ศูนย์ข่าวขอนแก่น-อาสาสมัครกรีนพีชบุกแปลงทดลอง “มะละกอจีเอ็มโอ”ของกรมวิชาการเกษตรที่ขอนแก่น พร้อมปิดล้อมพื้นที่เป็นเขตอันตราย จนหวิดปะทะกับเจ้าหน้าที่ แฉแปลงทดลองแห่งนี้เป็นต้นตอการปนเปื้อนมะละกอจีเอ็มโอ ซัดกรมวิชาการเกษตรทำผิดกฎหมาย เรียกร้องให้หยุดทดลองและสอบสวนเอาผิดด่วน
เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (27ก.ค.) ดร.จิรากรณ์ คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มกรีนพีช ในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำการลงพื้นที่ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในแปลงทดลองปลูกมะละกอ ของสำนักงานวิจัยและการพัฒนาเกษตรที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น หลังการทดสอบเมล็ดพันธุ์มะละกอในสายพันธุ์แขกดำท่าพระ ปรากฏว่า มีสารปนเปื้อนของสารจีเอ็มโอ (GMO) ซึ่งเป็นสารต้องห้ามที่ทางรัฐบาลยังไม่อนุมัติให้มีการเผยแพร่ หรือจำหน่ายในประเทศ
กรีนพีชบุกแปลงทดลองหวิดปะทะกัน
โดยทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตมะละกอที่ปลูกอยู่ในแปลงทดลองบนเนื้อที่ 7 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหลังของสำนักงานวิจัยและการพัฒนาเกษตรที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน ด้วยการแต่งชุดป้องกันสารเคมีและการใช้เชือกกั้นไม่ให้บุคคลเข้าไปภายในบริเวณ รวมทั้งการนำเครื่องตรวจหาสารเคมีเบื้องต้นทำการตรวจสอบเพื่อหาสารเคมีที่แพร่กระจายอยู่ในบริเวณพื้นที่ ซึ่งผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีปริมาณของสารเคมีกระจายโดยรอบของบริเวณแปลง ขณะเดียวกันทางเจ้าหน้าที่ของกรีนพีช ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างผลมะละกอเพื่อนำไปตรวจสอบที่ห้องแลป ที่ประเทศฮ่องกง อีกครั้ง

ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกรีนพีช กำลังทำการเก็บตัวอย่างมะละกอที่มีสารปนเปื้อน ได้มีเจ้าหน้าที่จากทางสถานวิจัยฯ ออกมาโวยวายและแสดงอาการโกรธอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการต่อเถียงขึ้นนานกว่า 30 นาที จึงได้มีการติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเข้าระงับเหตุการณ์ความรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา
“ที่เราต้องกั้นห้ามเข้าเพราะถือเป็นเขตอันตราย เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตรหยุดการกระทำที่ผิดกฎหมายและทำลายต้นมะละกอทุกต้นทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะละกอจีเอ็มโอในแปลงทดลองภาคสนามแห่งนี้” น.ส.ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีช เอเซียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
เรียกร้องรัฐบาลยกเลิกการทดลอง
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กรีนพีชได้เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในบริเวณพื้นที่แปลงทดลองมะละกอจีเอ็มโอ ดังกล่าว ซึ่งมีพื้นที่กว้างถึง 11.5 ไร่
โดย น.ส.ภัสน์วจี กล่าวว่าสถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่นเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์มะละกอหลักของประเทศไทย มะละกอที่จำหน่ายให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปอยู่ในขณะนี้ แต่ทางสถานีวิจัยฯ กลับอ้างว่าเป็นมะละกอแขกดำท่าพระที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ แต่จากการที่กรีนพีชได้ส่งตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาจากสถานีวิจัยฯแห่งนี้ไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการจีนสแกน ประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการอิสระ พบว่าเมล็ดพันธุ์มะละกอดังกล่าวปนเปื้อนจีเอ็มโอ
