ศูนย์ข่าวศรีราชา-ระยองเตรียมเลือกตั้งนายก อบจ.อีกเป็นรอบที่ 3 หลังผู้ได้รับ เลือกตั้งจากครั้งที่ 2 ถูกใบแดงเพิกถอนสิทธิในกรณีหลอกลวงประชาชนว่าจบการ ศึกษาระดับปริญญาเอก
หลังจากที่จังหวัดระยอง ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ระยองไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 นั้นผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง คือ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ กฤษณะราช หมายเลข 1 แต่ไม่สามารถประกาศรับรองได้ เนื่องจากถูกร้องเรียนโดยผู้สมัครหมายเลข 2 ในช่วงก่อนการเลือกตั้งว่า มีการกระทำผิดกฎมายเลือกตั้ง ซึ่งทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการตรวจสอบดูแล้วปรากฏว่ากระทำผิดจริง จึงได้ให้ใบแดง พร้อมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี รวมทั้งให้มีการเลือกตั้งใหม่
โดยได้กำหนดการเลือกตั้งซ่อมนายก อบจ.ในวันที่ 29 สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมา โดยเหลือผู้สมัครเลือกตั้งทั้งหมด 3 คน คือ หมายเลข 2 นายไพบูลย์ อรุณเวสสะเศรษฐ หมายเลข 3 นายสุวิท เหล่าฤทธิไกร และหมายเลข 4 นายบารมี สอนเกิดสุข ในการเลือกตั้งดังกล่าวผลคือ นายสุวิท มีคะแนนมากที่สุด 90,581 คะแนน รองลงมาเป็นหมายเลข 2 นายไพบูลย์ ได้คะแนน 72,944 คะแนน ส่วนนายบารมี ได้คะแนน 1,125 คะแนน
โดยผลของการเลือกตั้งครั้งนั้นรายงานข่าวแจ้งว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.ที่จะมีทั้งหมด 4 คน แต่ถือว่ามีแค่ 2 คนเท่านั้นที่เป็นตัวจริง คือ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ และนายไพบูลย์ ส่วนอีก 2 คนที่เหลือ คือ นายสุวิท และนายบารมี ถือว่าเป็นตัวสำรองของทั้งสองคน ที่ลงเผื่อเลือกหากตัวจริงเกิดผิดพลาดได้รับใบแดง ซึ่งนายสุวิท ถือเป็นตัวสำรองของ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ เพราะเมื่อครั้งแรกที่เลือกตั้งจะเห็นได้ว่า นายสุวิท ได้คะแนนเพียงแค่พันกว่าคะแนนเท่านั้น แต่ในการเลือกตั้งซ่อมที่ไม่มี พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ นายสุวิท กลายเป็นผู้ที่ได้คะแนนนำแทน
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งซ่อมนั้นยังไม่สิ้นสุดเมื่อมีผู้ร้องเรียนเข้ามาอีกว่า ผู้สมัครหมายเลข 3 คือ นายสุวิท ที่ได้รับเลือกตั้งนายก อบจ.กระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง ในส่วนนี้นายพูลศักดิ์ สังข์แก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง ผอ.กกต.) ประจำจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า เรื่องร้องเรียนผู้สมัครหมายเลข 3 นายสุวิท ได้มีผู้ร้องเรียนมาก่อนที่จะมีการเลือกตั้งว่า ผู้สมัครหมายเลข 3 ได้กระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง โดยการหลอกลวงว่าได้จบการศึกษา ในระดับปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ที่ร้องเรียนนั้นทราบดีว่าคณะที่ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้นำมาโฆษณา หาเสียงว่าจบการศึกษานั้นยังไม่มีผู้ใดเรียนจบเลยแม้แต่คนเดียว เพราะผู้ที่ร้องเรียน ก็กำลังศึกษาอยู่เช่นกัน จึงถือเป็นการหลอกลวงผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เข้าใจผิดเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนให้และหลังจากนั้น กกต.จึงได้มีการตรวจสอบข้อร้องเรียนดังกล่าวพบว่าเป็นความจริง จึงได้ให้ใบแดงเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งแก่ผู้สมัครหมายเลข 3 ไป รวมทั้งมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งซ่อมใหม่
แต่หลังจากที่ได้มีการประกาศให้ใบแดงแก่ผู้สมัครหมายเลข 3 ไปนั้นก็มีประชาชนหลายคนที่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในประเด็นการร้องเรียนดังกล่าว จึงทำให้เกิดความสับสน ประกอบกับความเบื่อหน่ายที่จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งทำให้พากันเดินทางมาประท้วงกันที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ
จังหวัดระยอง
โดยได้มีการจุดไฟเผาโลงกระดาษ และปิดการจราจร ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงนำข้อเท็จจริงในประเด็นความผิดในการให้ใบแดงของผู้สมัครหมายเลข 3 มาเปิดเผย ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ คือ หนึ่งนายสุวิท ได้มีการทำคัทเอ้าท์และป้ายผ้าติดตามชุมชนโดยมีคำว่า “ดร.” นำหน้าชื่อ นายสุวิท ได้ทำแผ่นใบปลิวและบัตรแนะนำตัวโดยมีคำว่า “ดร.” และระบุว่า จบการศึกษาปริญญาเอกจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยที่ไม่ได้จบจริง รวมทั้งมีการแจกนามบัตรโดยใช้คำว่า “ดร.” นำหน้าชื่อ โดยที่ยังไม่มีสิทธิใช้ เพราะมิได้จบการศึกษาดังกล่าว
ส่วนประเด็นสุดท้าย ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ประชาชนสับสนกันมาก คือ หากว่าเป็นความจริงทำไมจึงไม่มีการให้ใบแดงไปตั้งแต่ตอนรับสมัคร หรือในการเลือกตั้งครั้งแรก ทั้งนี้ เพราะเนื่องจากในครั้งแรกในกรณีดังกล่าวไม่มีผู้ที่ร้องเรียน จึงไม่มีการตรวจสอบ
นายพูลศักดิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยได้กำหนดการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ในวันที่ 17 ตุลาคม 2547 จึงอยากจะขอเชิญให้ประชาชนได้เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งกัน เพราะเนื่องจากเป็นหน้าที่ของประชาชนอยู่แล้ว นอกจากนั้นการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก็คงยังต้องรอนายกฯ อยู่ด้วย
หลังจากที่จังหวัดระยอง ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ระยองไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 นั้นผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง คือ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ กฤษณะราช หมายเลข 1 แต่ไม่สามารถประกาศรับรองได้ เนื่องจากถูกร้องเรียนโดยผู้สมัครหมายเลข 2 ในช่วงก่อนการเลือกตั้งว่า มีการกระทำผิดกฎมายเลือกตั้ง ซึ่งทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีการตรวจสอบดูแล้วปรากฏว่ากระทำผิดจริง จึงได้ให้ใบแดง พร้อมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี รวมทั้งให้มีการเลือกตั้งใหม่
โดยได้กำหนดการเลือกตั้งซ่อมนายก อบจ.ในวันที่ 29 สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมา โดยเหลือผู้สมัครเลือกตั้งทั้งหมด 3 คน คือ หมายเลข 2 นายไพบูลย์ อรุณเวสสะเศรษฐ หมายเลข 3 นายสุวิท เหล่าฤทธิไกร และหมายเลข 4 นายบารมี สอนเกิดสุข ในการเลือกตั้งดังกล่าวผลคือ นายสุวิท มีคะแนนมากที่สุด 90,581 คะแนน รองลงมาเป็นหมายเลข 2 นายไพบูลย์ ได้คะแนน 72,944 คะแนน ส่วนนายบารมี ได้คะแนน 1,125 คะแนน
โดยผลของการเลือกตั้งครั้งนั้นรายงานข่าวแจ้งว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ.ที่จะมีทั้งหมด 4 คน แต่ถือว่ามีแค่ 2 คนเท่านั้นที่เป็นตัวจริง คือ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ และนายไพบูลย์ ส่วนอีก 2 คนที่เหลือ คือ นายสุวิท และนายบารมี ถือว่าเป็นตัวสำรองของทั้งสองคน ที่ลงเผื่อเลือกหากตัวจริงเกิดผิดพลาดได้รับใบแดง ซึ่งนายสุวิท ถือเป็นตัวสำรองของ พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ เพราะเมื่อครั้งแรกที่เลือกตั้งจะเห็นได้ว่า นายสุวิท ได้คะแนนเพียงแค่พันกว่าคะแนนเท่านั้น แต่ในการเลือกตั้งซ่อมที่ไม่มี พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร์ นายสุวิท กลายเป็นผู้ที่ได้คะแนนนำแทน
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งซ่อมนั้นยังไม่สิ้นสุดเมื่อมีผู้ร้องเรียนเข้ามาอีกว่า ผู้สมัครหมายเลข 3 คือ นายสุวิท ที่ได้รับเลือกตั้งนายก อบจ.กระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง ในส่วนนี้นายพูลศักดิ์ สังข์แก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง ผอ.กกต.) ประจำจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า เรื่องร้องเรียนผู้สมัครหมายเลข 3 นายสุวิท ได้มีผู้ร้องเรียนมาก่อนที่จะมีการเลือกตั้งว่า ผู้สมัครหมายเลข 3 ได้กระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง โดยการหลอกลวงว่าได้จบการศึกษา ในระดับปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้ที่ร้องเรียนนั้นทราบดีว่าคณะที่ผู้สมัครหมายเลข 1 ได้นำมาโฆษณา หาเสียงว่าจบการศึกษานั้นยังไม่มีผู้ใดเรียนจบเลยแม้แต่คนเดียว เพราะผู้ที่ร้องเรียน ก็กำลังศึกษาอยู่เช่นกัน จึงถือเป็นการหลอกลวงผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เข้าใจผิดเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนให้และหลังจากนั้น กกต.จึงได้มีการตรวจสอบข้อร้องเรียนดังกล่าวพบว่าเป็นความจริง จึงได้ให้ใบแดงเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งแก่ผู้สมัครหมายเลข 3 ไป รวมทั้งมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งซ่อมใหม่
แต่หลังจากที่ได้มีการประกาศให้ใบแดงแก่ผู้สมัครหมายเลข 3 ไปนั้นก็มีประชาชนหลายคนที่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในประเด็นการร้องเรียนดังกล่าว จึงทำให้เกิดความสับสน ประกอบกับความเบื่อหน่ายที่จะต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งทำให้พากันเดินทางมาประท้วงกันที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ
จังหวัดระยอง
โดยได้มีการจุดไฟเผาโลงกระดาษ และปิดการจราจร ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงนำข้อเท็จจริงในประเด็นความผิดในการให้ใบแดงของผู้สมัครหมายเลข 3 มาเปิดเผย ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ คือ หนึ่งนายสุวิท ได้มีการทำคัทเอ้าท์และป้ายผ้าติดตามชุมชนโดยมีคำว่า “ดร.” นำหน้าชื่อ นายสุวิท ได้ทำแผ่นใบปลิวและบัตรแนะนำตัวโดยมีคำว่า “ดร.” และระบุว่า จบการศึกษาปริญญาเอกจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยที่ไม่ได้จบจริง รวมทั้งมีการแจกนามบัตรโดยใช้คำว่า “ดร.” นำหน้าชื่อ โดยที่ยังไม่มีสิทธิใช้ เพราะมิได้จบการศึกษาดังกล่าว
ส่วนประเด็นสุดท้าย ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ประชาชนสับสนกันมาก คือ หากว่าเป็นความจริงทำไมจึงไม่มีการให้ใบแดงไปตั้งแต่ตอนรับสมัคร หรือในการเลือกตั้งครั้งแรก ทั้งนี้ เพราะเนื่องจากในครั้งแรกในกรณีดังกล่าวไม่มีผู้ที่ร้องเรียน จึงไม่มีการตรวจสอบ
นายพูลศักดิ์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามจะต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยได้กำหนดการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ในวันที่ 17 ตุลาคม 2547 จึงอยากจะขอเชิญให้ประชาชนได้เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งกัน เพราะเนื่องจากเป็นหน้าที่ของประชาชนอยู่แล้ว นอกจากนั้นการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก็คงยังต้องรอนายกฯ อยู่ด้วย