xs
xsm
sm
md
lg

ตำรวจไทยสร้างความเชื่อมั่นไม่ได้!? ผุดความคิด พา “ตำรวจจีน” ลาดตระเวน “จีนเทา”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อยากพา “ตำรวจจีน” เข้ามาไทย เพราะชาวจีนจะได้มั่นใจมากขึ้น!! ยืนยันโครงการนี้ได้ผลใน “อิตาลี” นักท่องเที่ยวบอก “จีนเทาเกรงตำรวจจีน” มากกว่า “ตำรวจไทย”!!

“ตำรวจจีน” มาไทย ใครขอ?

กลายกระแสดราม่าหนักเมื่อไม่กี่วันมานี้ กับการเตรียมขอดำเนินการให้ “ตำรวจจีน”เข้ามาลาดตระเวนและดูแลนักท่องเที่ยวจีนในไทย ตามที่ ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยกับสื่อเอาไว้

“เรามีการคุยกับทางสถานทูตจีนที่จะมีโครงการที่เรียกว่า โครงการลาดตระเวน เราจะเอาตำรวจจากประเทศจีน มาที่เมืองไทย มายังสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเมืองหลัก”

อ้างเหตุผลว่า “เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวจีน” เพราะเมื่อตำรวจจีนเข้ามาจะได้เห็นว่า ประเทศไทยมีการยกระดับความปลอดภัยอย่างไรบ้าง “ตำรวจจีนก็จะเป็นกระบอกเสียง” ส่งต่อให้คนจีนมั่นใจขึ้น ซึ่งโครงการแบบนี้ เคยเกิดขึ้นที่ “อิตาลี” และประสบความสำเร็จอย่างมาก



แต่กลับได้รับกระแสตอบรับจากสังคมในแง่วิจารณ์หนัก ถึงความจำเป็นและความเหมาะสม ทำให้ ชัย วัชรงค์โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พูดถึงประเด็นนี้ว่า ความคืบหน้าเรื่องจะให้ตำรวจจีนมาตระเวนดูแลความปลอดภัยนั้น ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

การประชุมครั้งล่าสุด เป็นหารือระหว่าง ททท. กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ถึงเรื่อง “ปัญหาความปลอดภัยของท่องเที่ยวจีน”ที่เกี่ยวกับ “กลุ่มจีนสีเทา”

และทาง สตช. รายการว่า ในมุมมองของนักท่องเที่ยวจีน “กลุ่มจีนเทา มีความกลัว ตำรวจจีนมากกว่า”ทำให้ นักท่องเที่ยวจีน รู้สึกปลอดภัยเป็นพิเศษ ถ้ามีตรวจจีนเข้ามาดูแล

ดังนั้น ตำรวจไทย จึงคิดว่าการปราบ “จีนสีเทา”ที่ดีทีสุด คือขอให้ตำรวจจีนเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงานเพื่อให้ตำรวจไทยได้รับข้อมูลและเบาะแสที่แม่นยำรวดเร็วขึ้น



ต่อมา "บิ๊กต่อ" พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ออกมายืนยันกับสื่อว่า“ไม่เห็นด้วย” ในเอาตำรวจจีน มาดูแลนักท่องเที่ยวจีนในไทย เพราะเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย

และย้ำว่าตำรวจไทยมีศักยภาพพอในการดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยว และแนวคิดนี้ทาง สตช. ไม่ได้เป็นคนเสนอ อาจเป็นการเข้าใจผิดทางด้านการสื่อสาร

ดึงคนนอกมา จัดการตัวเองดีหรือยัง?

“คนจีนจะมั่นใจขึ้น”หรือ “จีนเทากลัวตำรวจจีนเป็นพิเศษ”เป็นคำพูดที่น่าสนใจ ทางทีมข่าวจึงขอชวนคุยกับ “ดร.โต้ง”รศ.พ.ต.ท.ดร. กฤษณพงค์ พูตระกูลรองอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาฯ ม.รังสิตว่า สิ่งเหล่านี้สะท้อนปัญหาอะไรหรือเปล่า?

“มิติหนึ่งก็จะสะท้อนในเห็นถึง ความเชื่อมั่นและศรัทธาของคนจีนที่มีต่อตำรวจไทยว่า ทำไมเขามา ถึงต้องร้องขอให้มีตำรวจจีนเข้ามาดูแลคนของเขา เป็นเพราะเขาไม่เชื่อมั่นตัวตำรวจไทยหรือ อันนี้เป็นคำถามที่ตั้งไว้ได้เช่นกันนะครับ”

ในมุมหนึ่ง มองว่าแนวคิดนี้อาจจะดี ในแง่ของการ “ประสานข้อมูลกันระหว่างตำรวจไทยและตำรวจจีน”เพื่อจับการกับ “กลุ่มจีนเทา”แต่ก่อนจะดึงคนนอกเข้ามา เราจัดการตัวเราเองหรือยัง?

ก่อนหน้านี้ทาง “UNODC” (สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ) เคยเสนอวิธี ดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมข้ามชาติ ว่าต้องมีอะไรบ้าง

                                        {ดร.โต้ง-รศ.พ.ต.ท.ดร. กฤษณพงค์ พูตระกูล}

อย่างต้องมี เจ้าหน้าที่ “เลซอง” ที่ค่อยประสานงานระหว่างประเทศ และต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงลึก กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และยังเสนอว่าต้อง พัฒนาความสามารถของเจ้าหน้าที่ ในการจัดอาชญากรรมข้ามชาติเหล่านี้ด้วย

“ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ใน 2 ประเทศ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย ประการต่อมาคือ การจัดทำระบบฐานข้อมูลของ แก๊งเครือข่ายเหล่านี้ ที่มักจะกระทำความผิดข้ามพรมแดน”

ประเด็นคือUNODC มีข้อเสนอหลายอย่าง แต่จากข้อมูลพบว่า เรายังไม่ได้ทำ บ้างทำแล้วแต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การจับการกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีส่วนข้องกับจีนเท่า “เราทำหรือยัง”



ส่องโมเดล “อิตาลี” อาจไม่ได้มาแค่ดูแล

โครงการนี้เกิดขึ้นที่ “อิตาลี” จริงแต่ประสบความสำเร็จหรือเปล่า ดร.โต้ง เล่าให้ฟังว่า ในประมาณปี 2015 มีโครงนำร่องแบบนี้ ใน โรม มิลาน ฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นเมืองในอิตาลีที่มี “ชาวจีนอยู่เยอะ”

“แนวคิดก็คือส่งตำรวจจีนมาเนอะ แล้วก็ทำงานรวมกับตำรวจที่นั้นในพื้นที่ เพื่อต้องการที่จะดูแลให้บริการกับคนจีน เขาอ้างว่าอย่างนั้นนะครับ”

แต่มุมหนึ่ง องค์สิทธิมนุษย์ชนในยุโรปกลับพบว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีข่มขู่คนจีน และที่สำคัญมีการส่งตัวคนจีน เห็นต่างกับรัฐบาลจีนกลับไปดำเนินคดี ซึ่งมันก็ไปขัดกับหลังการ”สิทธิมนุษยชนของยุโรป” สุดท้ายโครงการนี้ก็ “ถูกยกเลิกไป”

“กลายเป็นว่า ตำรวจจีนมาจริง แต่ไม่ได้มาดูเรื่องการให้บริการเท่านั้น แต่มาหาข้อมูลในเชิงลึก เชิงลับ”



ดร.โต้ง เสริมว่าตรงนี้เองก็มีส่วนทำให้คนวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการเอาตำรวจจีนมาลาดตระเวนในไทย เพราะอย่างที่รู้กัน “จีน” มีความเชื่อเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” แตกต่างยุโรปและอเมริกา “แล้วก็เชื่อว่ามีความแตกจากประเทศไทย”

จากเรื่องที่เกิดใน อิตาลี ถ้าตำรวจจีนเข้ามาจริงๆ จะมีปัญหาอะไรตามมาหรือเปล่า? กูรูรายเดิมช่วยอธิบายว่า ประเด็นแรกคือเรื่อง“อำนาจอธิปไตย”ตามหลักสากล อำนาจการบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นของรัฐบาลไทย

ตำรวจจีน จะไม่สิทธิใช้อำนาจจับกุมในเขตดินแดนเรา เพราะไม่อย่างนั้นจะเท่ากับว่า เราสูญเสียอำนาจอธิปไตยไป และย้อนแย้งกับรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่ 2 คือ “กฎหมายไทยกับจีน มีความแตกต่างกัน” และการบังคับใช้ก็ต่างกัน ดร. เชื่อว่าจีนมีความเข้มงวดกว่าไทยเยอะ เพราะด้วยรัฐบาลยังมีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์อยู่



“ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกับการบังคับใช้กฎหมายของบ้านเรา เพราะมีการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจหมิ่นเหม่ ซึ่งเราทราบกันดีที่บอก 2 มาตรฐานอะนะครับ”

และอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ ดร.โต้ง บอกว่า ถ้าเราให้ตำรวจจีนเข้ามา แล้ววันหนึ่งประเทศอื่นทำบ้างล่ะ โดยบอกเหมือนกันว่า ต้องการมาดูแลคนของประเทศตัวในไทย นี้อาจให้เกิดความวุ่นวายตามมา

จากศึกษาในหลายประเทศ นักอาชญาวิทยา ท่านนี้บอกว่า ส่วนใหญ่การทำงานระหว่างประเทศ “ลักษณะเป็นประสานขอข้อมูล ขอความรวมมือ” มากกว่าที่จะเน้นไปทาง “บังคับใช้กฎหมายในประเทศนั้น”

“หลักสากลคือ จะเน้นการประสานงาน ระหว่าง 2 ประเทศ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หมายจับบุคคลเฝ้าระวังต่างๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปทำงานในประเทศนั้นๆ ไปทำงานก็ไปได้แต่ฐานะประสานงาน ไม่ใช้บังคับใช้กฎหมาย”

สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live



** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **




กำลังโหลดความคิดเห็น