ความพิการไม่ใช่อุปสรรค! เปิดใจ “แกร็บแขนเดียว” ขี่มอเตอร์ไซค์รับ-ส่งอาหาร ต่อชีวิตให้อยู่รอดในวิกฤตโควิด-19 เผย รายได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้ พร้อมขอบคุณแกร็บที่ให้โอกาส “ถ้าเลือกที่จะยอมรับโชคชะตา คุณก็จะแพ้ไปตลอด”
จากงานเสริม สู่รายได้หลักเฉียดพันบาทต่อวัน
“ผมมองว่าไม่เป็นอุปสรรค เพราะผมก็ทำได้เหมือนคนอื่นทั่วไป แต่บางคนเขาอาจจะมองว่าอันตรายบ้าง อย่างเรื่องสมดุลตัวเอง เพราะแขนขวาผมสั้นกว่า ผมอาจจะขับตัวเอียงๆ บ้าง ก็แล้วแต่คนมอง แต่สำหรับผมผมมองว่ามันไม่เป็นอุปสรรคนะ เพราะเราเป็นมาตั้งแต่กำเนิดอยู่แล้ว เราใช้ชีวิตกับมันตั้งแต่เด็ก เราเรียนรู้กับมัน”
“ฐา-ฐาปนา เย็นรักษา” พนักงานขับรถในเครือ Grab เปิดใจแก่ทีมข่าว MGR Live หลังจากที่โลกออนไลน์ได้มีการส่งต่อเรื่องราวของเขา ในฐานะ “แกร็บแขนเดียว” เพราะเป็นผู้พิการแขนขวาถึงข้อศอกตั้งแต่กำเนิด แต่ก็ไม่เคยใช้จุดนี้มาเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต
เขากล่าวถึงที่มาที่ไปของการมาเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร ว่า สืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 ที่กระทบต่องานประจำ เมื่อรายได้ลดลง ฐาจึงจำเป็นต้องหาอาชีพเสริม เพื่อให้มีเงินมาใช้จ่ายในแต่ละวัน
“ผมขับแกร็บมาปีกว่าจะ 2 ปีแล้วครับ เริ่มจากช่วงโควิดรอบแรก เพราะว่าบริษัทที่ทำงานอยู่มันได้รับผลกระทบ ทำ 4 วันหยุด 3 วัน บางอาทิตย์ก็ทำ 3 หยุด 4 วันที่หยุดเขาก็จ่าย 75 เปอร์เซ็นต์ เราอยู่บ้านแล้วก็ไม่มีอะไรทำ ค่าใช้จ่ายจากที่เราไปทำงานวันละร้อย มันก็ซื้อนู่นซื้อนี่มาทำเป็น 300 บ้าง แล้วลูกก็หยุดเรียน ปิดเทอมยาว ทำให้อยู่บ้านมันหมดเยอะกว่าไปทำงาน ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น เราก็คิดว่าอย่างนี้ไม่ได้แล้ว
เพื่อนก็ขับแกร็บอยู่ เราก็ไปสอบถามเพื่อน เพื่อนก็แนะนำให้ไปสมัคร มันมีศูนย์รับสมัครอยู่แถวบ้าน เราก็ไปสมัคร ยื่นหลักฐาน เราก็มีเอกสารครบทุกอย่าง จากนั้นเขาก็ให้เราขับ เริ่มจากขับวันหยุด รายได้มันก็โอเคนะ เพิ่มจากวันหยุดก็มาเป็นหลังเลิกงาน ก็วิ่งเอาพอแค่ค่ากินซัก 2-3 เที่ยว ไว้เป็นค่ากินของวันพรุ่งนี้ ไว้เติมน้ำมัน ไว้ให้ลูก
จนเมื่อสิ้นปี 63 เกิดการเปลี่ยนแปลงของบริษัท ทำให้เราอยู่แล้วก็ลำบาก เราก็ขอลาออกมา จากนั้นก็มาขับเต็มตัวตั้งแต่มกราถึงปัจจุบัน ตอนนี้ก็ได้สอบติดของธนาคารออมสินแล้ว อาจจะได้เริ่มงานเร็วๆ นี้ครับ”
