“ยังไม่รู้เลยว่าเราจะไปไหนกันต่อ ขอให้มีที่พัก มีอาหารและน้ำดื่มก่อนก็พอ ถ้ามีความช่วยเหลือก็อยากไปให้ถึงเกาะภูเก็ต ไปให้ถึงสนามบินเพื่อจะได้เดินทางกลับอิตาลีให้เร็วที่สุด”
นี่คือคำสนทนาสั้นๆ หลังคำกล่าวขอบคุณ ทีม “ผู้จัดการรายวัน” ที่ช่วยบรรทุกกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอิตาลีกว่า 20 ชีวิตออกจากบริเวณ “เขาหลัก” แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลอันดามันของไทย ซึ่งในช่วง 2-3 ปีมานี้กำลังเป็นดาวรุ้งพุ่งแรง จนหลายคนคาดหมายว่า มีความเป็นไปได้ที่จะถูกบูมขึ้นมาทดแทนภูเก็ตที่ครองความเป็นไข่มุกแห่งเอเชียมานานกว่า 2 ทศวรรษ

จากการสำรวจความเสียหายของแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเขาหลัก ซึ่งพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอำเภอตะกั่วป่า แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในอำเภอท้ายเหมืองของจังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 อันเป็นช่วงเวลา 1 วันหลังจากถูกคลื่นยักษ์ที่ก่อตัวจากเหตุแผ่นดินไหว บริเวณทะเลในน่านน้ำอินโดนีเซีย พบว่า ยังมีนักท่องเที่ยวตกค้างอยู่ในพื้นที่นับพันคน ส่วนมากเป็นชาวตะวันตก ที่เป็นเชื้อสายเอเชียมีบ้างประปราย
เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยว ที่รวมตัวกันอยู่เป็นจุดๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่เขาหลัก ส่วนใหญ่จะเป็นจุดที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ นักท่องเที่ยวเกือบทั้งหมดยังอยู่ในอาการโศกเศร้า หวาดผวา แววตาฉายแววสับสน และงุนงงกับสิ่งเลวร้ายที่ได้เผชิญมาในช่วงเวลาแค่ข้ามคืน
นักท่องเที่ยวหลายคนสูญเสียญาติพี่น้อง คนในครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนผู้ใกล้ชิด มิพักต้องพูดถึงทรัพย์สินหรือเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ถูกคลื่นยักษ์กวาดลงทะเลไปหมด บางคนนั่งกอดห่อผ้าปูเตียงหรือผ้าห่มไหมพรมลายสก๊อตไว้แนบอก ซึ่งสังเกตได้ทันทีว่านำมาจากสถานที่พัก และข้างในก็คือสิ่งของติดตัว ที่ยังจะพอมีเหลืออยู่บ้าง ทว่าก็มีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่ง ที่จัดได้ว่าตกอยู่ในภาวะตัวเปล่าเล่าเปือยเลยทีเดียว เนื่องจากทรัพย์สินที่เหลือมีเพียงชุดว่ายน้ำแค่ชิ้น หรือสองชิ้นที่สวมติดตัวอยู่เท่านั้น
“คุณช่วยพาผมไปที่ไหนก็ได้ ที่มีคนรวมตัวกันอยู่เยอะๆ” เสียงแหบแห้งของ 2 นักท่องเที่ยวชายผมบรอนซ์ วัยกลางคนพูดเชิงอ้อนวอน หน้าตายังคงมอมแมมและอิดโรย แขนขาเต็มไปด้วยรอยขีดข่วน เสื้อผ้ามีเลือดเกรอะกังอยู่หลายจุด พูดไปพร้อมกับสูดลมหายใจฟึดฟัดตลอดเวลา พวกเขาก้าวออกมาจากขอบถนนเพื่อโบกรถขอความช่วยเหลือจากเรา

นับตั้งแต่ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง หรือองค์กรภาคเอกชนได้กระจายกันปฏิบัติงานในหลายจุด แต่แหล่งท่องเที่ยวของเขาหลักนั้นกินอาณาบริเวณค่อนข้างกว้าง นับเนื่องแค่ชายหาดก็กินไปเป็นแนวยาวนับสิบๆ กิโลเมตร จึงทำให้ตลอดวันก็ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ครอบคลุม
มองจากจุดชมวิวเชิงเขาไปยังแนวชายหาดทรายขาว ที่ทอดยาวลิบหูลิบตาของแหล่งท่องเที่ยวย่านเขาหลัก วันนี้ความเปลี่ยวเหงาร้างไร้สิ่งมีชีวิตได้เข้ามาครอบคลุมอยู่ทุกอณูพื้นที่ มันเข้ามาแทนที่ความคึกคักวุ่นวายของผู้คนหัวแดงบ้าง หัวดำบ้าง ซึ่งแต่งชุดว่ายน้ำเดินกันอยู่ขวักไขว่วาดรอยเท้าลงบนผืนทราย หรือไม่ก็ลงไปแช่ในน้ำทะเลอย่างสำเริงสำราญ
ซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักรกล รวมถึงรกยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มันถูกทำให้เป็นขยะโดยคลื่นยักษ์ แล้วกวาดไปกองเกลื่อนกลาดอยู่ตลอดแนวหาด แผกต่างไปอย่างยิ่งจากก่อนหน้านี้ไม่กี่วันที่เก้าอี้และร่มชายหาดถูกจัดเรียงอย่างมีระเบียบเรียบร้อยเป็นแนวยาว ซึ่งเข้ากันได้ดีกับตัวอาคารหรูหราของบรรดาโรงแรม รีสอร์ต สปาหรือร้านอาหารที่ทอดตัวลดหลั่นจากเนินเขาสู่หาดทราย
สองฟากฝั่งถนนสายหลักที่ผ่านย่านแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลัก ซากปรักหักพังของโรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร ร้านค้า อาคารพาณิชย์ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือแม้กระทั่งอาคารพาณิชย์ต่างๆ ส่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงผลพวงของความรุนแรงของมหันตภัยธรรมชาติในครั้งนี้

ทีมข่าว “ผู้จัดการรายวัน” ได้เข้าไปสำรวจโรงแรม รีสอร์ตและสปาหลายแห่งตลอดแนวชายหาดของอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลัก ความหรูหราที่เคยถ่ายทอดผ่านลวดลายของเนื้อไม้ อิฐ หิน ปูน รวมถึงบรรดาเฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องประดับประดาต่างๆ ในวันนี้มันเป็นได้แค่เศษขยะที่กองอยู่เป็นภูเขาเลากาเท่านั้น
และไม่เพียงเท่านั้น ยังมีสิ่งที่ผู้พบเห็นต้องขุนลุกขนพองไปตามๆ กัน ซึ่งผสมปนเปอยู่กับซากต่างๆ เหล่านั้นก็คือ ซากศพของสิ่งมีชีวิตมากมาย นอกจากกุ้งหอยปูปลา รวมถึงบรรดาสัตว์เลี้ยงต่างๆ ที่เกลื่อนกลาดไปทั่วแล้ว ศพของมนุษย์หลายสิบศพก็ทอดร่างสงบนิ่งอยู่ทั่วบริเวณ
“บ่ายๆ อย่างนี้คุณดูไปที่ท้องทะเลนั่น มีศพอีกหลายศพกำลังถูกน้ำทะเลพัดพาเข้าสู่ชายฝั่ง” เจ้าหน้าที่หน่อยกู้ภัยกลุ่มหนึ่งบอกเล่าให้ฟัง มีคนหนึ่งชี้มือไปในทะเลชวนให้ดู 2-3 ศพที่กำลังกระเพื้อมน้ำเข้าสู่ฝั่ง ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เหลือกำลังช่วยกันดันเรือยางติดเครื่องยนต์จากชายหาดสู่น้ำเค็ม
จากการเดินสำรวจในบริเวณหลายๆ โรงแรมและรีสอร์ต เราได้เห็นร่างไร้วิญญาณของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่อนุมานได้ว่าเป็นชาวตะวันตกเกลื่อนกระจายอยู่ในหลายจุด ทั้งตามแนวชายหาด ตัวอาคาร ใต้กองซากปรักหักพัง และที่น่าสังเวชใจมากที่สุดก็คือ มีบางศพติดค้างอยู่บนหลังคาอาคารที่พักริมหาดด้วย
“ผมเห็นกับตาตัวเองเลยครับ ประมาณ 10.10 น. ของวันที่ 26 ธันวาคม ผมกำลังรดน้ำต้นไม้อยู่ มีฝรั่งคนหนึ่งนั่งอยู่บนโขดหินริมหาด เขาแสดงอาการเจ็บที่เท้า แล้วก็มีเพื่อนๆ ฝรั่งด้วยกันกว่า 10 คนวิ่งกรูกันเข้าไปช่วย ปรากฏว่าพักเดียวคลื่นยักษ์กวาดลงทะเลไปหมดเลย” นายวาที ไวยการ อายุ 38 ปี ชาวท้ายเหมืองโดยกำเนิด กับนายนิคม คำทองแก้ว อายุ 33 ปี แรงงานอพยพจากอีสาน ซึ่งทั้งคู่เป็นคนสวนของโรงแรมสิมิลัน บีช แอนด์ สปา รีสอร์ท บริเวณเขาหลักบอกเล่าด้วยความตื่นเต้น
