WHO ประกาศ “โควิดสายพันธุ์ JN.1” แพร่เร็ว!! “สายพันธุ์หลักระบาดต้นปี 67” พร้อมบอก เชื้ออาจจะไม่ได้อยู่แค่ที่ “ปอด” ชวนหมอมาตอบคำถาม “เชื้อใหม่น่ากลัวระดับไหน”?
โควิด “พันธุ์ใหม่” อาจไม่ได้ลงแค่ “ปอด”
มากันอีกแล้วกับ “โควิด-19” สายย่อยตัวใหม่อย่าง “JN.1” ที่ “WHO” หรือ “องค์การอนามัยโลก” ประกาศว่าเป็นสายพันธุ์ที่ “น่าจับตามอง” เพราะ แพร่ระบาดได้ค่อนข้างเร็ว และอาจเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดปี67
WHOระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์JN.1 พัฒนาต่อเนื่องมาจากสายพันธุ์ย่อย “โอมิครอน” อย่าง “BA.2.86” และพบว่า เมื่อ พ.ย.มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 ของการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก
แต่ 1 เดือนให้หลัง “สัดส่วนของเชื้อJN.1เพิ่มเป็น 27.1%” WHOจึงประเมินว่า “สายพันธุ์ย่อยJN.1”อาจทำให้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ซึ่งตอนนี้ มีการพบสายพันธุ์นี้แล้วใน 41 ประเทศ
แล้วเจ้าโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้มันน่ากลัว เหมือนตัวก่อนๆ หรือเปล่า?ทีมข่าวขอให้ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วยวิเคราะห์
หัวหน้าศูนย์จีโนม อธิยายว่า การประกาศเรื่องไวรัสของWHOมี 2 แบบคือ “VOC”หรือ “Variants of Concern” คือ กลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวลและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
ส่วนการประกาศของ “สายพันธุ์JN.1”นั้น เป็นแบบที่ 2 คือ “VOI” หรือ “Variants of interest” หมายถึง เป็นสายพันธ์ที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้น่ากังวลเท่า สายพันธุ์อัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า ที่ผ่านมา
ดร.วสันต์ เล่าให้ฟังว่า เดิมที่คาดกันว่าเจ้าเชื้อตัว “BA.2.86”จะเป็นเชื้อที่มาระบาดแทนที่ “โอมิครอน”ทั้งหมด แต่ปรากฏว่า มันหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีเท่าไหร่ จากนั้นมันก็พัฒนาแล้วกลายพันธุ์มาเป็นJN.1ซึ่ง...
“เจ้าJN.1 มันสามารถที่จะเพิ่มจำนวนได้ดี แล้วแซงเชื้อตัวอื่นมาเรื่อยๆ”
{“ดร.วสันต์”-หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์}
และในปัจจุบัน “การตรวจเชื้อโควิด” ไม่ใช้แค่ตรวจจากการสวอปปากกับจมูกอย่างเดียว มีการเก็บตัวอย่าง “น้ำเสีย” ในชุมชนไปตรวจหาเชื้อด้วย เพื่อจะเป็นการพบเชื้อ ก่อนจะระบาดหรือมีคนป่วยในชุมชน
ปรากฏว่าหน่วยที่ตรวจน้ำเสียหลายแห่งทั่วโลก ทั้งยุโรป อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินเดีย ตรวจพบเชื้อได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พร้อมๆ กันอย่างมีนัยสำคัญ และพอถอดรหัสพันธุกรรมก็พบว่าเป็น “สายพันธุ์ JN.1”
“เขาก็เลยมองว่าJN.1 เนี่ย มีความสุ่มเสียงที่จะเปลี่ยนลักษณะจากเดิมที่ ไวรัสนี้จะเกาะอยู่แถวปอด ตอนนี้เข้าใจว่าลงมาสู่ลำไส้แล้ว ซึ่งก็ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ แต่สังเกตได้จากแหล่งน้ำเสียที่พบตัวJN.1 มากขึ้น”
ดร.วสันต์ขยายความว่า เพราะการพบเชื้อนี้ใน “น้ำเสีย” ก็อาจเป็นไปได้ว่า จากเดิมที่เชื้อจะอยู่ที่ปอด ตอนนี้มันสามารถลงมาสู่ระบบทางเดินอาหารได้แล้ว “ถ้าเป็นแบบนี้มันก็จะทำให้การแพร่ระบาดเนี่ยเพิ่มสูงขึ้น”
