แม่ฮ่องสอน – แผนพัฒนาหมู่บ้านคู่ขนานไทย-พม่าคืบหน้าต่อเนื่อง กองทัพภาคที่ 3(ทภ.3) เผยล่าสุดหนุนชาวบ้าน 6 หมู่บ้านทั้งฝั่งไทยและพม่า ปลูกไผ่แล้วกว่า 2,000 ไร่
พล.ท.พิชาญเมธ ม่วงมณี แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยความคืบหน้าโครงการร่วมมือไทย – พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดนในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่า กองทัพภาคที่ 3 ได้ดำเนินการโครงการร่วมมือไทย – พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน (รพช.ที่ 10 บ้านไม้ลัน) ซึ่งขณะนี้คืบหน้าไปอย่างน่าพอใจ โดย กองทัพภาคที่ ปลูกต้นไผ่ ในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ในเนื้อที่ดินกว่า 2,000 ไร่
สำหรับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนนำร่องคือ 1. บ้านไม้ลัน พื้นที่ปลูกไผ่ 411 ไร่ ส่วนหมู่บ้านคู่ขนานในฝั่งประเทศพม่าบริเวณบ้านน้ำกัด จ.ต่องกี 2. บ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย หมู่บ้านบ้านคู่ขนาน บ้านตะกอท่า เขตรัฐคะยา 3.บ้านเสาหิน อ.แม่สะเรียง หมู่บ้านคู่ขนานบ้านห้วยทราย เขตรัฐคะยา
4.บ้านรักไทย อ.เมือง หมู่บ้านคู่ขนาน บ้านแม่ออหลวง เขตปกครองพิเศษรัฐฉาน 5.บ้านห้วยต้นนุ่น อ.ขุนยวม หมู่บ้านคู่ขนาน บ้านน้ำมาง จ.ดอยก่อ ประเทศพม่าและ 6. บ้านห้วยทรายขาว อ.เมือง หมู่บ้านคู่ขนานบ้านนามนหลวง เขตปกครองพิเศษรัฐฉาน โดยหมู่บ้านคู่ขนานในฝั่งไทยและพม่า จะให้ราษฎรทั้งสองฝั่งเป็นผู้ดำเนินการปลูกต้นไผ่ทั้งหมด
แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า ในปัจจุบันความร่วมมือระหว่างไทยและพม่าในระดับท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดี ดังนั้นโครงการความร่วมมือไทย - พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน จะเป็นโครงการที่สามารถลดปัญหาพื้นที่แหล่งพักยาเสพติด และเส้นทางลำเลียงยาเสพติด ระหว่างหมู่บ้านชายแดนไทย - พม่า ได้เป็นอย่างดี
สำหรับคุณประโยชน์ของต้นไผ่สามารถนำไปใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักสาน เครื่องดนตรี ใช้ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และที่สำคัญอย่างยิ่ง ยังสามารถนำไปทำเป็นแนวป้องกันข้าศึกได้เป็นอย่างดี และต้นไผ่ยังเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ โดยมีมูลนิธิไผ่คำ จะเป็นผู้รับซื้อต้นไผ่เพื่อนำไปแปรรูป
พล.ท.พิชาญเมธ เปิดเผยว่าอีกว่า สำหรับราษฎรทั้งสองหมู่บ้านคู่ขนาน ที่ปลูกต้นที่ไผ่ จะได้รับค่าจ้างปลูกต้นไผ่ต้นละ 10 บาท โดยใช้พันธุ์ไผ่รวก และพันธ์ไผ่ซาง ที่มีคุณสมบัติการให้คุณภาพของเยื่อกระดาษ ที่นำมาแปรรูปเป็นเสื้อผ้า และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของหมู่บ้านคู่ขนานไทย – พม่า อีกทั้งยังสามารถดูดซับน้ำได้ดี ป้องกันการเกิดน้ำป่าไหลหลาก และการพังทลายหน้าดิน
อย่างไรก็ตามจากการประสานงานไปยังหน่วยงานทหารพม่า ในพื้นที่ได้รับคำยืนยัน ว่า พม่าพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ในโครงการร่วมมือไทย – พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน
พล.ท.พิชาญเมธ ม่วงมณี แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยความคืบหน้าโครงการร่วมมือไทย – พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดนในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่า กองทัพภาคที่ 3 ได้ดำเนินการโครงการร่วมมือไทย – พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน (รพช.ที่ 10 บ้านไม้ลัน) ซึ่งขณะนี้คืบหน้าไปอย่างน่าพอใจ โดย กองทัพภาคที่ ปลูกต้นไผ่ ในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ในเนื้อที่ดินกว่า 2,000 ไร่
สำหรับพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนนำร่องคือ 1. บ้านไม้ลัน พื้นที่ปลูกไผ่ 411 ไร่ ส่วนหมู่บ้านคู่ขนานในฝั่งประเทศพม่าบริเวณบ้านน้ำกัด จ.ต่องกี 2. บ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย หมู่บ้านบ้านคู่ขนาน บ้านตะกอท่า เขตรัฐคะยา 3.บ้านเสาหิน อ.แม่สะเรียง หมู่บ้านคู่ขนานบ้านห้วยทราย เขตรัฐคะยา
4.บ้านรักไทย อ.เมือง หมู่บ้านคู่ขนาน บ้านแม่ออหลวง เขตปกครองพิเศษรัฐฉาน 5.บ้านห้วยต้นนุ่น อ.ขุนยวม หมู่บ้านคู่ขนาน บ้านน้ำมาง จ.ดอยก่อ ประเทศพม่าและ 6. บ้านห้วยทรายขาว อ.เมือง หมู่บ้านคู่ขนานบ้านนามนหลวง เขตปกครองพิเศษรัฐฉาน โดยหมู่บ้านคู่ขนานในฝั่งไทยและพม่า จะให้ราษฎรทั้งสองฝั่งเป็นผู้ดำเนินการปลูกต้นไผ่ทั้งหมด
แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า ในปัจจุบันความร่วมมือระหว่างไทยและพม่าในระดับท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดี ดังนั้นโครงการความร่วมมือไทย - พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน จะเป็นโครงการที่สามารถลดปัญหาพื้นที่แหล่งพักยาเสพติด และเส้นทางลำเลียงยาเสพติด ระหว่างหมู่บ้านชายแดนไทย - พม่า ได้เป็นอย่างดี
สำหรับคุณประโยชน์ของต้นไผ่สามารถนำไปใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักสาน เครื่องดนตรี ใช้ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และที่สำคัญอย่างยิ่ง ยังสามารถนำไปทำเป็นแนวป้องกันข้าศึกได้เป็นอย่างดี และต้นไผ่ยังเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ โดยมีมูลนิธิไผ่คำ จะเป็นผู้รับซื้อต้นไผ่เพื่อนำไปแปรรูป
พล.ท.พิชาญเมธ เปิดเผยว่าอีกว่า สำหรับราษฎรทั้งสองหมู่บ้านคู่ขนาน ที่ปลูกต้นที่ไผ่ จะได้รับค่าจ้างปลูกต้นไผ่ต้นละ 10 บาท โดยใช้พันธุ์ไผ่รวก และพันธ์ไผ่ซาง ที่มีคุณสมบัติการให้คุณภาพของเยื่อกระดาษ ที่นำมาแปรรูปเป็นเสื้อผ้า และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของหมู่บ้านคู่ขนานไทย – พม่า อีกทั้งยังสามารถดูดซับน้ำได้ดี ป้องกันการเกิดน้ำป่าไหลหลาก และการพังทลายหน้าดิน
อย่างไรก็ตามจากการประสานงานไปยังหน่วยงานทหารพม่า ในพื้นที่ได้รับคำยืนยัน ว่า พม่าพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ในโครงการร่วมมือไทย – พม่า เพื่อพัฒนาหมู่บ้านชายแดน