xs
xsm
sm
md
lg

ย้อนรอยคดี “โกงแชร์” งานวิจัยชี้ คนไทยเสพติดการลงทุน-หวังรวยมากว่า 100 ปี

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เหยื่อไม่เคยหมดไปจากคดี“โกงแชร์” ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยก็ยังคงมีผู้ถูกล่อลวงเพราะอยากรวยจากการลงทุนทางลัดรูปแบบนี้งานวิจัยชี้คนไทยหวังรวยจาก“การเล่นแชร์” มานานกว่า100 ปีนักจิตบำบัดเตือน “เกมหลอกเงิน”ชนิดนี้สร้างนิสัย “เสพติด”ที่ร้ายแรงกว่าที่คิด!!

อึ้ง!คนไทยหวังรวยจาก “แชร์”มากว่า 100 ปี

โกงทีเดียวโกยไปถึง 28ล้าน!!หลังข่าวการโกงแชร์ของนางแบบเซ็กซี่“เอมมี่ แม็กซิม”กลายเป็นข่าวดังระดับประเทศผู้คนในสังคมก็หันมาให้ความสนใจกับการลงทุนชนิดนี้อีกครั้งพร้อมข้อสงสัยที่ว่าอะไรทำให้คนจำนวนไม่น้อยยอมวางเงินถึงหลักหมื่น-หลักแสนแม้อาจเสี่ยงต่อการถูกโกงแบบนี้

เมื่อทางทีมข่าวMGR Live ได้สืบค้นข้อมูลในเชิงลึกจึงพบคำตอบที่บอกเอาไว้ผ่านงานวิจัยเรื่อง“นโยบายรัฐในการควบคุมอาชญากรรมแชร์ลูกโซ่ที่แฝงในธุรกิจขายตรง”ซึ่งจัดทำในปี 2551โดยสายฝน รัตนภิรมย์นักศึกษาปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ที่ระบุเอาไว้ชัดเจนว่าสาเหตุที่ทำให้คนไทยนิยมเล่นแชร์เป็นอย่างมากนั้นเป็นเพราะผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าดอกเบี้ยธนาคารอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง

การเล่นแชร์ในประเทศไทยเกิดขึ้นมานานนับ100 ปีก่อนสถาบันการเงินใดๆ ทั้งหมดซึ่งการเล่นแชร์เป็นวิธีการระดมเงินมาลงทุนเนื่องจากได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปดอกเบี้ยสูงจึงทำให้มีผู้นิยมลงหุ้นเล่นแชร์มากขึ้น


และผันแปรเปลี่ยนรูปแบบแชร์ด้วยวิธีการที่แยบยลตามแนวคิดของนักธุรกิจใช้การเล่นแชร์เป็นเครื่องมือในการหมุนเวียนทางการเงินสภาพคล่องทางการเงินของระบบแชร์นี้เองทำให้รูปแบบการเล่นแชร์มีด้วยกันหลายลักษณะและหลากหลายประเภท เช่นแชร์ดอกหักแชร์ดอกตามและพัฒนาไปเป็นแชร์ที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น”
ดร.เกียรติศักดิ์ พันธ์วงศ์
บทวิเคราะห์จากดร.เกียรติศักดิ์พันธ์วงศ์อดีตประธานฝ่ายกฎหมายงานคลังจังหวัดเชียงใหม่คืออีกหนึ่งมุมมองที่ช่วยให้มองเห็นวิวัฒนาการ“การลงทุนเพื่อหวังรวย”ในสังคมไทยให้ชัดมากขึ้นไปอีกโดยได้ช่วยย้อนรอยผ่านการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เอาไว้ว่าแต่เดิมนั้นการเล่นแชร์เป็นเพียงกิจกรรมเข้าสังคมของคนในยุคนั้นที่จะเล่นกันในวงเล็กๆ 5-6คนเท่านั้นเอง

จริงๆแล้วการเล่นแชร์เริ่มต้นมาจากชาวจีนสมัยก่อนที่มักจะนัดเพื่อนมาทานอาหารร่วมกันหรือที่เรียกว่า “โต๊ะแชร์”ยิ่งถ้าใครได้เงินจากการเล่นแชร์ในกลุ่มหรือที่เรียกว่า “เปียแชร์”มาก ก็จะเลี้ยงอาหารคนทั้งวงสิ่งเหล่านี้คือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการเล่นแชร์แต่ตอนหลังถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดจึงมาเกิดเป็นแชร์ลูกโซ่ฉ้อโกงประชาชน จนกลายเป็นเรื่องอันตรายมาก”

และหลังจากเกิดคดีโกงแชร์“แม่ชม้อย” ทางภาครัฐจึงตัดสินใจทำให้“การเล่นแชร์” ถูกกฎหมายด้วยการจัดตั้ง ”พระราชบัญญัติการเล่นแชร์”ขึ้นเมื่อปี 2534

ซึ่งระบุเอาไว้ชัดเจนว่าจะเรียกว่าแชร์ได้ก็ต่อเมื่อคือการที่บุคคล 3คนขึ้นไปตกลงจะร่วมกันส่งเงินเข้ากองกลางเป็นงวดๆเพื่อให้สมาชิกหมุนเวียนกันรับเงินเป็นงวดซึ่งแต่ละงวดจะมีดอกเบี้ยให้กับคนที่รับเงินในงวดนั้นๆ ทั้งยังมีข้อห้ามบอกเอาไว้ด้วยว่าห้ามให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์,ห้ามนายวงแชร์ตั้งวงเล่นแชร์เกิน3 วง,ต้องจำกัดสมาชิกในวงแชร์ทุกวงรวมกันห้ามเกิน 30 คน,ห้ามให้จำนวนเงินกองกลางวงแชร์ในงวดนั้นๆเกิน 300,000 บาท

ทั้งนี้นายวงแชร์จะมีสิทธิได้รับประโยชน์จากเงินกองกลางได้เพียง 1 งวดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยซึ่งหากมีการฉ้อโกงในวงแชร์จะมีโทษจำคุก 6เดือนหรือปรับไม่เกิน100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

คดี “แชร์ชม้อย” ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนเล่นแชร์น้ำมัน
ย้อนรอยคดีดัง“โกงแชร์” กวาดเงินหลักล้าน!

แน่นอนว่าคดีโกงแชร์รายล่าสุดที่เกิดขึ้นกับนางแบบสายเซ็กซี่ไม่ใช่ “การโกงระดับล้าน”รายแรกในประเทศไทยเมื่อย้อนรอยประวัติศาสตร์กลับไปดูจึงพบว่ามีคดีดังจากวันวานจนถึงวันนี้อยู่ถึง4 คดีใหญ่ๆด้วยกัน

เริ่มต้นที่คดีแรกซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ภาครัฐยอมออกกฎหมายเพื่อทำให้มี“แชร์ถูกกฎหมาย” ในประเทศไทยครั้งแรกอย่างคดี “แชร์แม่ชม้อย”ซึ่งกลายเป็นคดีครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่27 ..2532สาเหตุที่คดีนี้ถูกเรียกว่า“แม่ชม้อย” ก็มาจากเจ้าของคดีคือชม้อย ทิพย์โส อดีตพนักงานขององค์การเชื้อเพลิงผู้อ้างว่าทำการค้าน้ำมันทุกชนิดทั้งที่การลงทุนค้าน้ำมันไม่มีอยู่จริง

โดยวิธีการหลอกเงินจากเคสนี้ก็คือการรับเงินลงทุนจากประชาชนกว่า80,000 รายแล้วนำเงินทั้งหมดไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยซึ่งขณะนั้นทางธนาคารเองก็ให้ดอกเบี้ยเงินฝากแก่ลูกค้าสูงมากแต่ดอกเบี้ยที่แม่ชม้อยจ่ายให้ผู้ร่วมลงทุนกลับสูงกว่า6.5 เปอร์เซ็นต์

จุดขายสำคัญของคดีนี้คือการหลอกล่อผู้ร่วมลงทุนว่าหากลงทุน 160,000บาท จะได้รับดอกเบี้ย10,600 บาทต่อเดือนจึงส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากตบเท้ากันเข้ามาร่วมลงทุนจนส่งให้เกิดการกู้ยืมทั้งหมด23,519 ครั้งรวมเป็นเงิน 4,043,997,795บาท

แต่เมื่อถูกตรวจสอบบัญชีในเชิงลึกจึงพบการฉ้อโกงเนื่องจากแม่ชม้อยใช้วิธีเอาเงินจากเหยื่อรายใหม่มาหมุนเวียนจ่ายให้กับเหยื่อรายเดิมเท่านั้นถ้าวันไหนไม่มีผู้ร่วมลงทุนรายอื่นมาสมทบก็เท่ากับวงเงินก้อนใหญ่ที่ทุกคนวางเอาไว้ก็จะหายไปด้วยสุดท้าย แม่ชม้อยและพวกจึงได้รับโทษฐานฉ้อโกงไปตามกฎหมาย

ส่วนคดีที่ 2 คือต้นกำเนิดของข่าวดังไม่แพ้กันสำหรับ “แชร์ชาร์เตอร์” ที่มีรูปแบบการฉ้อโกงคล้ายกับคดีแม่ชม้อยล่อใจลูกค้าด้วยดอกเบี้ยที่สูงถึง9 เปอร์เซ็นต์ส่งให้มีประชาชนหอบเงินมาร่วมลงทุนไม่ขาดสายโดยมี เอกยุทธ อัญชันบุตรเป็นผู้ฉ้อโกงในคดีนี้ไปกว่า 1,000 ล้านบาท
คดี “เมจิกสกิน” อวดอ้างอาหารเสริม เครื่องสำอางเกินจริง
เนื่องจากขณะนั้นภาครัฐกำลังตรวจสอบคดีโกงแชร์อย่างเข้มข้นหัวเรือการฉ้อโกงอย่างเอกยุทธเกิดกลัวความผิดขึ้นมาจึงตัดสินใจหนีออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 9..2528และกลับมาอีกครั้งเมื่ออายุความหมดไปแล้ว

คดีที่3 คดี “เมจิกสกิน” คืออีกหนึ่งปรากฏการณ์ธุรกิจความงามที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)และตํารวจกองบังคับการปราบปรามให้คำจำกัดความเอาไว้ว่าเป็นแชร์รูปแบบใหม่ที่แฝงมากับการขายตรงโดยใช้กลอุบายหลอกล่อผู้หวังรวยด้วยยอดขายเพื่อดึงให้เข้ามาร่วมลงทุนตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักแสน

พร้อมข้อบังคับที่ว่าผู้ร่วมลงทุนจะต้องสต๊อกสินค้าถึงแม้ของเดิมจะยังขายไม่หมดทั้งยังระบุแถมบังคับเอาไว้ด้วยว่าห้ามสั่งซื้อสินค้าต่ำกว่ายอด100,000 บาทส่งให้ธุรกิจตัวนี้เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ซึ่งมีผู้เสียหายถึง 904 รายเข้าแจ้งความรวมมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ 290 ล้านบาทถือเป็นข่าวโกงแชร์ดังส่งท้ายปี2561 เลยทีเดียว

และคดีล่าสุดคดีที่ 4 ที่กลายเป็นข่าวครึมโครมเมื่อ อมลวรรณ ศิริกิตติรัตน์หรือชื่อในวงการนางแบบสายเซ็กซี่ที่คนรู้จักกันในนาม“เอมมี่ แม็กซิม” ได้โกงเงินแชร์ไปกว่า28 ล้านบาทจากวงแชร์ของบ้านตัวเอง“บ้านเอมมี่” ซึ่งมีผู้เสียหายกว่า80 ราย

เอมี่ แม็กซิม ขอโทษลูกแชร์ ลั่นไม่ได้โกง
ถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะออกมาแถลงข่าวยืนยันว่าไม่ได้เป็นต้นเหตุของการโกงแชร์วงนี้เพราะเธอเองก็โดน “เปียมือที่2” โกงมาก่อนเหมือนกันแต่การกระทำของเอมมี่ที่ได้รับสิทธิเป็น “ท้าวแชร์”เป็นเจ้ามือคนแรก แล้วจู่ๆก็ออกมาโพสต์บอกลูกแชร์ว่า“ถูกโกงแชร์จึงขอยุบวง”แต่สุดท้ายกลับไปตั้งวงแชร์ใหม่ก็ทำให้ลูกแชร์วงใหญ่ปักใจว่าเธอจงใจโกงในทันที

ล่าสุดทาง“เอมมี่” ก็ได้ออกมาแถลงข่าวว่าเธอเองก็ถูกลูกแชร์โกงเงินไปกว่า40 ล้านเช่นกันจึงทำให้ไม่มีเงินส่งให้ลูกแชร์หลายรายและได้หันมา “ขายทองม้วน”เป็นอาชีพเสริม เพื่อหวังชำระหนี้ให้หมดถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะยินยอมจ่ายคืนให้ผู้เสียหายวันละ100 บาทเท่านั้นเอง

นักจิตวิทยาเผย“แชร์ = ยาเสพติด”

หลายคนคงสงสัยว่าเหตุใด“การเล่นแชร์”จึงได้รับความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถ้าลองค้นหาคำว่า “แชร์”ในโลกโซเชียลฯ จะเห็นได้เลยว่าอัดแน่นไปด้วยแฟนเพจและกลุ่มเล่นแชร์จำนวนมากบางกลุ่มมีสมาชิกเฉียดแสนนี่ยังไม่ได้รวมกับแชร์รายบุคคลที่ไม่เปิดเผยตัวตนอีกนับไม่ถ้วน
ดร.รพีพงค์ ยังวราสวัสดิ์
เพื่อไขข้อสงสัยและค้นหาเหตุผลเบื้องหลังที่ดึงดูดให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยยอมก้าวขาเข้ามาข้องเกี่ยวกับธุรกิจการลงทุนรูปแบบนี้ทางทีมข่าว MGRLive จึงต่อสายตรงไปที่ ดร.รพีพงค์ยังวราสวัสดิ์ นักจิตบำบัดทางการเงินแผนกจิตวิทยา โรงพยาบาลจุฬาเวชเพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งได้ผลออกมาว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะความอยากรวยของคนไทยซึ่งเกิดมาจากค่านิยมการแข่งขันและมองว่า “หากใครมีเงินมากก็มีอำนาจมาก”

ผมมองว่าเราอยู่ในโลกระบบทุนนิยมที่สังคมมีค่านิยมว่าถ้าใครรวยชีวิตจะดีขึ้นและมีคุณค่าในสังคมจึงทำให้ทุกคนขวนขวายความมั่งมีกันหนักขึ้นเพราะความรวยมันมีอำนาจ ซึ่งตัวเลือกหนึ่งในการกระตุ้นให้คนอยากร่ำรวยคือ “Money Game”ที่เป็นเกมหลอกกินเงินเราหรือที่รู้จักในชื่อ“แชร์ลูกโซ่” ผมไม่คอนเฟิร์มว่าเมื่อลงทุนไปแล้วจะร่ำรวยจริง

ไม่เถียงว่ามีบางคนที่ได้เงินมาจริงแต่เงินที่ได้ในคราวแรกเป็นเพียงเหยื่อล่อให้ติดกับหลงไว้เนื้อเชื่อใจไม่งั้นคงไม่มีคนติดมากถึงขนาดนี้บางคนถึงขั้นลงทุนหมดตัวเพราะขาดสติในการลงทุน”

ทั้งนี้นักจิตบำบัดรายนี้ยังได้แนะวิธีการรักษาของผู้เสพติดการลงทุนอีกว่าถ้าอยากเลิกเสพการเล่นแชร์คงต้องเข้าพบนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านนี้ซึ่งมีวิธีการบำบัดอยู่ 5วิธี แต่ก็ขึ้นอยู่กับระดับการเสพติดของผู้เสพด้วย
“เอกยุทธ อัญชันบุตร” เจ้าพ่อแชร์ชาร์เตอร์
“อย่างแรกทางเราจะแบ่งผู้เสพการเล่นแชร์ออกเป็น2 ประเภทคือ1.ผู้ที่มีปัญหาไม่มากกับ 2.ผู้เสพติดการเล่นแชร์อยากหนักจนในหัวมีแต่เรื่องการลงทุนอยู่ตลอดเวลา

โดยมีวิธีแก้5 ขั้นตอนดังนี้คือ 1.ต้องสร้างสติให้มากขึ้น,2.ต้องมีความรู้ทางการเงิน,3.ต้องคิดรอบครอบคิดทั้งด้านบวกและด้านลบให้มากขึ้น,4.ต้องได้รับกำลังใจจากครอบครัวและ 5.ต้องทำกิจกรรมบำบัดเช่นออกกำลังการนั่งสมาธิหรืออะไรก็ได้ที่ตัวเองชอบ


ผมเคยเวลารักษาคนติดแชร์นานที่สุดถึง 2ปี ชีวิตเขาถึงจะดีขึ้นเพราะอย่าลืมว่าเขาอยู่กับการเล่นแชร์ลูกโซ่มาทั้งชีวิตยังไงในหัวก็ยังมีแต่เรื่องเหล่านี้วนเวียนอยู่ดังนั้นทำยังไงก็ได้ห้ามพาเขาเข้าไปในวงเวียนเดิมอีก”

สกู๊ป: ทีมข่าว MGRLive
** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **



กำลังโหลดความคิดเห็น