เด็กรุ่นใหม่ไร้ความอดทน? ทำความเข้าใจทำไมคนยุคนี้ เปลี่ยนงานเป็นว่าเล่น พวกเด็กอ่อนแอ หรือแค่เราไม่เข้าใจ?
ก็มันไม่ใช่ ทำไมต้องทน!
“เด็กรุ่นนี้ไม่อดทนเลย เจอแค่นี้ก็ลาออกแล้วเหรอ” คงเป็นสิ่งที่ใครหลายเคยได้ยินมาบ่อย โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนงานกันบ่อยๆ คนรุ่นนี้ไม่มีความอดทนกันจริงๆ หรือ?
“ก็งานมันไม่ตอบโจทย์กับชีวิต”
โน้ต-ศรัณย์ คุ้งบรรพต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสรรหาและว่าจ้างบุคลากร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อธิบายถึงเทรนด์ของคนยุคนี้ว่าทำไมถึงเปลี่ยนงานกันบ่อย
“จุดหนึ่งที่ทำให้คนคิดเปลี่ยนงานคือ ไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง เมื่อเราอยากจะเข้าไปทำงานสักที่หนึ่ง สมัคร สัมภาษณ์เรียบร้อย แต่พอเดินเข้าไปสิ่งที่เจอคือ สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ใช้ในแบบที่หวังไว้ คนจะเริ่มหันกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า งานนี้คงไม่ตอบโจทย์กับชีวิตเราแล้วละ”
แล้วมันเกี่ยวกับแนวคิดที่เปลี่ยนของคนยุดนี้อย่าง Gen Y(คนที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2523 -2543) และเด็ก Gen Z (เกิดหลัง พ.ศ.2540 เป็นต้นไป) ที่เติบโตมากันคนละแบบกับคนยุคก่อนหน้า ที่ทำให้มีมุมมองต่องานและการใช้ชีวิตต่างออกไปหรือเปล่า?
“ถ้าพูดเรื่อง generation มันมองได้หลายมุม ต้องเข้าใจก่อนว่า Gen Y เขาเติบโตมาคนละแบบ มันมีเรื่องของเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง การพัฒนาของสังคมในอีกแบบหนึ่งและยิ่งเด็กที่เกิดหลังจาก Gen Y สังคมก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนยุคก่อน มันเลยมีผลกับความคิดเกี่ยวกับงานที่ว่า ทำไมเขาต้องอดทนกับอะไรนานๆด้วย”
และโดยเฉพาะยุคสมัยนี้ มีทางเลือกในอาชีพมากกว่าแต่ก่อนเยอะ ทุกคนไม่ต้องเป็น หมอ วิศวกร หรือต้องเข้าไปอยู่ในบริษัทใหญ่ๆถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ แต่ทุกวันนี้มันไม่ใช้มันมีทางเลือกให้กับเด็กๆมากขึ้น มันมีโอกาศให้กับคนรุ่นใหม่มากขึ้น เลยย้อนกลับไปที่ว่า “ถ้าตรงนี้มันไม่ใช้ แล้วทำไมต้องทนละ”
“สมัยนี้มีเครื่องมือและทางเลือกมากมาย ถ้าเขาเข้าไปอยู่ในบริษัทใหญ่แล้วมันไม่ใช้ กลับกันถ้าเขาเข้าไปอยู่ในอีกบริษัทที่ถูกจริต ตรงกับความต้องการมากกว่า ก็เป็นอีกจุดหนึ่งเขาที่คิดว่า ฉันก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ที่ไหนนานๆนะ โดยเฉพาะที่ที่มันไม่ใช้”
ทำงาน ≠ ใช้ชีวิต
เมื่องานไม่ใช้สิ่งที่วัดความสำเร็จของชีวิตและไม่ใช้ทุกอย่างของชีวิต นี่เป็นความคิดของใครหลายคนในยุคนี้ ทำใหคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการ “ใช้ชีวิตมากกว่า”
Work-life Balance (ความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน) คือสิ่งหลายคนมองหาจากงาน องค์กรและบริษัทมากขึ้น นี้ก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนสมัยนี้เปลี่ยนงานบ่อยหรือเปล่า
“Life is short ชีวิตมันสั้นจะตาย”
ทรัพยากรบุคคลท่านบอกว่า มันเห็นชัดเจนในช่วง 3 ปีนี้ที่โควิด-19 ระบาดแล้วก็ทำเราเห็นคนตายหลักล้านคนทั่วโลก ทำให้คนเห็นว่าชีวิตมันสั้น หลายคมเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริงๆแล้วเราอยู่เพื่ออะไร คนเริ่มถามหาความสุขในชีวิตมากขึ้น
“สังเกตง่ายๆจากคนยุคมิลเลเนียมหรือเด็กที่เกิดหลังปี 2000 พวกเขาเริ่มมองหาสิ่งที่ตอบโจทย์กับความสุขในชีวิต ที่มันบาลานซ์และลงตัวกับชีวิตเขา มากกว่าgeneration อื่นๆ เขาเลยตั้งคำถามกับงานว่ากระทบกับชีวิตมากเกินไปหรือเปล่า”
มุมมองที่มีต่องานมันเปลี่ยนไป คนเหล่านี้เห็นสภาพแวดล้อมที่เขาเจอใน 2-3ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้พวกเขาอยากจะมองหาความสุขในการใช้ชีวิตมากกว่า
“ทำงานหนักเกินไปแล้วมันช่วยให้ชีวิตดีขึ้นยังไง ฉันทำงานเพื่อเงิน เพื่อจะได้ไปมีความสุขอย่างอื่น ทำงานให้มีเงินเพื่อไปทำตามความฝัน นี้เป็นแนวคิดที่ชัดเจนมากขึ้นในยุคหลังๆ”
“ตัวไม่ไป” แต่ “ใจไม่อยู่”
การเปลี่ยนงานบ่อยๆไม่ใช้เทรนด์การทำงานอย่างเดียวของคนรุ่นใหม่ ยังมีเทรนด์ใหม่อีกอย่างคือ “Quiet Quitting”การเบื่องานและไม่เชื่อในการทุ่มเททำงานหนักเกินความจำเป็น
เซอิด ข่านผู้ใช้ TikTok ที่ชื่อ@zaidleppelinได้มาเล่าประสบการณ์และให้ความหมายของ quiet quitting จบกลายเป็นไวรัลอยู่ช่วงหนึ่ง ตามนี้
“คุณก็ทำหน้าที่ของคุณไปแหละ แต่คุณไม่เอาด้วยแล้วกับค่านิยมทำงานหนักที่บอกว่างานต้องกลายเป็นชีวิตของคุณ เพราะในความเป็นจริงมันไม่ใช่ และคุณค่าของคุณไม่ได้ถูกกำหนดโดยปริมาณผลลัพธ์ที่ผลิตออกมา”
เมื่อถามว่าอะไรทำให้เกิด quiet quitting โน้ต บอกว่ามันเกิดได้หลายสารเหตุ อย่างหนึ่งคือ คน “Burnout”(การทำงานหนักไม่ได้พักผ่อน) และการทำงานหนักมากขึ้นแต่ค่าตอบแทนเท่าเดิม
ในช่วงโควิด-19 กลายเป็นว่าหลายคนทำงานเยอะขึ้นแต่ได้เงินเท่าเดิม ชีวิตก็ยากขึ้น งานเยอะขึ้น work from home ใครว่าสบาย กลับกันประชุมบ่อยขึ้น คาดหวังให้ส่งเร็วขึ้นอีกเพราะทำงานทุกอย่างบนอินเตอร์เน็ตได้หมด ทำให้คนรู้สึกBurnout ทำไม่ไหวแล้วและก็ทำเท่าที่ทำได้
“ความหมายอีกนัยหนึ่งของ quiet quitting คือ การลาออกแบบเงียบๆ ที่ลาออกแต่ไม่ออกจริง จะพูดว่า ลาออกทางจิตวิญญาณก็ได้ เพราะรู้สึกไม่โอเคกับงานแล้ว แต่ก็อยู่ไปแบบนี้และเพราะมันก็อยู่ได้ อยู่แบบไม่ต้องทุ่มเทอะไรกับงานมากนัก”
และถ้ามองลงมาจากมุมองค์กร องค์กรก็ยังมีพนักงานทำงานอยู่ แต่จิตใจของพนักงานไม่ได้อยู่กับงานที่ทำอยู่และมันส่งผลกระทบต่อองค์กร ทำให้องค์กรต้องเริ่มปรับตัว เพราะองค์กรต้องมีคนทำงานและนับวันคนนยิ่งมีอายุเยอะก็ต้องเกษียณออกไป องค์กรก็ต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามา
“สิ่งที่องค์กรต้องถามคือ แล้วเราจะทำยังไงเพื่อตอบโจทย์ชีวิตเด็กกลุ่มนี้ เมื่อมุมมองของเขาเปลี่ยนไป องค์กรต้องปรับตัวและเรียนรู้ว่า กลุ่มรุ่นใหม่กำลังมองหาอะไรอยู่ แต่เราก็เริ่มเห็นการปรับขององค์กรให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การทำงานของเด็กยุคใหม่บางแล้ว เพราะใครก็อยากเป็นองค์กรที่ทุกคนอยากร่วมงานด้วย”
สกู๊ป : ทีมข่าว MGR Live
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **