มุกนี้มันแวววาวขึ้นมา เมื่อเขากลับมา ช้าหน่อยไม่เป็นไร แต่กลับมาแล้วเขาต้องประทับใจ และต้องกลับมาอีก กลับมาเพื่อจะใช้เงินเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่พวกเราจะต้องมาทบทวนกัน
จินดารัตน์ - ยังมีอีกจังหวัดหนึ่งที่เสียหายไม่น้อยก็คือ กระบี่คงจะต้องมองภาพรวมกัน 3 จังหวัดเลยทีเดียวนะคะ กับคุณธรรมศักดิ์ ภูพันธ์วิวัฒน์ ค่ะ ท่านเป็นกรรมการหอการค้าเขต 16 กระบี่ ภูเก็ตและพังงาค่ะ
ธรรมศักดิ์ - ก็เห็นด้วย กับสิ่งที่คุณปมุข พูดมาในหลายๆเรื่อง บางครั้งนักท่องเที่ยว แม้แต่คนไทยมาเที่ยวภูเก็ต เมื่อ 20 ปีที่แล้ว กลับมาอีกครั้งจะได้รับเสียงบ่นว่าเสียดายมาตลอด มันเปลี่ยนไป บางส่วนก็เปลี่ยนไปในทางที่ดี ก็คือเพิ่มรายได้ให้กับเรา แต่ในสิ่งที่เสียหายไป ก็คือธรรมชาติ ผมว่าตรงนี้ ทุกคนเห็นเหมือนกันหมด แต่บางครั้งในการกระทำ คนที่จะเข้ามาดูแลแก้ไข มันต้องแก้ไขทั้งระบบ
วันนี้ ผมว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดี แต่เราต้องหาเจ้าภาพ จริงๆ ที่จะมาแก้ปัญหาตรงนี้ที่เราพูดกันทุกวันนะครับ ผมว่าในระดับท้องถิ่นคงจะทำไม่ได้ หรือระดับภูมิภาคก็ยังเชื่อมั่นว่าทำไม่ได้ ผมว่าที่จะทำได้ดีที่สุดในเวลานี้คือรัฐบาลนะครับ เพราะเราจะเห็นว่า พีพี 20 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ผมเองในฐานะที่เป็นคนจ.กระบี่นะครับ ไปเที่ยวพีพี นึกภาพแต่ละครั้ง มันทั้งมีความรู้สึกทั้งดีใจและบางครั้งก็เศร้าใจ ดีใจคือความเจริญที่เข้ามา ทำให้คนเขามีงานทำ มีรายได้ แต่เศร้าใจ คือว่ามันไม่มีระเบียบ แบบแผน วันนี้มันเป็นโอกาสของธรรมชาติที่ได้เกิดขึ้น ไม่มีใครอยากจะเห็นความสูญเสียตรงนี้ แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราก็จะเห็นว่า สิ่งที่สูญเสีย สร้างขึ้นมาใหม่ มันก็จะเป็นโอกาส
ภูเก็ตต้องเป็นศูนย์กลางของฝั่งอันดามัน แน่นอนนะครับ การเจริญเติบโต การพัฒนา มันมาจากภูเก็ตก่อน ภูเก็ตเจริญขึ้นมา กระบี่ พังงาก็จะเจริญเป็นเมืองคู่ขนานกันไปด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้ภูเก็ตจะต้องมีทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างที่เป็นเวิลด์ เดสติเนชั่น ผมก็เห็นด้วย มาภูเก็ตเราสามารถเที่ยวได้หมด เป็นสถานที่ช็อปปิ้ง เป็นสถานที่แหล่งบันเทิง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและก็กระจายไปพังงา ไปภูเก็ต และก็เห็นด้วยที่ว่าทำอย่างไร เกาะพีพี ซึ่งวันนี้เราสามารถที่จะจัดระเบียบได้ อย่างชัดเจน แต่ว่าลำพังภาคเอกชน ผมคิดว่า ทำไม่ได้ นอกจากหน่วยงานราชการเข้ามาดูแลตรงนี้

เกาะพีพี มีเนื้อที่เพียงประมาณ 400 ไร่เอง ไม่ได้มากมายอะไรเลย เราจะทำอย่างไรให้คนที่ไปพัก หรือคนทุกคนทุกระดับ ไม่ว่าประชาชนธรรมดา หรือนักท่องเที่ยว ซึ่งมีเงินทองมากมาย ได้เข้าไปในเกาะพีพี ได้ทั่วทุกคน แต่การเข้าไปเที่ยว หรือการเข้าไปพักผ่อนก็ต้องจัดให้ดูดีนะครับ เป็นระเบียบ
ผมยกตัวอย่างว่า ถ้าเรามีโรงแรม ที่จะพักในเกาะพีพี เขากำหนดไว้เลยว่า จะต้องกำหนดว่าจะต้องเข้าไปพัก ได้กี่ห้อง หรือกี่คืน ส่วนผู้ที่จะไปท่องเที่ยววันเดย์ทัวร์ ก็สามารถเข้าไปเที่ยวได้ สมัยก่อนเวลาไปภูเก็ต ท่านจะเห็นว่า จ.พังงา ที่เที่ยวแรกๆ เลยนะครับ ไม่ใช่เขาหลัก จากภูเก็ต ก็ไปพังงาเขาไปเที่ยวเกาะปันหยีกัน เขาไปเที่ยวเจมส์ บอน ไอร์แลนด์กัน เวลาไปวันเดย์ทัวร์จากภูเก็ต ไปเกาะปันหยี ไปถ้ำลอด หรือไปเจมส์ บอน ไอส์แลนด์ เขาก็ไปทานอาหารที่เกาะปันหยี
เราจะเห็นว่าสถานที่พักไม่มีเลยนะครับ มีแต่ร้านอาหาร เวลาเดียวกันถ้าไปกระบี่ ผมอยากจะเห็นว่า การไปกระบี่ที่เกาะพีพี ซึ่งห่างจากภูเก็ตเพียงประมาณ 42 กิโล วันเดย์ทัวร์ เราจัดให้นักท่องเที่ยวไป ให้มีระเบียบ เหมือนกับที่ไปที่เกาะพีพีครับ ส่วนที่จะเป็นที่พัก น่าจะเป็นที่พักระดับ 5 ดาวไปเลย ตรงนี้ ก็อยากจะเห็น เพราะเป็นโอกาสแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ถ้าหากว่ายังคิด ยังปล่อยให้ผู้ประกอบกิจการทำเหมือนเดิม คิดว่าเหตุการณ์เดิมๆ ก็จะเกิดขึ้น ความเป็นระเบียบก็จะไม่มี
เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะ หรือว่าต้องใช้ส่วนกลางเข้ามาควบคุมและดูแล เพราะว่าจะเอาส่วนภูมิภาค ผมอยู่ที่จ.กระบี่ ร่วมประชุมกับหน่วยงานราชการ ก็ต้องชี้แจงกันตรงๆ เลยนะครับว่าบางครั้งการแก้ปัญหา มันติดกับระบบระเบียบมาก ราชการเองก็พยายามทำงานให้ดี แต่กฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ มันทำไม่ได้
ยกตัวอย่าง เกาะลันตา มีถนน 1 สาย เพียง 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนจากท่าเทียบเรือจะข้ามไปฝั่งเกาะลันตา 3 กิโลเมตรเป็นลูกรัง 10 ปีมาแล้ว ตั้งแต่เกาะลังกาไม่เจริญ วันนี้ก็ยังไม่ลาดยางเลย ผมเป็นประธานหอการค้ามา 4 ปีที่แล้วและก่อนหน้านั้น เรียกร้องที่จะลาดยาง ให้มันไปถึงท่าเรือ ทำไม่ได้ เหตุผลที่ทำไม่ได้เพราะว่าติดหน่วยงานราชการ ที่ 3 กิโลเมตร ติดถึง 3 หน่วยงาน ถ้าจะผ่าน 3 กิโลเมตรตรงนี้ ติดอุทยาน ติดกรมเจ้าท่า ติดสปก. ปรากฏว่า คุยกันมา ผ่านทางไม่ได้ ทั้งที่เป็นถนนแล้ว แต่จะลาดยาง มีงบประมาณอะไรทุกอย่าง ไม่ได้ เพราะทั้ง 3 หน่วยไม่อนุมัติ นี่คืออุปสรรคหลักๆ เลย เพราะฉะนั้นในภาพรวมตรงนี้ เราต้องหาเจ้าภาพ ถ้าเจ้าภาพชัดเจน ไม่ว่าที่เขาหลัก ไม่ว่าที่ภูเก็ต หรือพีพี ตรงนี้การจัดระเบียบผมคิดว่าจะชัดเจนขึ้น

จินดารัตน์ - ท่านสุดท้ายนะคะ คุณพัฒนพงษ์ เอกวานิช จากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเป็นนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ตค่ะ
พัฒนพงษ์ - ปัจจุบันการแก้ไขปัญหา เรากำลังดำเนินการกันอยู่ แต่ว่าอยากจะให้ชัดเจนครับ เป็นข้อมูลเดียวกัน ถึงความสูญเสียที่เรามี ที่ภูเก็ตเอง เรามีห้องพักประมาณ 35,000 ห้องนะครับ และมีความสูญเสียในระยะต้นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของห้องพัก และประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เป็นการสูญเสียเล็กๆ น้อย ๆ ซึ่งได้ดูแลแก้ไขฟื้นฟูกันไปเรียบร้อยแล้ว
อีก 20 เปอร์เซ็นต์ มีแค่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองที่สูญเสียจริงๆ ที่จะต้องฟื้นฟูกันขึ้นมาใหม่ ส่วนที่เหลืออีก 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ ห้องพักยังอยู่ครบ แต่งานระบบของโรงแรมต่างๆ เหล่านั้น เขาอยู่ใต้ดิน งานระบบก็เลยเสียหาย ต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
เพราะฉะนั้นในภาคของภูเก็ต เท่าที่ได้คุยกับผู้ประกอบการ ที่หน้าหาดป่าตอง ซึ่งเสียหายมากที่สุดในแง่การท่องเที่ยว อีก2 เดือนข้างหน้า ห้องพักของเราพร้อมที่จะรับแขกได้ถึงประมาณเกือบ ๆ 90 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นตัวนั้นเราตัดปัญหาไปได้เลย
ส่วนการฟื้นฟูทางกายภาพด้านอื่นๆ เราก็พยายามทำกันอยู่ ที่ภูเก็ตที่น่าเป็นห่วงอีกอันหนึ่งคือว่า ขยะ เรายังเคลียร์กันอยู่อย่างขะมักเขม้น ที่หน้าหาดป่าตอง คงจะต้องรีบทำให้จบนะครับ ก่อนที่ด้านการตลาดจะรุกเข้าไปถึงตรงนั้น คือว่ามีการนำเอาสื่อและก็ผู้ประกอบการด้านการนำเที่ยวจากประเทศหลักๆ มาดูด้วยตาของเขาเองว่าเราพร้อมแล้ว ถึงเวลานั้น ถ้าเราจะเอาเขามาดู ว่า เราพร้อมแล้วนะ แต่ถ้ายังมีความไม่เรียบร้อยอยู่ ผมคิดว่าเราจะเสียหายมากกว่านี้นะครับ นั่นคือภาพของภูเก็ต
ความเสียหายของกระบี่ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่พีพีนะครับ เท่าที่ทราบในพีพี มีโรงแรมเหลืออยู่ประมาณ 1 ใน 3 ซึ่งกำลังดูแลซ่อมแซมกิจการตัวเองอยู่ ส่วนจริงๆ แล้ว ที่กระบี่เอง ความสูญเสียไม่ได้เกิดขึ้นมากมายนัก น้อยกว่าหาดป่าตองเยอะ แต่ว่าภาพที่ออกไปบางครั้งเห็นพีพีก็นึกถึงกระบี่ ทำให้สื่อที่ออกไปทั่วโลก รวมทั้งคนไทยเองไม่เข้าใจว่า กระบี่เสียหายพังยับเยินแล้วหรือ รวมทั้งภูเก็ตด้วย ก็อยากจะชี้แจงให้ทราบว่าความเสียหายเฉพาะตรงกระบี่ เสียหายไม่มากเลย ปัจจุบันนี้เข้าสู่ภาวะเกือบจะปกติแล้วครับ มีพีพีที่มีการเสียหายและก็กำลังดูแลกันอยู่ ส่วนเขาหลักอย่างที่ทราบนะครับ มีความเสียหายค่อนข้างเยอะ ห้องพักจะเหลือประมาณแค่ 10 เปอร์เซ็นต์นะครับ ซึ่งตัวนี้ผมเห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่านว่า เราต้องให้ 2 ที่นี้เป็นตัวเชิดชูภูมิภาคแถบนี้ ที่คุณยรรยงพูดในตอนต้น ภูเก็ต ปัจจุบันนี้มันเป็นรีสอร์ทกึ่งเมืองไปแล้ว

เพราะฉะนั้นเราต้องอาศัยธรรมชาติรอบๆ เกาะภูเก็ตที่มีอยู่ตั้งหลายสิบเกาะ เป็นตัวช่วยและให้พีพี กับเขาหลัก เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งผมเชื่อว่าเราสามารถทำได้ ผมเชื่อว่าระยะยาว รัฐบาลวางแผนเอาไว้แล้ว และรวมทั้งร่วมกับภาคเอกชนด้วยว่าจะจัดระเบียบอย่างไร ให้มันเอื้อซึ่งกันและกัน นั่นคือด้านกายภาพ
ที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้ ผมว่าเรื่องใหญ่ที่สุด ก็คือเรื่องโรคระบาดต่างๆ นะครับ นักท่องเที่ยวที่เขากลับไป เขาไม่ได้ต้องการจะกลับ รัฐบาลของเขาเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย และเกรงว่าจะมีการติดเชื้อต่างๆ
จึงทำให้ 3 จังหวัดนี้ ปัจจุบันนี้มีนักท่องเที่ยวน้อยมาก และก็เขาบังคับให้นักท่องเที่ยวกลับไป ก็เลยถึงกับต้องร้องไห้ ไม่อยากจะกลับ เพราะเห็นว่าปัจจุบันนี้ ทั้งภูเก็ต กระบี่ พังงา กลับสู่สภาพธรรมชาติที่สวยงามที่เขาเคยเห็นนะครับ เมื่อ 15-20 ปีที่แล้ว ซึ่งตัวนี้จำเป็น การที่เราพยายามป้องกันเรื่องโรคติดต่อต่าง ๆ เราก็พยายามทำกันอย่างเต็มที่นะครับ แต่ต้องยอมรับว่า จังหวัดอันดามันของเราเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกจริงๆ เพราะฉะนั้นการประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อมันต้องทำในระดับโลกจริงๆ ผมคิดว่า รัฐบาลน่าจะต้องให้องค์การอนามัยโลกมาดูแลตัวนี้ และมาออกคำรับรอง ให้ชัดเจนไปเลยว่า เขามาดูแล้ว องค์การอนามัยโลกมาดูแล้ว ว่าเราดูแลได้เป็นอย่างดี แต่เราต้องมั่นใจว่าเราพร้อมที่จะดูแลเรื่องนี้ เมื่อองค์การอนามัยโลกออกคำรับรอง ผมเชื่อว่า ปัญหาตัวนี้จะหมดไป
ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่เราไม่สามารถจะดูแลกันเองได้ ก็คือเรื่องแรงงาน ปัจจุบันนี้มีปัญหาเกิดขึ้นเยอะ แรงงานกว่าหมื่นคน ผมเชื่อว่าอย่างนั้น เฉพาะในภูเก็ตก็เป็นหมื่นนะครับ ไม่นับเขาหลักและก็พีพี ตอนนี้กำลังมีปัญหามาก อยากจะให้ภาครัฐลงมาดูแลอย่างชัดเจนและเร่งด่วน เพราะปัจจุบันนี้ ออคคิวเพนซี่ที่เรามีอยู่ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ผมว่า 1 ใน 3 เป็นนักท่องเที่ยวประมาณ 1 ใน 3 ส่วนที่เหลือจะเป็นสื่อต่างๆ เป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาทำข่าว หรือว่ามาติดตามข่าวญาติพี่น้อง เพราะฉะนั้นอีกไม่กี่วัน เขากลับไป จะเหงากว่านี้เยอะ ผมยืนยัน
เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลนะครับ โรงแรมเล็กๆ บางโรงแรมทยอยกันหยุดกิจการชั่วคราว เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องแรงงาน คือสิ่งสำคัญ เป็นไปได้ไหม ที่ภาครัฐจะออกมาโอบอุ้มในตอนหลังซึ่งผมคิดว่าต้องเป็นไปได้และก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากนะครับ จัดการเทรนนิ่งขึ้นมา ซัก 3 เดือนและภาครัฐอาจจะมีเงินกองทุนประกันสังคมหรืออะไรก็แล้วแต่ ช่วยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เขา และให้พนักงานเหล่านี้มาลงทะเบียนให้ชัดเจน มีการเทรนนิ่ง โดยเขายังสังกัดโรงแรมเดิมอยู่ ถ้าว่างงานก็หางานให้ในภายหลัง การเทรนนิ่งก็จะมีงานทำ และผมเชื่อว่า จะสร้างปัญหาสังคมน้อยลง มาเทรนนิ่ง จะได้ทั้ง 2 ทางนะครับ คือเขาจะมีความรู้ด้วย และก็เขาจะไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดมาก และรู้ว่า ตัวเองจะมีงานทำเมื่อเขาเทรนนิ่งจบลงไปแล้ว

ส่วนเรื่องสุดท้าย มาตรการการเงิน ผมเชื่อว่า อย่างที่คุณโชติศักดิ์เรียนในตอนต้น ผมเชื่อว่า หลายต่อหลายฝ่ายพยายามกันอยู่ตอนนี้ แต่อยากจะเรียนให้ทราบว่า ในภูเก็ต พังงา กระบี่ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมหรือบริษัทนำเที่ยวเท่านั้น ทุกคนในเขต 3 จังหวัดนี้เกี่ยวข้องกันหมด ควรจะมีการประกาศให้เป็นแหล่งฟื้นฟูเศรษฐกิจพิเศษ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ลงโทษเราครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์พิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้นทรีทเมนต์ต่างๆ ที่เราได้รับจากภาครัฐก็ตาม ความร่วมมือต่างๆ ก็ตาม ผมคิดว่า มันก็น่าจะเป็นพิเศษมากๆ เหมือนกัน ก็คือว่าการช่วยเหลือทางการเงินไม่น่าจะครอบคลุมเฉพาะผู้เสียหาย ผมว่าทุกคนเลยควรจะได้รับตัวนี้ น่าจะมีมาตรการเป็นระดับไป เสียหายโดยตรง ช่วยเยอะหน่อย เสียหายระดับกลางก็ช่วยให้น้อยลงมาซักนิดนึง เพราะฉะนั้นเรื่องภาษี มาตรการทางด้านการเงิน อัตราดอกเบี้ยต่างๆ ที่เราทำ น่าจะครอบคลุมหมดทุกธุรกิจใน 3 จังหวัดภาคใต้
สำราญ -ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณสุวิทย์ คุณกิตติ เดินทางมาถึงแล้วนะครับ ผมจะสรุปที่พูดกันมารอบแรกนะครับ เรากำลังตั้งธงว่า จะกอบกู้ฟื้นฟูอันดามันขึ้นมาอีกรอบได้อย่างไร ทุกคนมีน้ำเสียงเห็นพ้องต้องกันว่า ไหน ๆมันเกิดวิกฤติทั้งทีเราควรจะได้ฉวยโอกาสนี้ในการจัดระเบียบใหม่ มองไปข้างหน้า ก็เลยเรียนถามท่านรัฐมนตรีว่า ในภาครัฐนั้นมียุทธศาสตร์หรือจะฉวยวิกฤติเที่ยวนี้เป็นโอกาสในการจัดระเบียบใหม่ ของการท่องเที่ยว ให้มันมั่งคั่ง และยั่งยืน ยืนนานได้อย่างไร
สุวิทย์ - ผมมาเห็นชายหาด ผมก็ว่ายังมีความสวยงามอยู่ แต่มีบางพื้นที่ที่เศษตะกอน โคลนที่มันขึ้นมา ที่ทำเหมืองไว้เมื่อสมัยก่อน ในทะเล มันถูกพัดพาขึ้นมาก็มีบ้างเหมือนกัน แต่ว่าเดี๋ยวธรรมชาติก็คงช่วยดูแลมันเอง ในส่วนนั้น แต่ว่าในภาพรวมแล้ว ผมยังคิดว่า ความสวยงามยังมี และก็เรื่องของปะการัง ปะการังน้ำตื้นถูกทำลายไปบ้าง ในน้ำลึก มีบางพื้นที่โดนกระแสน้ำกระหน่ำ ช่องเขาขาด ประมาณเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นบางพื้นที่อย่างนี้เราจะปิด เพื่อให้มันฟื้นฟูสภาพ บางพื้นที่ที่ยังเที่ยวได้ ดูได้ ก็จะเปิดให้นักท่องเที่ยวไป แต่ก็จะจัดรูปแบบกระบวนการใหม่ นะครับ เรือที่พานักดำน้ำไป ก็จะต้องมีกระบวนการในการบริหารจัดการในเรื่องของการดูแล เรื่องของเสียที่จะปล่อยลงไปในน้ำบ้าง อะไรบ้าง เรื่องของขยะมูลฝอย เรื่องของโคท ออฟ คอนดัค ที่นักประดาน้ำที่ดีจะต้องทำ ยังไงบ้าง จะต้องมีการฝึก มีการเทรนกันด้วย และการช่วยดูแล ช่วยอนุรักษ์ การฟื้นฟูปะการังเทียม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในเรื่องของการฟื้นตัวของธรรมชาติ ก็คงต้องใช้เวลาบ้าง อุทยานทั้งหมด ผมคงจะเปิดได้เลยทันที ประมาณ 7-8 แห่ง
อย่างไรก็ตาม การเปิด หนึ่งเราต้องดูเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก สอง ดูเรื่องของระเบียบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งก็มีการจัดระเบียบใหม่แน่นอนที่สุด จะปล่อยแบบเดิมไม่ได้ จะมีการจัด การใช้พื้นที่ใหม่ให้มันเหมาะสม และจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่จะให้เป็นการท่องเที่ยวที่ผมเรียกว่าการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ไม่ใช่อีโค ทัวริสซึ่ม แต่เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
สิ่งที่เราพยายามทำคือ เรื่องของการดูแล เรื่องของความสามารถในการรับนักท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ได้ ในเขตอุทยานที่ผมดูแลอยู่ รับนักท่องเที่ยวมากเกินความสามารถที่อุทยานจะรับได้ และมันทำให้อุทยานมันเสื่อมโทรมเร็วมาก
ในส่วนของกระทรวงเอง เมื่อหลังจากเกิดเหตุแล้วผมสั่งท่านปลัดกระทรวง และก็ท่านอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาประสานงานมาเขาบอกว่าเขายินดีที่จะช่วย เขารวมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีองค์ความรู้ทางด้านนี้เข้ามา และก็มาทำเซอร์เวย์ไปรอบหนึ่งแล้ว เมื่อวันก่อนนี้ ผมคิดว่าพวกเราคงจะสามารถที่จะกำหนดมาตรการได้ในภายในอาทิตย์สองอาทิตย์นี้ ถ้าจะทำพร้อมกันหมดไม่ได้ อันไหนที่ทำได้ก่อนจะทำไปเรื่อยๆ นะครับ

ธรณ์ - ผมไม่บอกนะครับว่าปะการังจะเสียหายเท่าไรและไม่ทราบว่าจะอยากรู้กันทำไม ผมเจอสื่อมวลชนถาม เสียหายกี่เปอร์เซ็นต์ ลืมมันไปเถอะว่าเสียหายกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าถึงมันเสีย 100 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2 เปอร์เซ็นต์ เราก็ไปทำอะไรกับมันไม่ได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าแนวปะการังที่เรามีอยู่ปัจจุบัน จะสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้อย่างไร
พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราก็มีการออกไปศึกษา โดยที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับกรมอุทยาน ร่วมกับนักวิชาการจาก 8 มหาวิทยาลัย ออกไปศึกษาร่วมกันแบ่งพื้นที่กันชัดเจน ซึ่งแต่ละพื้นที่เมื่อทำการศึกษาเสร็จ เราจะระบุว่าพื้นที่ใด ที่เราคิดว่า มีความเสียหายเกิดขึ้น ยังไม่ควรจะท่องเที่ยวตอนนี้ เราจะขอปิดพื้นที่นั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวในพื้นที่นี้ซักแป๊บนึงได้ไหม ซึ่งคำว่าแป๊บนึงนานแค่ไหน หลายคนก็ถามว่า 6 เดือน 1 ปี 2 ปี 5 ปี 10 ปี ไม่มีใครตอบได้ สิ่งที่เราตอบได้ ก็คือว่าถ้ามันมีความสูญเสียรุนแรง แน่นอนอาจจะนานหน่อย ถ้ามันเบา มันก็อาจจะแค่ 1 ฤดูกาล ซึ่งอันนั้นที่จะตอบได้คือเราต้องไปติดตามธรรมชาตินะครับว่า ธรรมชาติมีการฟื้นฟูในระดับใด
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เรามีการปิดจุดดำน้ำนะครับ ในอดีต หาดแม่ยาย หมู่เกาะสุรินทร์ เราปิดมาเกือบ 10 ปีแล้ว เพียงแต่ว่าคนทั่วไปอาจจะไม่ทราบ หมู่เกาะสิมิลิน กองหินแฟนตาซี ปิดมาแล้ว 4 ปี กิจกรรมพวกนี้เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่คำว่าปิดในทีนี้ ไม่ได้หมายความว่าปิดห้ามเที่ยวหมู่เกาะพีพี ปิดห้ามเที่ยวหมู่เกาะสิมิลันเลย ปิดห้ามเที่ยวหมู่เกาะสุรินทร์ ไม่ใช่อย่างนั้น
ยกตัวอย่างง่ายๆ พีพีเป็นตัวอย่างแล้วกัน เพราะพีพีข้อมูลออกมาแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า พีพี ที่ทางกระทรวงทรัพยากรทำการสำรวจศึกษากันมา อาจารย์มหาวิทยาลัยแนะนำ เสนอ ซึ่งคนจะสั่งปิด หรือไม่ปิด ก็ขึ้นกับผู้บริหารอยู่แล้ว แต่เราเสนอว่าควรจะปิดแค่ 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือ อ่าวต้นไทร ฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่ฝั่งตะวันตกมีปะการังเสียหายนิดหน่อยที่ควรจะปิดไว้ ไม่ให้มีการท่องเที่ยวชั่วขณะหนึ่ง กับเกาะไผ่ เราก็พยายามจะเลือกว่า อย่างอ่าวมาหยา ใครจะไปเที่ยวก็เชิญไปเที่ยวต่อ เพราะเราพบว่าอ่าวมาหยาไม่มีความเสียหาย จุดอื่นก็เชิญเที่ยวกันต่อไป เราขอแค่ 2 ที่นี้ 2 ที่เล็กๆ อย่างหมู่เกาะสุรินทร์ ท่านรัฐมนตรีบอกว่าเปิดแล้ว คนศึกษายังนั่งอยู่นี่เลยครับท่าน รออีกแป๊บนึงนะครับ 4-5 วัน คนศึกษากำลังจะไปพรุ่งนี้ สงสัยข้อมูลสับสน ช่วงนี้สับสนกันเยอะครับ ปกติครับ
สุวิทย์ - คือที่บอกว่าเปิด คือเราเอามอแกนกลับไปแล้ว อนุญาตให้คนที่อยู่ในเกาะกลับไปได้ แต่ว่าสำหรับนักท่องเที่ยว อย่างที่ผมเรียนแล้วว่าเราต้องดูเรื่องความปลอดภัยก่อน และการจัดระเบียบบ้างเท่านั้นเองครับ ก็ที่ดร.ธรณ์พูด คือว่า การปิดอย่างที่ผมเรียนแล้ว อย่างช่องเขาขาด คือปิดเป็นแอเรียไป ยังไม่ได้ปิดทั้งอุทยาน เพราะว่าสิ่งหนึ่งที่กระทรวงต้องการทำ ก่อนหน้านี้คือการจัดระเบียบเรื่องของเรือเข้าออก เรื่องที่จอดเรือ เรื่องแหล่งอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยว และก็การดูแลรักษาความสะอาด รวมทั้งในเรื่องของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลซึ่งเรื่องของปะการังเทียม ในส่วนนี้จริงๆแล้ว ทางกรมทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งก็ดำเนินการอยู่ อันนั้นอาจจะต้องเข้ามาช่วยกันหลายส่วนด้วยกัน แต่ว่าจริงๆ แล้วก็เห็นด้วยนะครับ เห็นด้วยกับดร.ธรณ์อยู่แล้วนะครับในเรื่องการปิดบางส่วน

ธรณ์ - เพราะฉะนั้นยืนยันว่า ไม่มีหมู่เกาะไหนปิดทั้งหมู่เกาะแน่นอน แต่มี 10 จุด อาจจะขอปิดซัก 2 จุด 1 จุดแล้วแต่พื้นที่นะครับ อันนี้บอกกันไม่ได้ แต่ก็จะอยู่ในระดับเท่านี้ 1 จุด 2 จุด 3 จุด คือไม่มีที่ไหน ไม่มีการปิดทั้งหมู่เกาะ บอกว่าห้ามไปเที่ยวหมู่เกาะสิมิลันอีกแล้วในฤดูกาลนี้ไม่ใช่ อย่างนั้น จะมีแค่เฉพาะบางจุดเท่านั้น เราก็พยายามเลือกและจุดบางจุด อย่างช่องเขาขาด ที่หมู่เกาะสุรินทร์ ที่ท่านรัฐมนตรีบอก เปิดก็ไม่มีใครไปเที่ยวครับ เพราะว่ามันเสียหายค่อนข้างมาก มันเหลือแต่ทรายไว้ง่ายๆ อันนั้นยืนยันชัดเจน
อันที่สอง ก็คือในเรื่องการฟื้นฟูและการกอบกู้ จริงๆ แล้วจากปัญหาที่เราเห็นในครั้งนี้ทำให้เราเห็นปัญหาหลายอย่างนะครับ อันนี้มันแนวความคิดของผม ผมเสนอยกตัวอย่างเช่น หมู่เกาะสุรินทร์ ขาดการติดต่อตั้งหลายวัน ผมขอใช้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นพื้นฐานนะครับผมอยากเสนอท่านรัฐมนตรี ถ้าเผื่อท่านรัฐมนตรีจะลองนำไปคิดดู หมู่เกาะสุรินทร์ขาดการติดต่อ 2 วัน อย่างแรกที่ขาดหายคือ เครื่องปั่นไฟ ถังน้ำมัน หมู่เกาะสุรินทร์เอาเครื่องปั่นไฟ ไม่ใช่หมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติแทบทุกแห่ง เครื่องปั่นไฟ และถังเก็บสต็อกน้ำมันอยู่บนพื้นหมดทุกแห่ง หมู่เกาะสุรินทร์ พอหลังคลื่นเข้า 10.03 น. พอ 11.00 น. หมู่เกาะสุรินทร์ติดต่อไม่ได้เลย เพราะน้ำท่วมเครื่องปั่นไฟครับ อันนี้กติกาแรก เพราะว่าหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะอาดังลาวี ใช้ปั่นไฟทั้งนั้น เพราะฉะนั้นนี่เป็นอันแรกที่ว่าในกรณีฉุกเฉิน เราน่าจะมีเครื่องปั่นไฟสำรอง หรือเครื่องสื่อสารสำรองอยู่ในที่สูง
อันดับที่สอง เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะมาก นักท่องเที่ยวบางครั้งไม่ได้รบกวนธรรมชาติอย่างเดียว มันยังเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เรือหางยาว หรือเรืออะไรที่ดำน้ำไป ไม่สามารถติดต่อได้เลย ถึงแม้เรากำลังจะสร้างระบบเตือนภัยสึนามิ ผมก็เคยถามว่า เราสร้างระบบเตือนภัยอุทยาน อุทยานจะบอกนักท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบการเองรู้จะบอกเรือหางยาวที่พานักท่องเที่ยววิ่งดำน้ำได้ยังไง ในเมื่อเรือพวกนี้ไม่ได้มีอุปกรณ์อะไรเลย ใช้ธงเหรอ มันมีหลายอย่างที่ทำให้เราเห็นว่า มันมีจุดผิดพลาด จุดบกพร่องในการท่องเที่ยวในอดีต ซึ่ง อาจจะเกิดขึ้น ไม่ใช่ความผิดของใคร แต่อาจจะเกิดขึ้น เพราะเราเร่งการท่องเที่ยวมากเกินไป เร่งให้มีนักท่องเที่ยวเยอะเกินไป
สำราญ - มาถึงหัวใจของการเสวนาในวันนี้ก็ว่าได้นะครับ ท่านผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คำถาม 2 คำถามคือเฉพาะหน้า ททท. ทำอย่างไร และก็จะได้มีการพลิกเปลี่ยนจากนี้ไปอย่างไร ในช่วงระยะยาว กราบเรียนท่านผู้ว่าฯ จุฑามาศ ครับ
จุฑามาศ - เรื่องพีอาร์ เป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่การท่องเที่ยวจะต้องทำเร่งด่วนแน่นอนคือเรื่องพีอาร์ ว่าภูเก็ตจะเข้ามาได้มากตรงไหน จะมาเที่ยวได้ยังไงบ้าง ก็ต้องดูความสอดคล้อง ทางด้านของรัฐมนตรีสุวิทย์ ท่านก็ดูแลเรื่องการฟื้นฟู การแก้ไข การปรับปรุงแหล่งสภาพ แหล่งท่องเที่ยว เราก็ต้องเดินตามท่าน เพราะว่าถ้าท่านไปเก็บกวาดตรงไหนเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างไปได้ ทางการท่องเที่ยวก็ไปได้ เพราะต้องตามกัน ก็ต้องบอกว่า ข้อมูลข่าวสารเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราก็เลยจะทำโบชัวร์พิเศษขึ้นมาในช่วงนี้ นี่ก็สั่งทำแล้วคือเรื่องของอันดามันอัพเดท คืออันนี้ต้องส่งให้เขาทราบ เพราะว่าพวกเราบางทีก็ไม่รู้นะคะ คนไทยก็ไม่รู้ ความจริงไปชวนให้คนไทยมาเที่ยวแล้ว เขาก็ไม่รู้ตรงไหนไปได้ไม่ได้ ก็อยากจะบอกว่าเรื่องการท่องเที่ยวตอนช่วงนี้ ที่ทำได้เร็วที่สุดคือ เราทำพีอาร์และเรากำลังเชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาหลายกลุ่มด้วยกัน ทางภูเก็ตก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยว หรือว่าโรงแรมต่างๆ ที่เปิดบริการเกือบจะสมบูรณ์เรียบร้อยดีนะคะ เพราะฉะนั้นก็จำเป็นจะต้องส่งเมสเสจต่างๆ เหล่านี้ให้ทุกคนทราบ
ที่การท่องเที่ยวคิดว่าน่าจะต้องทำในระยะเฉพาะหน้า ตอนนี้ก็คือต้องดูแลนักท่องเที่ยวให้ดีที่สุด นักท่องเที่ยวที่กลับไปแล้ว ประมาณเกือบ 4,000 คน ที่เราส่งกลับไป อันที่หนึ่ง เขาจะเป็นทูตที่ดีของเราเลยนะคะ เพราะจะอยู่ในหลายประเทศด้วยกัน เราก็คงจะต้องสร้างดาตาเบสไว้กับเขา คือสร้างสัมพันธไมตรี พอถึงเวลาจะต้องส่งให้เขากลับมาเที่ยวอีก ส่วนที่เจ็บป่วย ก็ดูแล ส่วนที่เสียชีวิต เราก็ส่งจดหมายไปถึงญาติเขา อันนี้เป็นอะไรที่ต้องเร่งทำด่วนคือฟื้นฟูสภาพของจิตใจและฟื้นฟูให้เขาขับเคี่ยวในแง่ของความรู้สึกของเขาเอง
ถามว่าการท่องเที่ยวทำยังไงให้กับทางด้านของ 3 จังหวัดหรือ 6 จังหวัดภาคใต้ ต่อจากนี้ หลังจากที่เหตุการณ์สงบ หลังจากที่ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว เราก็หวังว่าแหล่งท่องเที่ยวในทีนี้ น่าจะสวยงามกว่าที่อื่น หาดทรายใช้ได้เกือบจะสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์เพียงแต่ที่รกก็เพราะมีสิ่งปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นถ้าขนย้ายไปก็เสร็จ ตัวอาคารที่เสียหายไป ก็สร้างขึ้นมาใหม่ หรือว่าปรับปรุงเสีย ก็ใช้เวลา ประมาณ 3-6 เดือน ก็น่าจะฟื้นคืนได้
สิ่งที่เราเป็นห่วงก็คือ ปะการังใต้น้ำ ทางการท่องเที่ยวก็ส่งทีมลงไป ดูว่าจุดที่เขาไปดำน้ำ ที่ทางผู้ที่สนใจการดำน้ำ และเป็นจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงทั่วโลกของเรา เสียหายหรือเปล่า ต้องเน้นนะคะ การท่องเที่ยวก็ลงไปดูว่า ตรงนั้นมันคือจุดขายจริงๆ ของประเทศ ของที่นี่ และเขาเสียหายไหม ก็ไปดูแล้วทั้งหมดก็ค่อนข้างสบายใจว่า ไม่เสียหายถึงได้ออกทีวีให้เขาเห็นภาพความสวยงาม
ที่พังมันก็มีบ้าง อย่างที่ดร.ธรณ์ได้นำเสนอไป แต่เพื่อความสบายใจของทุกคน ก็คือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งดำน้ำ ที่ทรัพยากรของเราที่น่าหวงแหนที่สุดชิ้นหนึ่งของชาติ ไม่ถูกทำลายยังสวยงามอยู่ มีที่ตื้นๆ ดร.ธรณ์กำลังจะไปปลูกและคิดว่าคงกลับมาได้ 10 ปีมันก็ไม่ได้ช้าเกินไป
แรงงานหรือผู้ที่อยู่ในภาคบริการ ไม่น่าเชื่อว่าเราสูญเสียไปค่อนข้างเยอะ หายไป 1 ใน 3 ของคนที่อยู่ในระบบของการทำงาน บุคลากรเหล่านั้นเป็นบุคลากรซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านการให้การบริการ การดูแลเรื่องการท่องเที่ยว ททท.ก็มีหน้าที่จะต้องไปอบรมมาเพิ่มขึ้นนะคะ หรือว่าไปหางาน เปลี่ยนงานของคนที่อยู่ที่นี่ ให้มีศักยภาพในการที่จะมาทำงานในตำแหน่งต่างๆ
นอกจากนั้นก็มีการตกลงกันว่า ในการทำตลาดของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่เราเรียกว่าเป็นงานเทรดแฟร์ใหญ่ๆ ของโลก ขอให้จัดเป็นคล้ายๆ เหมือนกับบูทพิเศษสำหรับโปรโมตเรื่องการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดนี้ ก็อยากจะกราบเรียนทางด้านของภาคเอกชนที่นี่ว่า ให้รวมกันและเราก็ออกไปด้วยกัน
ประเด็นที่อยากจะเรียนย้ำ ก่อนที่จะจบ คือ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่นี่นะคะ หลังจากที่ดูความร่วมมือหลังจากที่ดูความตั้งใจของรัฐบาลแล้วคิดว่าไม่น่าห่วงในการที่จะฟื้นกลับมาเพราะเอาจจะเร็วกว่าที่เราคิด แต่ เนื่องจากมีบทเรียน เราก็ไม่อยากจะให้ช้า เพราะว่า ถ้าเรายกตัวอย่าง เพื่อนๆ เรา อย่างบาหลี เขาปล่อยไว้นานเกินไป 2 ปีแล้วยังไม่ฟื้น นี่คือบทเรียน อยากจะบอกว่า พวกเราต้องช่วยกันคือถ้าช่วยกันตอนนี้ พยายามพูดในเชิงข่าวดี ถ้าจะออกทางสื่อ พูดอะไรที่เชิงโพสิทีฟ การฟื้นจะเร็ว แต่ถ้าพูดอะไรที่เนกาทีฟ การฟื้นช้า แล้วเราจะมาเสียใจกันทีหลัง บาหลีตาย 200 เท่านั้นนะคะ แต่ว่าป่านนี้ยังไม่มีใครกล้าไป

สำราญ -คุณผิน คิ้วไพศาล ประธานบริษัทภูเก็ตแฟนตาซี จะขอแสดงความเห็นในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการท่านหนึ่งที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย
ผิน - นาทีนี้ หรือวินาทีนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร วันนี้ตองพูดถึงเรื่องเหตุการณ์ขณะนี้ของเรา เป็นเหตุการณ์ของโลกแล้ว คือมีผู้ตายตั้ง 160,000 คน และภูเก็ตก็ตายประมาณ 5,000 ผู้ประกอบการบางคนก็ล้มละลาย บางคนโรงแรมสร้างเสร็จยังไม่ทันเปิดก็หาย บางคนก็หายไป ตึกพัง เสียชีวิต บางคนไม่โดน แต่ลูกค้าหายหมดแล้ว
ผมอยู่ในภาคประกอบการ ก็อาจจะมองชัด ว่าจะทำยังไง คือตอนนี้ ที่เสียหายไปแล้ว คงจะเสียหายไป เมื่อกี้ท่านโชติศักดิ์ บอกว่ามีซอฟต์โลนมาให้ ก็ขอบคุณ คงจะดี สำหรับผู้ที่จะได้ซอฟต์โลน แต่มีส่วนหนึ่งซึ่งกึ่งๆ กลางๆ อาจจะไม่มีหลักทรัพย์ ไม่มีอะไร ผมก็คิดว่าน่าจะให้ความช่วยเหลือเขาโดยด่วน และจะช่วยเหลือยังไง ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า การที่เราจะให้รัฐบาลช่วย 100 เปอร์เซ็นต์อาจจะไม่แฟร์ เราเป็นผู้ประกอบการเราก็ต้องช่วยตัวเองครึ่งหนึ่งและให้รัฐบาลพิจารณาครึ่งหนึ่ง สำหรับส่วนที่กึ่งๆ กลางๆ หมายความว่า พังไปแล้วไม่มีหลักทรัพย์ แต่ธุรกิจทำอยู่ ตอนนี้ไม่มีทุนจะมาฟื้นฟูจะทำอย่างไร
ผมขอเสนอทางการว่า เป็นไปได้หรือเปล่าครับ ที่เอาเรื่องภาษีมาเป็นเกณฑ์ ผู้ใดใน 1 ปีที่ผ่านมา เสียภาษีไปเท่าไร รัฐบาลอาจจะเอายอดตรงนี้มาให้เขากู้เป็นซอฟต์โลนไป เอาเป็นว่า 1 เท่า หรือ 2 เท่าหรือกี่เท่า ให้เขามีเงินตรงนี้ กลับมาฟื้นฟู ธุรกิจ เพราะพวกนี้อาจจะไม่มีสิทธิ์ได้ซอฟต์โลน เอาภาษีมาเป็นหลัก สำหรับผู้ที่ไม่โดนนะครับ แต่ลูกค้าหายหมดแล้ว
ยกตัวอย่าง ภูเก็ตแฟนตาซี ทุกวันเราจะได้ประมาณ 3,000 -6,000 คน วันนี้ 12 คนครับ และผมก็สั่งปิดไปแล้วนะครับ เหตุผลเพราะว่าไม่มีนักท่องเที่ยวแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายมีอยู่ เดือนหนึ่งหลายสิบล้านและหนี้ที่ติดเรา ก็ไม่มีปัญญาจะมาจ่ายเรา เราเก็บไม่ได้ แต่เราติดหนี้คนอื่น เราก็ต้องจ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทุกวันก็ต้องมี แต่ลูกค้าไม่มี เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่ถึงแม้ไม่กระทบนะครับ สุดท้ายก็คือต้องปิดอยู่ดีนะครับ
เพราะฉะนั้นตรงนี้อยากจะให้ทางภาครัฐช่วยดูตรงนี้ด้วย ว่าจะทำยังไง เพราะ ณ นาทีนี้สิ่งที่ขาดคือ เรื่องเงินและคน เรื่องเงินก็ช่วยโรงแรมต่างๆ หรือสิ่งปลูกสร้างหรือใครที่ทำท่องเที่ยว ได้ล้มไปก็ไปช่วยทางโน้น แต่เรื่องคนก็สำคัญนะครับ เพราะว่าไม่ต้องเอาเงินไปช่วย ทีนี้จะทำยังไง
ผมเสนอว่า สำหรับททท. นะครับ ถ้าเป็นไปได้นะครับ ออกคูปอง เป็นแทกซ์ คูปอง หมายความว่า ถ้าเผื่อคนไทย ใครมาเที่ยวภูเก็ต หรือพังงาในนาทีนี้ ให้คูปองฟรี 3,000 บาท ต่างชาติอาจจะซัก 7,000 บาท