ทั้งคู่เล่าว่าในวันนั้นประมาณ 7 โมงเช้าเศษขุมน้ำจืดในบริเวณของโรงแรมเกิดคลื่นหมุนวนไปมาอย่างรุนแรง แม้พนักงานและนักท่องเที่ยวจะแตกตื่นกันบ้าง แต่ก็ไม่มีใครเอะใจว่าจะมีภัยใหญ่ตามมา จากนั้นเวลากว่า 10 โมงเช้าก็เกิดคลื่นยักษ์ถล่มโรงแรมทั้งโรงแรม ยอดคลื่นสูงกว่ายอดมะพร้าว ซัดจนถึงแนวถนนหลักที่เลียบไหล่เขาเลยด้วย
“ผมเห็นคลื่นมาแต่ไกลก็ตะโกนบอกเพื่อนๆ พนักงาน ทุกคนแตกตื่น รวมถึงนักท่องเที่ยว เราวิ่งขึ้นสู่แนวถนนและไหล่เขา ที่รอดก็รอด ที่ไม่รอดก็ตายไป” นายวาทีเล่าอย่างออกอาการ เขาบอกว่า ดีนะที่ช่วงเกิดเหตุในโรงแรมมีแขกพักเพียง 20 กว่าห้อง หากพ้นคริสต์มาสไม่กี่วันมีจ้องมาแล้วอีกกว่า 70 ห้อง จากทั้งโรงแรมที่มีห้องพักทั้งหมด 140 ห้อง

นี่คือสิ่งยืนยันว่า ปรากฏการณ์มหันตภัย ที่คร่าชีวิตผู้คน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในย่านแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลักครั้งนี้ เกิดขึ้นอย่างฉับพลันซึ่งยากที่ใครจะรับมือได้ทัน ดังนั้นจึงยังความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาลอย่างยากที่จะประเมินได้
ณ วันนี้แหล่งท่องเที่ยวที่เคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงอย่างเขาหลัก ที่เริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัวมานานกว่าครึ่งทศวรรษ และมาบูมเอาสุดๆ ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ซึ่ง “ผู้จัดการรายวัน” เคยติดตามความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องพบว่า ในย่านนี้เคยมีการลงทุนในธุรกิจด้านการท่องเที่ยวสูงนับพันนับหมื่นล้านบาท มีห้องพักที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวกว่า 5,000 ห้อง
แหล่งท่องเที่ยวของ “เขาหลัก” เคยเป็นที่พิศมัยของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ถ้าพูดถึงชาวยุโรปแล้วนับเป็นสวรรค์ที่หมายปองกันมากเลยทีเดียว โดยเฉพาะกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ให้การชื่นชอบเป็นพิเศษ โดยจะเข้ามาท่องเที่ยวกันเป็นครอบครัวและใช้เวลาพักตากอากาศกันครั้งละยาวนานหลายเดือน ปัจจุบันไม่เหลือภาพของวันวานให้เห็นอีกแล้ว
จากปรากฏการณ์คลื่นยักษ์อันเนื่องมาจากแผนดินไหวในท้องทะเลเคลื่อนตัวเข้ามาถล่มตลอดแนวชายหาดที่ทอดยาวนับสิบกิโลเมตรเมื่อเช้าของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา วันนี้สามารถกล่าวได้ว่า “เขาหลัก” ที่เคยเรื่องรุ้งพุ่งแรง แถมยังมีแนวโน้มจะแซงหน้าแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณทะเลอันดามันของไทยด้วยกันอย่างภูเก็ต กระบี่และพังงา ได้หมดมนต์ขลังและไร้ซึ่งเสน่ห์เย้ายวนใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกไปแล้ว