สำหรับรายได้ในแต่ละวันนั้น อาจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานจากลูกค้า แต่เขาจะพยายามให้ได้วันละ 800 บาท ต่อการทำงาน 12 ชั่วโมง ซึ่งก็เป็นจำนวนที่สามารถดูแลสมาชิกในครอบครัวได้
“ผมจะตั้งเป้าว่าผมต้องได้ 800 บาทต่อวัน มีบางวันไม่ได้ก็มีนะ บางวันได้ก็มี บางวันได้มาก 800 เราก็มาถัวเฉลี่ยกับวันที่เราไม่ถึงเป้า ซึ่งมันไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าวันนึงเราต้องได้เท่านี้ เพราะมันขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งของลูกค้าด้วย ขึ้นกับปริมาณงานด้วยครับ
ผมวิ่งทุกวัน บางวันถ้าเราได้ยอดก็โอเคแล้ว เราเข้าบ้านดีกว่า เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 12 ชั่วโมงครับ เพราะเรารู้ลิมิตของตัวเอง แต่ 12 ชั่วโมงเราก็ไม่ได้ขับตลอด มันก็มีรองานเข้าบ้าง ช่วงเราพักก็มี ถ้าวันไหนเราเหนื่อยเราก็หยุด ฝนตกเราก็ไม่ออกแล้ว มันอันตราย
เวลาลูกค้าบางคนเห็นเขาก็ตกใจ ‘โหพี่เก่งจังเลย ขับได้ไง’ บางคนเขาบอกว่า ‘พี่สุดยอดเลย ขยันมาก’ ส่วนมากเขาจะชื่นชมนะ แต่บางคนก็บอกว่าอันตราย เป็นห่วงเรา บางคนเขาก็ให้ทิปเรา”
“อย่ามีข้ออ้างในการทำงาน”
เมื่อถามถึงรูปแบบการทำงานนั้น ฐาให้คำตอบว่า ทางต้นสังกัดอย่างแกร็บอนุญาตให้เขารับ-ส่งอาหาร และสิ่งของได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสผู้พิการให้มีรายได้อีกด้วย
“ทางบริษัทแกร็บฟู้ดเขาปิดระบบเราเลยว่าเราไม่มีสิทธิเปิดรับคน เพราะเขาก็คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร เราก็แค่ส่งฟู้ด ส่งสิ่งของ พวกเอกสารเป็นหลัก แต่ส่วนมากจะวิ่งฟู้ดมากกว่าครับ
วัยเกษียณบางคนมาขับแกร็บก็มี สูงอายุ 61 ปีก็มีนะ เกษียณมาอยู่บ้านเฉยๆ เขาก็เบื่อ มาขับแกร็บขับอะไร เขาเปิดโอกาสให้คนที่สามารถทำได้ ก็ขอบคุณแกร็บที่ให้โอกาสผม ถ้าโควิดช่วงนั้นไม่ได้ขับแกร็บก็อาจจะแย่เลย เพราะว่ามันมืดรอบด้าน ช่วงตกงานก็ยังมีแกร็บรองรับอยู่ ก็โอเค รายได้ก็พอๆ กับงานประจำที่ทำอยู่นะ”
อีกประเด็นที่ผู้คนสงสัยว่าเขาขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างไร คำตอบที่ได้คือ ในส่วนของยานพาหนะจะมีการดัดแปลงเพื่อให้หนุ่มแกร็บแขนเดียวผู้นี้ใช้งานได้อย่างสะดวก อีกทั้งเขายังมีใบอนุญาตในการขับขี่ถูกต้องตามกฎหมาย
“มันขึ้นอยู่กับเราไปคุยกับขนส่งยังไง แล้วก็ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างด้วย ถ้าพิการมากอย่างพิการทางสายตา ตาบอดข้างเดียวก็ไม่สามารถทำได้ อย่างผมแขนขวาขาด แต่เราดัดแปลงรถให้สามารถขับเป็นปกติได้ เช่น ย้ายเบรกจากด้านขวามาเบรกด้านซ้าย แล้วคันเร่งก็มีตัวช่วย จากเดิมต้องใช้มือบิด อันนี้เราใช้แขนขวาที่เราขาดกดลงไป คล้ายๆ เร่งคันเร่งของรถยนต์ แค่กดเครื่องก็เร่ง เราอยากผ่อนคันเร่งเราก็ปล่อย
การสอบใบขับขี่เหมือนคนทั่วไปเลย ตั้งแต่สอบข้อกากบาท สอบคะแนน แล้วก็สอบปฏิบัติ การทรงตัว การเลี้ยว ถ้าเราสามารถขับได้ หรือสามารถสอบเหมือนคนทั่วไปได้เขาก็ยินดีครับ แต่ใบขับขี่ของผมจะมีดอกจันขึ้นเป็นพิเศษ
และปกติคนที่ต่อใบอนุญาตขับขี่ เขาแค่สอบการตอบสนอง เช่น เหยียบคันเร่ง ไฟแดงให้แตะเบรก ทดสอบสายตา ผมต้องไปสอบใหม่หมดเลย แต่ไม่ได้สอบข้อเขียน สอบขับ สอบปฏิบัติด้วย เพราะเขาจะดูว่าความพิการเรามันยังขับได้อยู่มั้ย ร่างกายเราถดถอยลงมั้ย ประมาณนี้ครับ”
สุดท้ายนี้ หนุ่มสู้ชีวิต ได้ฝากข้อคิดถึงสังคมว่า อยากให้มองปัญหาที่เข้ามาให้เป็นดั่งบททดสอบ ซึ่งหากยอมแพ้ตั้งแต่ต้น ก็ไม่มีวันที่เราจะเอาชนะได้ …
“ผมมองว่า คนเราไม่ควรหาข้ออ้างในการที่ไม่ทำอะไร บางคนอาจจะมือเท้าดีกว่าผม หาข้ออ้างไปเรื่อย สำหรับผมมันไม่มีข้ออ้างใดๆ เลย อยู่ที่ว่าคุณจะทำหรือไม่ทำมันเท่านั้น บางคนก็อ้างนู่นอ้างนี่ ไม่มีรถบ้าง มันเหนื่อย มันร้อน มันอันตรายบ้าง ผมมองว่าความจนมันน่ากลัว ตื่นมาเราก็ยังจนอยู่ถ้าเราไม่ทำมาหากิน ถ้าเราทำมาหากินมันไม่มีคำว่าจน
อยากให้ทุกคนมองปัญหาทุกอย่างเป็นบททดสอบในชีวิตของเรา ถ้าเราผ่านมันไปได้ ผมเชื่อว่าต่อให้วันข้างหน้าคุณต้องเจอบททดสอบแบบนี้ คุณก็สามารถผ่านไปได้ แต่ถ้าคุณเลือกที่จะยอมแพ้กับมัน เลือกที่จะยอมรับโชคชะตา โดยคุณไม่ทำอะไรเลย คุณก็จะแพ้ไปตลอด แต่ถ้าคุณเลือกที่จะฮึดสู้ ต่อให้มันอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อยคุณก็ลุกขึ้นมาสู้ และผมเชื่อว่าซักวันชีวิตของคุณก็จะประสบความสำเร็จในวันข้างหน้าครับ
และช่วงเทศกาลหลายคนก็ออกต่างจังหวัด ก็อยากให้ทุกคนตั้งสติ ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ตั้งสติในการขับรถ ตั้งสติในการใช้ชีวิต ตั้งสติในการเดินทาง ผมเชื่อว่า ถ้าทุกคนมีสติ อุบัติเหตุก็จะลดลง แล้วชีวิตของเราในครอบครัวที่เขารอคอยเรา เขาก็จะไม่ต้องมาเสียใจกับอะไรก็แล้วแต่ที่มันอาจจะเกิดขึ้นครับ”
ข่าวโดย : ทีมข่าว MGR Live
ขอบคุณภาพ : เฟซบุ๊ก “Thapana Yenraksa”
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **
จากงานเสริม สู่รายได้หลักเฉียดพันบาทต่อวัน
“ผมมองว่าไม่เป็นอุปสรรค เพราะผมก็ทำได้เหมือนคนอื่นทั่วไป แต่บางคนเขาอาจจะมองว่าอันตรายบ้าง อย่างเรื่องสมดุลตัวเอง เพราะแขนขวาผมสั้นกว่า ผมอาจจะขับตัวเอียงๆ บ้าง ก็แล้วแต่คนมอง แต่สำหรับผมผมมองว่ามันไม่เป็นอุปสรรคนะ เพราะเราเป็นมาตั้งแต่กำเนิดอยู่แล้ว เราใช้ชีวิตกับมันตั้งแต่เด็ก เราเรียนรู้กับมัน”
“ฐา-ฐาปนา เย็นรักษา” พนักงานขับรถในเครือ Grab เปิดใจแก่ทีมข่าว MGR Live หลังจากที่โลกออนไลน์ได้มีการส่งต่อเรื่องราวของเขา ในฐานะ “แกร็บแขนเดียว” เพราะเป็นผู้พิการแขนขวาถึงข้อศอกตั้งแต่กำเนิด แต่ก็ไม่เคยใช้จุดนี้มาเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต
เขากล่าวถึงที่มาที่ไปของการมาเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร ว่า สืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 ที่กระทบต่องานประจำ เมื่อรายได้ลดลง ฐาจึงจำเป็นต้องหาอาชีพเสริม เพื่อให้มีเงินมาใช้จ่ายในแต่ละวัน
“ผมขับแกร็บมาปีกว่าจะ 2 ปีแล้วครับ เริ่มจากช่วงโควิดรอบแรก เพราะว่าบริษัทที่ทำงานอยู่มันได้รับผลกระทบ ทำ 4 วันหยุด 3 วัน บางอาทิตย์ก็ทำ 3 หยุด 4 วันที่หยุดเขาก็จ่าย 75 เปอร์เซ็นต์ เราอยู่บ้านแล้วก็ไม่มีอะไรทำ ค่าใช้จ่ายจากที่เราไปทำงานวันละร้อย มันก็ซื้อนู่นซื้อนี่มาทำเป็น 300 บ้าง แล้วลูกก็หยุดเรียน ปิดเทอมยาว ทำให้อยู่บ้านมันหมดเยอะกว่าไปทำงาน ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น เราก็คิดว่าอย่างนี้ไม่ได้แล้ว
เพื่อนก็ขับแกร็บอยู่ เราก็ไปสอบถามเพื่อน เพื่อนก็แนะนำให้ไปสมัคร มันมีศูนย์รับสมัครอยู่แถวบ้าน เราก็ไปสมัคร ยื่นหลักฐาน เราก็มีเอกสารครบทุกอย่าง จากนั้นเขาก็ให้เราขับ เริ่มจากขับวันหยุด รายได้มันก็โอเคนะ เพิ่มจากวันหยุดก็มาเป็นหลังเลิกงาน ก็วิ่งเอาพอแค่ค่ากินซัก 2-3 เที่ยว ไว้เป็นค่ากินของวันพรุ่งนี้ ไว้เติมน้ำมัน ไว้ให้ลูก
จนเมื่อสิ้นปี 63 เกิดการเปลี่ยนแปลงของบริษัท ทำให้เราอยู่แล้วก็ลำบาก เราก็ขอลาออกมา จากนั้นก็มาขับเต็มตัวตั้งแต่มกราถึงปัจจุบัน ตอนนี้ก็ได้สอบติดของธนาคารออมสินแล้ว อาจจะได้เริ่มงานเร็วๆ นี้ครับ”
สำหรับรายได้ในแต่ละวันนั้น อาจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานจากลูกค้า แต่เขาจะพยายามให้ได้วันละ 800 บาท ต่อการทำงาน 12 ชั่วโมง ซึ่งก็เป็นจำนวนที่สามารถดูแลสมาชิกในครอบครัวได้
“ผมจะตั้งเป้าว่าผมต้องได้ 800 บาทต่อวัน มีบางวันไม่ได้ก็มีนะ บางวันได้ก็มี บางวันได้มาก 800 เราก็มาถัวเฉลี่ยกับวันที่เราไม่ถึงเป้า ซึ่งมันไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าวันนึงเราต้องได้เท่านี้ เพราะมันขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งของลูกค้าด้วย ขึ้นกับปริมาณงานด้วยครับ
ผมวิ่งทุกวัน บางวันถ้าเราได้ยอดก็โอเคแล้ว เราเข้าบ้านดีกว่า เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 12 ชั่วโมงครับ เพราะเรารู้ลิมิตของตัวเอง แต่ 12 ชั่วโมงเราก็ไม่ได้ขับตลอด มันก็มีรองานเข้าบ้าง ช่วงเราพักก็มี ถ้าวันไหนเราเหนื่อยเราก็หยุด ฝนตกเราก็ไม่ออกแล้ว มันอันตราย
เวลาลูกค้าบางคนเห็นเขาก็ตกใจ ‘โหพี่เก่งจังเลย ขับได้ไง’ บางคนเขาบอกว่า ‘พี่สุดยอดเลย ขยันมาก’ ส่วนมากเขาจะชื่นชมนะ แต่บางคนก็บอกว่าอันตราย เป็นห่วงเรา บางคนเขาก็ให้ทิปเรา”
“อย่ามีข้ออ้างในการทำงาน”
เมื่อถามถึงรูปแบบการทำงานนั้น ฐาให้คำตอบว่า ทางต้นสังกัดอย่างแกร็บอนุญาตให้เขารับ-ส่งอาหาร และสิ่งของได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสผู้พิการให้มีรายได้อีกด้วย
“ทางบริษัทแกร็บฟู้ดเขาปิดระบบเราเลยว่าเราไม่มีสิทธิเปิดรับคน เพราะเขาก็คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร เราก็แค่ส่งฟู้ด ส่งสิ่งของ พวกเอกสารเป็นหลัก แต่ส่วนมากจะวิ่งฟู้ดมากกว่าครับ
วัยเกษียณบางคนมาขับแกร็บก็มี สูงอายุ 61 ปีก็มีนะ เกษียณมาอยู่บ้านเฉยๆ เขาก็เบื่อ มาขับแกร็บขับอะไร เขาเปิดโอกาสให้คนที่สามารถทำได้ ก็ขอบคุณแกร็บที่ให้โอกาสผม ถ้าโควิดช่วงนั้นไม่ได้ขับแกร็บก็อาจจะแย่เลย เพราะว่ามันมืดรอบด้าน ช่วงตกงานก็ยังมีแกร็บรองรับอยู่ ก็โอเค รายได้ก็พอๆ กับงานประจำที่ทำอยู่นะ”
อีกประเด็นที่ผู้คนสงสัยว่าเขาขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างไร คำตอบที่ได้คือ ในส่วนของยานพาหนะจะมีการดัดแปลงเพื่อให้หนุ่มแกร็บแขนเดียวผู้นี้ใช้งานได้อย่างสะดวก อีกทั้งเขายังมีใบอนุญาตในการขับขี่ถูกต้องตามกฎหมาย
“มันขึ้นอยู่กับเราไปคุยกับขนส่งยังไง แล้วก็ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างด้วย ถ้าพิการมากอย่างพิการทางสายตา ตาบอดข้างเดียวก็ไม่สามารถทำได้ อย่างผมแขนขวาขาด แต่เราดัดแปลงรถให้สามารถขับเป็นปกติได้ เช่น ย้ายเบรกจากด้านขวามาเบรกด้านซ้าย แล้วคันเร่งก็มีตัวช่วย จากเดิมต้องใช้มือบิด อันนี้เราใช้แขนขวาที่เราขาดกดลงไป คล้ายๆ เร่งคันเร่งของรถยนต์ แค่กดเครื่องก็เร่ง เราอยากผ่อนคันเร่งเราก็ปล่อย
การสอบใบขับขี่เหมือนคนทั่วไปเลย ตั้งแต่สอบข้อกากบาท สอบคะแนน แล้วก็สอบปฏิบัติ การทรงตัว การเลี้ยว ถ้าเราสามารถขับได้ หรือสามารถสอบเหมือนคนทั่วไปได้เขาก็ยินดีครับ แต่ใบขับขี่ของผมจะมีดอกจันขึ้นเป็นพิเศษ
และปกติคนที่ต่อใบอนุญาตขับขี่ เขาแค่สอบการตอบสนอง เช่น เหยียบคันเร่ง ไฟแดงให้แตะเบรก ทดสอบสายตา ผมต้องไปสอบใหม่หมดเลย แต่ไม่ได้สอบข้อเขียน สอบขับ สอบปฏิบัติด้วย เพราะเขาจะดูว่าความพิการเรามันยังขับได้อยู่มั้ย ร่างกายเราถดถอยลงมั้ย ประมาณนี้ครับ”
สุดท้ายนี้ หนุ่มสู้ชีวิต ได้ฝากข้อคิดถึงสังคมว่า อยากให้มองปัญหาที่เข้ามาให้เป็นดั่งบททดสอบ ซึ่งหากยอมแพ้ตั้งแต่ต้น ก็ไม่มีวันที่เราจะเอาชนะได้ …
“ผมมองว่า คนเราไม่ควรหาข้ออ้างในการที่ไม่ทำอะไร บางคนอาจจะมือเท้าดีกว่าผม หาข้ออ้างไปเรื่อย สำหรับผมมันไม่มีข้ออ้างใดๆ เลย อยู่ที่ว่าคุณจะทำหรือไม่ทำมันเท่านั้น บางคนก็อ้างนู่นอ้างนี่ ไม่มีรถบ้าง มันเหนื่อย มันร้อน มันอันตรายบ้าง ผมมองว่าความจนมันน่ากลัว ตื่นมาเราก็ยังจนอยู่ถ้าเราไม่ทำมาหากิน ถ้าเราทำมาหากินมันไม่มีคำว่าจน
อยากให้ทุกคนมองปัญหาทุกอย่างเป็นบททดสอบในชีวิตของเรา ถ้าเราผ่านมันไปได้ ผมเชื่อว่าต่อให้วันข้างหน้าคุณต้องเจอบททดสอบแบบนี้ คุณก็สามารถผ่านไปได้ แต่ถ้าคุณเลือกที่จะยอมแพ้กับมัน เลือกที่จะยอมรับโชคชะตา โดยคุณไม่ทำอะไรเลย คุณก็จะแพ้ไปตลอด แต่ถ้าคุณเลือกที่จะฮึดสู้ ต่อให้มันอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อยคุณก็ลุกขึ้นมาสู้ และผมเชื่อว่าซักวันชีวิตของคุณก็จะประสบความสำเร็จในวันข้างหน้าครับ
และช่วงเทศกาลหลายคนก็ออกต่างจังหวัด ก็อยากให้ทุกคนตั้งสติ ไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่ ตั้งสติในการขับรถ ตั้งสติในการใช้ชีวิต ตั้งสติในการเดินทาง ผมเชื่อว่า ถ้าทุกคนมีสติ อุบัติเหตุก็จะลดลง แล้วชีวิตของเราในครอบครัวที่เขารอคอยเรา เขาก็จะไม่ต้องมาเสียใจกับอะไรก็แล้วแต่ที่มันอาจจะเกิดขึ้นครับ”
ข่าวโดย : ทีมข่าว MGR Live
ขอบคุณภาพ : เฟซบุ๊ก “Thapana Yenraksa”
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **