xs
xsm
sm
md
lg

แพ้เสียงค้านหลักล้าน!! #NoCPTPP ยุติรัฐหนุนผูกขาดพันธุ์พืช เสี่ยงอาหารแพง-เสียเปรียบจนไร้ทางเลือก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โซเชียลฯ ดัน #NoCPTPP ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย หวังคัดค้านการเซ็นข้อตกลงนำพืชไปจดสิทธิบัตร นักวิชาการชี้ “ขายฝัน เพราะว่ารัฐบาลไม่มีผลงานด้านเศรษฐกิจ” วอนเรียงลำดับการใช้จ่ายงบประมาณ สิ่งที่มีความจำเป็นก่อนทำประชาชนเดือดร้อนหนัก!!




หยุดขายฝัน! “เพิ่มการส่งออก-ดึงดูดนักลงทุน”


กลับมาเป็นประเด็นดรามาในสังคมอีกครั้ง กับการพิจารณาเข้าร่วม CPTPP ของประเทศไทย หลังกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) เผยแพร่เอกสารฉบับหนึ่งที่ระบุว่า คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เสนอเรื่องผลการดำเนินการเรื่อง “CPTPP” (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) ต่อคณะรัฐมนตรี

และเอกสารดังกล่าวยังระบุอีกว่า ถ้าหากคณะรัฐมนตรีไม่มีข้อทักท้วงใดๆ ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ หรืออนุมัติ

จนเกิดกระแสคัดค้านขึ้นในโซเชียล ว่า เป็นการทำลายความมั่นคงทางอาหาร ส่งโลกทวิตเตอร์ร้อนระอุ ติด #NoCPTPP ขึ้นเทรนด์เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เพื่อปกป้องเมล็ดพันธุ์ คัดค้านการเซ็นข้อตกลงนำพืช เมล็ดพันธุ์ไปวิจัยและจดสิทธิบัตร อีกทั้งบริษัทรายใหญ่จะผูกขาดได้ยาวนาน

เปรียบเสมือน “ข้าวคลุกกะปิ” จานเดียว ถ้าหากเข้าร่วมและจดทะเบียน CPTPP แล้วนั้น อาหารจะแพงขึ้นกว่าเดิมอีก 3 เท่า


“แน่นอนกระทบต่อคนส่วนใหญ่ของสังคม เพราะว่าอย่างสิ่งที่คณะกรรมาธิการบอก คือ ทำให้ต่างชาติมีโอกาสเอาพันธุ์พื้นเมืองไปจดทะเบียน


แต่ถามว่าพันธุ์พื้นเมือง ยังจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองปกติได้ไหม มันก็มีความเสี่ยงเกสรข้ามสายพันธุ์ จะทำลายการคัดเลือกเกษตรกรรายย่อย ส่งผลกระทบผ่านพันธุกรรมข้าว ต้นทุนเมล็ดจะสูงขึ้น 5-8 เท่า เปิดทางให้กับพืช GMO เมล็ดพันธุ์จะแพงขึ้น

ถ้าเรื่องยา กระทบทุกคน ตอนนี้อย่างเรื่องโควิด เห็นชัดว่า การพึ่งพายังไงบ้าง อันนี้ในทางกฎหมายทางเภสัชกรรม ที่เขาทำหนังสือถึงคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ ว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่จะไปเข้า CPTPP”

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีประเด็นดรามาร้อนๆ ขึ้นมาอีก ถึงผลกระทบทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งเกิดข้อสงสัยว่า CPTPP คืออะไร และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหากเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก


ทั้งนี้ เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทีมข่าว MGR Live ได้ติดต่อไปยัง “กรรณิการ์ กิจติเวชกุล” รองประธานกลุ่ม FTA Watch ให้ช่วยไขคำตอบ โดยกล่าวว่า CPTPP เป็นข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ระหว่าง 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนซ์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และ เวียดนาม

โดยที่ผ่านมา มีคนกลุ่มหนึ่งพยายามผลักดันให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก และประกาศว่า ไทยจะได้ประโยชน์มาก ทั้งการส่งออก ทั้งการลงทุน แต่ไม่มีการคำนวณว่า ผลกระทบจากการเข้าร่วมกับประโยชน์ที่ได้รับเป็นอย่างไร ความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน

“ไม่เห็นด้วยค่ะ อันนี้คือขายฝัน เพราะว่ารัฐบาลไม่มีผลงานด้านเศรษฐกิจเลย สิ่งที่พอทำได้อย่างเดียวคือขายฝัน ที่บอกว่าจะเพิ่มการลงทุน ไปดูรายการของกรรมาธิการเลยว่า


ไม่เป็นความจริง คือ รายงานทางเศรษฐกิจที่ทางกระทรวงพานิชย์ เคยทำมาอยู่บนสมมติฐานที่ไม่เป็นจริง”



[ขอบคุณภาพจาก FB “Nawapol Thamrongrattanarit]

[ขอบคุณภาพจาก FB “Nawapol Thamrongrattanarit]
ผ่านมุมมองของเธอแล้วนั้น มองว่า มีเรื่องที่น่ากังวลหลายเรื่อง ทั้งอุตสาหกรรมเกษตร ที่จะเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น หรือราคาอาหารสูงขึ้น รวมถึงนายทุนผูกขาด ทำให้ยาและอุปกรณ์การแพทย์ไม่พอใช้ มีราคาแพง

และมองว่า เป็นการขายฝัน หากเข้าร่วมจะเกิดผลกระทบต่อคนไทย มากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ

“ถ้าจะถามว่ามีผลดีอะไรบ้าง ในมุมมองของรัฐบาลที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เขาต้องการอะไรบางอย่างที่จะทำให้นโยบายของรัฐที่ทำน้อย เหมือนมีผลงาน เชื่อว่า การเข้าร่วม CPTPP อย่างน้อยทำให้ภาคธุรกิจมีความหวังว่าอย่างน้อยมันมีอะไร

แต่เอาเข้าจริง คณะกรรมาธิการก็ชี้ไว้ว่า งานศึกษาบอกว่า จะได้รับผลดี ทำให้ GDP เพิ่มเงินล้านต่อปี เพิ่มการส่งออก อันนี้ไม่จริง คือ ทางคณะกรรมาธิการ ชี้ว่า ตัวเลขนี้ไม่จริง ซึ่งการค้าเป็น 2% ของการส่งออกเท่านั้น อาจจะมีการได้เพิ่มของการส่งไก่สด และกุ้งสด แต่กุ้งแช่แข็งอันนี้ใช่

ใน CPTPP จะเปิดขึ้น และจะมีความหวังเรื่องของความต้องการอยู่ พร้อมจะมีการรวมแหล่งกำเนิดสินค้า บอกเลยว่า เนื่องจากประสบการณ์เวียดนาม ประสบปัญหาเรื่องของแหล่งกำเนิดปัญหา ว่ามันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น”





แนะรัฐเรียงลำดับการใช้จ่ายงบประมาณที่จำเป็น


ถามในมุม หากเอกสารดังกล่าว ถ้าหากคณะรัฐมนตรีไม่มีข้อทักท้วงใดๆ ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ หรืออนุมัติ การแอบตกลงของรัฐบาลมีสิทธิ์แค่ไหน เธอให้คำตอบไว้ว่า ทางนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี สามารถลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อขอเจรจาเข้าร่วมได้เลย

“มันมีสิทธิ์ทำได้ ฉะนั้น เมื่อวาน ทันทีที่เรารู้เรื่อง เราถึงเผยแพร่ให้กับประชาชน แล้วก็ขอบคุณมากๆ ทั้งสังคมไทย ทวิตเตอร์เป็นหลัก แล้วก็ทุกแพลตฟอร์มเลย ที่ช่วยกันตีเรื่องนี้

#NoCPTPP เอาแค่ขึ้นทวิตเตอร์ประมาณ 1.5 ล้านทวีต ถือว่าเยอะมากๆ เลย และในที่สุดทำให้เมื่อวาน รองโฆษกฯ ต้องออกมาแถลงว่า ไม่มีการปรับให้เซ็นเลย ยังไงต้องเข้าคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง


แต่ว่าเรายังอยากได้ยินคำอธิบายนี้จากกระทรวงการต่างประเทศ จากฝั่งของ คุณดอน ปรมัตถ์วินัย
พล.อ ประยุทธุ์ จะชี้แจงด้วยก็ได้ เพราะว่าถือเป็นเรื่องที่ใหญ่ ไม่งั้นเท่ากับคุณไม่ได้ฟังเสียงประชาชนเลย”

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า หากประชาชนไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วม CPTPP ของทางรัฐบาล และมองว่าจะเกิดสร้างเดือดร้อนให้กับคนไทย จะต้องทำอย่างไร รวมทั้งมองว่า รัฐบาลควรจะหยุดทบทวน เรียงลำดับการใช้จ่ายงบประมาณสิ่งที่จำเป็น

“ลงชื่อคัดค้าน ตอนนี้ก็เห็นลงชื่อคัดค้านกันเยอะ แต่อยากให้ใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง ทุกคนมีหน้าจอ มีเฟซบุ๊ก มีทวิตเตอร์ มีไลน์ ส่งข้อมูลปะหน้าตัวเอง ติด #NoCPTPP ทำไมเราคิดว่าทำแบบนี้ไม่ได้ เขียนออกมา เพราะว่าถ้าคุณบอกว่าดี แล้วทำไมคุณถึงงุบงิบแบบนี้


ซึ่งการงุบงิบแบบนี้ เข้าใจว่า คุณต้องสงวนท่าทีการเจรจา แต่มันไม่ใช่วิธีที่จะมาทำกับเรื่องที่ตัดสินชีวิตของผู้คน แล้วไม่ใช่แค่รุ่นเรา แต่มันเป็นคนรุ่นลูก รุ่นหลาน”

อย่างไรก็ดี ด้าน อนุชา บูรพชัยศรี โฆษกรัฐบาล ได้ออกมาชี้แจงต่อ “FTA Watch” ปมดังกล่าวเป็นการขออนุญาตต่อเวลาศึกษาออกไปอีก 50 วัน ไม่ใช่เรื่องเดินหน้า หรือไม่เดินหน้าประเทศเข้าสู่ข้อตกลงแต่อย่างใด ยืนยันประเทศไทยยังไม่มีขอเจรจาเข้าร่วม CPTPP

ล่าสุด ทางเพจ FTA Watch ตอกกลับทางรัฐบาล ว่า ถ้าไม่มี Hastag #NoCPTPP 1,400,000 ทวีต คิดหรือว่ารัฐบาลจะหยุดตีเนียนออกมาแถลงข่าวตอน 18.00 น.




ข่าวโดย : ทีมข่าว MGR Live



** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **







กำลังโหลดความคิดเห็น