หากจะกล่าวว่า ณ วันนี้ “เขาหลัก” ถูกทำลายราบเป็นหน้ากลองก็คงไม่ผิดนัก และคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีดีดักกว่าจะฟื้นเพื่อเรียกยุคทองของการท่องเที่ยวในย่านนี้กลับคืนมา
นี่คือคำสนทนาสั้นๆ หลังคำกล่าวขอบคุณ ทีม “ผู้จัดการรายวัน” ที่ช่วยบรรทุกกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวอิตาลีกว่า 20 ชีวิตออกจากบริเวณ “เขาหลัก” แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลอันดามันของไทย ซึ่งในช่วง 2-3 ปีมานี้กำลังเป็นดาวรุ้งพุ่งแรง จนหลายคนคาดหมายว่า มีความเป็นไปได้ที่จะถูกบูมขึ้นมาทดแทนภูเก็ตที่ครองความเป็นไข่มุกแห่งเอเชียมานานกว่า 2 ทศวรรษ
จากการสำรวจความเสียหายของแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเขาหลัก ซึ่งพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอำเภอตะกั่วป่า แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในอำเภอท้ายเหมืองของจังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 อันเป็นช่วงเวลา 1 วันหลังจากถูกคลื่นยักษ์ที่ก่อตัวจากเหตุแผ่นดินไหว บริเวณทะเลในน่านน้ำอินโดนีเซีย พบว่า ยังมีนักท่องเที่ยวตกค้างอยู่ในพื้นที่นับพันคน ส่วนมากเป็นชาวตะวันตก ที่เป็นเชื้อสายเอเชียมีบ้างประปราย
เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยว ที่รวมตัวกันอยู่เป็นจุดๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่เขาหลัก ส่วนใหญ่จะเป็นจุดที่ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือของทางราชการ นักท่องเที่ยวเกือบทั้งหมดยังอยู่ในอาการโศกเศร้า หวาดผวา แววตาฉายแววสับสน และงุนงงกับสิ่งเลวร้ายที่ได้เผชิญมาในช่วงเวลาแค่ข้ามคืน
นักท่องเที่ยวหลายคนสูญเสียญาติพี่น้อง คนในครอบครัว คนรัก หรือเพื่อนผู้ใกล้ชิด มิพักต้องพูดถึงทรัพย์สินหรือเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ถูกคลื่นยักษ์กวาดลงทะเลไปหมด บางคนนั่งกอดห่อผ้าปูเตียงหรือผ้าห่มไหมพรมลายสก๊อตไว้แนบอก ซึ่งสังเกตได้ทันทีว่านำมาจากสถานที่พัก และข้างในก็คือสิ่งของติดตัว ที่ยังจะพอมีเหลืออยู่บ้าง ทว่าก็มีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่ง ที่จัดได้ว่าตกอยู่ในภาวะตัวเปล่าเล่าเปือยเลยทีเดียว เนื่องจากทรัพย์สินที่เหลือมีเพียงชุดว่ายน้ำแค่ชิ้น หรือสองชิ้นที่สวมติดตัวอยู่เท่านั้น
“คุณช่วยพาผมไปที่ไหนก็ได้ ที่มีคนรวมตัวกันอยู่เยอะๆ” เสียงแหบแห้งของ 2 นักท่องเที่ยวชายผมบรอนซ์ วัยกลางคนพูดเชิงอ้อนวอน หน้าตายังคงมอมแมมและอิดโรย แขนขาเต็มไปด้วยรอยขีดข่วน เสื้อผ้ามีเลือดเกรอะกังอยู่หลายจุด พูดไปพร้อมกับสูดลมหายใจฟึดฟัดตลอดเวลา พวกเขาก้าวออกมาจากขอบถนนเพื่อโบกรถขอความช่วยเหลือจากเรา
นับตั้งแต่ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง หรือองค์กรภาคเอกชนได้กระจายกันปฏิบัติงานในหลายจุด แต่แหล่งท่องเที่ยวของเขาหลักนั้นกินอาณาบริเวณค่อนข้างกว้าง นับเนื่องแค่ชายหาดก็กินไปเป็นแนวยาวนับสิบๆ กิโลเมตร จึงทำให้ตลอดวันก็ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้ครอบคลุม
มองจากจุดชมวิวเชิงเขาไปยังแนวชายหาดทรายขาว ที่ทอดยาวลิบหูลิบตาของแหล่งท่องเที่ยวย่านเขาหลัก วันนี้ความเปลี่ยวเหงาร้างไร้สิ่งมีชีวิตได้เข้ามาครอบคลุมอยู่ทุกอณูพื้นที่ มันเข้ามาแทนที่ความคึกคักวุ่นวายของผู้คนหัวแดงบ้าง หัวดำบ้าง ซึ่งแต่งชุดว่ายน้ำเดินกันอยู่ขวักไขว่วาดรอยเท้าลงบนผืนทราย หรือไม่ก็ลงไปแช่ในน้ำทะเลอย่างสำเริงสำราญ
ซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักรกล รวมถึงรกยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มันถูกทำให้เป็นขยะโดยคลื่นยักษ์ แล้วกวาดไปกองเกลื่อนกลาดอยู่ตลอดแนวหาด แผกต่างไปอย่างยิ่งจากก่อนหน้านี้ไม่กี่วันที่เก้าอี้และร่มชายหาดถูกจัดเรียงอย่างมีระเบียบเรียบร้อยเป็นแนวยาว ซึ่งเข้ากันได้ดีกับตัวอาคารหรูหราของบรรดาโรงแรม รีสอร์ต สปาหรือร้านอาหารที่ทอดตัวลดหลั่นจากเนินเขาสู่หาดทราย
สองฟากฝั่งถนนสายหลักที่ผ่านย่านแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลัก ซากปรักหักพังของโรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร ร้านค้า อาคารพาณิชย์ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือแม้กระทั่งอาคารพาณิชย์ต่างๆ ส่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงผลพวงของความรุนแรงของมหันตภัยธรรมชาติในครั้งนี้
ทีมข่าว “ผู้จัดการรายวัน” ได้เข้าไปสำรวจโรงแรม รีสอร์ตและสปาหลายแห่งตลอดแนวชายหาดของอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลัก ความหรูหราที่เคยถ่ายทอดผ่านลวดลายของเนื้อไม้ อิฐ หิน ปูน รวมถึงบรรดาเฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องประดับประดาต่างๆ ในวันนี้มันเป็นได้แค่เศษขยะที่กองอยู่เป็นภูเขาเลากาเท่านั้น
และไม่เพียงเท่านั้น ยังมีสิ่งที่ผู้พบเห็นต้องขุนลุกขนพองไปตามๆ กัน ซึ่งผสมปนเปอยู่กับซากต่างๆ เหล่านั้นก็คือ ซากศพของสิ่งมีชีวิตมากมาย นอกจากกุ้งหอยปูปลา รวมถึงบรรดาสัตว์เลี้ยงต่างๆ ที่เกลื่อนกลาดไปทั่วแล้ว ศพของมนุษย์หลายสิบศพก็ทอดร่างสงบนิ่งอยู่ทั่วบริเวณ
“บ่ายๆ อย่างนี้คุณดูไปที่ท้องทะเลนั่น มีศพอีกหลายศพกำลังถูกน้ำทะเลพัดพาเข้าสู่ชายฝั่ง” เจ้าหน้าที่หน่อยกู้ภัยกลุ่มหนึ่งบอกเล่าให้ฟัง มีคนหนึ่งชี้มือไปในทะเลชวนให้ดู 2-3 ศพที่กำลังกระเพื้อมน้ำเข้าสู่ฝั่ง ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เหลือกำลังช่วยกันดันเรือยางติดเครื่องยนต์จากชายหาดสู่น้ำเค็ม
จากการเดินสำรวจในบริเวณหลายๆ โรงแรมและรีสอร์ต เราได้เห็นร่างไร้วิญญาณของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่อนุมานได้ว่าเป็นชาวตะวันตกเกลื่อนกระจายอยู่ในหลายจุด ทั้งตามแนวชายหาด ตัวอาคาร ใต้กองซากปรักหักพัง และที่น่าสังเวชใจมากที่สุดก็คือ มีบางศพติดค้างอยู่บนหลังคาอาคารที่พักริมหาดด้วย
“ผมเห็นกับตาตัวเองเลยครับ ประมาณ 10.10 น. ของวันที่ 26 ธันวาคม ผมกำลังรดน้ำต้นไม้อยู่ มีฝรั่งคนหนึ่งนั่งอยู่บนโขดหินริมหาด เขาแสดงอาการเจ็บที่เท้า แล้วก็มีเพื่อนๆ ฝรั่งด้วยกันกว่า 10 คนวิ่งกรูกันเข้าไปช่วย ปรากฏว่าพักเดียวคลื่นยักษ์กวาดลงทะเลไปหมดเลย” นายวาที ไวยการ อายุ 38 ปี ชาวท้ายเหมืองโดยกำเนิด กับนายนิคม คำทองแก้ว อายุ 33 ปี แรงงานอพยพจากอีสาน ซึ่งทั้งคู่เป็นคนสวนของโรงแรมสิมิลัน บีช แอนด์ สปา รีสอร์ท บริเวณเขาหลักบอกเล่าด้วยความตื่นเต้น