เพิ่มขึ้นแน่ แต่ไม่น่ากลัว
แล้วการระบาดของเจ้าJN.1นี้ มันจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหน? หัวหน้าศูนย์จีโนมบอกว่า อาการที่พบ ไม่ได้แตกต่างกับ “สายพันธุ์โอมิครอน” ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงตั้งข้อสังเกตว่า เราอาจปรับตัวจนอยู่กับโรคนี้ได้แล้ว
“คือมีการระบาดเพิ่มขึ้นจริงนะครับ แต่เมื่อเทียบกับอดีตก็ไม่ได้ระบาดใหญ่โต เหมือนตอนที่โควิด รอบแรกที่มาจากเมืองจีน หรือตอนที่เดลต้า หรือโอมิครอนระบาดครั้งแรก”
ณ ตอนนี้มีการระบาดในหลายที่ ยุโรปเกือบทุกประเทศ อเมริกา แคนาดา สิงค์โปร เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ส่วนของ “ไทย” ดร.วสันต์บอกว่า เนื่องจากระยะหลังเรามีการเก็บตัวอย่างที่น้อย แต่ก็พบแล้ว 1 ราย
ตอนนี้ก็ ยังไม่หลักฐานว่าจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงเกินว่า “สายพันธ์โอมิครอนทั่วๆไป” เพียงแต่ให้เฝ้าระหวัง ถ้าเป็น “กลุ่มเสียง” “กลุ่มเปราะบาง” ก็จำเป็นต้องเข้าไปฉีดวัคซีน
“ถ้าไม่ฉีดมาแล้วประมาณ 6 เดือน – 1ปี นะครับ หรือยังฉีดไม่ครบก็ฉีดให้ครบครับ”
ส่วนคนที่แข็งแรง ความเห็นของ “สาธารณสุขอินเดีย” บอกว่า อาจไม่มีความจำเป็นต้องรับวัคซีนเพิ่ม ซึ่งก็เป็นแนวคิดที่คล้ายกัน ในยุโรปที่เน้นไปยัง“กลุ่มเปราะบาง” คือ อายุ 60 มีโรคประเจ้าตัว หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนเหล่าควรกลับไปฉีดวัคซีน
แล้วเมื่อเชื้อมันกลายพันธ์ วัคซีนที่มีตอนจะช่วยช่วยป้องกัน มันได้หรือเปล่า? ดร.วสันต์ อธิบายให้ฟังว่า ตอนนี้เรามีวัคซีนถึง 3 รุ่นแล้ว รุ่นแรกที่มีการนำเชื้อจาก อู่ฮั่น มาทำเป็นวัควีนเชื้อตาย หรือmRNAนั้นเป็นรุ่นที่ 1
ต่อมาก็มีการใส่เชื้อBA.4-BA.5ลงไปซึ่งเป็น โอมิครอน นั้นเป็นรุ่นที่ 2 แต่ในปี 2566 ทางWHO ได้ขอร้องให้ บริษัทที่ผลิตวัคซีนทั่วโลก ใส่เชื้อ XBB.1.5ลงไปอันคือรุ่นที่ 3 ซึ่งปกป้องและป้องการติดเชื้อได้ค่อนข้างดี
“รุ่นที่ 3 ตอนนี้มีอยู่ที่ สิงคโปร์ ในอเมริกาก็ฉีดไปหลายโดส แล้วครับ ส่วนประเทศไทยผมไม่แน่ใจว่า เรามีหรือ รุ่นที่ 3 แล้วหรือยัง”
แต่ ดร.วสันต์ ก็อยากให้ทำความเข้าใจคำว่า “ป้องกันการติดเชื้อ” กับ “ป้องการการเสียชีวิต” ถ้าต้องการ “ป้องกันการเจ็บป่วย” หรือ “เสียชีวิต” วัคซีนรุ่นไหนก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน ถ้าต้องการ “ป้องกันการติดเชื้อ” รุ่นที่ 3 จะป้องกันได้ดีกว่า
“สรุปถ้าเรายังไม่มีวัคซีนล่าสุด วัคซีนรุ่นที่เรามีอยู่ในมือ นี้ก็ใช้ได้ เพื่อไม่ให้เราเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต แต่อาจจะไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ดีเท่า ครับ”
ตอนนี้WHOได้ขอร้องให้ทุกประเทศ มีการตรวจหาเชื้อทั้ง 2 แบบ คือจาก “คน” โดยการสวอปปากหรือจมูก กับการตรวจจาก “น้ำเสีย” ในชุมชนที่ คนขับถ่ายลงมา ก่อนจะไปบำบัด
เพราะการเก็บตัวอย่างจากน้ำเสีย หากพบเชื้ออะไรก็ตาม ก็จะสามารถบอกได้ว่า ชุมชนนั้นกำลังสุ่มเสียง แต่ก็จะมีระยะเวลาประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนจะมีคนป่วยหรือมาการแพร่ระบาด ให้กรมควบคุมโลกของประเทศต่างๆ ลงไปจัดการ
สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **