xs
xsm
sm
md
lg

เทรนด์วัยรุ่นเกาหลีเสพติดความผอม!! กับ “Eating Disorder” จากปาก “ยิบซี” [มีคลิป]

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์





“ยิปซี” เปิดใจ ลดน้ำหนักมากไป จนกลายเป็น “โรคจิต” สื่อเกาหลีบอก วัยรุ่นกิมจิ “เสพติดความผอม” จิตแพทย์ย้ำ เหตุมาจากทั้งปัญหาทางกายและใจ แถมได้ซึมเศร้าจากภาวะนี้อีกต่างหาก

มากเกินไป ก็กลายเป็นโรคจิต
“วันพรุ่งนี้เช้า ที่ฉันจะชั่งน้ำหนัก ตัวเลขมันต้องลดลงดิ” คำพูดของ ยิปซี-คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์ ดาราสาวที่ออกมาเล่าประสบการณ์ไดเอท จนกลายเป็น “โรคทางจิต” ผ่าน TikTok
ตอนนั้นเธอเป็นอาการที่เรียกว่า “Eating Disorder” เกิดจาการควบคุมน้ำหนักของเธอ งดแป้ง คุมแคลอรี่ อดข้าวเย็น เอาอะไรเข้าร่างกายให้น้อยที่สุด และเอาออกให้มากที่สุด ทำให้จิตใจจดจ่ออยู่ที่น้ำหนักบนตราชั่ง “เเต่ทุกคนเชื่อไหมว่า บางทีมันไม่ลด บางวันข้าวเย็นไม่ได้กินเเต่น้ำหนักเพิ่ม”

มันเลยทำให้เธอเครียด และมีปัญหาของการเข้าสังคมไม่ได้เลย กลายเป็นคนกลัวอาหารปกติ เพราะเคยเป็นคนกินคลีนจัดๆ พอกินอาหารปกติเเค่ไม่กี่มื้อ ก็บวมขึ้นมาเลย
“ใช้เวลานานมากกว่าจะก้าวออกมาจากจุดนั้นได้ กว่าจะตัดใจโยนเครื่องชั่งน้ำหนักทิ้งออกไป เพราะว่าติดมาก ติดดูตัวเลขมาก ทุกเช้าที่เหยียบแล้วเลขไม่ได้ออกมาอย่างที่พอใจ ร้องไห้ วันนั้นทั้งวันไม่มีความสุข” 



ยิปซี ยังพูดทิ้งท้ายเอาไว้ว่า อย่าให้ความสุข ถูกกำหนดด้วยตัวเลขของตาชั่ง รูปร่างหรืออะไรก็ตาม สุดท้ายหาบาลานซ์และดูแลสุขภาพจิตของตัวเองด้วย

ทั้งนี้ “Eating Disorder” คือ อาการทางจิตอย่างหนึ่ง เป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติเกี่ยวกับการกิน ที่เกิดอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ผลมาจากหลายปัจจัย ขาดความเชื่อมันในตัวเอง โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า หรือค่านิยมเกี่ยวกับรูปร่างที่ผอมบาง อาการนี้มี 2 อาการหลักๆ
 


1.อะนอเร็กเซีย (Anorexia Nervosa) หรือบางคนเรียก “โรคคลั่งผอม” อาการหลงผิดคิดว่า อ้วนกว่าความเป็นจริง จำกัดการกินและจำนวนแคลอรี่แบบสุดโต่ง อาจหมกมุ่นกับการออกกำลังกาย ใช้ยาถ่าย หรือล้วงคอให้อาเจียนออกมา โดยคิดว่า “ต้องรักษารูปร่างให้ผอมบางอยู่เสมอ”
2.บูลลิเมีย เนอร์โวซา (Bulimia nervosa) วงจรการกินที่ผิดปกติ มีการกินอาหารเป็นปริมาณมาก จากนั้นจะรู้สึกผิดและซึมเศร้าในพฤติกรรมนี้ ก่อนจะ “ล้วงคอ” ให้อาเจียนออกมา


วัยรุ่นกิมจิ นิยม “ความผอม”
แต่เหมือนกับว่า “Anorexia Nervosa”โรคคลั่งผอม จะกลายเป็นเทรนด์หนึ่งของวัยรุ่นเกาหลีไปเสียแล้ว เมื่อkorea joongang dailyออกมารายงาน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า จำนวนรัยรุ่นที่เป็น “Eating Disorders”เพิ่มอย่างมาก
จากข้อมูลของ “Health Insurance Review and Assessment Service (HIRA)”ของเกาหลี ระบุว่า คนที่เข้าโรงพยาบาลจากอาการ “Anorexia Nervosa”เพิ่มถึง 30% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นผู้หญิง 70% และในนั้นเป็นวัยรุ่นถึง 25%

                                {สื่อเกาหลีชี้ วัยรุ่นอวดความผอม อวดขาเท่าขวดเครื่องดื่มชูกำลัง}

เด็กมัธยมต้มคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ กับkorea joongang dailyว่า ตอนนี้เธอสูง 160 ซม.หนัก 34 กก. และเธอกำลังลดน้ำหนักเหลือแค่ 29 กก.อยู่เพราะ เธออิจฉาคนผอม และตอนนี้เธอยังคิดว่าตัวเองอ้วนตัวอยู่
ส่วนเด็กสาววัย 16 อีกคน ซึ่งตอนนี้กำลังรักษาตัวจาก โรคคลั่งผอม บอกว่า “สังคมชอบหุ่นเพรียวบาง แม้แต่คนดังก็ผอมกันหมด นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันถึงยกย่องพวกเธอ”
                                 {เทรนด์เกาหลีน่าห่วง “เกลียดคนอ้วน” ต้องเร่งแก้ไข}

ซาง วู โอ จากโรงพยาบาลDongguk University Ilsan Hospitalบอกเอาไว้ในรายงานนี้ว่า “สังคมมีการแข่งขันที่สูงมาก จนทำให้วัยรุ่นรู้สึกคล้อยตามกับสิ่งที่คนอื่นพูดเกี่ยวกับร่างกายของพวกเขา ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมการกินที่อันตรายเหล่านี้”
และยังมีกลุ่มที่เรียกว่า“Pro-ana”ย่อมาจากPro-Anorexiaคือ กลุ่มคนที่ส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติเหล่านี้ ที่เขียนและแชร์วิธีลดน้ำหนักแบบสุดโต่ง ลงในสื่อออนไลน์ และมองว่า ตัวเองไม่ได้ป่วย แต่เป็นวิธีดำเนินชีวิตรูปแบบหนึ่ง


มาจาก ทั้งกาย-จิตใจ
สาเหตุภาวะ “Eating Disorder”มาจากหลายปัจจัย โดย พ.ต.ต.หญิง พญ.ดลนภา รัตนากรแพทย์เฉพาะทางทางด้านจิตเวชFounder “SynZ ”คลินิกสุขภาพใจออนไลน์ ได้อธิบายให้ทีมข่าวฟังว่า
“เราต้องแบ่งเป็นสองฝั่งนะคะ หนึ่งคือสภาพร่างกาย เรื่องของสมองเขา อีกหนึ่งคือเรื่องของจิตใจ”


                                                   {พ.ต.ต.หญิง พญ.ดลนภา รัตนากร}

“ปัจจัยทางกายภาพ”คือ สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งจะคล้ายกับโรคซึมเศร้า เพราะเป็น สารสื่อสมองตัวเดียวกัน และ 80-90% ของ อาการ พวก Anorexia Nervosa , Bulimia nervosaมักมี“ภาวะซึมเศร้า”ตามมา
“ส่วนใหญ่ก็จะมาพร้อมๆ กัน แล้วแต่บางคน บางคนก็เกิดก่อน บางคนก็เกิดหลัง อย่างBulimia nervosaพอเขากินไปเยอะๆ เขาก็ไปล้วงคออ้วก เขาก็จะรู้สึกผิด ไม่น่าทำแบบนี้เลย ไม่น่ากินแบบนี้เลย”
และอีกด้านคือ “สาเหตุทางด้านจิตใจ” ส่วนมากจากการเลี้ยงดู หรือจากครอบครัวที่เข้มขวด ทำให้เขาขาดความมั่นใจในตัวเอง และมีSelf-Esteem (การเห็นคุณค่าในตัวเอง)ที่ไม่ค่อยดี



“ในสถาวะทุกวันนี้ นะค่ะ พวกเราก็ให้คุณค่ากับคนที่ผอม ถูกไหม เพราะฉะนั้น เขาที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเองอยู่แล้ว ในรูปร่างหน้าตา เขาก็จะพยายามทำให้รูปร่างเขาโอเค อย่างน้อยก็เป็นSelf-Esteemอย่างหนึ่ง มันคือความมั่นใจของเขาอย่างหนึ่ง”
แพทย์หญิง ยังอธิบายต่อว่า คนที่มีพฤติกรรม “Eating Disorder” บางคนก็สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ร่างกายปกติ แต่ก็จะอยู่ได้สักระยะหนึ่ง พอผอมมากร่างกายก็จะขาดสารอาหาร และทำให้มีโรคจต่างๆ ตามมา หรือ “ทำให้เสียชีวิตได้”



“อย่างBulimiaที่กินเยอะๆ แล้วก็ลวงคออ้วก สักวันหนึ่งกระเพาะก็จะมีปัญหา เป็นโรคกรดไหลย้อน คนพวกนี้ก็จะมาด้วยสภาพแบบนี้ค่ะ ส่วนAnorexiaคือเขาอดอาหารจน ผอมเกินไป อันนี้ส่วนใหญ่ญาติก็จะพามาส่ง ส่วนใหญ่จะมาตอนที่อาการเยอะแล้ว”
ส่วนเรื่องการรักษา ต้องรักษาทั้งร่างกายและด้านจิตใจ ต้องกินยาเพื่อปรับเคมีในสมอง เพราะ 80%มักมีเรื่อง “ภาวะซึมเศร้า”พ่วงมาด้วย ต้องแก้ภาวะซึมเศร้าก่อน แล้วอาการ “Eating Disorder”ก็แก้ไขง่ายขี้น และต้องการบำบัดพฤติกรรม อย่างอาการBulimiaที่กินแล้วล้วงคออ้วก ไม่ให้พฤติกรรมแบบนั้นอีก





ดูโพสต์นี้บน Instagram

โพสต์ที่แชร์โดย LIVE Style (@livestyle.official)



สัมภาษณ์ : ทีมข่าว MGR Live
คลิป : จิตริน เตื่อยโยชน์
พากย์เสียง : ดรงค์ ฤทธิปัญญา
ขอบคุณข้อมูล : www.pobpad.com ,www.beateatingdisorders.org.uk , koreajoongangdaily.joins.com
ขอบคุณภาพ : koreajoongangdaily.joins.com , tiktok “kittenlovesyou”



** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **




กำลังโหลดความคิดเห็น