ทั้งคู่เล่าว่าในวันนั้นประมาณ 7 โมงเช้าเศษขุมน้ำจืดในบริเวณของโรงแรมเกิดคลื่นหมุนวนไปมาอย่างรุนแรง แม้พนักงานและนักท่องเที่ยวจะแตกตื่นกันบ้าง แต่ก็ไม่มีใครเอะใจว่าจะมีภัยใหญ่ตามมา จากนั้นเวลากว่า 10 โมงเช้าก็เกิดคลื่นยักษ์ถล่มโรงแรมทั้งโรงแรม ยอดคลื่นสูงกว่ายอดมะพร้าว ซัดจนถึงแนวถนนหลักที่เลียบไหล่เขาเลยด้วย
“ผมเห็นคลื่นมาแต่ไกลก็ตะโกนบอกเพื่อนๆ พนักงาน ทุกคนแตกตื่น รวมถึงนักท่องเที่ยว เราวิ่งขึ้นสู่แนวถนนและไหล่เขา ที่รอดก็รอด ที่ไม่รอดก็ตายไป” นายวาทีเล่าอย่างออกอาการ เขาบอกว่า ดีนะที่ช่วงเกิดเหตุในโรงแรมมีแขกพักเพียง 20 กว่าห้อง หากพ้นคริสต์มาสไม่กี่วันมีจ้องมาแล้วอีกกว่า 70 ห้อง จากทั้งโรงแรมที่มีห้องพักทั้งหมด 140 ห้อง
นี่คือสิ่งยืนยันว่า ปรากฏการณ์มหันตภัย ที่คร่าชีวิตผู้คน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวและชาวบ้านในย่านแหล่งท่องเที่ยวของเขาหลักครั้งนี้ เกิดขึ้นอย่างฉับพลันซึ่งยากที่ใครจะรับมือได้ทัน ดังนั้นจึงยังความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินมหาศาลอย่างยากที่จะประเมินได้
ณ วันนี้แหล่งท่องเที่ยวที่เคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงอย่างเขาหลัก ที่เริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัวมานานกว่าครึ่งทศวรรษ และมาบูมเอาสุดๆ ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ซึ่ง “ผู้จัดการรายวัน” เคยติดตามความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องพบว่า ในย่านนี้เคยมีการลงทุนในธุรกิจด้านการท่องเที่ยวสูงนับพันนับหมื่นล้านบาท มีห้องพักที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวกว่า 5,000 ห้อง
แหล่งท่องเที่ยวของ “เขาหลัก” เคยเป็นที่พิศมัยของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ถ้าพูดถึงชาวยุโรปแล้วนับเป็นสวรรค์ที่หมายปองกันมากเลยทีเดียว โดยเฉพาะกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ให้การชื่นชอบเป็นพิเศษ โดยจะเข้ามาท่องเที่ยวกันเป็นครอบครัวและใช้เวลาพักตากอากาศกันครั้งละยาวนานหลายเดือน ปัจจุบันไม่เหลือภาพของวันวานให้เห็นอีกแล้ว
จากปรากฏการณ์คลื่นยักษ์อันเนื่องมาจากแผนดินไหวในท้องทะเลเคลื่อนตัวเข้ามาถล่มตลอดแนวชายหาดที่ทอดยาวนับสิบกิโลเมตรเมื่อเช้าของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา วันนี้สามารถกล่าวได้ว่า “เขาหลัก” ที่เคยเรื่องรุ้งพุ่งแรง แถมยังมีแนวโน้มจะแซงหน้าแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณทะเลอันดามันของไทยด้วยกันอย่างภูเก็ต กระบี่และพังงา ได้หมดมนต์ขลังและไร้ซึ่งเสน่ห์เย้ายวนใจนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกไปแล้ว
หากจะกล่าวว่า ณ วันนี้ “เขาหลัก” ถูกทำลายราบเป็นหน้ากลองก็คงไม่ผิดนัก และคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีดีดักกว่าจะฟื้นเพื่อเรียกยุคทองของการท่องเที่ยวในย่านนี้กลับคืนมา