ศูนย์ข่าวเชียงใหม่-“อบต.แม่เหียะ”แนะบริษัทที่ปรึกษาการท่าอากาศยาน ควรตรวจวัดและแสดงผลระดับเสียงขึ้น-ลงเครื่องบินอย่างละเอียดชัดเจนรายเที่ยวบินไม่ใช่เฉลี่ยรวมทั้งวันเพราะทำให้ได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนความเป็นจริง เผยถึงจะขยายทางวิ่งสนามบินเพิ่มเพียง 300 ม. แต่มลภาวะเสียงยังเป็นปัญหาสำคัญจากจำนวนเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้น หนุนเร่งศึกษาย้ายสนามบินรองรับอนาคต
ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้พิจารณาผลการศึกษาผลกระทบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามที่บริษัทเซาท์อี๊สเอเชียเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการศึกษาทำการศึกษาได้จัดทำรายงานเสร็จแล้ว และได้มีคำแนะนำให้ทำการศึกษาโครงการเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลเพียงพอประกอบการพิจารณานั้น
นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่เหียะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากเสียงขึ้นลงของเครื่องบินที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และคัดค้านการขยายทางวิ่งของท่าอากาศยานเชียงใหม่ไปทางตำบลแม่เหียะ เปิดเผยว่า เพิ่งทราบว่าจะมีการศึกษาผลกระทบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทางบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นผู้ดำเนินการศึกษาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเสนอว่าควรจะมีการจัดทำแบบสอบถามที่มีรายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับโครงการเพื่อเก็บข้อมูลและสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงท่าอากาศยานเชียงใหม่ ขณะเดียวกันต้องการให้มีการตรวจวัดและแสดงผลเกี่ยวกับระดับเสียงการขึ้น-ลงของเครื่องบินให้มีความชัดเจนกว่าที่ได้ทำการศึกษาในครั้งแรก ที่แสดงผลการศึกษาเป็นค่าเฉลี่ยรวมตลอดทั้ง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วเครื่องบินไม่ได้มีการขึ้น-ลงตลอดทั้งวันเช่นนั้น
โดยในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบด้านเสียงควรจะแสดงผลการตรวจวัดระดับเสียงเป็นค่าเฉลี่ยต่อเที่ยวบิน เพื่อให้เห็นข้อมูลที่ตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด เพราะเสียงขึ้น-ลงของเครื่องบินเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนในตำบลแม่เหียะ มากที่สุดอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้เห็นว่าโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ควรจะต้องมีการศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วย เนื่องจากในปัจจุบันชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงมักจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่มีฝนตกอยู่เสมอ จากการที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ใช้วิธีการสูบน้ำออกจากพื้นที่ในขณะที่ฝนตกเพื่อไม่ให้น้ำท่วมทางวิ่งของเครื่องบิน ซึ่งในตำบลแม่เหียะ มีอย่างน้อย 3 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้
“ถ้าหากจะมีการศึกษาโครงการเพิ่มเติม อบต.แม่เหียะ ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่พร้อมที่จะให้การสนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มกำลังอยู่แล้ว เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่เป็นข้อสรุปถูกต้องตามข้อเท็จจริง และตรงตามหลักวิชาการ” นายธนวัฒน์ กล่าว
ส่วนการที่มีแนวโน้มว่าการขยายทางวิ่งของท่าอากาศยานเชียงใหม่น่าจะได้ข้อสรุปที่ 3,400 เมตรโดยขยายเพิ่ม 300 เมตร ไปทางทิศเหนือในพื้นที่ของกองทัพอากาศนั้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เหียะ กล่าวว่า หากมีการขยายทางวิ่งไปทางทิศเหนือจริงในเรื่องของพื้นที่ในตำบลแม่เหียะ คงจะไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตามในด้านของจำนวนเที่ยวบินที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นในอนาคตจะยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญที่จะสร้างมลภาวะทางเสียงและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งในการศึกษาควรจะต้องมีการวางแผนรองรับและป้องกันปัญหานี้ด้วย
ขณะเดียวกันเห็นว่าทางการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) น่าจะมีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการสร้างท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งใหม่ได้แล้ว เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเดินทางโดยเครื่องบิน และจำนวนเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเป็นศูนย์กลางการบินและการเป็นศูนย์กลางด้านต่างๆ ในอนาคตของจังหวัดเชียงใหม่
ตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้พิจารณาผลการศึกษาผลกระทบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามที่บริษัทเซาท์อี๊สเอเชียเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการศึกษาทำการศึกษาได้จัดทำรายงานเสร็จแล้ว และได้มีคำแนะนำให้ทำการศึกษาโครงการเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลเพียงพอประกอบการพิจารณานั้น
นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่เหียะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากเสียงขึ้นลงของเครื่องบินที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และคัดค้านการขยายทางวิ่งของท่าอากาศยานเชียงใหม่ไปทางตำบลแม่เหียะ เปิดเผยว่า เพิ่งทราบว่าจะมีการศึกษาผลกระทบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทางบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นผู้ดำเนินการศึกษาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ หากจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเสนอว่าควรจะมีการจัดทำแบบสอบถามที่มีรายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับโครงการเพื่อเก็บข้อมูลและสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียงท่าอากาศยานเชียงใหม่ ขณะเดียวกันต้องการให้มีการตรวจวัดและแสดงผลเกี่ยวกับระดับเสียงการขึ้น-ลงของเครื่องบินให้มีความชัดเจนกว่าที่ได้ทำการศึกษาในครั้งแรก ที่แสดงผลการศึกษาเป็นค่าเฉลี่ยรวมตลอดทั้ง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วเครื่องบินไม่ได้มีการขึ้น-ลงตลอดทั้งวันเช่นนั้น
โดยในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบด้านเสียงควรจะแสดงผลการตรวจวัดระดับเสียงเป็นค่าเฉลี่ยต่อเที่ยวบิน เพื่อให้เห็นข้อมูลที่ตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด เพราะเสียงขึ้น-ลงของเครื่องบินเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนในตำบลแม่เหียะ มากที่สุดอย่างหนึ่ง
นอกจากนี้เห็นว่าโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ควรจะต้องมีการศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วย เนื่องจากในปัจจุบันชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงมักจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่มีฝนตกอยู่เสมอ จากการที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ใช้วิธีการสูบน้ำออกจากพื้นที่ในขณะที่ฝนตกเพื่อไม่ให้น้ำท่วมทางวิ่งของเครื่องบิน ซึ่งในตำบลแม่เหียะ มีอย่างน้อย 3 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้
“ถ้าหากจะมีการศึกษาโครงการเพิ่มเติม อบต.แม่เหียะ ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่พร้อมที่จะให้การสนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มกำลังอยู่แล้ว เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่เป็นข้อสรุปถูกต้องตามข้อเท็จจริง และตรงตามหลักวิชาการ” นายธนวัฒน์ กล่าว
ส่วนการที่มีแนวโน้มว่าการขยายทางวิ่งของท่าอากาศยานเชียงใหม่น่าจะได้ข้อสรุปที่ 3,400 เมตรโดยขยายเพิ่ม 300 เมตร ไปทางทิศเหนือในพื้นที่ของกองทัพอากาศนั้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เหียะ กล่าวว่า หากมีการขยายทางวิ่งไปทางทิศเหนือจริงในเรื่องของพื้นที่ในตำบลแม่เหียะ คงจะไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตามในด้านของจำนวนเที่ยวบินที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นในอนาคตจะยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญที่จะสร้างมลภาวะทางเสียงและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งในการศึกษาควรจะต้องมีการวางแผนรองรับและป้องกันปัญหานี้ด้วย
ขณะเดียวกันเห็นว่าทางการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) น่าจะมีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการสร้างท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งใหม่ได้แล้ว เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเดินทางโดยเครื่องบิน และจำนวนเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเป็นศูนย์กลางการบินและการเป็นศูนย์กลางด้านต่างๆ ในอนาคตของจังหวัดเชียงใหม่