ไม่รู้ว่าจะ 'เรียก' หรือ 'ไล่' ลูกค้า แต่ดังสนั่นโซเชียลในชั่วข้ามคืนไปแล้ว สำหรับร้าน “แดกด่วนโภชนา” ที่ขึ้นแต่ละป้ายสุดฮาร์ดคอร์ จนเกิดการแชร์และส่งต่ออย่างมากในโลกออนไลน์
ร้านอาหารตามสั่งเจ้านี้ติดป้ายเต็มไปหมด ตั้งแต่ชื่ออาหาร วิธีการสั่งอาหาร ซึ่งแต่ละข้อมความอ่านแล้วหงอเลย อาทิ
>> จะแดกอะไรจดฉีกเสียบิล กะเพราโจรคือ เผ็ดๆ แห้งๆ ไม่หวาน สั่งแดกซะอร่อย
>> ไข่ดาวถ้าสั่งทีหลังกูไม่ทอดให้แดกแล้ว กูจะเคืองมาก
>> โปรดระบุชื่อโต๊ะด้วย จานหรือกล่อง มึงบอกกูที
แน่นอน เกิดกระแสเม้าท์สะท้านโซเชียล ทั้งชอบและไม่ชอบ รับได้และรับไม่ได้ อย่างเช่น
“ยิ่งไปลอง ยิ่งด่ายิ่งชอบ”
“ผมโคตรชอบเลยร้านแบบนี้ มีร้านป้าแถวบ้านผมร้านนึงไปแดกทีไรโดนด่าทุกที แต่กูก็บ้าไปแดกได้ทุกวัน ต้องแกล้งไห้ป้าด่า จนมันเป็นความสุขส่วนนึงในชีวิตไปแล้ว มีเพื่อนก็พามากินจนป้าแกรู้จักเพื่อนผมทุกคนแล้ว 555 ยังคิดอยุ่ว่าถ้าวันนึงป้าแกหายไป จะหาร้านข้าวแบบนี้ได้ที่ไหน 555”
“คนเรานี่แปลก เวลาไปธนาคาร ไปโชว์รูมรถ ไปโรงพยาบาล เฮ้ย มึงต้องบริการกูดีๆ นะ พูดไม่ดีหน่อยถ่ายคลิปมาประจานกันเลย แต่แบบนี้ดันชื่นชม อยากไปโดนเค้าด่า เป็นกูต่อให้อร่อยขนาดไหน กูก็ไม่ไปแดก”
“ถือตังไปซื้อยังใช้คำพูดและกิริยาหยาบคายใส่ คงไม่ไปกิน ร้านอร่อยมีเกลื่อนเมือง คนเราต้องมีสัมมาวาจา ไม่ว่าอาชีพอะไรไม่ต้องคะๆ ขาๆ หรอกแค่ไม่หยาบคายเป็นพอ”
“อ่านแล้วเกร็งกลัว”
“อร่อยแค่ไหนกูก็ไม่แดก”
“จะไปกินร้านนี้กูต้องพกปืนไปด้วยมั้ยวะ แม่งเถื่อนฉิบหาย”
ทว่ามีชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยที่สนใจอยากไปลอง ถามถึงพิกัดเลยทีเดียว
“อยู่ระยองครับร้านนี้”
“ร้านกะเพราโจร ที่ระยอง กูเคยไปแล้ว”
“ผ่านไปจะแวะชิมให้ได้ (ถ้าผมนั่งเล่นโทรศัพท์ในร้าน อย่าเอากะทะฟาดกบาลผมนะครับ)”
“เดี๋ยววันเสาร์จะได้แวะไปลอง”
ลูกค้าเจ้าถิ่นก็ต่างโพสต์เป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย แม่ค้าก็ไม่ดุ เหมือนคาแร้กเตอร์ป้ายซึ่งเป็นเพียงการสร้างจุดขาย
“อร่อยและราคาประหยัดค่ะ”
“ผมไปแดกมาแล้ว อร่อยดีน่ะ แม่ค้าใจดีด้วย (เขียนเป็นจุดขายเค้าเท่านั้นแหละครับ อย่าคิดมาก)”
“แกคงไม่โลกสวยน่ะ รู้สึกยังไงก็เขียนบอกอย่างนั้นเลย แบบกันเองน่ะ และเป็นจุดขายอีกแบบ”
“มันคือการตลาดครับ”
“เขียนได้เข้าใจง่ายดี มองเห็นความจริงใจของแม่ค้าอยู่ในลายมือ”
“จริงๆแล้ว ถ้าอ่านดีๆจะพบว่าเค้าเขียนป้ายไม่มีคำหยาบคายเลยนะ”
“แต่เป็นการเขียนภาษาพูด ในภาษาเขียนเท่านั้นเอง คำว่าแดกก็ไม่ใช่คำหยาบคายสักหน่อย”
“เป็นคำไทยแท้ๆ แสดงถึงความจริงใจ และเป็นกันเอง (ของฟรีมีให้ แต่ควรตักแดกเอง 5555”)
แต่ก็มีความเห็นแย้งว่าไม่นิยมการตลาดด้วยการสื่อสารภาษาสมัยพ่อขุนฯ
“ถ้าทุกร้าน เขียนแบบนี้กันหมด จะเรียกว่าจุดขายอีกไหม
“ถ้าผมไม่มีที่กินจริง ผมถึงจะกินครับ ไม่ได้ว่าเค้าไม่ดีหรืออะไรนะ เเต่ผมไม่ชอบการตลาดเเบบนี้ครับ มันรู้สึกเสียอารมณ์ครับ เเต่เค้าอาจจะทำอร่อยมากก็ได้”
ทั้งนี้อย่าลืมตระหนักข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่า เจ๊งามตาจัดเต็มเจ้านี้ทำอาหารตามสั่งขายให้ผู้คนในชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในต่างจังหวัด และมีคนแชะป้ายมาโพสต์ลงโซเชียล
“ที่เขียนมาก็โอเคนะ เพียงใช้ศัพท์พนามแบบเพื่อนสนิทคุยกันเท่านั้น คงคิดว่าเป็นเพื่อนถึงเขียนแบบนี้
“เค้าคงขายคนกันเองแถวๆ บ้าน แบบขำๆ ตามประสาเค้า แต่คนอื่นหากไม่เข้าใจอาจจะคิดว่าหยาบ”
เห็นได้ว่า เจ๊แกมักสอดแทรกอารมณ์ขัน เตือนลูกค้าประจำที่ชอบของฟรี
>> ทิชชูมึงใช้กันเกรงใจพ่อกูบ้าง (รู้สึกเจ็บปวดรวดร้าว) โดยวาดรูปหัวใจประกอบตลอด
>> ที่แดกด่วนโภชนา (รู้สึกยินดี) ณ จุดจุดนี้ น้ำซุปกูแจกฟรี จะให้ดีตักแดกเอง รู้สึกเบิกบาน...บาน..บาน รักนะชาวโลก)
… … …
ขอบคุณภาพจาก FB: ไอ้สัสกูเขียม, Nunn”z Siran
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"MGR Online Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารมาได้ที่: manageronlinelive@gmail.com
หรือ Fax 0-2629-4754