xs
xsm
sm
md
lg

“ถ้ามี คงลึกลับมาก” เสียงคนวงในสะท้อน ผลงานรัฐหนุน “หนังไทยโกอินเตอร์”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หนังไทย “อยากโกอินเตอร์ รู้ไหมต้องขอใครบ้าง” ชวนหาคำตอบ หนังไทยเคยถูกผลักดันจากภาครัฐจริงๆ มากน้อยแค่ไหน และนี่คือเสียงสะท้อนจากหนึ่ง “คนทำหนัง” และอีกหนึ่ง “คนวงใน” วงการภาพยนตร์

ซัปพอร์ตจริง หรือเกาะกระแส?


กลายเป็นหนังที่ประสบความสำเร็จอย่างมากอย่าง “สัปเหร่อ” ที่หลังจากดังเป็นพลุแตก ตอนนี้ก็กำลัง โกอินเตอร์ ไปฉายในอีก 9 ประเทศทั่วเอเชีย ทั้งญี่ปุ่น, สิงค์โปร์, ไต้หวัน, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเชีย และกัมพูชา

แต่มันก็มีกระแสดราม่าอยู่เหมือนกัน เมื่อ “ต้องเต” ธิติ ศรีนวลผู้กำกับภาพยนตร์“สัปเหร่อ” ตอบคำถามกับสื่อเรื่องการผลักดันหนังไทย ให้กลายเป็น “Soft Power”

“ถ้ามีเรื่องอื่นที่ดีแล้วพาเขาไป ให้มาซัปพอร์ตจริงๆ หน่อย ไม่ใช่แค่มาถ่ายรูป คุณอาจไม่เข้าใจหนังสัปเหร่อจริงเลยๆ ก็ได้ แค่มาถ่ายรูปแล้วก็บอกว่าหนังสัปเหร่อเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ตัวผมเองยังไม่รู้ว่าซอฟต์พาวเวอร์คืออะไร”



ร้อนถึง “หมออั้ม” นพ.อิราวัต อารีกิจ อดีตศิลปินชื่อดัง ต้องออกมาปกป้องฟากรัฐบาลว่า นี่เป็นการถ่ายรูปเพื่อแสดงความยินดีเฉยๆ และเพื่อก็เพิ่งได้เป็นรัฐบาล แต่มันมีส่วนนึ่งในข้อความที่น่าสนใจคือ

“จะโกอินเตอร์ รู้ไหมต้องประสานกับอะไรจะไประดับนานาชาติ รู้ไหมว่าต้องผ่านหน่วยงานไหน ต้องผ่านกรมกองระหว่างประเทศ งบสนับสนุนอย่างไร รัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวงต่างๆ เขากำลังช่วย แล้วมาให้สัมภาษณ์แบบนี้ มันไม่ดีต่อภาพรวมเลย แต่ก็ตามสบายเลยครับ ถ้าคิดว่าดี”



ทางทีมข่าวจึงขอชวนคุยกับ พรชัย ว่องศรีอุดมพร เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ว่าถ้า ”หนังไทย” อยากออกไปสู่สายตาชาวโลก เหล่าคนทำหนังต้องทำอะไรบ้าง?

“พรชัย”อธิบายว่า หนังส่วนใหญ่ที่ไปฉายตามเทศกาล ไม่ว่าจะเป็น คานส์ เบอร์ลิน หรือ เวนิสจะมีที่ไปเพื่อ “เข้าประกวด” หรือ “ไปเพื่อฉายโชว์”กับอีกอย่างคือ การเช่าบูธในเทศกาลนั้นๆ เพื่อเอาหนังไปฉายให้ นักวิจารณ์ หรือผู้จัดจำหน่ายหหนัง ที่อยู่ในเทศกาลนั้นดู

แล้วการจะส่งไปเข้าจะต้องผ่านองค์กรหรือหน่วยงานอะไรหรือเปล่า?เลขาธิการสมาพันธ์ อธิบายว่า แต่ละเทศกาล เขาจะมีตัวแทนในแต่ละประเทศอยู่ และก็มีอยู่ 2 แบบ คือ “เขาสนใจ”กับ“เราเสนอไปให้เขาพิจารณา” ทั้งการการส่งหนังไปเทศกาล หรือไปฉายเชิงพาณิชย์ วิธีการก็คล้ายๆ กัน


                                                            {พรชัย ว่องศรีอุดมพร}

“ถ้าผู้กำกับหรือโปรดิวเซอร์ ที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถติดต่อเทศกาลโดยตรงได้ ถ้าไม่มีความชำนาญพอ ก็ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนานนะครับ ที่มีประสบการณ์ ในเรื่องพวกนี้ ในการส่งเรื่องเข้าไปนะครับ”

คนในวงการหนังจะรู้กันดี” ว่าเทศกาลไหนต้องติดต่ออย่างไร ใครเป็นตัวแทน คนทำหนังก็เข้าไปหา ตัวแทนเหล่านั้น เพื่อส่งหนังให้พิจารณาว่า สามารถเข้าไปฉายในเทศกาลนั้นๆ ได้หรือเปล่า

อย่าง “งานประกาศผลรางวัลออสการ์” ทาง “สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ” ก็เป็นตัวแทนที่ออสการ์รับรองให้สามารถส่งภาพยนตร์ไทยเข้าไปประกวดได้ ซึ่งมีจะคณะกรรมการคัดเลือกว่าหนังเรื่องไหนจะถูกส่งไป

ผลักดันอย่างลับๆ?

แล้วเมื่อถามว่า รัฐบาล ช่วยผลักดันหนังไทย สู่ตลาดโลกบ้างหรือเปล่า? พรชัย บอกว่า “มี” รัฐบาล สนับสนุนให้ บริษัททำหนังต่างๆ ให้ออกไปสู้ตลาดโลกมาตลอด ในเชิงธุรกิจ ภาครัฐมีการเช่าบูธตามเทศกาลหนังต่างๆ มีการนัดผู้จัดจำหน่ายหนังมาพูดคุย ระหว่างเทศกาล

“ไม่ว่าในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม ท่องเที่ยวกีฬา หรือว่ากระทรวงพาณิชย์ อะไรอย่างนี้ เขาก็จะมีการประชุมร่วมกัน อยู่แล้วในการที่จะ ส่งเสริมในการส่งออกอะไรพวกนี้นะ อันนี้คือทำเบี้องต้นอยู่แล้วทุกปี”

ผมว่าเขาก็สนับสนุนมาต่อเนื่องนะ” พรชัย เสริมว่า การผลักดันสู่ตลาดโลก ทำมาเป็นแล้วกว่า 10 ปี แต่ใน ”สายประกวด ส่วนใหญ่เอกชนจะเป็นส่งเองมากกว่า” ซึ่ง กระทรวงวัฒนธรรมเองก็มี ทุนให้สำหรับหนังที่จะไปประกวด

“เขาก็จะมาpitchingกันก่อน เพื่อให้คณะกรรมการเป็นคนเลือกว่า เรื่องนี้เหมาะสม น่าจะมีโอกาสนะ ที่จะได้ทุน อย่างปีที่ผ่านมา ผมจำชื่อเรื่องไม่ได้ มี 3เรื่องนะที่ไป pitching ผ่าน ภาครัฐก็จะสนับสนุนเรื่อง การเดินทาง แล้วก็เรื่องที่พักให้”



ในอีกมุมจากผู้กำกับดังอย่าง “โขม” ก้องเกียรติ โขมศิริ ผู้กำกับหนังเรื่อง “ขุนพันธ์”ช่วยเผยข้อมูลผ่านปลายสายในประเด็นที่ว่า หนังไทยที่ไปได้ฉายต่างประเทศ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากน้อยขนาดไหน ด้วยคำตอบว่า “ส่วนใหญ่ก็ไปกันเองครับ”

“ไม่มีนะ เท่าที่ผมไป แล้วก็รู้มา ก็คือส่วนใหญ่เนี่ย สตูดิโอ ก็จะส่งรายชื่อหนังไปตามเทศกาลต่างๆ”

ส่วนมากก็คือ เป็นการติดต่อกับ “ตัวแทน” ของเทศกาลนั้นๆโดยตรง มีการส่งรายชื่อหนังไปเอง หรือไม่ทางเทศกาลก็ติดต่อมา และถ้าได้ไป เทศกาลมักจะเป็นคนซัปพอร์ตเรื่องที่พักหรือบางเทศกาลก็มีค่าเดินทางให้

                                                           {โขม-ก้องเกียรติ โขมศิริ}

“มีเหมือนกันที่ทางสตูดิโอเองก็ จ้างคนเหล่านี้ อยากเอาหนังไปต่างประเทศ ต้องทำยังไง เขาก็จะเริ่มไร้มาแหละ เขาก็จะให้ดูเลยว่า เทศกาลเกรดAเกรดBเกรดC หมายถึงขนาดของเทศกาล แล้วจะต้องส่งหนังยังไงไปให้เขาพิจารณา แล้วก็มาดูว่าเทศกาลไหนสนใจ และเข้ารวมได้”

“ไม่รู้นะ ถ้ามีมันคงลึกลับมาก” คำพูดติดตลกของ โขม ถึงเรืองที่ว่า “รัฐมีการสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง” เพราะจากที่เดินทางไปหลายเทศกาล “แต่ไม่เคยได้เงินสนับสนุนจากภาครัฐเลย”

“แต่ในแง่ของที่ว่า มีเงินทุนให้ไป สนับสนุนให้ไปไหน อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าคนอื่นเขาได้หรือเปล่า แต่ว่า ส่วนใหญ่เท่าที่รู้ไม่มีนะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น สตูดิโอ สตูดิโอยังไม่ค่อยอยากจ่ายเลยอะ”



“โขม” เสริมว่า ส่วนใหญ่ที่เห็นคือ “บูธของหนังไทย” ตามเทศกาลหนังต่างๆ จากทางกระทรวงวัฒนธรรม หรือสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ที่เช่าพื้นเอาไว้แล้วใคร จากจะเอาหนังไปฉายก็แบ่งๆพื้นที่กันไป ในบูธของไทย

รัฐควรทำอะไรมากกว่านี้หรือเปล่า? ผู้กำกับขุนพันธ์ ยอมอดีตให้ฟังว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตอนที่ “เสี่ยเจียง” ผู้ก่อตั้งบริษัท “สหมงคลฟิล์ม จำกัด” ยังเป็นนายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ มีเงินสนับสนุนจากรัฐกว่า 10 เพื่อพาทีมงานหนังไทย ไปเมืองคานส์

“คือจริงๆ แล้วนะรัฐควรเป็นเจ้าภาพในการชนกับต่างประเทศ ขยันส่งแล้วก็คนที่ทำงานด้านนี้ ก็ควรจะเป็น คนที่มีความรู้ด้านภาพยนตร์”

สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live
ขอบคุณภาพ : เฟซบุ๊ก “อั้ม อิราวัต”, “Thibaan Channel” , th.wikipedia.org ,www.vox.com , variety.com ,www.infobae.com




** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **




กำลังโหลดความคิดเห็น