น.ส.ภัสน์วจี กล่าวอีกว่า จากกรณีการปนเปื้อนของฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมหรือฝ่ายบีทีเมื่อหลายปีก่อนได้ทำให้ประเทศไทยมีมติ ครม.วันที่ 3 เมษายน 2544 ไปแล้วว่าให้ยุติการทดลองพืชจีเอ็มโอ ในระดับไร่นา โดยต้องการที่จะหยุดยั้งการปนเปื้อนจีเอ็มโอ ให้ได้ แต่ปรากฏว่าสถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่น ภายใต้สังกัดของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐกลับเป็นผู้ทดลองมะละกอจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิด ทั้งยังนำเมล็ดพันธุ์ที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ ออกไปจำหน่ายในท้องตลาด เท่ากับว่ารัฐเป็นผู้ก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมเสียเอง
“กลุ่มกรีนพีชขอเรียกร้องให้สถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่นหยุดการขายเมล็ดพันธุ์และต้นกล้ามะละกอทุกชนิด และให้หยุดการทดลองมะละกอจีเอ็มโอ รวมทั้งทำลายมะละกอทุกต้นภายในสถานีทดลองโดยด่วน ไม่อยากให้มีการปนเปื้อนไปมากกว่านี้ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการยกเลิกการทดลองพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดทั่วประเทศอย่างถาวร”น.ส.ภัสน์วจีกล่าว
จี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
ดร.จิรากรณ์ คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีช เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวเสริมว่ากลุ่มกรีนพีชได้ทำการรณรงค์ต่อต้านการทดลองมะละกอจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในสถานีวิจัยของรัฐหรือในไร่นาของเกษตรกร เพราะมีหลักฐานทั่วโลกยืนยันแล้วว่า การทดลองในพื้นที่เปิดคือสาเหตุของการปนเปื้อนจีเอ็มโอ ในสิ่งแวดล้อมและในอาหาร
เมื่อใดก็ตามที่มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิด สิ่งป้องกันมีเพียงรั้วลวดหนามและต้นกล้วย ซึ่งไม่สามารถป้องกันควบคุมการแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำมือมนุษย์ หรือการปนเปื้อนทางละอองเกสรที่เกิดจากลม นกและแมลงชนิดต่างๆ ได้
ดร.จิรากรณ์ กล่าวอีกว่า เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมากรีนพีชได้จัดสัมมนาเตือนประชาชนถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากมะละกอจีเอ็มโอต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและได้เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการทดลองมะละกอจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดทั่วประเทศ ซึ่ง ดร.แจเน็ท คอตเตอร์ นักวิทยาศาสตร์กรีนพีชชาวอังกฤษได้กล่าวเตือนไว้ในงานสัมมนาว่า มะละกอจีเอ็มโอถูกตัดต่อยีน โดยยิงยีนของไวรัสจุดด่างวงแหวนเข้าไป ซึ่งผลกระทบอาจทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือทำให้ไวรัสปรับตัวแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนในด้านของผลกระทบต่อสุขภาพ หากมนุษย์รับประทานมะละกอจีเอ็มโอ เข้าไปมากๆ อาจทำให้เกิดการสะสมของสารต้านทานยาปฏิชีวนะได้
นอกจากนี้เกษตรกรจากฮาวาย ที่เคยเดินทางมาประเทศไทย เพื่อเล่าถึงผลกระทบจากการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์มะละกอจีเอ็มโอ ในฮาวาย ซึ่งมะละจีเอ็มโอได้แพร่กระจายเกิดการปนเปื้อนไปทั่วเกาะบิ๊กไอส์แลนด์ จนไม่สามารถแยกแยะได้ ทำให้เกษตรกรฮาวายเดือดร้อน พร้อมทั้งเตือนเกษตรกรไทยให้ระวังในกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับที่ฮาวายอีกด้วย
ดร.จิรากรณ์ ย้ำว่า ไม่ว่าการปนเปื้อนจีเอ็มโอครั้งนี้จะเกิดขึ้นจากความจงใจหรือความผิดพลาดของหน่วยงานรัฐ รัฐบาลต้องดำเนินการสอบสวนอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนท่าพระแห่งนี้โดยด่วน แต่ก่อนอื่น เฉพาะหน้านี้ต้องเร่งทำลายมะละกอให้หมดทันที และต้องสั่งห้ามการทดลองจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิดทุกประเภททั้งในสถานีวิจัยของรัฐของเอกชนหรือแม้แต่ในไร่นาของเกษตรกรไทย
ที่สำคัญต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนในส่วนของสถานีวิจัยฯ เพื่อหาต้นเหตุของการทดลองและเปิดเผยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงให้กับสาธารณชนได้ทราบ เพราะมะละกอเป็นพืชที่รับประทานกันทั้งภาคอีสาน ในเมื่อยังมีหน่วยงานที่ทำการวิจัยและทางเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มนายทุนรายใหญ่ที่ต้องการหาเมล็ดพันธุ์ไปเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ รัฐบาลต้องออกมาแสดงถึงความรับผิดชอบในเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะมะละกอ จีเอ็มโอ ถือเป็นพืชที่ผิดธรรมชาติและมีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยที่ทางกรีนพีช ให้ระยะเวลาในการตรวจสอบหาสารเคมี 15 วันก่อนที่จะมีการส่งเรื่องให้กับองค์การอนามัยโลกเพื่อเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง
สำนักฯวิจัยแจงเป็นแปลงทดลองเก่า
ด้านนางวิไล ปราสาทศรี ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและการพัฒนาเกษตรที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน กล่าวว่า แปลงทดลองดังกล่าวมีการทดลองเริ่มปลูกพันธุ์มะละกอในสายพันธุ์แขกดำท่าพระ มาตั้งแต่ปี 2528 เพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายเมล็ดพันธ์ให้กับเกษตรกร โดยมีการแบ่งสัดส่วนของแต่ละสายพันธุ์ และแปลงที่ทางกรีนพีชมาทำการซุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นแปลงที่มีการทดลองมาก่อนที่ทางรัฐบาลจะสั่งระงับให้มีการยกเลิกการทดลอง และเป็นที่แน่นอนว่าขณะนี้หลายพ้นธุ์ที่ยังคงเป็นที่ต้องการไปเพาะปลูกและในสายพันธุ์แขกดำท่าพระกำลังเป็นที่ได้รับความนิยมของบรรดาเกษตรกร
เฉพาะในปีนี้ที่มียอดการสั่งจองเมล็ดพันธุ์มาถึง 1 ตัน แต่เราสามารถผลิตได้เพียง 5 ก.ก.เท่านั้น ในส่วนของการมีสารปนเปื้อนจีเอ็มโอ ก็จะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งว่าเป็นเมล็ดพันธุ์และสายพันธ์ที่ผลิตในสถานีวิจัยฯของเราหรือไม่ เพราะเราได้มีการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการการเกษตรในสายพันธุ์แขกดำท่าพระไว้แล้ว และตามกฎระเบียบสามารถที่จะจำหน่ายให้กับเกษตรกรได้ ซึ่งถ้าผลการตรวจสอบยืนยันว่ามีการแพร่กระจายและปนเปื้อนสารจีเอ็มโอ จริงก็จะมีการส่งเรื่องให้กับทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่อพิจารณาต่อไป
เผยที่มาของ”มะละกอจีเอ็มโอ”
อนึ่ง มะละกอจีเอ็มโอ GMOs : Genetically Modified Organisms หรือมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม ถือกำเนิดโดยนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา โดยตัดต่อยีนให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสจุดด่างวงแหวน ปัจจุบันมีการเพาะปลูกมะละกอจีเอ็มโอ ในเชิงการค้าที่รัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2541 ภายใต้ชื่อพันธุ์ซันอัพ และพันธุ์เรนโบว์ ขณะนี้มีขายตามท้องตลาดทั่วไป และแพร่พันธุ์ไปทั่วเกาะอย่างควบคุมไม่ได้
ส่วนในประเทศไทย กรมวิชาการเกษตรและศูนย์ไบโอเทคทดลองปลูกมะละกอจีเอ็มโอพันธุ์แขกดำและแขกนวลในไร่นาแบบเปิดของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง รวมถึงศูนย์วิจัยพืชสวน ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่นด้วย โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย และเมื่อต้นปี 2546 กรมวิชาการเกษตรออกมาเปิดเผยว่า พร้อมแจกเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกทั้งที่ยังไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่
เมื่อเร็วๆนี้ องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ภาคอีสาน ได้ร่วมกันจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับ มะละกอจีเอ็มโอ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในแง่ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพผู้บริโภคที่รับประทานมะละกอจีเอ็มโอ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมพืช หากมีการแพร่ระบาดเมล็ดพันธุ์มะละกอจีเอ็มโอออกสู่ภายนอก
เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (27ก.ค.) ดร.จิรากรณ์ คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มกรีนพีช ในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำการลงพื้นที่ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในแปลงทดลองปลูกมะละกอ ของสำนักงานวิจัยและการพัฒนาเกษตรที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น หลังการทดสอบเมล็ดพันธุ์มะละกอในสายพันธุ์แขกดำท่าพระ ปรากฏว่า มีสารปนเปื้อนของสารจีเอ็มโอ (GMO) ซึ่งเป็นสารต้องห้ามที่ทางรัฐบาลยังไม่อนุมัติให้มีการเผยแพร่ หรือจำหน่ายในประเทศ
กรีนพีชบุกแปลงทดลองหวิดปะทะกัน
โดยทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตมะละกอที่ปลูกอยู่ในแปลงทดลองบนเนื้อที่ 7 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหลังของสำนักงานวิจัยและการพัฒนาเกษตรที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน ด้วยการแต่งชุดป้องกันสารเคมีและการใช้เชือกกั้นไม่ให้บุคคลเข้าไปภายในบริเวณ รวมทั้งการนำเครื่องตรวจหาสารเคมีเบื้องต้นทำการตรวจสอบเพื่อหาสารเคมีที่แพร่กระจายอยู่ในบริเวณพื้นที่ ซึ่งผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีปริมาณของสารเคมีกระจายโดยรอบของบริเวณแปลง ขณะเดียวกันทางเจ้าหน้าที่ของกรีนพีช ได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างผลมะละกอเพื่อนำไปตรวจสอบที่ห้องแลป ที่ประเทศฮ่องกง อีกครั้ง
ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกรีนพีช กำลังทำการเก็บตัวอย่างมะละกอที่มีสารปนเปื้อน ได้มีเจ้าหน้าที่จากทางสถานวิจัยฯ ออกมาโวยวายและแสดงอาการโกรธอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการต่อเถียงขึ้นนานกว่า 30 นาที จึงได้มีการติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเข้าระงับเหตุการณ์ความรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา
“ที่เราต้องกั้นห้ามเข้าเพราะถือเป็นเขตอันตราย เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์เรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตรหยุดการกระทำที่ผิดกฎหมายและทำลายต้นมะละกอทุกต้นทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะละกอจีเอ็มโอในแปลงทดลองภาคสนามแห่งนี้” น.ส.ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม กรีนพีช เอเซียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
เรียกร้องรัฐบาลยกเลิกการทดลอง
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กรีนพีชได้เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในบริเวณพื้นที่แปลงทดลองมะละกอจีเอ็มโอ ดังกล่าว ซึ่งมีพื้นที่กว้างถึง 11.5 ไร่
โดย น.ส.ภัสน์วจี กล่าวว่าสถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่นเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์มะละกอหลักของประเทศไทย มะละกอที่จำหน่ายให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปอยู่ในขณะนี้ แต่ทางสถานีวิจัยฯ กลับอ้างว่าเป็นมะละกอแขกดำท่าพระที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ แต่จากการที่กรีนพีชได้ส่งตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาจากสถานีวิจัยฯแห่งนี้ไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการจีนสแกน ประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการอิสระ พบว่าเมล็ดพันธุ์มะละกอดังกล่าวปนเปื้อนจีเอ็มโอ
น.ส.ภัสน์วจี กล่าวอีกว่า จากกรณีการปนเปื้อนของฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมหรือฝ่ายบีทีเมื่อหลายปีก่อนได้ทำให้ประเทศไทยมีมติ ครม.วันที่ 3 เมษายน 2544 ไปแล้วว่าให้ยุติการทดลองพืชจีเอ็มโอ ในระดับไร่นา โดยต้องการที่จะหยุดยั้งการปนเปื้อนจีเอ็มโอ ให้ได้ แต่ปรากฏว่าสถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่น ภายใต้สังกัดของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐกลับเป็นผู้ทดลองมะละกอจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิด ทั้งยังนำเมล็ดพันธุ์ที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ ออกไปจำหน่ายในท้องตลาด เท่ากับว่ารัฐเป็นผู้ก่ออาชญากรรมสิ่งแวดล้อมเสียเอง
“กลุ่มกรีนพีชขอเรียกร้องให้สถานีวิจัยพืชสวนขอนแก่นหยุดการขายเมล็ดพันธุ์และต้นกล้ามะละกอทุกชนิด และให้หยุดการทดลองมะละกอจีเอ็มโอ รวมทั้งทำลายมะละกอทุกต้นภายในสถานีทดลองโดยด่วน ไม่อยากให้มีการปนเปื้อนไปมากกว่านี้ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการยกเลิกการทดลองพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดทั่วประเทศอย่างถาวร”น.ส.ภัสน์วจีกล่าว
จี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
ดร.จิรากรณ์ คชเสนี ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีช เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวเสริมว่ากลุ่มกรีนพีชได้ทำการรณรงค์ต่อต้านการทดลองมะละกอจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิดมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในสถานีวิจัยของรัฐหรือในไร่นาของเกษตรกร เพราะมีหลักฐานทั่วโลกยืนยันแล้วว่า การทดลองในพื้นที่เปิดคือสาเหตุของการปนเปื้อนจีเอ็มโอ ในสิ่งแวดล้อมและในอาหาร
เมื่อใดก็ตามที่มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิด สิ่งป้องกันมีเพียงรั้วลวดหนามและต้นกล้วย ซึ่งไม่สามารถป้องกันควบคุมการแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำมือมนุษย์ หรือการปนเปื้อนทางละอองเกสรที่เกิดจากลม นกและแมลงชนิดต่างๆ ได้
ดร.จิรากรณ์ กล่าวอีกว่า เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมากรีนพีชได้จัดสัมมนาเตือนประชาชนถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากมะละกอจีเอ็มโอต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและได้เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการทดลองมะละกอจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดทั่วประเทศ ซึ่ง ดร.แจเน็ท คอตเตอร์ นักวิทยาศาสตร์กรีนพีชชาวอังกฤษได้กล่าวเตือนไว้ในงานสัมมนาว่า มะละกอจีเอ็มโอถูกตัดต่อยีน โดยยิงยีนของไวรัสจุดด่างวงแหวนเข้าไป ซึ่งผลกระทบอาจทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือทำให้ไวรัสปรับตัวแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนในด้านของผลกระทบต่อสุขภาพ หากมนุษย์รับประทานมะละกอจีเอ็มโอ เข้าไปมากๆ อาจทำให้เกิดการสะสมของสารต้านทานยาปฏิชีวนะได้
นอกจากนี้เกษตรกรจากฮาวาย ที่เคยเดินทางมาประเทศไทย เพื่อเล่าถึงผลกระทบจากการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์มะละกอจีเอ็มโอ ในฮาวาย ซึ่งมะละจีเอ็มโอได้แพร่กระจายเกิดการปนเปื้อนไปทั่วเกาะบิ๊กไอส์แลนด์ จนไม่สามารถแยกแยะได้ ทำให้เกษตรกรฮาวายเดือดร้อน พร้อมทั้งเตือนเกษตรกรไทยให้ระวังในกรณีที่อาจเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับที่ฮาวายอีกด้วย
ดร.จิรากรณ์ ย้ำว่า ไม่ว่าการปนเปื้อนจีเอ็มโอครั้งนี้จะเกิดขึ้นจากความจงใจหรือความผิดพลาดของหน่วยงานรัฐ รัฐบาลต้องดำเนินการสอบสวนอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนท่าพระแห่งนี้โดยด่วน แต่ก่อนอื่น เฉพาะหน้านี้ต้องเร่งทำลายมะละกอให้หมดทันที และต้องสั่งห้ามการทดลองจีเอ็มโอ ในพื้นที่เปิดทุกประเภททั้งในสถานีวิจัยของรัฐของเอกชนหรือแม้แต่ในไร่นาของเกษตรกรไทย
ที่สำคัญต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนในส่วนของสถานีวิจัยฯ เพื่อหาต้นเหตุของการทดลองและเปิดเผยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงให้กับสาธารณชนได้ทราบ เพราะมะละกอเป็นพืชที่รับประทานกันทั้งภาคอีสาน ในเมื่อยังมีหน่วยงานที่ทำการวิจัยและทางเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มนายทุนรายใหญ่ที่ต้องการหาเมล็ดพันธุ์ไปเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ รัฐบาลต้องออกมาแสดงถึงความรับผิดชอบในเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะมะละกอ จีเอ็มโอ ถือเป็นพืชที่ผิดธรรมชาติและมีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยที่ทางกรีนพีช ให้ระยะเวลาในการตรวจสอบหาสารเคมี 15 วันก่อนที่จะมีการส่งเรื่องให้กับองค์การอนามัยโลกเพื่อเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกครั้ง
สำนักฯวิจัยแจงเป็นแปลงทดลองเก่า
ด้านนางวิไล ปราสาทศรี ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและการพัฒนาเกษตรที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน กล่าวว่า แปลงทดลองดังกล่าวมีการทดลองเริ่มปลูกพันธุ์มะละกอในสายพันธุ์แขกดำท่าพระ มาตั้งแต่ปี 2528 เพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายเมล็ดพันธ์ให้กับเกษตรกร โดยมีการแบ่งสัดส่วนของแต่ละสายพันธุ์ และแปลงที่ทางกรีนพีชมาทำการซุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นแปลงที่มีการทดลองมาก่อนที่ทางรัฐบาลจะสั่งระงับให้มีการยกเลิกการทดลอง และเป็นที่แน่นอนว่าขณะนี้หลายพ้นธุ์ที่ยังคงเป็นที่ต้องการไปเพาะปลูกและในสายพันธุ์แขกดำท่าพระกำลังเป็นที่ได้รับความนิยมของบรรดาเกษตรกร
เฉพาะในปีนี้ที่มียอดการสั่งจองเมล็ดพันธุ์มาถึง 1 ตัน แต่เราสามารถผลิตได้เพียง 5 ก.ก.เท่านั้น ในส่วนของการมีสารปนเปื้อนจีเอ็มโอ ก็จะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งว่าเป็นเมล็ดพันธุ์และสายพันธ์ที่ผลิตในสถานีวิจัยฯของเราหรือไม่ เพราะเราได้มีการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการการเกษตรในสายพันธุ์แขกดำท่าพระไว้แล้ว และตามกฎระเบียบสามารถที่จะจำหน่ายให้กับเกษตรกรได้ ซึ่งถ้าผลการตรวจสอบยืนยันว่ามีการแพร่กระจายและปนเปื้อนสารจีเอ็มโอ จริงก็จะมีการส่งเรื่องให้กับทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่อพิจารณาต่อไป
เผยที่มาของ”มะละกอจีเอ็มโอ”
อนึ่ง มะละกอจีเอ็มโอ GMOs : Genetically Modified Organisms หรือมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม ถือกำเนิดโดยนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา โดยตัดต่อยีนให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสจุดด่างวงแหวน ปัจจุบันมีการเพาะปลูกมะละกอจีเอ็มโอ ในเชิงการค้าที่รัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2541 ภายใต้ชื่อพันธุ์ซันอัพ และพันธุ์เรนโบว์ ขณะนี้มีขายตามท้องตลาดทั่วไป และแพร่พันธุ์ไปทั่วเกาะอย่างควบคุมไม่ได้
ส่วนในประเทศไทย กรมวิชาการเกษตรและศูนย์ไบโอเทคทดลองปลูกมะละกอจีเอ็มโอพันธุ์แขกดำและแขกนวลในไร่นาแบบเปิดของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง รวมถึงศูนย์วิจัยพืชสวน ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่นด้วย โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย และเมื่อต้นปี 2546 กรมวิชาการเกษตรออกมาเปิดเผยว่า พร้อมแจกเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกทั้งที่ยังไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่
เมื่อเร็วๆนี้ องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ภาคอีสาน ได้ร่วมกันจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับ มะละกอจีเอ็มโอ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในแง่ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพผู้บริโภคที่รับประทานมะละกอจีเอ็มโอ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมพืช หากมีการแพร่ระบาดเมล็ดพันธุ์มะละกอจีเอ็มโอออกสู่ภายนอก