"ลุงตู่ของน้องเต้าอี้" คำลงท้ายตอบกลับจดหมายเด็กป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงเผยให้เห็นความตะมุตะมิในบทบาทราชสีห์ที่แม้ภายนอกจะดูดุดัน แต่โมเมนต์ความน่ารักเอาใจประชาชนไปเต็มๆ โดยเฉพาะ "น้องเต้าอี้" ที่ยิ้มแก้มปริบอกลุงตู่เป็นกำลังใจให้หายไวๆ แถมย้ำออกสื่อด้วยว่า "ลุงตู่บอกจะแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขให้ได้โดยเร็ว" ซึ่งเรื่องนี้หลายคนจับตาดูไม่กะพริบ เพราะที่ผ่านมาก็มีประเด็น "สาธารณสุข" ให้น่าน้อยใจอยู่บ้าง
คำมั่นในจดหมายของ "ลุงตู่"
เชื่อว่าใครได้อ่านจดหมายตอบกลับของ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลัง "น้องเต้าอี้" เด็กป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงวัย 8 ขวบเขียนจดหมายให้กำลังใจ หลายคนคงอมยิ้มพร้อมสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นในตัวผู้นำประเทศ
แน่นอนว่า ข้อเขียนของ "ลุงตู่" ครั้งนี้ เป็นแรงผลักดันให้เด็กชายตัวเล็กๆ มีกำลังใจในการก้าวเดินต่อไป อย่างน้อยๆ ก็ได้รู้ว่ายังมีคนเห็นความสำคัญของเขา โดยเฉพาะคำลงท้ายว่า "ลุงตู่ของน้องเต้าอี้" ซึ่งเป็นประโยคที่แสนจะธรรมดา แต่อ่านแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่นอย่างไม่น่าเชื่อ
ทว่าในข้อความตอนหนึ่งที่ให้คำมั่นสัญญาว่า "รัฐบาลจะพยายามแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขให้ได้โดยเร็วเพื่อจะได้ดูแลประชาชนทุกคน" ก่อนจะทิ้งท้ายว่า "เราต่างก็ต้องเป็นกำลังใจให้กันและกันนะครับ" แม้ด้านหนึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความสบายใจเพราะอย่างน้อยๆ ท่านนายกฯ ก็รับปากแล้ว แต่อีกด้านก็ถูกจับตาดูไม่กะพริบ เพราะหลายๆ ปัญหาที่ผ่านมายังมีประเด็น "ดราม่า" ให้แอบน้อยใจอยู่บ้าง
จดหมายจากน้องเต้าอี้ถึงลุงตู่
จดหมายตอบกลับจากลุงตู่ถึงน้องเต้าอี้
ไม่แปลกที่ข้อความในจดหมายตอบกลับ "รัฐบาลจะพยายามแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขให้ได้โดยเร็ว" จะกระแทกใจประชาชนกลุ่มหนึ่งด้วยโมเมนต์ดราม่าพร้อมกับประเด็นคำถามจนเกิดการแซวขึ้นมาว่า "ลุงตู่" จะช่วยแก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน หรือดีแค่ราคาคุยกับเด็ก
"ลิฟต์" คนพิการที่เฝ้ารอ...
แม้ที่ผ่านมารัฐบาลยุค "ลุงตู่" ให้ความสำคัญกับ "คนพิการ" ทั้งเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยเฉพาะเรื่องการจ้างงานให้มีโอกาสประกอบอาชีพสร้างรายได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับคนอื่น ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยในปีนี้ตั้งเป้าส่งเสริมให้คนพิการได้ประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นอีก 10,000 คน
ทว่า การอํานวยความสะดวกในเชิงคุณภาพของระบบขนสงสาธารณะสําหรับคนพิการทุกวันนี้ ยังขาดความตอเนื่องในเสนทางการเดินทาง บวกกับการปรับปรุงระบบขนสงสาธารณะที่ยังมีอยูนอย อีกทั้งยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการปรับปรุงทางเทาในบริเวณหนวยงานที่มีคนพิการอาศัยอยูและจัดรถบริการ โดยเฉพาะในเสนทางที่มีอัตราการเดินทางสูง ทั้งๆ ที่เปนความช่วยเหลือในขั้นตน
นอกจากนั้น ยังมีเสียงบ่นระงมกับระบบรถไฟฟาที่เป็นสวนหนึ่งของโครงขายการเดินทางของคนพิการ แตการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกกลับมีไมครบถวน เห็นได้จาก "โครงการก่อสร้างและติดตั้งลิฟต์สำหรับคนพิการ" ที่ตั้งงบไว้สูงถึง 300 กว่าล้าน ซึ่งตกเป็นข่าวในช่วงต้นปีเมื่อเครือข่ายคนพิการนั่งรถไฟใต้ดินไปฟ้องศาลแพ่งรัชดาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากกทม. หลังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองที่ระบุให้มีการสร้างลิฟต์จำนวน 23 สถานี ภายในเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2558 ก่อนจะเผยด้วยความน้อยใจว่า 22 ปีผ่านไปคนพิการก็ยังไม่มีโอกาสได้ใช้บีทีเอส
ล่าสุดในยุคพ่อเมืองกรุงเทพฯ "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง" ก็เอาใจคนพิการ ด้วยการต่อสัญญากับผู้รับเหมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา พร้อมได้กำชับก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2560 นี้ ยกเว้นที่สถานีสะพานตากสิน ยังพบว่าติดปัญหาการขยายรางรถไฟที่ต้องรอข้อสรุปจากกรมทางหลวงชนบทก่อน
อย่างไรก็ดี แม้ทางฝ่ายเครือข่ายคนพิการจะพึงพอใจ พร้อมขอบคุณ "ท่านอัศวิน" ที่ช่วยเร่งรัดติดตามโครงการดังกล่าวนี้ให้ แต่ในส่วนของการฟ้องร้องที่กลุ่มพิการได้ฟ้องต่อศาลปกครองนั้นยังคงต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งถือเป็นสิทธิที่พึงจะมีในประชาชนทุกคน
"ลุงตู่" ของนางฟ้าหมวกขาว
อีกหนึ่งประเด็นที่อ่อนไหวในวงการสาธารณสุขไทย คงหนีไม่พ้นอาการเสียขวัญ และกำลังใจของพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว หลัง ครม. "ลุงตู่" มีมติไม่บรรจุ 10,992 อัตรา โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำตำแหน่งว่างที่มีอยู่และตำแหน่งที่จะว่างในอนาคตมาบริหารจัดการเพื่อรองรับการบรรจุพยาบาลวิชาชีพตามความจำเป็น และไม่ให้กระทรวงสาธารณสุขขอเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ จนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งเรื่องนี้เกิดกระแสคัดค้าน พร้อมขู่รัฐบาลลาออกยกกระทรวงฯ
แฟ้มภาพ
สุดท้าย "สร้างปมไว้ก็ต้องตามแก้" หลังเกิดกระแสคัดค้านดังกล่าว ก็มีการนำเรื่องของการบรรจุพยาบาลให้เป็นข้าราชการนั้นเป็นวาระเร่งด่วนในการประชุมหารือของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยครม.รับหลักการจะบรรจุ 3 ปี จำนวนรวมประมาณ 8,792 ตำแหน่ง และเมื่อรวมกับตำแหน่งว่างในปี 2560 และจากการเกษียณปี 2560-2562 ทำให้น่าจะบรรจุพยาบาลได้ถึง 13,583 ตำแหน่ง
นับเป็นการแก้ไขปัญหาที่เป็นธรรม และพึงพอใจของหลายๆ ฝ่าย โดยเฉพาะเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่ก็ขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดสรรตำแหน่งเพื่อความโปร่งใสด้วย แม้จะมั่นใจใน สธ. แต่ก็อยากให้อีกฝ่ายมั่นใจเหมือนกัน
ทั้งนี้ หากไม่มีการดำเนินการหรือการแก้ไขไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลและกระทรวงฯ ได้ทำไว้ ทางเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว สธ.ก็พร้อมแจ้งข่าวสารเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราวที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับทราบ และเชิญชวนให้เขียนใบลาออกต่อไป
วิกฤติ! ขาดหมอ-เครื่องมือแพทย์
ปิดท้ายกับปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังมานาน สำหรับปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงขาดแคลนเครื่องมือทางการแพทย์จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงหนึ่ง โดยพุ่งเป้าไปยังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ไม่มีการแก้ไขปัญหาโรงพยาบาลในสังกัด หลังนักร้องหนุ่มชื่อดัง "ตูน บอดี้สแลม" (อาทิวราห์ คงมาลัย) ออกวิ่งการกุศลด้วยระยะทาง 400 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ถึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์ มอบให้แก่ โรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจำนวนถึง 63 ล้านบาท
ร้อนไปถึงเจ้ากระทรวงสาธารณสุข "นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร" ต้องออกมาชี้แจงชัดๆ บอก ไม่มีโรงพยาบาลไหนในประเทศไทยที่มีเครื่องมือทางการแพทย์ครบทุกอย่าง แม้แต่กลุ่มโรงเรียนแพทย์เองก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยล้มเหลวเหมือนที่มีคนพยายามเชื่อมโยงแต่อย่างใด ตรงนี้อยู่ที่ว่าโรงพยาบาลมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานเหมาะสมกับระดับของโรงพยาบาลหรือไม่ เช่น โรงพยาบาลชุมชน ควรมีเครื่องมือแพทย์แค่ไหนอย่างไร โรงพยาบาลระดับจังหวัด ควรมีเท่าไหน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่า ไม่ใช่ว่าทุกโรงพยาบาลต้องมีเครื่องมือแพทย์ที่เหมือนกัน หรือเห็นโรงพยาบาลนี้มีแล้วจะต้องมีบ้าง โดยแต่ละโรงพยาบาลอาจมีเครื่องมือแพทย์คนละอย่างที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดการดูแลประชาชนได้มากขึ้น ส่วนเรื่องการบริจาคเพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะที่ผ่านมาหลายๆ โรงพยาบาลก็ต้องรับบริจาคเช่นนี้ ดังนั้นไม่อยากให้มีการเชื่อมโยงว่าการที่โรงพยาบาลต้องรับบริจาคเป็นเพราะระบบสาธารณสุขล้มเหลว
"...ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนอะไรเลย เพราะรัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้เต็มที่เท่าที่รัฐให้ได้ แต่ไม่สามารถจัดให้ได้ตามที่ทุกโรงพยาบาลต้องการ" นี่คือสิ่งที่ รมว.สธ. ได้เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ สอดรับกับท่านปลัด สธ. ที่ระบุในเรื่องเดียวกันนี้ว่า การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลอาจไม่ได้ตามที่เสนอของบประมาณไปทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความจำเป็น
ขณะที่ปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่า "เงินน้อย-งานหนัก-กะดึก" ยังคงมีเสียงบ่นออกมาอยู่เรื่อยๆ นำไปสู่ความกังวลเรื่องปัญหาสมองไหลจากโรงพยาบาลรัฐไปโรงพยาบาลเอกชน ล่าสุดได้ข่าวว่า "ลุงตู่" เห็นชอบข้อเสนอสธ. ที่ปฏิรูประบบสาธารณสุขให้เกิดผลในกรอบ 1 ปี 4 เดือน
หนึ่งในนั้นคือการสร้างแรงจูงใจแพทย์ 3 สาขา (เวชศาสตร์ครอบครัว ระบาดวิทยา และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน) โดยออกระเบียบเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข (พตส.) ฉบับใหม่ และความก้าวหน้าด้านวิชาชีพ รวมไปถึงการจัดสร้างคลินิกหมอครอบครัวเขตเมือง และงบประมาณสนับสนุน 150 บาทต่อคน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการคลินิกหมอครอบครัว
สุดท้ายแล้วข้อความในจดหมายที่ให้คำมั่นไว้กับเด็กคนหนึ่ง "รัฐบาลจะพยายามแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขให้ได้โดยเร็วเพื่อจะได้ดูแลประชาชนทุกคน" จะเป็นรูปธรรมได้มากน้อยแค่ไหน หรือดีแค่ราคาคุยกับเด็ก นี่คือสิ่งที่นายกฯ "ลุงตู่" ต้องพิสูจน์ให้ประชาชนได้เห็น
ขอบคุณภาพจากแฟนเพจ แหม่มโพธิ์ดำ, มรกต นวเศรษฐกุล
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754