อุบลราชธานี-อุบลฯ แก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนรุดหน้า 50% มูลหนี้เกือบ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ผู้ที่มาลงทะเบียนความยากจน ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมากสุด คือ ข้าราชการครู คิดเป็นร้อยละ 39.46 ตามด้วยตำรวจร้อยละ25.45
นายจีรศักดิ์ เกษณียบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทย รับลงทะเบียนรายงานการแก้ปัญหาสังคมและความยากจน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในกากำหนดนโยบายและมาตรการ ในการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้รับลงทะเบียนตั้งแต่วันที่26 ธ.ค. 2546 – 31 มี.ค. 2547 พบว่า จ.อุบลราชธานี มีประชาชนผู้มาลงทะเบียนมากที่สุด 3 อันดับ
ได้แก่ หนี้สินภาคประชาชนจำนวน 198,267 คน ปัญหาที่ดินทำกิน 156,101 คนและปัญหาคนจนไม่มีที่อยู่อาศัย 35,419 คน ส่วนปัญหากลุ่มอื่นๆที่มีผู้มาลงทะเบียนส่วนใหญ่ ประกอบด้วย ประเด็นปัญหาความต้องการรับเงินสงเคราะห์และต้องการประกอบอาชีพ เป็นต้น ขณะเดียวกัน
สำหรับผู้ที่มาลงทะเบียนความยากจน ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาลงทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ ข้าราชการครู มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 2,631 คน คิดเป็นร้อยละ 39.46 รองลงมาได้แก่ข้าราชการตำรวจ 1,701 คน คิดเป็น 25.45 โดยปัญหาที่ข้าราชการเหล่านี้มาลงทะเบียนมากที่สุดได้แก่หนี้สิน ตามด้วยปัญหาต้องการที่ดินทำกิน คิดเป็นร้อยละ 64.67 และ 22.11 ตามลำดับ
ทั้งนี้เช่นเดียวกับการรับจดทะเบียนผู้ต้องขังในเรือนจำ และผู้ที่อยู่ในการคุ้มครองของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประเด็นปัญหาที่ลงทะเบียนมากที่สุดได้แก่ ปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาคนเร่ร่อน ที่สำคัญปัญหาเกี่ยวกับการถูกหลอกลวง ที่พบว่า มีผู้มาลงทะเบียนมากที่สุดได้แก่ถูกหลอกลวง เกี่ยวกับกู้ยืมเงิน และต้องการได้รับการชดเชยในกรณีดังกล่าว
ในขณะที่กรณีนักเรียนนักศึกษา ที่ต้องการรายได้จากการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ส่วนใหญ่พบว่า ในระดับมัธยมศึกษาที่ต้องการงานทำส่วนใหญ่ ได้แก่ การขายสินค้าและต้องการทำงานในช่วงปิดภาคเรียน โดยมีผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้น7,534 คน ซึ่งในส่วนนี้ จังหวัดได้ให้การช่วยเหลือไม่แล้วจนถึงวันที่ 22 เม.ย. 2547 จำนวน 365 ราย
นายจีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ตามจำนวนเป้าหมาย 43,510 คน หรือคิดเป็นมูลหนี้ 3,204,459,029 บาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2547 ทว่าจังหวัดอุบลฯได้กำหนดให้แล้วเสร็จประมาณ 80 % ภายในวันที่ 15 ก.ค. 2547 และให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จครบ 100% ภายในวันที่ 31 ก.ค. 2547
ล่าสุดพบว่าการดำเนินการจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 2547 ดำเนินการได้ประมาณ 49.94% กล่าวคือ ขณะนี้ สามารถเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ได้แล้วประมาณ 20,468 รายคิดเป็นมูลหนี้ 930,399,873 บาท ส่วนที่ยังเจรจาไม่ยุติมีจำนวน 1,261 รายคิดเป็นมูลหนี้ 125,808,101 บาท ที่เหลือยังไม่เจรจา 21,781 ราย หรือมูลหนี้ 1,708,680,119 บาท ซึ่งคาดว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ทุกประการ
รายงานแจ้งว่า ปัญหาของการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เกิดจากการที่เจ้าหนี้ไม่มาประนอมหนี้ตามนัด ขณะที่ลูกหนี้ก็เบี้ยวนัดเช่นกันเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลทำนา
นายจีรศักดิ์ เกษณียบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทย รับลงทะเบียนรายงานการแก้ปัญหาสังคมและความยากจน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในกากำหนดนโยบายและมาตรการ ในการแก้ไขปัญหาตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งได้รับลงทะเบียนตั้งแต่วันที่26 ธ.ค. 2546 – 31 มี.ค. 2547 พบว่า จ.อุบลราชธานี มีประชาชนผู้มาลงทะเบียนมากที่สุด 3 อันดับ
ได้แก่ หนี้สินภาคประชาชนจำนวน 198,267 คน ปัญหาที่ดินทำกิน 156,101 คนและปัญหาคนจนไม่มีที่อยู่อาศัย 35,419 คน ส่วนปัญหากลุ่มอื่นๆที่มีผู้มาลงทะเบียนส่วนใหญ่ ประกอบด้วย ประเด็นปัญหาความต้องการรับเงินสงเคราะห์และต้องการประกอบอาชีพ เป็นต้น ขณะเดียวกัน
สำหรับผู้ที่มาลงทะเบียนความยากจน ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาลงทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ ข้าราชการครู มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 2,631 คน คิดเป็นร้อยละ 39.46 รองลงมาได้แก่ข้าราชการตำรวจ 1,701 คน คิดเป็น 25.45 โดยปัญหาที่ข้าราชการเหล่านี้มาลงทะเบียนมากที่สุดได้แก่หนี้สิน ตามด้วยปัญหาต้องการที่ดินทำกิน คิดเป็นร้อยละ 64.67 และ 22.11 ตามลำดับ
ทั้งนี้เช่นเดียวกับการรับจดทะเบียนผู้ต้องขังในเรือนจำ และผู้ที่อยู่ในการคุ้มครองของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ประเด็นปัญหาที่ลงทะเบียนมากที่สุดได้แก่ ปัญหาที่ดินทำกิน และปัญหาคนเร่ร่อน ที่สำคัญปัญหาเกี่ยวกับการถูกหลอกลวง ที่พบว่า มีผู้มาลงทะเบียนมากที่สุดได้แก่ถูกหลอกลวง เกี่ยวกับกู้ยืมเงิน และต้องการได้รับการชดเชยในกรณีดังกล่าว
ในขณะที่กรณีนักเรียนนักศึกษา ที่ต้องการรายได้จากการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ส่วนใหญ่พบว่า ในระดับมัธยมศึกษาที่ต้องการงานทำส่วนใหญ่ ได้แก่ การขายสินค้าและต้องการทำงานในช่วงปิดภาคเรียน โดยมีผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้น7,534 คน ซึ่งในส่วนนี้ จังหวัดได้ให้การช่วยเหลือไม่แล้วจนถึงวันที่ 22 เม.ย. 2547 จำนวน 365 ราย
นายจีรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ตามจำนวนเป้าหมาย 43,510 คน หรือคิดเป็นมูลหนี้ 3,204,459,029 บาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2547 ทว่าจังหวัดอุบลฯได้กำหนดให้แล้วเสร็จประมาณ 80 % ภายในวันที่ 15 ก.ค. 2547 และให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จครบ 100% ภายในวันที่ 31 ก.ค. 2547
ล่าสุดพบว่าการดำเนินการจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 2547 ดำเนินการได้ประมาณ 49.94% กล่าวคือ ขณะนี้ สามารถเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ได้แล้วประมาณ 20,468 รายคิดเป็นมูลหนี้ 930,399,873 บาท ส่วนที่ยังเจรจาไม่ยุติมีจำนวน 1,261 รายคิดเป็นมูลหนี้ 125,808,101 บาท ที่เหลือยังไม่เจรจา 21,781 ราย หรือมูลหนี้ 1,708,680,119 บาท ซึ่งคาดว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ทุกประการ
รายงานแจ้งว่า ปัญหาของการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เกิดจากการที่เจ้าหนี้ไม่มาประนอมหนี้ตามนัด ขณะที่ลูกหนี้ก็เบี้ยวนัดเช่นกันเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลทำนา