อุบลราชธานี - 7 ก.ค.นี้ เครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำมูล เปิดวังปลา อนุรักษ์และเพิ่มจำนวนปลาให้แม่น้ำมูล
ปัจจุบันจำนวนปลาในแม่น้ำมูลกำลังลดลงทุกปีเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การจับปลาในฤดูวางไข่ของชาวประมง ชาวประมงมีจำนวนเพิ่มขึ้น ชาวประมงใช้อุปกรณ์ในการจับปลาที่ไม่ถูกต้อง เช่นใช้ตาข่ายหรืออวนตาถี่เกินไปทำให้ปลาเล็กถูกจับขึ้นมาด้วย และบางครั้งก็ใช้อวนตาถี่ลากขึ้นมาบนฝั่ง ติดปลาเล็กปลาน้อยขึ้นมาบนฝั่งแล้วไม่ได้เก็บกลับคืนลงน้ำ ทำให้ปลาตัวเล็กๆตายเป็นจำนวนมาก
สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง ที่ทำให้จำนวนของปลาในแม่น้ำมูลลดลง คือ การสร้างเขื่อนปากมูลปิดกั้นลำน้ำมูล ทำให้ปลาจากแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถที่จะขึ้นมาวางไข่ได้ ทั้งๆที่มีการเปิดเขื่อนทุกปี แต่ชาวบ้านในลุ่มน้ำมูลก็ชี้ว่า ทางการเปิดเขื่อนล่าช้าไป เพราะกว่าจะเปิดเขื่อนก็เป็นหลังฤดูกาลวางไข่ไปแล้ว ซึ่งปกติแล้วปลาจะขึ้นมาวางไข่ระหว่างเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม แต่เขื่อนจะเปิดในเดือนมิถุนายน
จากปัญหาดังกล่าวทางเครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำมูล ตำบล ท่าช้าง กิ่ง อ. สว่างวีรวงศ์ จ. อุบลราชธานี จึงได้มีโครงการที่จะอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนพันธ์ปลาในแม่น้ำมูลโดยการทำวังปลา ซึ่งวังปลานั้นก็คือการสร้างที่อยู่อาศัยที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยให้กับปลา โดยจะกำหนดโซนของแม่น้ำมูลที่มีความยาวตามชายฝั่งบริเวณท่าน้ำบ้านฮ่องอ้อความยาวประมาณ 600-700 เมตร ส่วนความกว้างก็ยึดเอาความกว้างของแม่น้ำที่กว้างประมาณ 1 กม.แล้วปักหลักเพื่อบอกเขตแดนเอาไว้ว่าห้ามมาหาปลาในบริเวณนี้ ซึ่งจะคล้ายกับเขตอภัยทานตามวัดทั่วไป และชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับแรงจูงใจที่ชาวบ้านคิดที่จะทำวังปลา นายอภิรมณ์ ทยาธรรม หนึ่งในผู้ริเริ่มการทำวังปลาได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้วได้มีพระรูปหนึ่ง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระอาจารย์อิน ได้มาตั้งสำนักสงฆ์อยู่บริเวณท่าน้ำบ้านฮ่องอ้อ ตอนเช้าเมื่อพระอาจารย์อินฉันเช้าเสร็จก็จะเอาบาตรมาล้างที่บริเวณท่าน้ำและจะเทเศษอาหารและเศษข้าวลงในน้ำ พบว่ามีปลามากิน เมื่อเทลงทุกวัน ปรากฏว่า ปลามากินเพิ่มขึ้น จึงได้บอกกับชาวบ้านว่า บริเวณนี้มีปลาชุกชุม แต่ก็ไม่ได้เสนอแนะอะไร
หลังจากที่ได้ฟังพระอาจารย์อินบอก ชาวบ้านนำโดยนายอภิรมณ์ จึงมีแนวคิดที่จะทำการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนพันธุ์ปลาในพื้นที่ เพราะจำนวนปลาในปัจจุบันก็กำลังลดน้อยลงด้วย และหลังจากที่ได้มีการประชุมกันระหว่างชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่แล้วชาวบ้านและชาวประมงต่างก็เห็นดีเห็นงามด้วยและพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของทางชุมชน แต่ขณะนี้วังปลายังไม่ได้ปักเขตแดนขอบเขตที่สมบูรณ์เพราะน้ำยังมีปริมาณที่สูงอยู่
ส่วนการเปิดวังปลาอย่างเป็นทางการนั้น จะมีขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม นี้โดยจะเชิญตัวแทนจากหลายหน่วยงาน เช่น นายอำเภอ , ประมงจังหวัด , ทรัพยากรจังหวัด ,และเจ้าคณะตำบลเพื่อร่วมเป็นสักขีพยานด้วย
ปัจจุบันจำนวนปลาในแม่น้ำมูลกำลังลดลงทุกปีเพราะหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การจับปลาในฤดูวางไข่ของชาวประมง ชาวประมงมีจำนวนเพิ่มขึ้น ชาวประมงใช้อุปกรณ์ในการจับปลาที่ไม่ถูกต้อง เช่นใช้ตาข่ายหรืออวนตาถี่เกินไปทำให้ปลาเล็กถูกจับขึ้นมาด้วย และบางครั้งก็ใช้อวนตาถี่ลากขึ้นมาบนฝั่ง ติดปลาเล็กปลาน้อยขึ้นมาบนฝั่งแล้วไม่ได้เก็บกลับคืนลงน้ำ ทำให้ปลาตัวเล็กๆตายเป็นจำนวนมาก
สาเหตุอีกส่วนหนึ่ง ที่ทำให้จำนวนของปลาในแม่น้ำมูลลดลง คือ การสร้างเขื่อนปากมูลปิดกั้นลำน้ำมูล ทำให้ปลาจากแม่น้ำโขงเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถที่จะขึ้นมาวางไข่ได้ ทั้งๆที่มีการเปิดเขื่อนทุกปี แต่ชาวบ้านในลุ่มน้ำมูลก็ชี้ว่า ทางการเปิดเขื่อนล่าช้าไป เพราะกว่าจะเปิดเขื่อนก็เป็นหลังฤดูกาลวางไข่ไปแล้ว ซึ่งปกติแล้วปลาจะขึ้นมาวางไข่ระหว่างเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม แต่เขื่อนจะเปิดในเดือนมิถุนายน
จากปัญหาดังกล่าวทางเครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำมูล ตำบล ท่าช้าง กิ่ง อ. สว่างวีรวงศ์ จ. อุบลราชธานี จึงได้มีโครงการที่จะอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนพันธ์ปลาในแม่น้ำมูลโดยการทำวังปลา ซึ่งวังปลานั้นก็คือการสร้างที่อยู่อาศัยที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยให้กับปลา โดยจะกำหนดโซนของแม่น้ำมูลที่มีความยาวตามชายฝั่งบริเวณท่าน้ำบ้านฮ่องอ้อความยาวประมาณ 600-700 เมตร ส่วนความกว้างก็ยึดเอาความกว้างของแม่น้ำที่กว้างประมาณ 1 กม.แล้วปักหลักเพื่อบอกเขตแดนเอาไว้ว่าห้ามมาหาปลาในบริเวณนี้ ซึ่งจะคล้ายกับเขตอภัยทานตามวัดทั่วไป และชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
สำหรับแรงจูงใจที่ชาวบ้านคิดที่จะทำวังปลา นายอภิรมณ์ ทยาธรรม หนึ่งในผู้ริเริ่มการทำวังปลาได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้วได้มีพระรูปหนึ่ง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระอาจารย์อิน ได้มาตั้งสำนักสงฆ์อยู่บริเวณท่าน้ำบ้านฮ่องอ้อ ตอนเช้าเมื่อพระอาจารย์อินฉันเช้าเสร็จก็จะเอาบาตรมาล้างที่บริเวณท่าน้ำและจะเทเศษอาหารและเศษข้าวลงในน้ำ พบว่ามีปลามากิน เมื่อเทลงทุกวัน ปรากฏว่า ปลามากินเพิ่มขึ้น จึงได้บอกกับชาวบ้านว่า บริเวณนี้มีปลาชุกชุม แต่ก็ไม่ได้เสนอแนะอะไร
หลังจากที่ได้ฟังพระอาจารย์อินบอก ชาวบ้านนำโดยนายอภิรมณ์ จึงมีแนวคิดที่จะทำการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนพันธุ์ปลาในพื้นที่ เพราะจำนวนปลาในปัจจุบันก็กำลังลดน้อยลงด้วย และหลังจากที่ได้มีการประชุมกันระหว่างชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่แล้วชาวบ้านและชาวประมงต่างก็เห็นดีเห็นงามด้วยและพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของทางชุมชน แต่ขณะนี้วังปลายังไม่ได้ปักเขตแดนขอบเขตที่สมบูรณ์เพราะน้ำยังมีปริมาณที่สูงอยู่
ส่วนการเปิดวังปลาอย่างเป็นทางการนั้น จะมีขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม นี้โดยจะเชิญตัวแทนจากหลายหน่วยงาน เช่น นายอำเภอ , ประมงจังหวัด , ทรัพยากรจังหวัด ,และเจ้าคณะตำบลเพื่อร่วมเป็นสักขีพยานด้วย