ศูนย์ข่าวเชียงใหม่-ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีปัญหาพิพาทการถือครองที่ดิน 3 จังหวัดภาคเหนือ เผยเตรียมนำคณะทำงานลงพื้นที่ทั้ง 23 หมู่บ้านที่เกิดปัญหาเพื่อตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ หากพบการทุจริตจะถอดถอนแล้วทำการปฏิรูปที่ดินใหม่ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของด้วยการเช่าซื้อระยะยาว
จากกรณีข้อพิพาทที่ชาวบ้านได้เข้าไปใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่ที่มีกลุ่มนายทุนกว้านซื้อแล้วปล่อยทิ้งรกร้างไว้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน รวม 23 หมู่บ้าน เนื่องจากเป็นพื้นที่เดิมที่ชาวบ้านเคยครอบครองมาก่อน
แต่ต่อมานายทุนได้เข้าถือครองและมีการออกเอกสารสิทธิ์ให้ในภายหลัง จนเกิดความขัดแย้งขึ้นเมื่อทางนายทุนได้เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีข้อหาบุกรุกและทำลายทรัพย์สินของเกษตรกรในเขตปฎิรูปที่ดินรวมทั้งสิ้น 125 รายในพื้นที่ 3 จังหวัด ซึ่งขณะนี้เรื่องกำลังอยู่ในชั้นศาล
รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายประสพ บุศราคัม ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรฯพร้อมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) เดินทางลงพื้นที่ที่เกิดกรณีพิพาทในเขตอำเภอจอมทอง และอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และในเขตพื้นที่กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการถือครองที่ดินและการทำประโยชน์ในเขตปฎิรูปที่ดิน ตามที่ชาวบ้านได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้รัฐดำเนินการนำร่องการปฏิรูปที่ดิน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งระหว่างลงพื้นที่ได้มีกลุ่มเกษตรกรมาชุมนุมกันเพื่อให้ข้อมูลปัญหาที่ยืดเยื้อมานานกว่า 10 ปีต่อนายประสพ
ทั้งนี้ นายประสพ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปฏิรูปที่ดินนำร่องในพื้นที่ของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือขึ้นแล้ว โดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ได้มอบหมายให้ตนเป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งจากทำงานนั้นจะนำคณะเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงทื้นที่ทั้ง 23 หมู่บ้านที่เกิดปัญหาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่ามีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบจะดำเนินการถอดถอนสิทธิการครอบครอง แล้วนำมาจัดการปฏิรูปที่ดินใหม่และจะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านครอบครองได้ โดยอาจจะเป็นในลักษณะการเช่าซื้อในระยะยาว
ด้านนายธนา ยะโสภา กำนันตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง เปิดเผยถึงปัญหาในพื้นที่ว่าประมาณปี 2508 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการจัดสรรที่ดินทำกิน แต่ไม่ได้แบ่งเป็นเขตหมู่บ้าน เพราะใช้วิธีจับสลาก และออกใบจับจองให้จึงทำให้เกิดปัญหา เพราะพื้นที่ทำกินที่ได้รับ อยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัยมาก ชาวบ้านจึงไม่ได้สนใจ
ต่อมาในสมัยรัฐบาลยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน ได้มีกลุ่มนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดินในเขตพื้นที่ตำบลศรีเตี้ย ประมาณ 15,000 ไร่ หลังจากนั้นได้มีการออกโฉนดให้กับนายทุน ชาวบ้านจึงลุกขึ้นมาทวงสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา
“พื้นที่กว่า 15,000 ไร่กลายเป็นของนายทุนนอกพื้นที่ที่สามารถเข้ามายึดครองได้ มีการนำใบ ส.ค.1 มาเปลี่ยนเป็น น.ส.3 ก.ได้ โดยที่ในบางพื้นที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับพื้นที่ป่าสงวน แต่จนถึงเวลานี้ก็ยังไม่มีการเพิกถอน ซึ่งถือว่าเป็นการทุจริตทางนโยบาย จึงขอให้มีการตรวจสอบ มีการจัดทำแผนการปฏิรูปที่ดินให้มีความชัดเจนเสียที หลังจากที่ชาวบ้านได้มีการเรียกร้องมานานกว่า 11 ปีแล้ว” นายธนา กล่าว
จากกรณีข้อพิพาทที่ชาวบ้านได้เข้าไปใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่ที่มีกลุ่มนายทุนกว้านซื้อแล้วปล่อยทิ้งรกร้างไว้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน รวม 23 หมู่บ้าน เนื่องจากเป็นพื้นที่เดิมที่ชาวบ้านเคยครอบครองมาก่อน
แต่ต่อมานายทุนได้เข้าถือครองและมีการออกเอกสารสิทธิ์ให้ในภายหลัง จนเกิดความขัดแย้งขึ้นเมื่อทางนายทุนได้เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีข้อหาบุกรุกและทำลายทรัพย์สินของเกษตรกรในเขตปฎิรูปที่ดินรวมทั้งสิ้น 125 รายในพื้นที่ 3 จังหวัด ซึ่งขณะนี้เรื่องกำลังอยู่ในชั้นศาล
รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายประสพ บุศราคัม ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรฯพร้อมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) เดินทางลงพื้นที่ที่เกิดกรณีพิพาทในเขตอำเภอจอมทอง และอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และในเขตพื้นที่กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการถือครองที่ดินและการทำประโยชน์ในเขตปฎิรูปที่ดิน ตามที่ชาวบ้านได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้รัฐดำเนินการนำร่องการปฏิรูปที่ดิน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งระหว่างลงพื้นที่ได้มีกลุ่มเกษตรกรมาชุมนุมกันเพื่อให้ข้อมูลปัญหาที่ยืดเยื้อมานานกว่า 10 ปีต่อนายประสพ
ทั้งนี้ นายประสพ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปฏิรูปที่ดินนำร่องในพื้นที่ของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือขึ้นแล้ว โดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ได้มอบหมายให้ตนเป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งจากทำงานนั้นจะนำคณะเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงทื้นที่ทั้ง 23 หมู่บ้านที่เกิดปัญหาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่ามีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบจะดำเนินการถอดถอนสิทธิการครอบครอง แล้วนำมาจัดการปฏิรูปที่ดินใหม่และจะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านครอบครองได้ โดยอาจจะเป็นในลักษณะการเช่าซื้อในระยะยาว
ด้านนายธนา ยะโสภา กำนันตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง เปิดเผยถึงปัญหาในพื้นที่ว่าประมาณปี 2508 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีการจัดสรรที่ดินทำกิน แต่ไม่ได้แบ่งเป็นเขตหมู่บ้าน เพราะใช้วิธีจับสลาก และออกใบจับจองให้จึงทำให้เกิดปัญหา เพราะพื้นที่ทำกินที่ได้รับ อยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัยมาก ชาวบ้านจึงไม่ได้สนใจ
ต่อมาในสมัยรัฐบาลยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน ได้มีกลุ่มนายทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดินในเขตพื้นที่ตำบลศรีเตี้ย ประมาณ 15,000 ไร่ หลังจากนั้นได้มีการออกโฉนดให้กับนายทุน ชาวบ้านจึงลุกขึ้นมาทวงสิทธิ์ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา
“พื้นที่กว่า 15,000 ไร่กลายเป็นของนายทุนนอกพื้นที่ที่สามารถเข้ามายึดครองได้ มีการนำใบ ส.ค.1 มาเปลี่ยนเป็น น.ส.3 ก.ได้ โดยที่ในบางพื้นที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับพื้นที่ป่าสงวน แต่จนถึงเวลานี้ก็ยังไม่มีการเพิกถอน ซึ่งถือว่าเป็นการทุจริตทางนโยบาย จึงขอให้มีการตรวจสอบ มีการจัดทำแผนการปฏิรูปที่ดินให้มีความชัดเจนเสียที หลังจากที่ชาวบ้านได้มีการเรียกร้องมานานกว่า 11 ปีแล้ว” นายธนา กล่าว