กลับมาแล้ว!! “PM 2.5” ขาประจำ “กทม. มีแนวโน้มค่า PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น” วิเคราะห์หนักถ้าต้องเจอฝุ่นทุกปี มีแผนรับมือระยะยาวหรือยัง? นักรณรงค์ชี้ “ยังมีจุดบอด”
ไหน? “แผนฝุ่นแห่งชาติ”
“PM 2.5” กลับมาอีกแล้ว เมื่อ “กรมควบคุมมลพิษ” ประกาศว่า ระหว่างวันที่ 24-25 ต.ค.66PM 2.5 มีแนวโน้มสูง ในพื้นที่กทม., สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นครปฐม, ปทุมธานี และนนทบุรี
คงเป็นปัญหาที่เราจะต้องเจอทุกปี กับเจ้าฝุ่นพิษอย่าง “PM 2.5”วันนี้ทีมข่าวจึงชวนคุยกับ “โบนัส” อัลลิยา เหมือนอบ นักรณรงค์ด้านมลพิษทางอากาศ กรีนพีซประเทศไทย องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมว่า ตอนนี้เรามีแผนรับมือระยะยาวบ้างหรือยัง?
“ต้องบอกว่า ถ้าเราพูดเรื่อง การแก้ไข้ปัญหาเรื่องฝุ่นเนี่ย แน่นอนว่ามันไม่สามารถแก้ได้ภายใน 1 หรือ 2 ปี อยู่แล้ว ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 20 ปี หรือ 30 ปี เพราะว่า มันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนน่ะค่ะ”
ตอนนี้ไทยเองก็มี “แผนฝุ่นแห่งชาติ”ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ในแผนก็มีการระบุรายเอียด แผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะปลาย และก็มีบอกว่ามกระทรวงไหนบางที่รับผิดชอบ จะมีการแก้ปัญหา เชิงนโยบาย ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแผนฉบับนี้กำลังจะสิ้นสุดในปีหน้า หรือปี 2567
{โบนัส-อัลลิยา เหมือนอบ}
“เท่าที่ทราบข่าวมาจากทางภาครัฐก็คือ ปีนี้ไปจนถึงปีหน้า เขากำลังเตรียมร่างแผนการแก้ปัญหาฝุ่นแห่งชาติ ฉบับใหม่ เพื่อต่อยอดจากปี 67 ก็จะเป็นปี 68 ไปอีก 5 ปี เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ ฝุ่นตอนนี้ค่ะ”
ส่วนด้าน กรีนพีช มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม(Enlaw)และมูลนิธิบูรณะนิเวศ กำลังขับเคลื่อน “พ.ร.บ.PRTR” เป็น กฎหมายที่ให้ “รัฐต้องเปิดและรายงานแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหมดในประเทศไทย”
“เราจะได้มีฐานข้อมูลมลพิษทั้งหมดด้วยว่า สุดท้ายตัวฝุ่นเนี่ยมันมีปล่อยมาจากที่ไหนบ้าง เท่าไหร่บ้าง จะได้มีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด”
เพราะแม้เราจะมีข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษ “แต่ก็ไม่ได้มีข้อมูลทั้งหมดทั่วประเทศ” ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่า โรงงานทั้งหมดในประเทศ ปล่อยมลพิษออกมาเท่าไหร่ ควันจากการเผา ในภาคเกษตรทั่วประเทศจริงๆ มีเท่าไหร่
“มันก็เลยทำให้ การแก้ปัญหาของเรา เป็นเพียงการพยายามดับไฟแบบวงกว้าง แต่ไม่ได้ดับ เฉพาะจุดมันก็เลยยังไม่ได้ตรงจุดมากขนานนั้นค่ะ ”
“จุดบอด” ปัญหาฝุ่นพิษ
นักรณรงค์จากกรีนพีซรายเดิมบอกว่า การแก้ปัญหาเรื่อง “ฝุ่น” ของไทยก้าวหน้ามากขึ้น ถ้าเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้วการจากตื่นตัวของสังคมและการลงแรงของภาครัฐ แต่ก็มีจุดบอดอยู่เหมือนกัน
“จุดบอดหนึ่งที่เราเจอเลยคือ เรื่องของ การมองปัญหานี้เป็นปัญหา เชิงฤดูการ เพราะมันจะมีฤดูหนึ่งที่เป็น ฤดูการเผา ที่ฝุ่นมันจะเยอะ แล้วทุกคนก็จะมาโฟกัส ทุ่มทรัพยากร เพียงแค่ในฤดูที่มันเป็น ฤดูฝุ่น”
แต่พอหลังจากนั้น “การทำงานในการจัดการปัญหานี้ก็หายไป” ทำให้ปัญหาเรื่อง “ฝุ่น” ได้ถูกจัดการอย่างสม่ำเสมอและส่วนใหญ่มักเป็นการ แก้ปัญหาระยะสั้น
“ระบบการแก้ปัญหาระยะยาวค่อนข้างเบาบาง ถ้าดูจากแผนของภาครัฐ”
ปัญหาPM 2.5ไม่ได้จากไฟป่า หรือสภาพอากาษอย่าง ส่วนหนึ่ง โรงงาน ภาคการจราจร และการเกษตร ให้เกิดคำถามว่า เรามีการบังคับใช้ กฎหมายควบคุมมลพิษอย่างจริงจังหรือเปล่า? นักรณรงค์ ท่านนี้อธิบายว่า
“ต้องบอกว่า การบังคับใช้กฎหมายเนี่ย ก็ขึ้นอยู่กลับ หน่วยงานต้นสังกัดเนอะ ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นโจทย์ยาก ของประเทศไทยเหมือนกันเนอะ ว่าเราไม่มีหน่วยงานที่ดูแล ด้านสิ่งแวดล้อมแบบเบ็ดเสร็จ”
“กรมควบคุมมลพิษ” เป็นผู้ตรวจสอบและประเมินสถานการณ์ แต่ไม่มีอำนาจในควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ ส่วนใหญ่เป็นการ “ข้อความรวมมือ” เช่นปัญหามาจาก การจราจร ก็ต้องไปข้อให้ “ตำรวจหรือขนส่ง” ช่วยดูแล
หรือถ้าแหล่งกำเนิดฝุ่นมาจาก ภาคการเกษตร ก็ไปขอที่ ”กระทรวงเกษตร”ถ้ามาจากโรงงานอุตสาหกรรม ก็ประสานไปที่ “กระทรวงอุตสาหกรรม” ช่วยดูแล ทำให้ทับซ้อนและล่าช้า
“ตอนนี้บ้านเรามีกรมควบคุมมลพิษ แต่ไม่มีอำนาจสั่งการ”
ตอนนี้ “เครือข่ายอากาศสะอาด” กำลังผลักดัน “พ.ร.บ.อากาศสะอาด” เพื่อแก้ปัญหาอำนานในการจัดการ และความทับซ้อนของหน่วยงานต่างๆ ที่กระจัดกระจ่ายกันอยู่ ให้การจัดการ มลพิษทางอากาศที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
“พ.ร.บ.อากาศสะอาด จะพูดถึงการรวมอำนาจไว้ที่หน่วยงานหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องมีการตั้งใหม่ หรือโยกย้าย เพื่อที่จะให้เกิด ศูนย์จัดการมลพิษทางอากาศนี้ขึ้น เพื่อปรับแก้ความซับซ้อม และการซ้อมทับในเชิงอำนาจ”
เทียบมาตรการทั่วโลก
ปัญหา PM 2.5เป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องเจอ แล้วในต่างประเทศเขาจัดการกันยังไง? “โบนัส” จากกรีนพีช ยกตัวอย่าง “อังกฤษ” เป็นประเทศต้นๆที่มีการจัดการ มลพิษทางอากาศได้ดี และต้นกำเดินของ พ.ร.บ. อากาศสะอาด
พ.ร.บ. อากาศสะอาดของ อังกฤษ เป็นแผนระดับชาติ ที่มีทั้งแผนระยะสั้น และแผนระยะยาวถึง 10 ปี แถมยังต้องอัพเดทแผนการแก้ไข้ทุก 2-3 ปี เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังมีบทลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ที่ก่อมลพิษ
“ส่วนที่สำคัญของตัว พ.ร.บ. อากาศสะอาดของอังกฤษ เขาตั้งหน่วยเฉพาะสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะดูแลเรื่อง มลพิษทางอากาศโดยเฉพาะ”
ด้านประเทศอย่าง “อเมริกา” ก็มีการทำ “ฐานข้อมูลการปล่อยมลพิษ” หรือtoxic release inventory(TRI) ทำให้สามารถคำนวนได้ว่า หากต้องการลดมลพิษลง ต้องไปจัดการที่ตรงไหน
“ทำให้การแก้ปัญหาของเขา ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้นด้วย”
ถ้าใกล้บ้านเราหน่อย โบนัส บอกว่าก็ต้องยกตัวอย่าง “สิงคโปร์” ที่มี “กฎหมายมลพิษระว่างหระเทศ” เนื่องสิงค์โปรได้รับผลกระจาก “หมอกควันข้ามพรมแดน” ที่เกิดใน ประเทศมาเลเซียกับอินโดนีเซีย
โดยจะมีตัวตรวจจับจุดความร้อน ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ว่าตรงไหนคือแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่ลอยเข้ามาในสิงคโปร์ ว่าจากพื้นที่ป่า หรือเกิดจากการเผาในภาคเกษตร โดยทำงานประสานกัน หลักๆจะเป็นการข้อความรวมมือ
“แต่จริงๆ ตัวกฎหมายของเขามันเปิดทางให้ สามารถฟ้องร้องตัว เจ้าของพื้นทีเกษตรนั้น ที่เป็นตันกำเนิดมลพิษได้ด้วย ”
สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live
ขอบคุณภาพ : เฟชบุ๊ก “ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ” , “กรมควบคุมมลพิษ”
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **