หลังจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา สั่งห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีไขมันทรานส์และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะเริ่มมีผลในเดือนมกราคม 62 คนไทยจึงเริ่มตื่นตัว และหันมาใส่ใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อการบริโภคอาหารต่างๆ จากมาตราการนี้
แม้ว่ากฎหมายจะมาจากเป้าหมายขององค์กรอนามัยโลก ที่มีจุดประสงค์ในการกวาดล้างไขมันทรานส์ออกจากห่วงโซ่อาหารของโลก เนื่องจากความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการบริโภคไขมันทรานส์ แต่ผู้คนในสื่อออนไลน์ยังมีความสับสนเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เช่น เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารแต่ละชนิดแต่ละประเภทนั้น มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์หรือไม่? เราจะเลี่ยงมันได้อย่างไร? และเราจะบริโภคอะไรได้บ้าง?
ไขมันทรานส์คืออะไร และทำไมถึงต้องหลีกเลี่ยง?
ไขมันทรานส์สังเคราะห์ เป็นหนึ่งในประเภทของไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งผลิตจากกระบวนการวิธีทางอุตสาหกรรมที่ได้เริ่มต้นในปี 2445 ด้วยการเพิ่มไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช ซึ่งวิธีนี้ได้ถูกนำไปใช้ในวงกว้างเพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มาก และยังช่วยให้อาหารเสียได้ยากขึ้นอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยสมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ กับโรคที่คร่าชีวิตคนมากที่สุดในโลกอย่างโรคหัวใจ
โดยที่แย่ไปกว่านั้นคือไขมันทรานส์ ยังเป็นตัวลดระดับไขมันดี และเพิ่มปริมาณไขมันประเภทที่อันตราย อย่างเช่นคอเลสเตอรอลอีกด้วย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนั้น ไขมันทรานส์ยังมีส่วนต่อการก่อให้เกิดโรคที่ไม่ติดต่อ (NCDs) อื่นๆ เช่น โรคความดันสูง หรือ เบาหวานชนิดที่สอง
สารพัดวิธีหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
1.จดจำรายการอาหารที่มีไขมันทรานส์ไว้ให้ขึ้นใจ
การบริโภคอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมันทรานส์นั้นถูกพิสูจน์แล้วว่ามีแต่ผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และเป็นที่น่ากลัวว่าอาหารหลายชนิดนั้นเต็มไปด้วยไขมันชนิดนี้
แม้ว่าอาจจะฟังดูน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วเราสามารถสังเกตไขมันทรานส์ และหลีกเลี่ยงได้โดยง่าย เพราะส่วนใหญ่แล้วไขมันประเภทนี้จะอยู่ในมาการีน ขนมอบ อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว แป้งเค้กสำเร็จรูป และครีมแต่งหน้าเค้ก
อาหารที่มักจะมีส่วนผสมของไขมันทรานส์
มาการีน
โดนัท, พาย, คุกกี้, บิสกิต, และเค้ก
เฟรนช์ฟรายส์ และอาหารทอดส่วนใหญ่ที่ใช้น้ำมันที่ส่วนผสมของไขมันทรานส์ทอด
อาหารแช่แข็ง
ครีมเทียม
2.อ่านฉลากโภชนาการและส่วนประกอบของอาหาร
ผู้ผลิตอาหารทุกรายจะต้องระบุปริมาณไขมัน ทรานส์ลงบนฉลากโภชนาการ ซึ่งจะช่วยผู้บริโภคในการตัดสินใจ หรือเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นได้ง่ายขึ้น แท้จริงแล้วเราควรเลือกอาหารหรือขนม ขบเคี้ยวที่มีไขมันทรานส์เป็นศูนย์
หากรู้สึกไม่มั่นใจ ลองดูส่วนผสมที่ฉลากและมองหาคำว่า “Partially Hydrogenated Oils” ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาหารนั้นมีไขมันทรานส์อยู่หรือไม่
3.เปลี่ยนมาใช้น้ำมันประกอบอาหารที่ปราศจากไขมันทรานส์
เมื่อพูดถึงประโยชน์ทางสุขภาพ น้ำมันทำอาหารแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากน้ำมันเป็นส่วนประกอบที่เป็นปัจจัยหลักในการทำอาหาร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง
หนึ่งวิธีง่ายๆ คือการเปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะกอกในการประกอบอาหาร เพราะนอกจากจะดีต่อสุขภาพและได้รสชาติที่อร่อยแล้ว น้ำมันมะกอกยังปราศจากไขมันทรานส์ และอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) ที่ดีต่อระบบหัวใจและสุขภาพ
สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่พบในน้ำมันมะกอกนั้นช่วยลดไขมัน LDL และคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
นอกจากนั้น น้ำมันมะกอกยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าโพลีฟีนอล ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต และความเสี่ยงจากการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
4.เลือกรับประทานแต่ขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ
การเลือกรับประทานขนมขบเคี้ยวในปริมาณที่พอดี นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของโภชนาการที่สมดุล อันจะช่วยให้คุณรู้สึกมีพลังระหว่างวัน แต่น่าเสียดายว่า ขนมขบเคี้ยวสำเร็จรูปแบบห่อที่วางขายโดยทั่วไปนั้น มักเต็มไปด้วยไขมันทรานส์ที่ควรหลีกเลี่ยง
ทั้งนี้ เคล็ดลับในการเลือกรับประทานขนมขบเคี้ยวนั้น คือ เลือกขนมขบเคี้ยวที่ปราศจากไขมันทรานส์ เช่น อัลมอนด์ แอปเปิล แครอทแท่ง หรือ โยเกิร์ตกรีก ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและยังอร่อยเหมือนกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม: fb.com/bertollith