แม่ฮ่องสอน – เปิดแนวเส้นทางในฝันแม่ฮ่องสอน – วัดจันทร์-เชียงใหม่ ล่าสุดส่งทีมทหารลุยสำรวจจุดสร้างสะพาน/วางท่อ คาดรู้ผลภายใน 2-3 วัน
หลังจากที่นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสำรวจเส้นทางถนนสายแม่ฮ่องสอน-วัดจันทร์ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ 22 ก.ค.2547 หรือหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ในหลักการเบื้องต้น เมื่อคราวที่เดินทางมาตรวจราชการที่ จ.แม่ฮ่องสอน นั้น
ขณะนี้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 36 สนภ.3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด บ้านคอนผึ้ง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจแนวเส้นทางดังกล่าวอยู่ โดยคาดว่าภายใน 2-3 วันหลังจากนี้จะทราบผลการสำรวจเบื้องต้นว่า ตลอดแนวเส้นทางจากแม่ฮ่องสอน – วัดจันทร์ ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ต้องสร้างสะพานกี่จุด วางท่อกี่จุด เป็นต้น เพื่อนำเสนอต่อหน่วยเหนือประกอบการพิจารณาดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีหากรัฐบาลมีมติให้ดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า แนวเส้นทางหลักที่กำลังดำเนินการสำรวจอยู่ขณะนี้ เริ่มจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านบริเวณบ้านหัวน้ำแม่สะกึด-บ้านห้วยฮี้-บ้านหนองขาวกลาง-บ้านห้วยไม้ดำ และแยกซ้ายบ้านห้วยปูลิง ส่วนแยกขวาไปบ้านห้วยปูเลย-บ้านห้วยตอง ต.ห้วยปูลิง เข้าสู่พื้นที่ตำบลวัดจันทร์ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร ซึ่งหากถนนสายดังกล่าวก่อสร้างเสร็จ จะเป็นถนนสายที่ใช้เวลาการเดินทางจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปยังจังหวัดเชียงใหม่เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
นายอานี กวางทู สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า การพัฒนาถนนสายดังกล่าวจะมีผลต่อชาวบ้านเขต ต.ห้วยปูลิง ที่ถนนผ่านมาก ที่ผ่านมามีชาวบ้าน 11 หมู่บ้าน 3,452 คน ที่ต้องใช้เส้นทางแม่ฮ่องสอน-ห้วยปูลิง เมื่อมีคนเจ็บป่วยจะต้องแบกหามมายังโรงพยาบาลประจำจังหวัด ใช้เวลา 1 – 2 วันทีเดียว
ทั้งนี้ หากมีการก่อสร้างถนน จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่พวกเขาดีขึ้นอีกมาก และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลห้วยปูลิงอีกด้วย ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางเข้ามายังแม่ฮ่องสอน ผ่านอ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เข้ามา
อย่างไรก็ตาม หากภาครัฐบาลจะขุดเจาะอุโมงค์บางช่วงของถนนสายดังกล่าว ไม่น่าจะมีปัญหากับกลุ่มเอ็นจีโอ. เพราะแนวถนนก็เป็นแนวเดิมอยู่แล้ว
ด้านนายนพ เปลี่ยนศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ปัจจุบันถนนสายนี้ซึ่งเป็นเส้นทางหมายเลข 5035 ระยะทางประมาณ 76 กิโลเมตร ที่ อบจ.แม่ฮ่องสอน ได้รับถ่ายโอนมาจาก รพช.(เดิม) เป็นถนนลาดยางกว้าง 6 เมตร ระยะทาง 6 กิโลเมตร และบางช่วงเป็นถนนลาดยางของสำนักงานทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน รวมที่ลาดยางแล้วประมาณ 13 กิโลเมตร
ตลอดแนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นทางสูงชัน ช่วงที่ผ่านดอยสันฟ้า ต.ผาบ่อง และบริเวณดอยยาว ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จะต้องตัดภูเขาลึกลงมาก แต่ก็จะไม่ทำให้เสียพื้นที่ป่าไม้ แต่ก็มีบางส่วนที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนล่าง และอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติของเชียงใหม่
นายวนิษฐ์ รักษาสินวนา อายุ 18 ปี บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 1 บ้านห้วยปูลิง ตำบลห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเขาต้องเดินทางมาเรียนที่โรงเรียนศึกษาส่งเคราะห์แม่ฮ่องสอน ใช้เวลาเดินทาง 1 วันเต็ม โดยเดินทางลัดเลาะไปตามไหล่ภูเขาสูง ลงมาสู่ลำห้วยแม่น้าแม่สะมาด ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ดีที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอนเป็นโรงเรียนประจำ แต่พอโรงเรียนปิดภาคเรียนต้องเดินทางกลับบ้านบ้านที่ห้วยปูลิงใช้เวลาเดินทาง 1 วันเต็มเช่นกัน
นอกจากนี้แล้วยังเด็กนักเรียนหญิงอีกจำนวนมาก ที่ต้องเดินทางจากหวยปูลิงเพื่อมาเรียนที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ระหว่างทางหากฝนตกลงมาก็จะต้องเข้าไปหลบฝนใต้ต้นไม้ใหญ่ อีกทั้งจะต้องเผชิญกับน้ำป่าตามลำห้วยต่าง ๆ ดังนั้น เขาเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นายกรัฐมนตรีเห็นความสำคัญ ที่จะให้งบประมาณก่อสร้างถนนสายแม่ฮ่องสอน-วัดจันทร์
ทั้งนี้โดยข้อเท็จจริงแล้ว แนวคิดในการพัฒนาถนนสายดังกล่าว ได้เกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อนครั้งหนึ่ง โดยมีชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาสำรวจการขุดเจาะอุโมงค์เพื่อก่อสร้างถนนสายแม่ฮ่องสอน-ห้วยปูลิง-วัดจันทร์ อ.สะเมิง โดยมีอดีต สส.แม่ฮ่องสอน (นายบุญเลิศ สว่างกุล) เป็นผู้ประสานงานในโครงการ แต่มีการตั้งเงื่อนไขว่า ในการดำเนินการก่อสร้างถนน หากพบทรัพยากรต่าง ๆ จะต้องตกเป็นของนักลงทุนญี่ปุ่น ทำให้โครงการดังกล่าวถูกคัดค้านและเงียบไปในที่สุด
หลังจากที่นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสำรวจเส้นทางถนนสายแม่ฮ่องสอน-วัดจันทร์ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่ 22 ก.ค.2547 หรือหลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ในหลักการเบื้องต้น เมื่อคราวที่เดินทางมาตรวจราชการที่ จ.แม่ฮ่องสอน นั้น
ขณะนี้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 36 สนภ.3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด บ้านคอนผึ้ง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจแนวเส้นทางดังกล่าวอยู่ โดยคาดว่าภายใน 2-3 วันหลังจากนี้จะทราบผลการสำรวจเบื้องต้นว่า ตลอดแนวเส้นทางจากแม่ฮ่องสอน – วัดจันทร์ ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ต้องสร้างสะพานกี่จุด วางท่อกี่จุด เป็นต้น เพื่อนำเสนอต่อหน่วยเหนือประกอบการพิจารณาดำเนินการก่อสร้างได้ทันทีหากรัฐบาลมีมติให้ดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า แนวเส้นทางหลักที่กำลังดำเนินการสำรวจอยู่ขณะนี้ เริ่มจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านบริเวณบ้านหัวน้ำแม่สะกึด-บ้านห้วยฮี้-บ้านหนองขาวกลาง-บ้านห้วยไม้ดำ และแยกซ้ายบ้านห้วยปูลิง ส่วนแยกขวาไปบ้านห้วยปูเลย-บ้านห้วยตอง ต.ห้วยปูลิง เข้าสู่พื้นที่ตำบลวัดจันทร์ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตร ซึ่งหากถนนสายดังกล่าวก่อสร้างเสร็จ จะเป็นถนนสายที่ใช้เวลาการเดินทางจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปยังจังหวัดเชียงใหม่เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
นายอานี กวางทู สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า การพัฒนาถนนสายดังกล่าวจะมีผลต่อชาวบ้านเขต ต.ห้วยปูลิง ที่ถนนผ่านมาก ที่ผ่านมามีชาวบ้าน 11 หมู่บ้าน 3,452 คน ที่ต้องใช้เส้นทางแม่ฮ่องสอน-ห้วยปูลิง เมื่อมีคนเจ็บป่วยจะต้องแบกหามมายังโรงพยาบาลประจำจังหวัด ใช้เวลา 1 – 2 วันทีเดียว
ทั้งนี้ หากมีการก่อสร้างถนน จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่พวกเขาดีขึ้นอีกมาก และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลห้วยปูลิงอีกด้วย ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางเข้ามายังแม่ฮ่องสอน ผ่านอ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เข้ามา
อย่างไรก็ตาม หากภาครัฐบาลจะขุดเจาะอุโมงค์บางช่วงของถนนสายดังกล่าว ไม่น่าจะมีปัญหากับกลุ่มเอ็นจีโอ. เพราะแนวถนนก็เป็นแนวเดิมอยู่แล้ว
ด้านนายนพ เปลี่ยนศรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ปัจจุบันถนนสายนี้ซึ่งเป็นเส้นทางหมายเลข 5035 ระยะทางประมาณ 76 กิโลเมตร ที่ อบจ.แม่ฮ่องสอน ได้รับถ่ายโอนมาจาก รพช.(เดิม) เป็นถนนลาดยางกว้าง 6 เมตร ระยะทาง 6 กิโลเมตร และบางช่วงเป็นถนนลาดยางของสำนักงานทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน รวมที่ลาดยางแล้วประมาณ 13 กิโลเมตร
ตลอดแนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นทางสูงชัน ช่วงที่ผ่านดอยสันฟ้า ต.ผาบ่อง และบริเวณดอยยาว ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จะต้องตัดภูเขาลึกลงมาก แต่ก็จะไม่ทำให้เสียพื้นที่ป่าไม้ แต่ก็มีบางส่วนที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนล่าง และอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติของเชียงใหม่
นายวนิษฐ์ รักษาสินวนา อายุ 18 ปี บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 1 บ้านห้วยปูลิง ตำบลห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเขาต้องเดินทางมาเรียนที่โรงเรียนศึกษาส่งเคราะห์แม่ฮ่องสอน ใช้เวลาเดินทาง 1 วันเต็ม โดยเดินทางลัดเลาะไปตามไหล่ภูเขาสูง ลงมาสู่ลำห้วยแม่น้าแม่สะมาด ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ดีที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอนเป็นโรงเรียนประจำ แต่พอโรงเรียนปิดภาคเรียนต้องเดินทางกลับบ้านบ้านที่ห้วยปูลิงใช้เวลาเดินทาง 1 วันเต็มเช่นกัน
นอกจากนี้แล้วยังเด็กนักเรียนหญิงอีกจำนวนมาก ที่ต้องเดินทางจากหวยปูลิงเพื่อมาเรียนที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ระหว่างทางหากฝนตกลงมาก็จะต้องเข้าไปหลบฝนใต้ต้นไม้ใหญ่ อีกทั้งจะต้องเผชิญกับน้ำป่าตามลำห้วยต่าง ๆ ดังนั้น เขาเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นายกรัฐมนตรีเห็นความสำคัญ ที่จะให้งบประมาณก่อสร้างถนนสายแม่ฮ่องสอน-วัดจันทร์
ทั้งนี้โดยข้อเท็จจริงแล้ว แนวคิดในการพัฒนาถนนสายดังกล่าว ได้เกิดขึ้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อนครั้งหนึ่ง โดยมีชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาสำรวจการขุดเจาะอุโมงค์เพื่อก่อสร้างถนนสายแม่ฮ่องสอน-ห้วยปูลิง-วัดจันทร์ อ.สะเมิง โดยมีอดีต สส.แม่ฮ่องสอน (นายบุญเลิศ สว่างกุล) เป็นผู้ประสานงานในโครงการ แต่มีการตั้งเงื่อนไขว่า ในการดำเนินการก่อสร้างถนน หากพบทรัพยากรต่าง ๆ จะต้องตกเป็นของนักลงทุนญี่ปุ่น ทำให้โครงการดังกล่าวถูกคัดค้านและเงียบไปในที่สุด