เพราะอะไร “Twitter” ถึงกลายเป็น ”X” ? กูรูชี้ อาจเพราะ “ทำเงินน้อย” เลยรีแบรนด์ แต่ทิศทางจะเป็นอย่างไร ดีไหม ลองอ่านบทวิเคราะห์นี้ได้เลย
X =ไอเดียสร้างเงินของ “อีลอน”?
คงต้องบอกลา “เจ้านกสีฟ้า” กันแล้ว เมื่อ “อีลอน มัสก์” CEOและเจ้าของTwitterได้ทำการเปลี่ยนโลโก้และชื่อของ “Twitter”เป็น “X”พร้อมบอกว่าจะทำให้มันกลายเป็น “Super App”ที่มีครบจบทุกอย่าง ในตัวมันเอง
ทีมข่าวเลยชวนคุยกับ ต้อม-อรรถพล ทะแพงพันธ์ Founder & CEO จาก iMoD เว็บไซต์ข่าวและสื่อเกี่ยวกับวงการITว่า ทิศทางและเป้าหมายเปลี่ยน ครั้งนี้คืออะไร
“ผมมองว่า เป้าหมายหลักของเขาเลยนะคือ การรีแบรนด์ เพื่อที่จะทำอะไรบางอย่าง ทำอะไรเพิ่มเติม อาจสงสัยว่า ทำไปทำไม ทำเพื่ออะไร”
ต้อม เท้าความให้ฟังว่า “อีลอน มัสก์” เป็นนักธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องการเงิน ที่ชื่อว่า“X.com”มาตั้งแต่ปลายยุค 90 และก็ถูกซื้อไปโดยPayPalทำให้เขาเอาเงินตรงนั้นไปลงทุน ในธุรกิจอื่นๆ ต่อมา
Twitterเป็นแอพที่ส่งแต่ข้อความ แต่จะสร้างรายได้ได้ยังไง อย่างมากก็แค่การ ยิงโฆษณา แต่ อีลอน มัสก์ เคยทำแอพบริการด้านการเงินX.comทำให้ “ไอเดียการสร้างเงินของ อีลอน มัสก์ยังคงมีอยู่”
แต่ก่อนTwitterถูกมองว่าเป็นPlatformข่าวสารที่รวดเร็วและเราสามารถติดตามกระแสในโลกโซเชียลได้แบบ real time แต่กลับสร้างรายได้ได้น้อยกว่าคู่แข่งอย่างFacebookทั้งที่มีผู้ใช้งานกว่า 300 ล้านคน
การทำให้เป็นSuper Appอาจมีการเพิ่มฟังก์ชัน บริการด้านการเงิน เข้าไปในตัวของ “X” เพราะ อีลอน มัสก์ ก็มีประสบการณ์ในการทำแอพรูปแบบนี้มา และมองว่าอาจมีการเพิ่ม “fan subscriptions” เข้าไปอีกด้วย
“แน่นอนเราอาจรู้จักsubscriptionหลายคนอาจจะรู้จักอย่าง Onlyfansคนยอมจ่ายค่าsubscriptionsแม้กระทั้งYouTubeก็มีfan member Facebookเองก็มีfan memberที่จะsubscriptionsผมมองว่าtwitterมันมีทางมันที่จะไปได้”
เมื่อถาม ต้อม ว่าการรีแบรนด์ “อีลอน มัสก์ “ของหารายได้คืนจากTwitterหรือเปล่า? เพราะตอนที่ซื้อมา ราคามันสูงมาก จนให้หลายคนคิดว่าเป็นการลงทุนที่ ไม่คุ้มเลย
“ใช้ครับ เพราะว่า นักธุรกิจทุกคน ไม่อยากจะเอาเงินมาพลาดเล่นๆ แรกๆอาจจะมองว่า อีลอน มัสก์ รวยแล้วมาทำขำๆ เพราะความอยากของตัวเอง ผมมองว่าเขาไม่น่าจะคิดสั้นอย่างนั้น ผมว่าเขาน่าจะมองเห็นอะไรบางอย่าง ที่มันน่าจะขยายตัวได้”
“X” จะดีไหม? ยังไม่มีใครรู้
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ นักวิเคราะห์ มองว่า อาจไม่ดีต่อ แบรนด์ แล้วในมุมของCEO iMoD คิดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลอย่างไร?
“จริงๆ ผมมองว่า การเปลี่ยนแปลง มันมีสองฝั่งมาตลอด บางคนก็ชอบ บางคมก็ไม่ชอบ แต่เรายังไม่รู้จริงๆว่า การเปลี่ยนแปลงมันจะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดี ผมคิดว่าทุกการเปลี่ยนแปลงมันจะดีขึ้นเสมอ แต่จะดีขึ้นในรูปแบบไหน”
สมัยก่อนเราเคยเห็น แอพสายการบิน ที่จองตั้วได้อย่างเดียว แต่หลังๆ ก็สามารถ จองโรมแรม เรียกแท็กซี่ ในตอนแรกคนอาจจะไม่ชินกับมัน แต่พอบริการต่างๆ มันถูกรวมไว้ในที่เดียวกัน คนก็เริ่มชินและปรับตัวได้
“จริงๆความรู้สึกของคนใช้twitter ผู้ใช้ก่อนที่ อีลอน มัสก์ จะมาซื้อ ผมมองว่าเขาก็ไม่แฮปปี้ ต้องบอกก่อนว่าTwitterนี้เป็นคนขี้บ่นเล่นนะ แต่เราไม่ได้บอกนะว่าทุกคนเป็นแบบนั้น เล่าให้เห็นภาพเฉยๆ”
คนใช้ Twitterรู้สึกไม่ดีตั้งแต่ตอนที่ อีลอน มัสก์ ประกาศจะซื้อTwitterแล้ว และยิ่งตอนมาเป็นเจ้าของ มีการปลดพนักออก หรือให้พนักงานทำงานหนักแบบสุดขีด “เราเห็นข่าวแบบนี้เรารู้สึกอย่างไง เรารู้สึกไม่ดีอยู่แล้ว”
“อารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้หากเจอการเปลี่ยนแปลงก็จะมีทั้งต่อต้านและเห็นด้วย แต่เราก็ต้องดูไปก่อนว่าท้ายสุดแล้วTwitterเปลี่ยนXนั้นจะเป็นยังไง คงยังไม่มีใครคอนเฟิร์มได้ว่าอนาคตเป็นเช่นไร เพราะนี่แค่เพิ่งเริ่มต้น”
เมื่อถาม ต้อม ว่าแล้วจากที่มีการเปิดตัวPlatformใหม่ที่หลายคมมองว่าเป็นคู่แข่งกับTwitterอย่างThreadหรือBlueskyตอนนี้กระแสเป็นอย่างไรบ้าง?
“เอาจริงๆThreadมันพลุแตก เพราะ มันมี Facebook กับ IG อยู่รวมกัน ยังไงมันก็คนใช้เยอะอยู่แล้ว ในช่วงตอนแรกนะ แต่ความตื่นเต้นตอนนั้น มันจะอยู่ตลอดหรือเปล่า”
แน่นอนว่าตอนเปิดตัวใหม่ คนตื่นเต้นมาก แต่ระยะหลังคนก็ให้ความสนใจน้อยลอง ส่วนตัวต้อม มองว่าการใช้งาน “Threads” ยุ่งยากและเยอะเกินไปอีกทั้งก็ยังไม่ได้โดดเด่นกว่าTwitter และฟีเจอร์ของThreadsต่างๆก็ยังไม่ได้น่าสนใจมาก
“คือแต่ละPlatformมันมีข้อดีของมัน ใครจะจับอะไรออกมาโดดเด่น ถ้ามันไปซ้ำกับคนอื่น ไอ้ที่เกิดหลังๆ มันอาจจะเห็นแววว่า ไปได้ แต่มันก็อาจจะไม่ได้ไปได้จริงๆ”
“จ่าย=ทางเลือก”
แต่ครั้งหนึ่ง ยอดคนใช้Twitterลดลงถึง 50%หลังจากมีการจำกัดการดูต่อวัน และต้องมีการจ่ายเพิ่มเพื่อจะเข้าเนื้อหาที่มากขึ้น การที่Platformต่างๆพยายาม บีบให้เราต้องจ่ายเงินมากขึ้น อันนี้มันจะส่งผลให้คน เลิกใช้Platform นั้นๆหรือเปล่า? CEO iMoDอธิบายว่า
“ยกตัวอย่าง ง่ายๆเลยนะครับ เมื่อก่อนเราโหลดMP3 ฟังเพลงถูกไหม เราไรต์เพลงกันฟรี แจกกันกระจุยกระจาย แต่พอมีSpotify, Apple Music มีJoox พฤติกรรมของ ผู้บริโภคมันเปลี่ยนไป”
ตอนนี้ผู้ใช้รู้แล้วว่า สิ่งที่พวกเขาได้รับมามันมีต้นทุนมันไม่ควรฟรี แต่การเลือกที่จะจ่ายนั้น เขามองว่ามัน “ตอบโจทย์หรือเปล่า” ถ้ามันตอยโจทย์ เขาก็ยอมจ่าย “ผมว่าคนเริ่มชินกับกาจ่ายเงิน เพื่อชื้อบริการต่างๆแล้วนะ”
และมองอีกมุมหนึ่ง แบบคนใช้ที่เข้าใจนักพัฒนา เจ้าของแพลตฟอร์มและเหล่าครีเอเตอร์ ในPlatformนั้นๆ อย่างน้อยสิ่งที่คนเหล่านั้นทำสื่อออกมาให้คนได้เสพและเขาได้ประโยชน์ เขาก็พร้อมจะสนับสนุน
“เหมือนเรานั่งรถเมล์ฟรี แต่เราอยากนั่งรถแอร์ เราก็ต้องจ่ายเงิน เขาก็ต้องมีเทียร์สำหรับผู้ใช้ ซึ่งมองว่าเขาก็รับได้แหละ ถ้ารับไม่ได้คือเราทำอะไรได้ เราก็ต้องเลิกใช้ แล้วผมคิดว่า โอเคtwitterมันก็ไม่ได้บังคับ ว่าเราจะต้องจ่ายเงินทุกคน มันก็ยังใช้งานฟรีได้อยู่”
ต้อม อธิบายต่อว่า การจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อใช้งานฟีเจอร์ต่างของPlatformเป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งเท่านั้น และยังยกประเด็นที่น่าสนใจว่า ถ้าเราคนเป็นที่ใช้งานPlatformนั้นอย่างจริงจรัง หรือมันสร้างรายได้ให้กับเรา กูรูITท่านนี้มองว่า
“ผมมองว่า คนที่จะจ่ายตังค์ให้twitterผมว่าไม่ใช่คนส่วนใหญ่นะ ผมว่าเป็นพวก แบรนด์ พวกคนทำงาน เจ้าของเพจถ้าเป็นของFacebookนะเพราะเราก็ได้ประโยชน์จากเพจ อะไรแบบนี้ คนที่ใช้งานมันหนักจริงๆ ใช้มันจริงๆ จ่ายในระดับนี้ ผมมองว่าเป็น Win-Win Situationสำหรับนักพัฒนาหรือเจ้าของPlatformด้วย
ดูโพสต์นี้บน Instagram
สัมภาษณ์ : ทีมข่าว MGR Live
คลิป : จิตริน เตื่อยโยชน์
พากย์เสียง : ดรงค์ ฤทธิปัญญา
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **