xs
xsm
sm
md
lg

“8 บรรทัดต่อปี” เก่าแล้ว นักอ่านยุคใหม่ “80 นาทีต่อวัน” แค่แพลตฟอร์มเปลี่ยนไป

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เก่าแล้ว“8 บรรทัดต่อปี” คนไทยรักการอ่าน แต่ด้วยโลกที่เปลี่ยนไป “การอ่านเลยไม่เหมือนเดิม”? เมื่อสื่อออนไลน์เข้ามา “สำนักพิมพ์” จะปรับตัวยังไงไม่ให้ “ล้มหายและตายจาก”?

“พฤติกรรมเปลี่ยน” หนังสือกลายเป็น “ของสะสม”

ในยุคสมัยที่โลกเปลี่ยนไป ทุกอย่างเข้าไปอยู่ใน “แพลตฟอร์ม”ออนไลน์ไม่ว่าเป็นเรื่อง ดูหนัง ฟังเพลง แม้แต่การอ่าน แล้ววงการ “หนังสือ”ละมีการปรับตัวหรือได้ระบผลกระทบบ้างหรือเปล่า?

ก่อนเริ่มคงต้องพูดเรื่องวาทกรรมที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือปี 8 บรรทัด” ชวนคุยกับ “ต้น” สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ว่าเรื่องนี้จริงหรือเปล่า?

“คำนี้มันเก่ามากแล้วนะครับ จริงๆประเด็นนี้มันตั้งแต่ ปี 58 แล้วเราก็ฝั่งจำกันมาว่า คนไทยอ่านหนังสือแค่ 8 บรรทัด แต่จริงๆแล้วผลสำรวจที่มีเรื่อยๆเนี่ย คือการอ่านมันดีขึ้นเรื่อยๆ ในที่สำรวจล่าสุดคือโดยเฉลี่ย 80 นาทีต่อวัน และเพิ่มขึ้นเรี่อยๆ”

                                                     {ต้น-สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์}

“ต้น” อธิบายว่า สถิติการอ่านเพิ่มขึ้นทุกปี “แต่พฤติกรรมของนักอ่านนั้นเปลี่ยนไป” จาการอ่านหนังสือเล่ม เปลี่ยนไปอ่านแบบออนไลน์ ในแพลตฟอร์มต่างๆแทน

“ถ้าถามว่า การอ่านลดลงไหม ไม่ครับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆปี ครับ”

และไม่ใช่แค่ เปลี่ยนจากหนังสือเล่มไปอ่านแบบออนไลน์เท่านั้น “คนเดียวนี้ยังนิยมอ่านอะไรที่มันสั้นๆ“เพราะยุคนี้คนชอบอะไรที่มันรวดเร็ว แล้วเทรนที่เปลี่ยนไปเหล่านี้กระทบกับ วงการหนังสื่อหรือเปล่า? ต้นบอกว่า

 
“คือแน่นอนหนังสือเล่มมันก็มีผลกระทบครับ แต่ว่ามันก็ดีอย่าง ทำให้ตัวสำนักพิมพ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในที่นี้หมายถึง ทำอย่างไรให้ตัวหนังสือที่ออกมามีความหน้าสนใจมากขึ้นทำในรูปแบบแพคเกจใหม่ ให้น่าสนใจน่าซื้อ”

“เดียวนี้ หนังสือ กลายเป็นของสะสมแล้วนะ” นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ อธิบายว่า ในตอนนี้ที่ ทุกอย่างสามารถหาอ่านได้ใน ถือมือ ได้ทุกเวลา แต่กลับการอ่าน “หนังสือเล่ม เวลาพกไปไหนมันก็ลำบาก”

“หนังสือมันกลายเป็นของสะสมไปแล้ว เพราะฉะนั้นเนี่ย ทางสำนักพิมก็ปรับตัวนะ เพื่อจะให้หนังสื่อเล่มยังคงอยู่ในท้องตลาด”



“ล้มหายตายจาก” และ “การปรับตัว”

ที่ผ่านมาเราเห็น ร้านหนังสือและวารสารหลายเจ้าค่อยๆปิดตัวลง ภาพที่เกิดขึ้นคือผลกระทบของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปหรือเปล่า? “ต้น”เลยได้อธิบายให้ฟังว่า

“ก็คือ แน่นอนหนึ่งตอนนี้ที่ ปรับตัวลดลงและหายสาบสูญไปก็มี พวกหนังสือพิมพ์นะครับ และตัววารสารเอง”

“วารสาร”หรือ“หนังสือพิมพ์” มีต้นทุนในการผลิตที่สูง แต่ในสมัยก่อนที่สามารถอยู่ได้ก็เพราะ “ค่าโฆษณา”แต่พอโลกมันเปลี่ยนไปมี “โซเชียลมีเดีย”เกิดขึ้น โฆษณาไปลงตรงนั้นมากกว่า เพราะได้ผมดีกว่า และค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

“เขาไปลงในโลกโซเซียลได้ผลกว่า คือลดต้นทุนในการใช้จ่ายต่างๆ ก็ทำให้วาสารเองไม่มีโฆษณาเข้า พอไม่มีโฆษณาเข้า ก็ต้องผิดตัวที่ละรายสองราย อย่างนี้ครับ”



แต่สำนักพิมพ์หลายที่เอง ก็ปรับตัวเข้ามาอยู่ในออนไลน์ และ “ช่วงโควิด” ก็ทำให้สำนักพิมพ์ได้เรียนรู้ว่า นอกจากการขายหน้าร้าน ก็ต้องปรับมาขายในออนไลน์ด้วย “แล้วก็ทำได้ดีด้วยนะครับ”

“คือธุรกิจหนังสือเล่มเนี่ย ปรับตัวลดลงจริงนะครับ แต่หนังสืออนไลน์ก็ยังมีคนสั่ง และก็เพิ่มอย่างมากเลยนะครับ”

“ต้น” อธิบายต่อว่า แม้ยอดขายหนังสือแบบออนไลน์จะดีมาก แต่สำนักพิมพ์เองก็ไม่อย่างให้ “หนังสือเล่มของเขาตาย” ทำต้องปรับรูปเล่มและรูปแบบให้ดูดึงดูดและน่าสนใจ “ทำให้เขาขายได้ทั้งสองทาง ทั้งออนไลน์และเวลาเขาไปเปิดหน้าร้าน”

สรุปคือ หนังสือและวาสรยังไม่ตาย แต่แค่เปลี่ยนรูปแบบไปอยู่ในออนไลน์มากขึ้น? “ต้น” บอกว่า หนังสือทั่วไปอย่าง พ็อกเก็ตบุ๊ค นิยาย นิยายแปลต่างๆ ยังคงอยู่แต่ “ไอ้วารสารเนี่ยจะตายลงเรื่อยๆ นะ”



“จริงๆแล้ววารสารตอนนี้มันไม่ใช้สิ่งจำเป็นแล้วนะครับ แม้แต่ข่าวสาร หนังสื่อพิมพ์เดียวนี้ยังไม่ทันออนไลน์เลยถูกต้องไหมครับ”

แต่ถ้าพูดถึงนิยาย หนังสือฮาวทู ที่มันยังคงอยู่เพราะว่า “มันยังมีเสน่ห์ของเขาอยู่ครับ” เห็นได้จากงานหนังสือที่จัดในทุกปี ที่ปีล่าสุดมีคนมา 2 ล้านกว่าคน

“ในงานมันมีเสน่ห์ หนึ่งนักอ่านเองก็ได้มาเจอนักเขียน ได้มาสัมผัสตัวรูปเล่มจริง และจริงๆ ก็คืออ่านออนไลน์กับอ่านหนังสือมันก็มีอารมณ์ที่ต่างกันนะครับ”



สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live
ขอบคุณภาพ : เฟซบุ๊ก “งานหนังสือ”



** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **




กำลังโหลดความคิดเห็น