ถ้าใครมาเที่ยวตั้งแต่ม.ค. จนถึง มี.ค. คิดว่าประมาณ 1 ล้านคน ทั้งไทยและต่างชาติ ให้คูปอง ถ้าใครมาเที่ยวที่นี่ ในช่วงนี้ โดย 3,000 บาทของคนไทย 1,500 บาท ใช้สำหรับโรงแรม 1,500 บาทใช้สำหรับเครื่องบินเพื่อให้เขามาเที่ยวจริง และคูปองที่เครื่องบินก็ดี โรงแรมก็ดี เมื่อรับแล้วไปเคลม หรือใช้แทนได้เพียงครึ่งเดียว คือผู้ประกอบการต้องเสียให้ครึ่งหนึ่งด้วยไม่ใช่เอาเต็ม สมมติคูปอง 3,000 บาทใช่ไหมครับ ผู้ที่มาเที่ยว เขาจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน อาจจะ 1,500 บาท หรือกว่า ก็ต้องแถมเข้าไป ไม่ถึงก็คือฟรีไป อีก 1,500 บาท จ่ายเป็นโรงแรม โรงแรมรับคูปองตรงนี้เสร็จ หรือเครื่องบินรับเสร็จ ก็ไป อาจจะขายกับธนาคาร ธนาคารก็รับซื้อไป ไปจ่ายแทนภาษีได้ เพราะตรงนี้เป็นคูปองภาษี หรือนิติบุคคลใด ได้ตั๋วใบนี้ก็จ่ายเป็นภาษีแทนได้ แต่มีระยะเวลาอาจจะ 1 ปี จะต้องไปเคลมกับรัฐบาล และ 90 วันนี้ถ้าใครมาใช้ก็คือตรงนี้ จำกัด 1 ล้านคนเท่านั้น ผมคิดว่าคนจะกลับมาทันที ในจำนวนมากและรัฐบาลไม่ต้องไปควักเงินสดแม้แต่ 1 บาท แค่พิมพ์คูปองเท่านั้นเอง ทุกคนก็มาเที่ยว และจากนั้นก็ไปลดภาษีเอา
ผมคิดว่าถ้าทำอย่างนี้ ผู้ประกอบการจำนวนเป็นหมื่นแห่ง รัฐบาลไม่ต้องเอาเงินไปช่วยเขาเลย เขาสามารถเอาตรงนี้ ไปเป็นรายได้ หรือไปดิสเคาน์ให้กับทางธนาคารครึ่งหนึ่ง สมมติเขาได้คูปองตรงนี้มาให้ผมใช่ไหมครับ ผมไม่มีสิทธิ์จะรับนะครับ แต่ว่าโรงแรมมีสิทธิ์ เครื่องบินมีสิทธิ์แต่เขาก็จะมาเที่ยว มาซื้อของ มากิน อะไร นั่นคือเงินส่วนตัวเขาต้องจ่าย ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะดี
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ , นายปมุข อัจฉริยะฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ,นายยรรยง ข้อเพชร เจ้าของโรงแรมเขาหลักลากูนา , นายธรรมศักดิ์ ภู่พันธ์วิวัฒน์ กรรมการหอการค้าไทย เขต 16 ( กระบี่ พังงา ภูเก็ต) , นายพัฒนพงษ์ เอกวานิช นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ตและ นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
การเสวนาครั้งนี้มี นายสำราญ รอดเพชร และนางสาวจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ เป็นผู้ดำเนินรายการ
สำราญ - วันนี้เรา จะมองไปข้างหน้า จะกอบกู้ฟื้นฟูอย่างไร เราจะมองภาพเศรษฐกิจที่เป็นหัวขบวนรถจักรก่อนนะครับว่าสามารถที่จะเดินไปข้างหน้า จะฉุดกันไปอย่างไร ท่านแรกขอ เรียนถาม คุณโชติศักดิ์ อาสภวิริย กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอี แบงก์ ก่อนว่า ตอนนี้เม็ดเงินมันกระจายตัวไปอยู่ตรงไหนบ้าง
โชติศักดิ์ - เวลานี้มีเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ทั้งภาครัฐ และเอกชน กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยถูกมาก 0.01 เปอร์เซ็นต์ เกือบไม่มีต้นทุนเลย และให้ธนาคารพาณิชย์มาปล่อยต่อ ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ 6 จังหวัด ในอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ 1 ปีก่อน ที่เหลือดูสถานการณ์และแบงก์ชาติคงจะพิจารณาต่อไป
แต่อย่างน้อยที่สุด เวลานี้มีแน่นอน 30,000 ล้านบาท ทุกธนาคารพาณิชย์ ท่านเป็นลูกค้าที่ไหน ไปที่นั่นได้เลย แล้วไปบอกตรงนี้เลยว่า มีเงิน 30,000 ล้าน คุณจะขอใช้สิทธิ์นี้ เชื่อว่าธนาคารทุกธนาคารคงยินดีให้ความช่วยเหลือสนับสนุนนะครับ เพราะว่ากระทรวงการคลังได้ประชุมหลายครั้งแล้วและก็ท่านนายกสมาคมธนาคารไทย คุณโทนี ( ชาติศิริ โสภณพนิช ) และก็กรรมการผู้จัดการใหญ่ทุกธนาคาร ก็ยืนยันนะครับว่าให้ความช่วยเหลือ ท่านไปติดต่อได้เลยนะครับ
อันที่สอง เรามองว่า ธุรกิจที่เป็นอย่างที่บอก ไม่ใช่ขนาดเล็ก ขนาดย่อย ที่เป็นเพิงๆ อันนี้เราไม่พูดกัน มาพูดตรงอันใหญ่ก่อน เพราะอันใหญ่เป็นแม่เหล็ก ถ้าอันใหญ่ดี พวกนั้นสุขสบายตามมา เหมือนมีร่ม
เราคิดอย่างนี้ครับ พวกที่เป็นโรงแรม รีสอร์ท หรือเป็นสถานที่ที่ต้องใช้เงินในการลงทรัพย์สินถาวร จำนวนมากพอสมควร อย่างเช่นโรงแรม ถ้าจะให้กู้เงินใหม่ ก็คงให้กู้นะครับ แต่ว่าหนี้ 2 ก้อนนี้ จะเหลือบ่ากว่าแรงที่เขาจะแบกไว้ เพราะว่าจะกลายเป็นหนี้ 2 ก้อน เอาละโชคดีหน่อย มีประกัน เอาประกันมาลดภาระหนี้เก่าไปส่วนหนึ่ง แต่เรามองว่า เพื่อแบ่งเบาภาระ ไม่ให้ต้องแบกหนี้มาก ก็มีการจัดตั้งกองทุน อันนี้ต้องให้เครดิต คุณมัชฌิมา คุณก้องเกียรติ และก็คุณกิตติรัตน์ (ณ ระนอง) ผมนั่งอยู่ในรถตู้คันนั้นด้วย และเราก็คิดกันว่า เราจะจัดตั้งกองทุนขึ้นมาช่วย เข้าไปถือหุ้น การเข้าไปถือหุ้นนี้ก็จะเป็นเงิน เงินส่วนนี้คุณก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ถูกไหมครับ เราก็กะว่า เอาเงินก้อนนี้ไปถือหุ้น ในกิจการที่ต้อง มีโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้เวลา ในการที่จะกลับมา อันนี้เป็นเงินร่วมลงทุนนะครับ เอาเข้าไปร่วมลงทุน ในจำนวนหนึ่งซึ่งจะผ่อนปรนท่านได้
ในเวลาเดียวกัน เราก็เสนอแนวความคิด ว่า ให้แบงก์พาณิชย์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ ได้มีโอกาสพิจารณาว่าเขาจะได้เอาหนี้บางส่วน มาแปรเป็นทุน เพื่อที่ใน 2-3 ปีจะได้อุ้มพวกท่านที่เป็นผู้ประกอบการขนาดที่จะต้องมีทรัพย์สินถาวร จำนวนหนึ่ง อุ้มไว้ก่อน เราช่วยกันอุ้มไว้ก่อน เพราะมันต้องใช้เวลาในการบูรณะ ทั้งความรู้สึกนึกคิด จิตใจ และอินฟราสตรัคเจอร์ เราอุ้มไว้สัก 3 ปี และหลังจากนั้นก็ค่อยๆ ให้สิทธิ์ท่านซื้อคืนไป อันนี้จะเป็นตัวที่แบ่งเบาภาระ
กองทุนนี้มี 2 อัน อันหนึ่ง จัดตั้งโดยสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ มีจำนวน 3,000 ล้านบาท ใครเป็นลูกค้าแบงก์ไหน ไปติดต่อได้เลยนะครับ เขาจะพิจารณาในเรื่องนั้น และมีอีกประเด็นหนึ่งคือว่านอกเหนือจากกองทุนนี้จะเข้าไปลงแล้ว ก็อาจจะมีให้แบงก์แปลงหนี้บางส่วนเป็นทุน ท่านจะได้แบ่งเบาภาระไปด้วย
ถัดมาอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการผ่อนชำระ ถ้าเราดูภูเก็ต ส่วนใหญ่ก็เป็นทัวริสต์ ก็จะมีรายได้เป็นฤดูกาล เมื่อรายได้เป็นฤดูกาล การผ่อนชำระคงจะต้องผ่อนปรน ในช่วงขณะนี้ทุกแบงก์มีโปรแกรมเหมือนกันหมด คือพักหนี้ไว้ก่อน พวกที่บาดเจ็บสาหัส ตรงนี้เราพักไว้เลย ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย พักไว้ก่อน และการพักหนี้นะครับ โดยหลักแล้วจะเป็นเอ็นพีแอลแน่นอน
แต่ว่ากำลังทำเรื่องขอผ่อนปรนจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ให้กรุณาอนุเคราะห์ เป็นกรณีพิเศษในบริเวณเหล่านี้ เขาไม่ได้เป็นคนเกเรเลย วันดีคืนดีพายุก็มาโถมทับ มันก็เกิดเหตุ เพราะฉะนั้นจะขอให้พิจารณากันส่วนนี้ ว่าอย่าเพิ่งเป็นเอ็นพีแอลเลย เพราะไม่งั้นความท้อแท้มันจะมา
อันนี้กำลังคุยกันอยู่ ก็คงเป็นดุลพินิจของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะต้องช่วยกันในยามนี้
เมื่อไม่เป็นเอ็นพีแอล ก็จัดตารางการชำระหนี้ให้แมทช์กับรายได้ เวลานี้รายได้มันหายวับไปกับตา แต่จะค่อยๆทยอยกลับมา ก็ต้องให้เวลา ปีแรกอาจจะชำระน้อยหน่อย ดอกเบี้ยน้อยหน่อย และตั้งพักไว้ อย่าไปคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ถือว่าต้องช่วยกัน เดี๋ยวเราค่อยมาคืนเมื่อตอนมี
ขอความกรุณาท่านนะครับ เห็นใจซึ่งกันและกัน ท่านต้องเห็นใจแบงก์เหมือนกัน ว่า แบงก์เขาอยู่ภายใต้กฎกติการะเบียบของแบงก์ชาติและกติกาสากล กติกาตลาดหลักทรัพย์ และเขาต้องแบกเอ็นพีแอลเยอะๆ และถ้าท่านจะ .. ขอโทษนะครับไม่ได้ว่ากัน แต่ถ้าท่านจะเอาแต่ได้ อีกหน่อย ก็ไม่มีแบงก์ไหนกล้า ไม่มีแบงก์ไหน อยากจะเข้ามาช่วย ต้องช่วยซึ่งกันและกัน ท่านต้องช่วยแบงก์เหมือนกัน ท่านต้องตรงๆ กับแบงก์
จินดารัตน์ -เรียนเชิญคุณยรรยง ข้อเพชร เจ้าของโรงแรมเขาหลัก ลากูนา
จ.พังงาค่ะ สูญเสียมากมายแค่ไหน วันนี้เหลืออะไรบ้างค่ะ
ยรรยง - ชายหาดเขาหลักที่เราสูญเสียไปเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ผมคิดว่าทั้งหมดน่าจะประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เรามีห้องพักอยู่ประมาณ 5,500 ห้องนะครับ และก็โรงแรมทั้งหมดประมาณ 60 แห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม 3 ดาว ถึง 3 ดาวครึ่งประมาณ 2,000 กว่าห้อง ที่เหลือจะเป็น 4 ดาวกับ 5 ดาว การเติบโตค่อนข้างรวดเร็วในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สมัยที่ผมทำใหม่ๆ รายได้ของการท่องเที่ยว จ.พังงา เมื่อปี 2538 ประมาณ 300 ล้านบาท ปีที่แล้ว รายได้จากการท่องเที่ยว 6,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าการเติบโตของเขาหลักรวดเร็วมาก จนควบคุมกันไม่ค่อยอยู่
ขณะนี้เท่าที่คุยกันในสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวประมาณ 3-4 ครั้งและท่านรัฐมนตรีสมคิดก็ได้มาประชุมด้วย เรากำลังเสนอแผนที่จะให้ทางภาครัฐช่วยในเรื่องการฟื้นฟู การกอบกู้ขึ้นมาใหม่และส่วนใหญ่ยังจะสู้กันอยู่ และบางส่วนอาจจะท้อแท้บ้าง เพราะว่ามีหลายโรงแรมที่สูญเสียคนที่รักไป ก็ไม่ใช่น้อย ซึ่งก็อาจจะใช้ระยะเวลาในการเยียวยา
แต่อยากเรียนว่า เขาหลักจำเป็นจะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้อีกครั้ง มันไม่ใช่ทำเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว หรือธุรกิจโรงแรมอย่างเดียว ขณะนี้ผมเชื่อว่า คนในพังงา ทุกคนพึ่งพาธุรกิจการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า
จากสมัยก่อนที่ผมเริ่มทำงานเพื่อ พ.ศ. 2538 ทุกครั้งที่ขับรถเข้าโรงแรม ช่วงก่อสร้าง รถที่สวนผมไม่เกิน 2 คัน ขณะนี้ถ้านับเมื่อปีที่ผ่านมา ขณะที่เป็นช่วงไฮซีซัน รถเริ่มติดบ้างเป็นบางจุดนะครับ และอุบัติเหตุก็เกิดขึ้นทุกวัน อุบัติเหตุสูงสุดที่เกิดขึ้นใน จ.พังงา คือที่บริเวณเขาหลัก คืออยากสะท้อนให้เห็นภาพความเจริญ ของชายหาดเขาหลักที่เป็นมา
ในอดีตที่ผ่านมาการต่อสู้ของผม เพื่อจะเริ่มต้นธุรกิจรีสอร์ทที่ จ.พังงา ผมบอกได้เลยว่ามันยากกว่า ณ จุดเริ่มต้นวันนี้มากนัก สมัยก่อน ผมเชิญเอเย่นต์ไปที่โรงแรม หนีบ้าง ไปรับที่โรงแรมก็ป่วยไม่ลงมาหาบ้าง ไปดูโรงแรมตั้งหลายคน พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ชายหาดเขาหลักไม่มีอะไรเลย แต่จากจุดนั้นที่ได้ต่อสู้มา เราก็พยายามหยุดจุดขายความที่ไม่มีอะไรเลย จนประสบผลสำเร็จในตลาดหลักของเราคือตลาดเยอรมันนะครับซึ่งแต่เดิม ตลาดเหล่านี้ เป็นตลาดของ จ.ภูเก็ต ของจ.กระบี่ แต่การที่เขาหลักฟื้นฟูขึ้นมาตอนเมื่อปี 2538 ถึง 2540 ไม่ใช่ว่าเขาหลักจะแย่งแขกจากภูเก็ต
ผมอยากจะเรียนว่า ในโลกของความเป็นจริง นักท่องเที่ยวจะเป็นผู้ที่เลือกสินค้าในการที่จะบริโภค แหล่งท่องเที่ยวไหนทำความชื่นชอบให้กับนักท่องเที่ยวได้ นักท่องเที่ยวก็จะไปแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ
ที่บอกว่าภูเก็ตล้มแล้วลุกขึ้นสู้ตั้งหลายหน หลายครั้ง ผมบอกได้เลยว่า 5-6 ปีที่ผ่านมา เขาหลักประสบปัญหาคล้ายๆ ภูเก็ตเหมือนกัน แต่เขาหลัก ไม่ค่อยล้ม ตั้งแต่วายทูเค ตั้งแต่บาหลีบอมบ์ มาถึง 9/11 มาถึงซาร์ส มาถึงชิคเค้น ฟลู ผลประกอบการของผมไม่เคยลดลง มีแต่เพิ่มขึ้น รายได้ทุกปีเพิ่มขึ้น หนี้ผ่อนแบงก์ไม่เคยเลื่อนชำระ ดอกเบี้ยไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว
สิ่งที่มาพูดในวันนี้คืออยากจะสร้างความมั่นใจกับทุกคนว่า เมื่อสินค้าดี การท่องเที่ยวผมเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องโฆษณามากนะครับ คุณภาพของสินค้าจะเป็นตัวโฆษณาที่ดีสำหรับการท่องเที่ยว และลูกค้าของบริเวณเขาหลักจะเป็นรีพีทเตอร์เยอะ
แต่หลังจากที่กลุ่มทุนใหญ่ๆ เข้าไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะจากภูเก็ตบ้าง กรุงเทพฯบ้าง จากเมืองนอกบ้าง ทิศทางการท่องเที่ยวเริ่มเปลี่ยนไปเล็กน้อย ผมบอกได้เลย การตลาดเริ่มผสมมากขึ้น มีเอเชียเข้าไปบ้าง มีชาติที่ไม่เคยเข้ามา เข้าไปมากขึ้น เพราะฉะนั้นการพัฒนาการท่องเที่ยวช่วงหลัง มันก็มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ไม่น้อยเลย
การพัฒนาช่วงหลัง ผมบอกได้เลยหลายคนก็อปปี้แบบของภูเก็ตไป โดยที่ไม่คิดว่าศักยภาพของงาน มันไม่เหมือนภูเก็ต และคนละเรื่อง พอก็อปปี้ภูเก็ตไป พอไปลงที่พังงา ส่วนใหญ่จะเจ๊งกันเยอะ ผมบอกได้เลยว่า ที่ไปลงใหม่ๆ เจ๊งกันเยอะ
ช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ โรงแรมที่เต็มจริงๆ มีไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ อีก 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือมีแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ แค่นั้นเอง คือบางครั้งข่าวออกไป อาจจะสับสน อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริง โรงแรมผมตอนนั้น เขาหลัก ลากูนา ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เขาหลัก บันดารี 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม วันที่เกิดเหตุนะครับ แต่โรงแรมที่มี 150 ห้อง ที่อยู่ละแวกใกล้เคียงกัน มีแขก 10-20 ห้อง นี่คือความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรามาคุยกันว่าทำไมโรงแรมของผมทำไมเต็ม ทำไมโรงแรมที่ทำ 4-5 ดาว ไม่เต็ม คือถ้าเรามาคุยกันให้ดีๆ และมาใส่ความรู้ความเข้าใจให้ดี ผมคิดว่า ภาพเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น
สิ่งที่น่าผิดหวัง คือการที่ทุนใหม่เข้าไป ไม่ได้ดูบ้าน ของเขาก่อนว่าเขาทำยังไง เป็นยังไง เพราะฉะนั้นการที่เข้าไปลงทุนใหม่ ความสูญเสียก็เกิดขึ้น และคนในจ.พังงา ก็จะไม่ได้ประโยชน์ เพราะโรงแรมไม่มีแขก เมื่อโรงแรมไม่มีแขก พนักงานก็เซอร์วิส ชาร์จ น้อย ร้านค้าก็ขายของได้น้อย
แนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวของภูเก็ต กระบี่ พังงา ไม่ควรจะเหมือนกัน ควรจะมีจุดขายที่ชัดเจน และไม่จำเป็นต้องก็อปปี้แบบกัน ใครมีจุดขายที่ดี นำมาเสนอกัน โดยเฉพาะภูเก็ตกับพังงา ผมคิดว่าถ้าเป็นสินค้าการท่องเที่ยวเดี๋ยวนี้ก็เหมือนกับเหล้าพ่วงเบียร์ ผมบอกได้เลยว่า นักท่องเที่ยวภูเก็ตต้องพึ่งพาทรัพยากรการท่องเที่ยวใน จ.พังงา นักท่องเที่ยวในพังงาต้องพึ่งพาสนามบินของ จ.ภูเก็ต เพราะฉะนั้นวันนี้เขาหลักล้มเหลว ภูเก็ตก็มีผลกระทบด้วย ถ้าภูเก็ตล้มเหลว พังงาก็มีผลกระทบด้วย แต่ทำอย่างไรในอนาคต ให้ภูเก็ตยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง พังงาก็ยืนอยู่ได้ และก็ทำให้เกิดประโยชน์สุขกับภาคอันดามันทั้งภาค และก็ทิศทางการพัฒนาความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ที่เราบอกกันว่า ฉวยวิกฤติเป็นโอกาสเราไม่เคยฉวยได้ซักครั้งนะครับเรามีแต่พูดอย่างเดียวว่า เราจะฉวยวิกฤติเป็นโอกาส พอถึงภาคปฏิบัติทำไม่ได้ ผมเชื่อว่านโยบายรัฐบาลดี แต่พอถึงขั้นปฏิบัติการเราล้มเหลว มาตลอด
สำราญ - ไปฟังเจ้าของโรงแรมที่นี่ เกือบ 300 ห้องและได้รับผลกระทบน้อย แต่ว่าเท่าที่คุยกันเมื่อคืน ท่านก็เป็นห่วงภูเก็ตเยอะเหมือนกัน ไปกันที่ คุณปมุข อัจฉริยฉาย ประธานกรรมการบริหารหอการค้าภูเก็ต และเจ้าของโรงแรมกะตะธานี
ปมุข - ทั้งเครือของเรามีประมาณ 900 ห้อง เฉพาะที่นี่เรามีประมาณ 270 กว่าห้อง และได้รับผลเสียหายบ้าง แต่เราจะไม่พูดด้านความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ผมจะพูดถึงอนาคตของจ.ภูเก็ต ของอันดามัน
เราคงจะต้องยอมรับว่า แหล่งท่องเที่ยวที่มาแรงในอันดามันนั้นคงจะเป็นภูเก็ต พีพี เขาหลัก ขณะนี้ ภาพที่ผมอยากจะเห็นของจ.ภูเก็ต ก็คือ ผมอยากจะเห็นจ.ภูเก็ต เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับเวิลด์ คลาส ที่พูดกันเมื่อตะกี้ว่า ทำวิกฤติให้เป็นโอกาสฟังแล้วมันดูเพราะ และทุกครั้งที่เกิด และโอกาสที่เราจะทำ ผู้ปฏิบัติไม่เคยทำเลย และค่อนข้างประสบความล้มเหลว แต่ครั้งนี้มันเสียหายมากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดระเบียบ ผู้ที่มีหน้าที่ที่จะทำให้วิกฤติเป็นโอกาสนั้น เริ่มมาตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ก็คือเริ่มมาจากนโยบายของภาครัฐ ก็คือนายกรัฐมนตรี ลงมาถึงจังหวัด มาถึงผู้ว่าฯ มาถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทุกคนจะต้องมาจัดระเบียบกันอย่าง จริงจัง เพราะฉะนั้นช่วงนี้จะเป็นช่วงที่โอกาสที่ดีที่สุดที่เราจะสามารถจัดระเบียบชายหาดได้ดีที่สุด ทำอย่างไรที่จะทำให้ภูเก็ตของเราเป็นเวิลด์ คลาส บีช เดสติเนชั่น ก็คือการจัดระเบียบเท่านั้นเอง
แหล่งท่องเที่ยวทั่วโลก ที่เป็นบีช เดสติเนชั่น ไม่ว่าจะเป็นฮาวาย มัลดีฟ แคนคูน แคริบเบียน สินค้าที่เขาขายที่ชายหาดเป็นยังไง ผมมั่นใจว่าทุกคนก็คงทราบ และคงจะอยู่ในใจของผู้บริหารระดับสูงแล้วว่า เขาควรจะต้องทำยังไง และผู้ที่ได้รับผลกระทบก็คงจะต้องได้รับการดูแลจากรัฐบาลยังไง
พูดถึงผู้ที่หากินอยู่ตามชายหาด ผมอยากจะเห็นพีพี เป็นดรีม ไอร์แลนด์ ภูเก็ตเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกใฝ่ฝันอยากจะมามาก เราได้รับการพูดว่า ภูเก็ตเป็นดรีม ไอร์แลนด์ ผู้คนอยากจะมา แต่ขณะนี้การท่องเที่ยวของ จ.ภูเก็ต มันพัฒนาเร็วและขยายออกมาอย่างรวดเร็วเหลือเกิน เพราะฉะนั้นคำว่า ดรีมไอร์แลนด์ ก็คงจะเอามาใช้กับภูเก็ตไม่ได้ นอกจากเราต้องพัฒนาจ.ภูเก็ต ของเราให้สินค้าอยู่ในระดับโลก ก็คงจะต้องเป็นเวิลด์ คลาส เดสติเนชั่น
ผมอยากจะเห็นพีพี เป็นดรีม ไอร์แลนด์ เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีนักท่องเที่ยวใฝ่ฝันอยากจะไป มีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่าง มีโรงแรมระดับโลกที่ไปลงทุนกัน แต่ไม่หนาแน่นแออัดยัดเยียด เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมาซึ่งทุกคนไปย่ำยีพีพี ทำให้มันสูญเสียความมีเสน่ห์ไปเยอะมากเลย
ขณะนี้ พีพี เหลืออยู่ไม่กี่ห้อง ไม่กี่โรงแรม เพราะฉะนั้นหน่วยที่รับผิดชอบ เป็นไปได้ไหมที่จะต้องเอานักฝัน สถาปนิก มาทำให้มันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ สามารถแข่งกับมัลดีฟ ผมอยากจะเห็นพีพี เป็นดรีม ไอร์แลนด์ นะครับ ผมอยากจะเห็นเขาหลัก มีอินฟราสตรัคเจอร์ มีถนนหนทาง ก่อนที่จะเข้าไปถึงโรงแรม ถนนสวย มีสวน มีความเขียว มีบึง อยากจะเห็นภาพของเขาหลัก เป็นลักษณะเช่นนั้นเหมือนกับที่ลังกาวี ที่ประเทศอินโดนีเซีย ที่โกตาบารู คินนาโกตาบารู สิ่งแวดล้อมเขาสวยมาก มีการออกแบบที่สวย ผมอยากจะเห็นแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลัก เป็นluxury resort
สินค้าของเราขณะนี้ ที่เป็นไข่มุกอันดามัน เรามีอยู่ 3 แหล่งที่เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกมา ก็คือเวิลด์ คลาส เดสติเนชั่น คือภูเก็ต ดรีม ไอร์แลนด์คือ พีพี ส่วน luxury resortคือ เขาหลัก
ผมเชื่อมั่นว่านักท่องเที่ยวยุโรปที่เคยมา จะกลับมาอีก ช่วงนี้เป็นช่วงที่ช็อกโลก ทุกคนไม่มีอารมณ์อยากจะเดินทาง ใช้จังหวะนี้ 2-3 อาทิตย์เคลียร์ ชายหาดไม่ต้องไปพูดถึง สวยสุดยอดอยู่แล้ว ไอ้ที่อยู่บนฝั่ง ตึกรามบ้านช่อง โรงแรมที่พักต่างๆ ที่ระเกะระกะ กวาดให้เร็วที่สุด
ทุกวันนี้เราพยายามทุกวิถีทางในการที่จะสร้างภาพของความเชื่อมั่นกลับคืนมา แต่ในเมื่อคุณสร้างแต่ภาพ ของจริงคุณไม่ได้ทำ อย่าไปสร้าง เราเอาของจริงที่มีอยู่ในทุกวันนี้ ทำให้มันเป็นระดับเวิลด์ คลาส เมื่อเขากลับมา เขาจะอะเมซซิ่ง โอ้ ทำไมมันสวยอย่างนี้ มันสวยกว่าที่เราคิดอีก เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้พวกเราจะต้องคิดให้หนักคือว่า รักษาคุณภาพสินค้า เคลียร์ คลีนอัพ ขัดให้ไข่มุกนี้มันแวววาวขึ้นมา เมื่อเขากลับมา ช้าหน่อยไม่เป็นไร แต่กลับมาแล้วเขาต้องประทับใจ และต้องกลับมาอีก กลับมาเพื่อจะใช้เงินเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่พวกเราจะต้องมาทบทวนกัน
จินดารัตน์ - ยังมีอีกจังหวัดหนึ่งที่เสียหายไม่น้อยก็คือ กระบี่คงจะต้องมองภาพรวมกัน 3 จังหวัดเลยทีเดียวนะคะ กับคุณธรรมศักดิ์ ภูพันธ์วิวัฒน์ ค่ะ ท่านเป็นกรรมการหอการค้าเขต 16 กระบี่ ภูเก็ตและพังงาค่ะ
ธรรมศักดิ์ - ก็เห็นด้วย กับสิ่งที่คุณปมุข พูดมาในหลายๆเรื่อง บางครั้งนักท่องเที่ยว แม้แต่คนไทยมาเที่ยวภูเก็ต เมื่อ 20 ปีที่แล้ว กลับมาอีกครั้งจะได้รับเสียงบ่นว่าเสียดายมาตลอด มันเปลี่ยนไป บางส่วนก็เปลี่ยนไปในทางที่ดี ก็คือเพิ่มรายได้ให้กับเรา แต่ในสิ่งที่เสียหายไป ก็คือธรรมชาติ ผมว่าตรงนี้ ทุกคนเห็นเหมือนกันหมด แต่บางครั้งในการกระทำ คนที่จะเข้ามาดูแลแก้ไข มันต้องแก้ไขทั้งระบบ
วันนี้ ผมว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดี แต่เราต้องหาเจ้าภาพ จริงๆ ที่จะมาแก้ปัญหาตรงนี้ที่เราพูดกันทุกวันนะครับ ผมว่าในระดับท้องถิ่นคงจะทำไม่ได้ หรือระดับภูมิภาคก็ยังเชื่อมั่นว่าทำไม่ได้ ผมว่าที่จะทำได้ดีที่สุดในเวลานี้คือรัฐบาลนะครับ เพราะเราจะเห็นว่า พีพี 20 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน ผมเองในฐานะที่เป็นคนจ.กระบี่นะครับ ไปเที่ยวพีพี นึกภาพแต่ละครั้ง มันทั้งมีความรู้สึกทั้งดีใจและบางครั้งก็เศร้าใจ ดีใจคือความเจริญที่เข้ามา ทำให้คนเขามีงานทำ มีรายได้ แต่เศร้าใจ คือว่ามันไม่มีระเบียบ แบบแผน วันนี้มันเป็นโอกาสของธรรมชาติที่ได้เกิดขึ้น ไม่มีใครอยากจะเห็นความสูญเสียตรงนี้ แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราก็จะเห็นว่า สิ่งที่สูญเสีย สร้างขึ้นมาใหม่ มันก็จะเป็นโอกาส
ภูเก็ตต้องเป็นศูนย์กลางของฝั่งอันดามัน แน่นอนนะครับ การเจริญเติบโต การพัฒนา มันมาจากภูเก็ตก่อน ภูเก็ตเจริญขึ้นมา กระบี่ พังงาก็จะเจริญเป็นเมืองคู่ขนานกันไปด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้ภูเก็ตจะต้องมีทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างที่เป็นเวิลด์ เดสติเนชั่น ผมก็เห็นด้วย มาภูเก็ตเราสามารถเที่ยวได้หมด เป็นสถานที่ช็อปปิ้ง เป็นสถานที่แหล่งบันเทิง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและก็กระจายไปพังงา ไปภูเก็ต และก็เห็นด้วยที่ว่าทำอย่างไร เกาะพีพี ซึ่งวันนี้เราสามารถที่จะจัดระเบียบได้ อย่างชัดเจน แต่ว่าลำพังภาคเอกชน ผมคิดว่า ทำไม่ได้ นอกจากหน่วยงานราชการเข้ามาดูแลตรงนี้
เกาะพีพี มีเนื้อที่เพียงประมาณ 400 ไร่เอง ไม่ได้มากมายอะไรเลย เราจะทำอย่างไรให้คนที่ไปพัก หรือคนทุกคนทุกระดับ ไม่ว่าประชาชนธรรมดา หรือนักท่องเที่ยว ซึ่งมีเงินทองมากมาย ได้เข้าไปในเกาะพีพี ได้ทั่วทุกคน แต่การเข้าไปเที่ยว หรือการเข้าไปพักผ่อนก็ต้องจัดให้ดูดีนะครับ เป็นระเบียบ
ผมยกตัวอย่างว่า ถ้าเรามีโรงแรม ที่จะพักในเกาะพีพี เขากำหนดไว้เลยว่า จะต้องกำหนดว่าจะต้องเข้าไปพัก ได้กี่ห้อง หรือกี่คืน ส่วนผู้ที่จะไปท่องเที่ยววันเดย์ทัวร์ ก็สามารถเข้าไปเที่ยวได้ สมัยก่อนเวลาไปภูเก็ต ท่านจะเห็นว่า จ.พังงา ที่เที่ยวแรกๆ เลยนะครับ ไม่ใช่เขาหลัก จากภูเก็ต ก็ไปพังงาเขาไปเที่ยวเกาะปันหยีกัน เขาไปเที่ยวเจมส์ บอน ไอร์แลนด์กัน เวลาไปวันเดย์ทัวร์จากภูเก็ต ไปเกาะปันหยี ไปถ้ำลอด หรือไปเจมส์ บอน ไอส์แลนด์ เขาก็ไปทานอาหารที่เกาะปันหยี
เราจะเห็นว่าสถานที่พักไม่มีเลยนะครับ มีแต่ร้านอาหาร เวลาเดียวกันถ้าไปกระบี่ ผมอยากจะเห็นว่า การไปกระบี่ที่เกาะพีพี ซึ่งห่างจากภูเก็ตเพียงประมาณ 42 กิโล วันเดย์ทัวร์ เราจัดให้นักท่องเที่ยวไป ให้มีระเบียบ เหมือนกับที่ไปที่เกาะพีพีครับ ส่วนที่จะเป็นที่พัก น่าจะเป็นที่พักระดับ 5 ดาวไปเลย ตรงนี้ ก็อยากจะเห็น เพราะเป็นโอกาสแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ถ้าหากว่ายังคิด ยังปล่อยให้ผู้ประกอบกิจการทำเหมือนเดิม คิดว่าเหตุการณ์เดิมๆ ก็จะเกิดขึ้น ความเป็นระเบียบก็จะไม่มี
เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะ หรือว่าต้องใช้ส่วนกลางเข้ามาควบคุมและดูแล เพราะว่าจะเอาส่วนภูมิภาค ผมอยู่ที่จ.กระบี่ ร่วมประชุมกับหน่วยงานราชการ ก็ต้องชี้แจงกันตรงๆ เลยนะครับว่าบางครั้งการแก้ปัญหา มันติดกับระบบระเบียบมาก ราชการเองก็พยายามทำงานให้ดี แต่กฎหมาย กฎข้อบังคับต่างๆ มันทำไม่ได้
ยกตัวอย่าง เกาะลันตา มีถนน 1 สาย เพียง 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนจากท่าเทียบเรือจะข้ามไปฝั่งเกาะลันตา 3 กิโลเมตรเป็นลูกรัง 10 ปีมาแล้ว ตั้งแต่เกาะลังกาไม่เจริญ วันนี้ก็ยังไม่ลาดยางเลย ผมเป็นประธานหอการค้ามา 4 ปีที่แล้วและก่อนหน้านั้น เรียกร้องที่จะลาดยาง ให้มันไปถึงท่าเรือ ทำไม่ได้ เหตุผลที่ทำไม่ได้เพราะว่าติดหน่วยงานราชการ ที่ 3 กิโลเมตร ติดถึง 3 หน่วยงาน ถ้าจะผ่าน 3 กิโลเมตรตรงนี้ ติดอุทยาน ติดกรมเจ้าท่า ติดสปก. ปรากฏว่า คุยกันมา ผ่านทางไม่ได้ ทั้งที่เป็นถนนแล้ว แต่จะลาดยาง มีงบประมาณอะไรทุกอย่าง ไม่ได้ เพราะทั้ง 3 หน่วยไม่อนุมัติ นี่คืออุปสรรคหลักๆ เลย เพราะฉะนั้นในภาพรวมตรงนี้ เราต้องหาเจ้าภาพ ถ้าเจ้าภาพชัดเจน ไม่ว่าที่เขาหลัก ไม่ว่าที่ภูเก็ต หรือพีพี ตรงนี้การจัดระเบียบผมคิดว่าจะชัดเจนขึ้น
จินดารัตน์ - ท่านสุดท้ายนะคะ คุณพัฒนพงษ์ เอกวานิช จากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเป็นนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ตค่ะ
พัฒนพงษ์ - ปัจจุบันการแก้ไขปัญหา เรากำลังดำเนินการกันอยู่ แต่ว่าอยากจะให้ชัดเจนครับ เป็นข้อมูลเดียวกัน ถึงความสูญเสียที่เรามี ที่ภูเก็ตเอง เรามีห้องพักประมาณ 35,000 ห้องนะครับ และมีความสูญเสียในระยะต้นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของห้องพัก และประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เป็นการสูญเสียเล็กๆ น้อย ๆ ซึ่งได้ดูแลแก้ไขฟื้นฟูกันไปเรียบร้อยแล้ว
อีก 20 เปอร์เซ็นต์ มีแค่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองที่สูญเสียจริงๆ ที่จะต้องฟื้นฟูกันขึ้นมาใหม่ ส่วนที่เหลืออีก 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ ห้องพักยังอยู่ครบ แต่งานระบบของโรงแรมต่างๆ เหล่านั้น เขาอยู่ใต้ดิน งานระบบก็เลยเสียหาย ต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
เพราะฉะนั้นในภาคของภูเก็ต เท่าที่ได้คุยกับผู้ประกอบการ ที่หน้าหาดป่าตอง ซึ่งเสียหายมากที่สุดในแง่การท่องเที่ยว อีก2 เดือนข้างหน้า ห้องพักของเราพร้อมที่จะรับแขกได้ถึงประมาณเกือบ ๆ 90 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นตัวนั้นเราตัดปัญหาไปได้เลย
ส่วนการฟื้นฟูทางกายภาพด้านอื่นๆ เราก็พยายามทำกันอยู่ ที่ภูเก็ตที่น่าเป็นห่วงอีกอันหนึ่งคือว่า ขยะ เรายังเคลียร์กันอยู่อย่างขะมักเขม้น ที่หน้าหาดป่าตอง คงจะต้องรีบทำให้จบนะครับ ก่อนที่ด้านการตลาดจะรุกเข้าไปถึงตรงนั้น คือว่ามีการนำเอาสื่อและก็ผู้ประกอบการด้านการนำเที่ยวจากประเทศหลักๆ มาดูด้วยตาของเขาเองว่าเราพร้อมแล้ว ถึงเวลานั้น ถ้าเราจะเอาเขามาดู ว่า เราพร้อมแล้วนะ แต่ถ้ายังมีความไม่เรียบร้อยอยู่ ผมคิดว่าเราจะเสียหายมากกว่านี้นะครับ นั่นคือภาพของภูเก็ต
ความเสียหายของกระบี่ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่พีพีนะครับ เท่าที่ทราบในพีพี มีโรงแรมเหลืออยู่ประมาณ 1 ใน 3 ซึ่งกำลังดูแลซ่อมแซมกิจการตัวเองอยู่ ส่วนจริงๆ แล้ว ที่กระบี่เอง ความสูญเสียไม่ได้เกิดขึ้นมากมายนัก น้อยกว่าหาดป่าตองเยอะ แต่ว่าภาพที่ออกไปบางครั้งเห็นพีพีก็นึกถึงกระบี่ ทำให้สื่อที่ออกไปทั่วโลก รวมทั้งคนไทยเองไม่เข้าใจว่า กระบี่เสียหายพังยับเยินแล้วหรือ รวมทั้งภูเก็ตด้วย ก็อยากจะชี้แจงให้ทราบว่าความเสียหายเฉพาะตรงกระบี่ เสียหายไม่มากเลย ปัจจุบันนี้เข้าสู่ภาวะเกือบจะปกติแล้วครับ มีพีพีที่มีการเสียหายและก็กำลังดูแลกันอยู่ ส่วนเขาหลักอย่างที่ทราบนะครับ มีความเสียหายค่อนข้างเยอะ ห้องพักจะเหลือประมาณแค่ 10 เปอร์เซ็นต์นะครับ ซึ่งตัวนี้ผมเห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่านว่า เราต้องให้ 2 ที่นี้เป็นตัวเชิดชูภูมิภาคแถบนี้ ที่คุณยรรยงพูดในตอนต้น ภูเก็ต ปัจจุบันนี้มันเป็นรีสอร์ทกึ่งเมืองไปแล้ว
เพราะฉะนั้นเราต้องอาศัยธรรมชาติรอบๆ เกาะภูเก็ตที่มีอยู่ตั้งหลายสิบเกาะ เป็นตัวช่วยและให้พีพี กับเขาหลัก เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งผมเชื่อว่าเราสามารถทำได้ ผมเชื่อว่าระยะยาว รัฐบาลวางแผนเอาไว้แล้ว และรวมทั้งร่วมกับภาคเอกชนด้วยว่าจะจัดระเบียบอย่างไร ให้มันเอื้อซึ่งกันและกัน นั่นคือด้านกายภาพ
ที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้ ผมว่าเรื่องใหญ่ที่สุด ก็คือเรื่องโรคระบาดต่างๆ นะครับ นักท่องเที่ยวที่เขากลับไป เขาไม่ได้ต้องการจะกลับ รัฐบาลของเขาเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย และเกรงว่าจะมีการติดเชื้อต่างๆ
จึงทำให้ 3 จังหวัดนี้ ปัจจุบันนี้มีนักท่องเที่ยวน้อยมาก และก็เขาบังคับให้นักท่องเที่ยวกลับไป ก็เลยถึงกับต้องร้องไห้ ไม่อยากจะกลับ เพราะเห็นว่าปัจจุบันนี้ ทั้งภูเก็ต กระบี่ พังงา กลับสู่สภาพธรรมชาติที่สวยงามที่เขาเคยเห็นนะครับ เมื่อ 15-20 ปีที่แล้ว ซึ่งตัวนี้จำเป็น การที่เราพยายามป้องกันเรื่องโรคติดต่อต่าง ๆ เราก็พยายามทำกันอย่างเต็มที่นะครับ แต่ต้องยอมรับว่า จังหวัดอันดามันของเราเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกจริงๆ เพราะฉะนั้นการประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดต่อมันต้องทำในระดับโลกจริงๆ ผมคิดว่า รัฐบาลน่าจะต้องให้องค์การอนามัยโลกมาดูแลตัวนี้ และมาออกคำรับรอง ให้ชัดเจนไปเลยว่า เขามาดูแล้ว องค์การอนามัยโลกมาดูแล้ว ว่าเราดูแลได้เป็นอย่างดี แต่เราต้องมั่นใจว่าเราพร้อมที่จะดูแลเรื่องนี้ เมื่อองค์การอนามัยโลกออกคำรับรอง ผมเชื่อว่า ปัญหาตัวนี้จะหมดไป
ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่เราไม่สามารถจะดูแลกันเองได้ ก็คือเรื่องแรงงาน ปัจจุบันนี้มีปัญหาเกิดขึ้นเยอะ แรงงานกว่าหมื่นคน ผมเชื่อว่าอย่างนั้น เฉพาะในภูเก็ตก็เป็นหมื่นนะครับ ไม่นับเขาหลักและก็พีพี ตอนนี้กำลังมีปัญหามาก อยากจะให้ภาครัฐลงมาดูแลอย่างชัดเจนและเร่งด่วน เพราะปัจจุบันนี้ ออคคิวเพนซี่ที่เรามีอยู่ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ผมว่า 1 ใน 3 เป็นนักท่องเที่ยวประมาณ 1 ใน 3 ส่วนที่เหลือจะเป็นสื่อต่างๆ เป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาทำข่าว หรือว่ามาติดตามข่าวญาติพี่น้อง เพราะฉะนั้นอีกไม่กี่วัน เขากลับไป จะเหงากว่านี้เยอะ ผมยืนยัน
เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลนะครับ โรงแรมเล็กๆ บางโรงแรมทยอยกันหยุดกิจการชั่วคราว เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องแรงงาน คือสิ่งสำคัญ เป็นไปได้ไหม ที่ภาครัฐจะออกมาโอบอุ้มในตอนหลังซึ่งผมคิดว่าต้องเป็นไปได้และก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากนะครับ จัดการเทรนนิ่งขึ้นมา ซัก 3 เดือนและภาครัฐอาจจะมีเงินกองทุนประกันสังคมหรืออะไรก็แล้วแต่ ช่วยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เขา และให้พนักงานเหล่านี้มาลงทะเบียนให้ชัดเจน มีการเทรนนิ่ง โดยเขายังสังกัดโรงแรมเดิมอยู่ ถ้าว่างงานก็หางานให้ในภายหลัง การเทรนนิ่งก็จะมีงานทำ และผมเชื่อว่า จะสร้างปัญหาสังคมน้อยลง มาเทรนนิ่ง จะได้ทั้ง 2 ทางนะครับ คือเขาจะมีความรู้ด้วย และก็เขาจะไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดมาก และรู้ว่า ตัวเองจะมีงานทำเมื่อเขาเทรนนิ่งจบลงไปแล้ว
ส่วนเรื่องสุดท้าย มาตรการการเงิน ผมเชื่อว่า อย่างที่คุณโชติศักดิ์เรียนในตอนต้น ผมเชื่อว่า หลายต่อหลายฝ่ายพยายามกันอยู่ตอนนี้ แต่อยากจะเรียนให้ทราบว่า ในภูเก็ต พังงา กระบี่ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมหรือบริษัทนำเที่ยวเท่านั้น ทุกคนในเขต 3 จังหวัดนี้เกี่ยวข้องกันหมด ควรจะมีการประกาศให้เป็นแหล่งฟื้นฟูเศรษฐกิจพิเศษ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ลงโทษเราครั้งนี้ เป็นปรากฏการณ์พิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้นทรีทเมนต์ต่างๆ ที่เราได้รับจากภาครัฐก็ตาม ความร่วมมือต่างๆ ก็ตาม ผมคิดว่า มันก็น่าจะเป็นพิเศษมากๆ เหมือนกัน ก็คือว่าการช่วยเหลือทางการเงินไม่น่าจะครอบคลุมเฉพาะผู้เสียหาย ผมว่าทุกคนเลยควรจะได้รับตัวนี้ น่าจะมีมาตรการเป็นระดับไป เสียหายโดยตรง ช่วยเยอะหน่อย เสียหายระดับกลางก็ช่วยให้น้อยลงมาซักนิดนึง เพราะฉะนั้นเรื่องภาษี มาตรการทางด้านการเงิน อัตราดอกเบี้ยต่างๆ ที่เราทำ น่าจะครอบคลุมหมดทุกธุรกิจใน 3 จังหวัดภาคใต้
สำราญ -ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณสุวิทย์ คุณกิตติ เดินทางมาถึงแล้วนะครับ ผมจะสรุปที่พูดกันมารอบแรกนะครับ เรากำลังตั้งธงว่า จะกอบกู้ฟื้นฟูอันดามันขึ้นมาอีกรอบได้อย่างไร ทุกคนมีน้ำเสียงเห็นพ้องต้องกันว่า ไหน ๆมันเกิดวิกฤติทั้งทีเราควรจะได้ฉวยโอกาสนี้ในการจัดระเบียบใหม่ มองไปข้างหน้า ก็เลยเรียนถามท่านรัฐมนตรีว่า ในภาครัฐนั้นมียุทธศาสตร์หรือจะฉวยวิกฤติเที่ยวนี้เป็นโอกาสในการจัดระเบียบใหม่ ของการท่องเที่ยว ให้มันมั่งคั่ง และยั่งยืน ยืนนานได้อย่างไร
สุวิทย์ - ผมมาเห็นชายหาด ผมก็ว่ายังมีความสวยงามอยู่ แต่มีบางพื้นที่ที่เศษตะกอน โคลนที่มันขึ้นมา ที่ทำเหมืองไว้เมื่อสมัยก่อน ในทะเล มันถูกพัดพาขึ้นมาก็มีบ้างเหมือนกัน แต่ว่าเดี๋ยวธรรมชาติก็คงช่วยดูแลมันเอง ในส่วนนั้น แต่ว่าในภาพรวมแล้ว ผมยังคิดว่า ความสวยงามยังมี และก็เรื่องของปะการัง ปะการังน้ำตื้นถูกทำลายไปบ้าง ในน้ำลึก มีบางพื้นที่โดนกระแสน้ำกระหน่ำ ช่องเขาขาด ประมาณเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นบางพื้นที่อย่างนี้เราจะปิด เพื่อให้มันฟื้นฟูสภาพ บางพื้นที่ที่ยังเที่ยวได้ ดูได้ ก็จะเปิดให้นักท่องเที่ยวไป แต่ก็จะจัดรูปแบบกระบวนการใหม่ นะครับ เรือที่พานักดำน้ำไป ก็จะต้องมีกระบวนการในการบริหารจัดการในเรื่องของการดูแล เรื่องของเสียที่จะปล่อยลงไปในน้ำบ้าง อะไรบ้าง เรื่องของขยะมูลฝอย เรื่องของโคท ออฟ คอนดัค ที่นักประดาน้ำที่ดีจะต้องทำ ยังไงบ้าง จะต้องมีการฝึก มีการเทรนกันด้วย และการช่วยดูแล ช่วยอนุรักษ์ การฟื้นฟูปะการังเทียม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในเรื่องของการฟื้นตัวของธรรมชาติ ก็คงต้องใช้เวลาบ้าง อุทยานทั้งหมด ผมคงจะเปิดได้เลยทันที ประมาณ 7-8 แห่ง
อย่างไรก็ตาม การเปิด หนึ่งเราต้องดูเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก สอง ดูเรื่องของระเบียบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งก็มีการจัดระเบียบใหม่แน่นอนที่สุด จะปล่อยแบบเดิมไม่ได้ จะมีการจัด การใช้พื้นที่ใหม่ให้มันเหมาะสม และจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่จะให้เป็นการท่องเที่ยวที่ผมเรียกว่าการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ไม่ใช่อีโค ทัวริสซึ่ม แต่เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
สิ่งที่เราพยายามทำคือ เรื่องของการดูแล เรื่องของความสามารถในการรับนักท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ได้ ในเขตอุทยานที่ผมดูแลอยู่ รับนักท่องเที่ยวมากเกินความสามารถที่อุทยานจะรับได้ และมันทำให้อุทยานมันเสื่อมโทรมเร็วมาก
ในส่วนของกระทรวงเอง เมื่อหลังจากเกิดเหตุแล้วผมสั่งท่านปลัดกระทรวง และก็ท่านอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาประสานงานมาเขาบอกว่าเขายินดีที่จะช่วย เขารวมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีองค์ความรู้ทางด้านนี้เข้ามา และก็มาทำเซอร์เวย์ไปรอบหนึ่งแล้ว เมื่อวันก่อนนี้ ผมคิดว่าพวกเราคงจะสามารถที่จะกำหนดมาตรการได้ในภายในอาทิตย์สองอาทิตย์นี้ ถ้าจะทำพร้อมกันหมดไม่ได้ อันไหนที่ทำได้ก่อนจะทำไปเรื่อยๆ นะครับ
ธรณ์ - ผมไม่บอกนะครับว่าปะการังจะเสียหายเท่าไรและไม่ทราบว่าจะอยากรู้กันทำไม ผมเจอสื่อมวลชนถาม เสียหายกี่เปอร์เซ็นต์ ลืมมันไปเถอะว่าเสียหายกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าถึงมันเสีย 100 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2 เปอร์เซ็นต์ เราก็ไปทำอะไรกับมันไม่ได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าแนวปะการังที่เรามีอยู่ปัจจุบัน จะสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้อย่างไร
พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราก็มีการออกไปศึกษา โดยที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับกรมอุทยาน ร่วมกับนักวิชาการจาก 8 มหาวิทยาลัย ออกไปศึกษาร่วมกันแบ่งพื้นที่กันชัดเจน ซึ่งแต่ละพื้นที่เมื่อทำการศึกษาเสร็จ เราจะระบุว่าพื้นที่ใด ที่เราคิดว่า มีความเสียหายเกิดขึ้น ยังไม่ควรจะท่องเที่ยวตอนนี้ เราจะขอปิดพื้นที่นั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวในพื้นที่นี้ซักแป๊บนึงได้ไหม ซึ่งคำว่าแป๊บนึงนานแค่ไหน หลายคนก็ถามว่า 6 เดือน 1 ปี 2 ปี 5 ปี 10 ปี ไม่มีใครตอบได้ สิ่งที่เราตอบได้ ก็คือว่าถ้ามันมีความสูญเสียรุนแรง แน่นอนอาจจะนานหน่อย ถ้ามันเบา มันก็อาจจะแค่ 1 ฤดูกาล ซึ่งอันนั้นที่จะตอบได้คือเราต้องไปติดตามธรรมชาตินะครับว่า ธรรมชาติมีการฟื้นฟูในระดับใด
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เรามีการปิดจุดดำน้ำนะครับ ในอดีต หาดแม่ยาย หมู่เกาะสุรินทร์ เราปิดมาเกือบ 10 ปีแล้ว เพียงแต่ว่าคนทั่วไปอาจจะไม่ทราบ หมู่เกาะสิมิลิน กองหินแฟนตาซี ปิดมาแล้ว 4 ปี กิจกรรมพวกนี้เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่คำว่าปิดในทีนี้ ไม่ได้หมายความว่าปิดห้ามเที่ยวหมู่เกาะพีพี ปิดห้ามเที่ยวหมู่เกาะสิมิลันเลย ปิดห้ามเที่ยวหมู่เกาะสุรินทร์ ไม่ใช่อย่างนั้น
ยกตัวอย่างง่ายๆ พีพีเป็นตัวอย่างแล้วกัน เพราะพีพีข้อมูลออกมาแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า พีพี ที่ทางกระทรวงทรัพยากรทำการสำรวจศึกษากันมา อาจารย์มหาวิทยาลัยแนะนำ เสนอ ซึ่งคนจะสั่งปิด หรือไม่ปิด ก็ขึ้นกับผู้บริหารอยู่แล้ว แต่เราเสนอว่าควรจะปิดแค่ 2 แห่ง แห่งหนึ่งคือ อ่าวต้นไทร ฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกไม่ได้รับผลกระทบเลย แต่ฝั่งตะวันตกมีปะการังเสียหายนิดหน่อยที่ควรจะปิดไว้ ไม่ให้มีการท่องเที่ยวชั่วขณะหนึ่ง กับเกาะไผ่ เราก็พยายามจะเลือกว่า อย่างอ่าวมาหยา ใครจะไปเที่ยวก็เชิญไปเที่ยวต่อ เพราะเราพบว่าอ่าวมาหยาไม่มีความเสียหาย จุดอื่นก็เชิญเที่ยวกันต่อไป เราขอแค่ 2 ที่นี้ 2 ที่เล็กๆ อย่างหมู่เกาะสุรินทร์ ท่านรัฐมนตรีบอกว่าเปิดแล้ว คนศึกษายังนั่งอยู่นี่เลยครับท่าน รออีกแป๊บนึงนะครับ 4-5 วัน คนศึกษากำลังจะไปพรุ่งนี้ สงสัยข้อมูลสับสน ช่วงนี้สับสนกันเยอะครับ ปกติครับ
สุวิทย์ - คือที่บอกว่าเปิด คือเราเอามอแกนกลับไปแล้ว อนุญาตให้คนที่อยู่ในเกาะกลับไปได้ แต่ว่าสำหรับนักท่องเที่ยว อย่างที่ผมเรียนแล้วว่าเราต้องดูเรื่องความปลอดภัยก่อน และการจัดระเบียบบ้างเท่านั้นเองครับ ก็ที่ดร.ธรณ์พูด คือว่า การปิดอย่างที่ผมเรียนแล้ว อย่างช่องเขาขาด คือปิดเป็นแอเรียไป ยังไม่ได้ปิดทั้งอุทยาน เพราะว่าสิ่งหนึ่งที่กระทรวงต้องการทำ ก่อนหน้านี้คือการจัดระเบียบเรื่องของเรือเข้าออก เรื่องที่จอดเรือ เรื่องแหล่งอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยว และก็การดูแลรักษาความสะอาด รวมทั้งในเรื่องของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลซึ่งเรื่องของปะการังเทียม ในส่วนนี้จริงๆแล้ว ทางกรมทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งก็ดำเนินการอยู่ อันนั้นอาจจะต้องเข้ามาช่วยกันหลายส่วนด้วยกัน แต่ว่าจริงๆ แล้วก็เห็นด้วยนะครับ เห็นด้วยกับดร.ธรณ์อยู่แล้วนะครับในเรื่องการปิดบางส่วน
ธรณ์ - เพราะฉะนั้นยืนยันว่า ไม่มีหมู่เกาะไหนปิดทั้งหมู่เกาะแน่นอน แต่มี 10 จุด อาจจะขอปิดซัก 2 จุด 1 จุดแล้วแต่พื้นที่นะครับ อันนี้บอกกันไม่ได้ แต่ก็จะอยู่ในระดับเท่านี้ 1 จุด 2 จุด 3 จุด คือไม่มีที่ไหน ไม่มีการปิดทั้งหมู่เกาะ บอกว่าห้ามไปเที่ยวหมู่เกาะสิมิลันอีกแล้วในฤดูกาลนี้ไม่ใช่ อย่างนั้น จะมีแค่เฉพาะบางจุดเท่านั้น เราก็พยายามเลือกและจุดบางจุด อย่างช่องเขาขาด ที่หมู่เกาะสุรินทร์ ที่ท่านรัฐมนตรีบอก เปิดก็ไม่มีใครไปเที่ยวครับ เพราะว่ามันเสียหายค่อนข้างมาก มันเหลือแต่ทรายไว้ง่ายๆ อันนั้นยืนยันชัดเจน
อันที่สอง ก็คือในเรื่องการฟื้นฟูและการกอบกู้ จริงๆ แล้วจากปัญหาที่เราเห็นในครั้งนี้ทำให้เราเห็นปัญหาหลายอย่างนะครับ อันนี้มันแนวความคิดของผม ผมเสนอยกตัวอย่างเช่น หมู่เกาะสุรินทร์ ขาดการติดต่อตั้งหลายวัน ผมขอใช้หมู่เกาะสุรินทร์เป็นพื้นฐานนะครับผมอยากเสนอท่านรัฐมนตรี ถ้าเผื่อท่านรัฐมนตรีจะลองนำไปคิดดู หมู่เกาะสุรินทร์ขาดการติดต่อ 2 วัน อย่างแรกที่ขาดหายคือ เครื่องปั่นไฟ ถังน้ำมัน หมู่เกาะสุรินทร์เอาเครื่องปั่นไฟ ไม่ใช่หมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติแทบทุกแห่ง เครื่องปั่นไฟ และถังเก็บสต็อกน้ำมันอยู่บนพื้นหมดทุกแห่ง หมู่เกาะสุรินทร์ พอหลังคลื่นเข้า 10.03 น. พอ 11.00 น. หมู่เกาะสุรินทร์ติดต่อไม่ได้เลย เพราะน้ำท่วมเครื่องปั่นไฟครับ อันนี้กติกาแรก เพราะว่าหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะอาดังลาวี ใช้ปั่นไฟทั้งนั้น เพราะฉะนั้นนี่เป็นอันแรกที่ว่าในกรณีฉุกเฉิน เราน่าจะมีเครื่องปั่นไฟสำรอง หรือเครื่องสื่อสารสำรองอยู่ในที่สูง
อันดับที่สอง เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะมาก นักท่องเที่ยวบางครั้งไม่ได้รบกวนธรรมชาติอย่างเดียว มันยังเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เรือหางยาว หรือเรืออะไรที่ดำน้ำไป ไม่สามารถติดต่อได้เลย ถึงแม้เรากำลังจะสร้างระบบเตือนภัยสึนามิ ผมก็เคยถามว่า เราสร้างระบบเตือนภัยอุทยาน อุทยานจะบอกนักท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบการเองรู้จะบอกเรือหางยาวที่พานักท่องเที่ยววิ่งดำน้ำได้ยังไง ในเมื่อเรือพวกนี้ไม่ได้มีอุปกรณ์อะไรเลย ใช้ธงเหรอ มันมีหลายอย่างที่ทำให้เราเห็นว่า มันมีจุดผิดพลาด จุดบกพร่องในการท่องเที่ยวในอดีต ซึ่ง อาจจะเกิดขึ้น ไม่ใช่ความผิดของใคร แต่อาจจะเกิดขึ้น เพราะเราเร่งการท่องเที่ยวมากเกินไป เร่งให้มีนักท่องเที่ยวเยอะเกินไป
สำราญ - มาถึงหัวใจของการเสวนาในวันนี้ก็ว่าได้นะครับ ท่านผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คำถาม 2 คำถามคือเฉพาะหน้า ททท. ทำอย่างไร และก็จะได้มีการพลิกเปลี่ยนจากนี้ไปอย่างไร ในช่วงระยะยาว กราบเรียนท่านผู้ว่าฯ จุฑามาศ ครับ
จุฑามาศ - เรื่องพีอาร์ เป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่การท่องเที่ยวจะต้องทำเร่งด่วนแน่นอนคือเรื่องพีอาร์ ว่าภูเก็ตจะเข้ามาได้มากตรงไหน จะมาเที่ยวได้ยังไงบ้าง ก็ต้องดูความสอดคล้อง ทางด้านของรัฐมนตรีสุวิทย์ ท่านก็ดูแลเรื่องการฟื้นฟู การแก้ไข การปรับปรุงแหล่งสภาพ แหล่งท่องเที่ยว เราก็ต้องเดินตามท่าน เพราะว่าถ้าท่านไปเก็บกวาดตรงไหนเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างไปได้ ทางการท่องเที่ยวก็ไปได้ เพราะต้องตามกัน ก็ต้องบอกว่า ข้อมูลข่าวสารเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราก็เลยจะทำโบชัวร์พิเศษขึ้นมาในช่วงนี้ นี่ก็สั่งทำแล้วคือเรื่องของอันดามันอัพเดท คืออันนี้ต้องส่งให้เขาทราบ เพราะว่าพวกเราบางทีก็ไม่รู้นะคะ คนไทยก็ไม่รู้ ความจริงไปชวนให้คนไทยมาเที่ยวแล้ว เขาก็ไม่รู้ตรงไหนไปได้ไม่ได้ ก็อยากจะบอกว่าเรื่องการท่องเที่ยวตอนช่วงนี้ ที่ทำได้เร็วที่สุดคือ เราทำพีอาร์และเรากำลังเชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาหลายกลุ่มด้วยกัน ทางภูเก็ตก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยว หรือว่าโรงแรมต่างๆ ที่เปิดบริการเกือบจะสมบูรณ์เรียบร้อยดีนะคะ เพราะฉะนั้นก็จำเป็นจะต้องส่งเมสเสจต่างๆ เหล่านี้ให้ทุกคนทราบ
ที่การท่องเที่ยวคิดว่าน่าจะต้องทำในระยะเฉพาะหน้า ตอนนี้ก็คือต้องดูแลนักท่องเที่ยวให้ดีที่สุด นักท่องเที่ยวที่กลับไปแล้ว ประมาณเกือบ 4,000 คน ที่เราส่งกลับไป อันที่หนึ่ง เขาจะเป็นทูตที่ดีของเราเลยนะคะ เพราะจะอยู่ในหลายประเทศด้วยกัน เราก็คงจะต้องสร้างดาตาเบสไว้กับเขา คือสร้างสัมพันธไมตรี พอถึงเวลาจะต้องส่งให้เขากลับมาเที่ยวอีก ส่วนที่เจ็บป่วย ก็ดูแล ส่วนที่เสียชีวิต เราก็ส่งจดหมายไปถึงญาติเขา อันนี้เป็นอะไรที่ต้องเร่งทำด่วนคือฟื้นฟูสภาพของจิตใจและฟื้นฟูให้เขาขับเคี่ยวในแง่ของความรู้สึกของเขาเอง
ถามว่าการท่องเที่ยวทำยังไงให้กับทางด้านของ 3 จังหวัดหรือ 6 จังหวัดภาคใต้ ต่อจากนี้ หลังจากที่เหตุการณ์สงบ หลังจากที่ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว เราก็หวังว่าแหล่งท่องเที่ยวในทีนี้ น่าจะสวยงามกว่าที่อื่น หาดทรายใช้ได้เกือบจะสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์เพียงแต่ที่รกก็เพราะมีสิ่งปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นถ้าขนย้ายไปก็เสร็จ ตัวอาคารที่เสียหายไป ก็สร้างขึ้นมาใหม่ หรือว่าปรับปรุงเสีย ก็ใช้เวลา ประมาณ 3-6 เดือน ก็น่าจะฟื้นคืนได้
สิ่งที่เราเป็นห่วงก็คือ ปะการังใต้น้ำ ทางการท่องเที่ยวก็ส่งทีมลงไป ดูว่าจุดที่เขาไปดำน้ำ ที่ทางผู้ที่สนใจการดำน้ำ และเป็นจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงทั่วโลกของเรา เสียหายหรือเปล่า ต้องเน้นนะคะ การท่องเที่ยวก็ลงไปดูว่า ตรงนั้นมันคือจุดขายจริงๆ ของประเทศ ของที่นี่ และเขาเสียหายไหม ก็ไปดูแล้วทั้งหมดก็ค่อนข้างสบายใจว่า ไม่เสียหายถึงได้ออกทีวีให้เขาเห็นภาพความสวยงาม
ที่พังมันก็มีบ้าง อย่างที่ดร.ธรณ์ได้นำเสนอไป แต่เพื่อความสบายใจของทุกคน ก็คือแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งดำน้ำ ที่ทรัพยากรของเราที่น่าหวงแหนที่สุดชิ้นหนึ่งของชาติ ไม่ถูกทำลายยังสวยงามอยู่ มีที่ตื้นๆ ดร.ธรณ์กำลังจะไปปลูกและคิดว่าคงกลับมาได้ 10 ปีมันก็ไม่ได้ช้าเกินไป
แรงงานหรือผู้ที่อยู่ในภาคบริการ ไม่น่าเชื่อว่าเราสูญเสียไปค่อนข้างเยอะ หายไป 1 ใน 3 ของคนที่อยู่ในระบบของการทำงาน บุคลากรเหล่านั้นเป็นบุคลากรซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านการให้การบริการ การดูแลเรื่องการท่องเที่ยว ททท.ก็มีหน้าที่จะต้องไปอบรมมาเพิ่มขึ้นนะคะ หรือว่าไปหางาน เปลี่ยนงานของคนที่อยู่ที่นี่ ให้มีศักยภาพในการที่จะมาทำงานในตำแหน่งต่างๆ
นอกจากนั้นก็มีการตกลงกันว่า ในการทำตลาดของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่เราเรียกว่าเป็นงานเทรดแฟร์ใหญ่ๆ ของโลก ขอให้จัดเป็นคล้ายๆ เหมือนกับบูทพิเศษสำหรับโปรโมตเรื่องการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัดนี้ ก็อยากจะกราบเรียนทางด้านของภาคเอกชนที่นี่ว่า ให้รวมกันและเราก็ออกไปด้วยกัน
ประเด็นที่อยากจะเรียนย้ำ ก่อนที่จะจบ คือ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวที่นี่นะคะ หลังจากที่ดูความร่วมมือหลังจากที่ดูความตั้งใจของรัฐบาลแล้วคิดว่าไม่น่าห่วงในการที่จะฟื้นกลับมาเพราะเอาจจะเร็วกว่าที่เราคิด แต่ เนื่องจากมีบทเรียน เราก็ไม่อยากจะให้ช้า เพราะว่า ถ้าเรายกตัวอย่าง เพื่อนๆ เรา อย่างบาหลี เขาปล่อยไว้นานเกินไป 2 ปีแล้วยังไม่ฟื้น นี่คือบทเรียน อยากจะบอกว่า พวกเราต้องช่วยกันคือถ้าช่วยกันตอนนี้ พยายามพูดในเชิงข่าวดี ถ้าจะออกทางสื่อ พูดอะไรที่เชิงโพสิทีฟ การฟื้นจะเร็ว แต่ถ้าพูดอะไรที่เนกาทีฟ การฟื้นช้า แล้วเราจะมาเสียใจกันทีหลัง บาหลีตาย 200 เท่านั้นนะคะ แต่ว่าป่านนี้ยังไม่มีใครกล้าไป
สำราญ -คุณผิน คิ้วไพศาล ประธานบริษัทภูเก็ตแฟนตาซี จะขอแสดงความเห็นในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการท่านหนึ่งที่ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย
ผิน - นาทีนี้ หรือวินาทีนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร วันนี้ตองพูดถึงเรื่องเหตุการณ์ขณะนี้ของเรา เป็นเหตุการณ์ของโลกแล้ว คือมีผู้ตายตั้ง 160,000 คน และภูเก็ตก็ตายประมาณ 5,000 ผู้ประกอบการบางคนก็ล้มละลาย บางคนโรงแรมสร้างเสร็จยังไม่ทันเปิดก็หาย บางคนก็หายไป ตึกพัง เสียชีวิต บางคนไม่โดน แต่ลูกค้าหายหมดแล้ว
ผมอยู่ในภาคประกอบการ ก็อาจจะมองชัด ว่าจะทำยังไง คือตอนนี้ ที่เสียหายไปแล้ว คงจะเสียหายไป เมื่อกี้ท่านโชติศักดิ์ บอกว่ามีซอฟต์โลนมาให้ ก็ขอบคุณ คงจะดี สำหรับผู้ที่จะได้ซอฟต์โลน แต่มีส่วนหนึ่งซึ่งกึ่งๆ กลางๆ อาจจะไม่มีหลักทรัพย์ ไม่มีอะไร ผมก็คิดว่าน่าจะให้ความช่วยเหลือเขาโดยด่วน และจะช่วยเหลือยังไง ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า การที่เราจะให้รัฐบาลช่วย 100 เปอร์เซ็นต์อาจจะไม่แฟร์ เราเป็นผู้ประกอบการเราก็ต้องช่วยตัวเองครึ่งหนึ่งและให้รัฐบาลพิจารณาครึ่งหนึ่ง สำหรับส่วนที่กึ่งๆ กลางๆ หมายความว่า พังไปแล้วไม่มีหลักทรัพย์ แต่ธุรกิจทำอยู่ ตอนนี้ไม่มีทุนจะมาฟื้นฟูจะทำอย่างไร
ผมขอเสนอทางการว่า เป็นไปได้หรือเปล่าครับ ที่เอาเรื่องภาษีมาเป็นเกณฑ์ ผู้ใดใน 1 ปีที่ผ่านมา เสียภาษีไปเท่าไร รัฐบาลอาจจะเอายอดตรงนี้มาให้เขากู้เป็นซอฟต์โลนไป เอาเป็นว่า 1 เท่า หรือ 2 เท่าหรือกี่เท่า ให้เขามีเงินตรงนี้ กลับมาฟื้นฟู ธุรกิจ เพราะพวกนี้อาจจะไม่มีสิทธิ์ได้ซอฟต์โลน เอาภาษีมาเป็นหลัก สำหรับผู้ที่ไม่โดนนะครับ แต่ลูกค้าหายหมดแล้ว
ยกตัวอย่าง ภูเก็ตแฟนตาซี ทุกวันเราจะได้ประมาณ 3,000 -6,000 คน วันนี้ 12 คนครับ และผมก็สั่งปิดไปแล้วนะครับ เหตุผลเพราะว่าไม่มีนักท่องเที่ยวแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายมีอยู่ เดือนหนึ่งหลายสิบล้านและหนี้ที่ติดเรา ก็ไม่มีปัญญาจะมาจ่ายเรา เราเก็บไม่ได้ แต่เราติดหนี้คนอื่น เราก็ต้องจ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทุกวันก็ต้องมี แต่ลูกค้าไม่มี เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่ถึงแม้ไม่กระทบนะครับ สุดท้ายก็คือต้องปิดอยู่ดีนะครับ
เพราะฉะนั้นตรงนี้อยากจะให้ทางภาครัฐช่วยดูตรงนี้ด้วย ว่าจะทำยังไง เพราะ ณ นาทีนี้สิ่งที่ขาดคือ เรื่องเงินและคน เรื่องเงินก็ช่วยโรงแรมต่างๆ หรือสิ่งปลูกสร้างหรือใครที่ทำท่องเที่ยว ได้ล้มไปก็ไปช่วยทางโน้น แต่เรื่องคนก็สำคัญนะครับ เพราะว่าไม่ต้องเอาเงินไปช่วย ทีนี้จะทำยังไง
ผมเสนอว่า สำหรับททท. นะครับ ถ้าเป็นไปได้นะครับ ออกคูปอง เป็นแทกซ์ คูปอง หมายความว่า ถ้าเผื่อคนไทย ใครมาเที่ยวภูเก็ต หรือพังงาในนาทีนี้ ให้คูปองฟรี 3,000 บาท ต่างชาติอาจจะซัก 7,000 บาท
ถ้าใครมาเที่ยวตั้งแต่ม.ค. จนถึง มี.ค. คิดว่าประมาณ 1 ล้านคน ทั้งไทยและต่างชาติ ให้คูปอง ถ้าใครมาเที่ยวที่นี่ ในช่วงนี้ โดย 3,000 บาทของคนไทย 1,500 บาท ใช้สำหรับโรงแรม 1,500 บาทใช้สำหรับเครื่องบินเพื่อให้เขามาเที่ยวจริง และคูปองที่เครื่องบินก็ดี โรงแรมก็ดี เมื่อรับแล้วไปเคลม หรือใช้แทนได้เพียงครึ่งเดียว คือผู้ประกอบการต้องเสียให้ครึ่งหนึ่งด้วยไม่ใช่เอาเต็ม สมมติคูปอง 3,000 บาทใช่ไหมครับ ผู้ที่มาเที่ยว เขาจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน อาจจะ 1,500 บาท หรือกว่า ก็ต้องแถมเข้าไป ไม่ถึงก็คือฟรีไป อีก 1,500 บาท จ่ายเป็นโรงแรม โรงแรมรับคูปองตรงนี้เสร็จ หรือเครื่องบินรับเสร็จ ก็ไป อาจจะขายกับธนาคาร ธนาคารก็รับซื้อไป ไปจ่ายแทนภาษีได้ เพราะตรงนี้เป็นคูปองภาษี หรือนิติบุคคลใด ได้ตั๋วใบนี้ก็จ่ายเป็นภาษีแทนได้ แต่มีระยะเวลาอาจจะ 1 ปี จะต้องไปเคลมกับรัฐบาล และ 90 วันนี้ถ้าใครมาใช้ก็คือตรงนี้ จำกัด 1 ล้านคนเท่านั้น ผมคิดว่าคนจะกลับมาทันที ในจำนวนมากและรัฐบาลไม่ต้องไปควักเงินสดแม้แต่ 1 บาท แค่พิมพ์คูปองเท่านั้นเอง ทุกคนก็มาเที่ยว และจากนั้นก็ไปลดภาษีเอา
ผมคิดว่าถ้าทำอย่างนี้ ผู้ประกอบการจำนวนเป็นหมื่นแห่ง รัฐบาลไม่ต้องเอาเงินไปช่วยเขาเลย เขาสามารถเอาตรงนี้ ไปเป็นรายได้ หรือไปดิสเคาน์ให้กับทางธนาคารครึ่งหนึ่ง สมมติเขาได้คูปองตรงนี้มาให้ผมใช่ไหมครับ ผมไม่มีสิทธิ์จะรับนะครับ แต่ว่าโรงแรมมีสิทธิ์ เครื่องบินมีสิทธิ์แต่เขาก็จะมาเที่ยว มาซื้อของ มากิน อะไร นั่นคือเงินส่วนตัวเขาต้องจ่าย ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะดี