เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย? เหตุใดเด็ก ม.1 ถึงกล้าถามครูสาวว่า “อยากโดน...ไหมครับ” ส่อให้เห็นว่าพฤติกรรมเด็กยิ่งก้าวร้าวมากขึ้นทุกวันๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเข้ามาช่วยเหลือและดูแลเด็กอย่างจริงจังเสียที!
ปากพล่อยหรือตั้งใจ?
สังคมไทยถึงจุดเสื่อมเมื่อนักเรียนชั้น ม.1 เกิดลองดี ไม่รู้ผิดถูก ใช้คำพูดหยาบคายแชตกับคุณครูสาว นอกจากนี้ยังถามคุณครูกลับด้วยว่า “อยากโดน...ไหมครับ” สิ่งนี้เองสะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของเด็กไทยบางกลุ่มไม่ได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น หนำซ้ำยังมีพฤติกรรมก้าวร้าวที่นับวันยิ่งแย่ลงไปทุกที ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กไทย?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่เด็กไม่เกรงกลัวว่าจะผิดหรือถูก หรือพูดคำหยาบกับครูหรือผู้ใหญ่ โทษเด็กอย่างเดียวก็ไม่ถูก ทว่า ต้องมองลึกลงไปกว่านั้นว่าอาจจะถูกอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวที่ไม่พร้อม พ่อแม่ไม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด หรืออาจจะเป็นที่สังคมรอบข้างที่เด็กเติบโตมานั้นก็มีส่วนเช่นกัน
“จริงๆ แล้วต้องดูว่าเป็นคำพูดที่เกิดจากเด็กปากพล่อย หรือว่าเด็กตั้งใจ มันต้องดูสถานการณ์ ว่าเด็กที่พูดมามีความตั้งใจจะหลบหลู่หรือเปล่า คือเราต้องอยู่ในเหตุการณ์นั้นค่ะว่ามันเป็นยังไง เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเป็นแบบนี้ มันต้องรู้วัตถุประสงค์ที่เด็กพูดค่ะว่าเขาต้องการอะไร มันต้องใช้ทักษะในการสื่อสารกันค่ะ”
นี่คือทัศนะของ “นคร สันธิโยธิน” อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งได้แสดงความคิดเห็นผ่านทางทีมข่าว ASTV ผู้จัดการ Live และยังกล่าวต่ออีกว่าการที่พฤติกรรมเด็กแย่ลงเป็นเพราะปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ไปจนถึงพฤติกรรมการเสพสื่อต่างๆ
“มันก็สารพัดอย่างค่ะ การที่ไม่ได้อบรมเลี้ยงดู พ่อแม่ไม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด หลายสิ่งหลายอย่าง การเสพสื่อเองก็ด้วยเหมือนกัน เพราะมันง่ายและสะดวกสามารถหาดูได้ ไม่มีการปิดกั้น ส่วนเรื่องคำพูดบางคำหรือการพูดจาที่ไม่สุภาพ ถ้าเด็กเขาไปเปิดเจอหรือได้ยินมาบ่อยๆ เขาก็จะชาชินกับสิ่งเหล่านั้นด้วยสภาพแวดล้อมอะไรหลายๆ อย่าง
การอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูลูก หรือแบบอย่างในสังคมไม่ดี สภาวะแวดล้อมมันหลายอย่าง เพราะฉะนั้นเราจะไปตัดสินว่าเด็กคนนี้ไม่ดีไม่ได้ ต้องดูที่การอบรมเลี้ยงดูของทางครอบครัวด้วย อย่างในกรณีครูคนนี้กับเด็กคนนี้ จริงๆ แล้วก็คือเหยื่อของสังคม พอใครที่กลายเป็นเหยื่อก็จะโดนคนรุม โดนอัด เขาน่าสงสารนะที่เป็นตัวอย่างออกมาแบบนั้น
เราต้องดูเบื้องหลังเขาด้วยการถูกอบรมเลี้ยงดูมายังไง พฤติกรรมที่ออกมาเป็นแบบนั้นเขาถูกทอดทิ้งหรือเปล่า เขาขาดความอบอุ่นหรือเปล่า เขามีปัญหาอะไรที่หมกเม็ดอยู่หรือเปล่า อาจารย์ยังไม่กล้าตัดสินว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เพราะเราต้องรู้เหตุผลก่อนว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น”
ส่วนวิธีการรับมือ หรือวิธีการสั่งสอนนั้น คงหนีไม่พ้นมาตรการเดิมๆ คือควรจะเรียกมาคุย อบรมสั่งสอน แบบเปิดใจคุยกัน และที่เพิ่มเติมคือให้เด็กได้มีโอกาสพูดถึงเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงทำเช่นนี้
“ต้องเรียกมาคุยเลยค่ะ อย่างคนที่พูดจาหยาบคาย จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ยังไงก็ต้องเรียกมาคุยค่ะ ครูบางท่านรับไม่ได้หรือคนในสังคมรับไม่ได้ เหมือนกับเรามีคนรักแล้วใช้คำหยาบคายกับคนที่รักแล้วจะรู้สึกยังไง มันต้องอบรม ต้องสอน ต้องยกตัวอย่างให้เขาดูค่ะ และการที่เราไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับเรา เราก็อย่าไปทำสิ่งเหล่านี้กับคนอื่นเขาค่ะ
คงต้องเรียกมาอบรมค่ะ ต้องดูว่าพื้นฐานเขามาจากไหน ใครอบรมเลี้ยงดูเขาอยู่กับใคร จากนั้นเรียกมาคุยใช้ทักษะในการสื่อสาร และต้องเปิดโอกาสให้เขาได้พูดได้คุยว่าเหตุผลทำไมถึงทำแบบนี้ ทำไมถึงพูดแบบนี้ ต้องพูดคุยกันค่ะ”
ไม่เด็ด! โซเชียลฯ ระหว่างครูกับเด็ก
ในยุคที่ต้องใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสาร จำเป็นแค่ไหนที่ครูและนักเรียนต้องใช้โซเชียลฯ ในการพูดคุย? อาจารย์นคร มองว่าหากใช้ในทางที่ถูกที่ควรก็เป็นประโยชน์ได้ไม่น้อย
“ถ้าใช้ในทางที่ถูกที่ควรมันก็เป็นประโยชน์นะคะ สามารถที่จะสื่อสารได้พูดคุยได้ แต่ถ้ามาทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ มันก้ไม่ควร คือคนที่เป็นครูในสังคมมันก็มีทั้งครูที่มีชีวิต และครูที่ไม่มีชีวิต สภาวะแวดล้อม ต้นไม้ สะพาน สถานที่ พวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นครู ที่เราได้เรียนรู้และศึกษา ถ้าหากครูที่มีชีวิตเป็นครูที่ทำให้เราได้รู้เช่นเห็นชาติ และทำให้เด็กเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ดี เราก็ต้องเอามาไตร่ตรองว่าสิ่งเหล่านี้เราจะไม่เอามาทำให้เกิดในชีวิตเรา
ถ้าใครเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม มีความกตัญญู มีความซื่อสัตย์ และรู้จักเสียสละ นั้นก็คือครูที่ดี แล้วทำไมเราไม่ทำตามแบบอย่างแบบนั้นบ้างล่ะ การยกตัวอย่างและทำให้เห็นตรงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรเราต้องสอนให้รอบด้าน ทั้งด้านดีและด้านไม่ดีว่าเป็นยังไงให้เขาได้รู้ แต่เด็กบางคนที่ไม่มีคนสั่งสอน ไม่มีคนชี้นำ ทุกอย่างมันก็จะมองภาพไม่ออก”
ต่อข้อซักถามที่ว่า การใช้สื่อโซเชียลมีเดียแชทคุยกับเด็กนักเรียนควรมีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน เธอกล่าวตอบเพียงว่าด้วยความที่มีวุฒิภาวะมากกว่า การที่จะโพสต์ต้องเป็นไปในแนวทางอบรมสั่งสอน
“จริงๆ คนเป็นครูต้องมีวุฒิภาวะอยู่แล้ว อายุก็มากกว่า ประสบการณ์ก็มากกว่า การที่เราจะพูดจะคุยอะไรก็ตาม มันต้องเป็นไปในแนวทางอบรมสั่งสอน ดูแล และใช้สื่อโซเชียลฯ ให้เกิดประโยชน์ ต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่โพสต์เข้าไป ถึงแม้หน้าจอของเราจะตัดทิ้งไปแล้ว แต่มันไปอยู่ในอวกาศเต็มไปหมด มันไม่สามารถลบออกมาได้”
ด้วยความที่เป็นแม่พิมพ์ของชาติ การวางตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องระมันระวังและรู้ขอบเขตในการสื่อสารด้วยโซเชียลมีเดีย อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยกล่าวทิ้งท้าย
“เพราะฉะนั้น การจะทำอะไรสักอย่างในโซเชียลเน็ตเวิร์กมันยากมาก ทั้งการใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ การลงรูปที่ไม่สุภาพ สิ่งเหล่านั้นมันแสดงให้เห็นถึงตัวตน หรือการไม่ได้รับการอบรม และเรื่องการวางตัวของครูก็สำคัญค่ะ มันอยู่ที่ครูวางตัวยังไงด้วย เพราะคนที่เป็นครูมีวุฒิภาวะต้องรู้แล้วว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ การใช้โซเชียลจึงต้องใช้อย่างระมัดระวังและต้องรู้ขอบเขตในการสื่อสารด้วยค่ะ”
ข่าวโดยASTV ผู้จัดการLive
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต และเฟซบุ๊ก ลูกคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน
รายละเอียดเพิ่มเติม (คลิก)>>> ตัวอย่างงานในเซ็กชั่น "ASTVผู้จัดการ Live"
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"ASTVผู้จัดการ Live" และ "@astv_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารและเรื่องราวร้องทุกข์ในสังคมมาได้: astvmanager.live.lite@gmail.com
หรือ โทร.0-2629-4488 ต่อ 1477, Fax 0-2629-4754
ปากพล่อยหรือตั้งใจ?
สังคมไทยถึงจุดเสื่อมเมื่อนักเรียนชั้น ม.1 เกิดลองดี ไม่รู้ผิดถูก ใช้คำพูดหยาบคายแชตกับคุณครูสาว นอกจากนี้ยังถามคุณครูกลับด้วยว่า “อยากโดน...ไหมครับ” สิ่งนี้เองสะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของเด็กไทยบางกลุ่มไม่ได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น หนำซ้ำยังมีพฤติกรรมก้าวร้าวที่นับวันยิ่งแย่ลงไปทุกที ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กไทย?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่เด็กไม่เกรงกลัวว่าจะผิดหรือถูก หรือพูดคำหยาบกับครูหรือผู้ใหญ่ โทษเด็กอย่างเดียวก็ไม่ถูก ทว่า ต้องมองลึกลงไปกว่านั้นว่าอาจจะถูกอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวที่ไม่พร้อม พ่อแม่ไม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด หรืออาจจะเป็นที่สังคมรอบข้างที่เด็กเติบโตมานั้นก็มีส่วนเช่นกัน
“จริงๆ แล้วต้องดูว่าเป็นคำพูดที่เกิดจากเด็กปากพล่อย หรือว่าเด็กตั้งใจ มันต้องดูสถานการณ์ ว่าเด็กที่พูดมามีความตั้งใจจะหลบหลู่หรือเปล่า คือเราต้องอยู่ในเหตุการณ์นั้นค่ะว่ามันเป็นยังไง เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเป็นแบบนี้ มันต้องรู้วัตถุประสงค์ที่เด็กพูดค่ะว่าเขาต้องการอะไร มันต้องใช้ทักษะในการสื่อสารกันค่ะ”
นี่คือทัศนะของ “นคร สันธิโยธิน” อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งได้แสดงความคิดเห็นผ่านทางทีมข่าว ASTV ผู้จัดการ Live และยังกล่าวต่ออีกว่าการที่พฤติกรรมเด็กแย่ลงเป็นเพราะปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ไปจนถึงพฤติกรรมการเสพสื่อต่างๆ
“มันก็สารพัดอย่างค่ะ การที่ไม่ได้อบรมเลี้ยงดู พ่อแม่ไม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด หลายสิ่งหลายอย่าง การเสพสื่อเองก็ด้วยเหมือนกัน เพราะมันง่ายและสะดวกสามารถหาดูได้ ไม่มีการปิดกั้น ส่วนเรื่องคำพูดบางคำหรือการพูดจาที่ไม่สุภาพ ถ้าเด็กเขาไปเปิดเจอหรือได้ยินมาบ่อยๆ เขาก็จะชาชินกับสิ่งเหล่านั้นด้วยสภาพแวดล้อมอะไรหลายๆ อย่าง
การอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูลูก หรือแบบอย่างในสังคมไม่ดี สภาวะแวดล้อมมันหลายอย่าง เพราะฉะนั้นเราจะไปตัดสินว่าเด็กคนนี้ไม่ดีไม่ได้ ต้องดูที่การอบรมเลี้ยงดูของทางครอบครัวด้วย อย่างในกรณีครูคนนี้กับเด็กคนนี้ จริงๆ แล้วก็คือเหยื่อของสังคม พอใครที่กลายเป็นเหยื่อก็จะโดนคนรุม โดนอัด เขาน่าสงสารนะที่เป็นตัวอย่างออกมาแบบนั้น
เราต้องดูเบื้องหลังเขาด้วยการถูกอบรมเลี้ยงดูมายังไง พฤติกรรมที่ออกมาเป็นแบบนั้นเขาถูกทอดทิ้งหรือเปล่า เขาขาดความอบอุ่นหรือเปล่า เขามีปัญหาอะไรที่หมกเม็ดอยู่หรือเปล่า อาจารย์ยังไม่กล้าตัดสินว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เพราะเราต้องรู้เหตุผลก่อนว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น”
ส่วนวิธีการรับมือ หรือวิธีการสั่งสอนนั้น คงหนีไม่พ้นมาตรการเดิมๆ คือควรจะเรียกมาคุย อบรมสั่งสอน แบบเปิดใจคุยกัน และที่เพิ่มเติมคือให้เด็กได้มีโอกาสพูดถึงเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงทำเช่นนี้
“ต้องเรียกมาคุยเลยค่ะ อย่างคนที่พูดจาหยาบคาย จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ยังไงก็ต้องเรียกมาคุยค่ะ ครูบางท่านรับไม่ได้หรือคนในสังคมรับไม่ได้ เหมือนกับเรามีคนรักแล้วใช้คำหยาบคายกับคนที่รักแล้วจะรู้สึกยังไง มันต้องอบรม ต้องสอน ต้องยกตัวอย่างให้เขาดูค่ะ และการที่เราไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับเรา เราก็อย่าไปทำสิ่งเหล่านี้กับคนอื่นเขาค่ะ
คงต้องเรียกมาอบรมค่ะ ต้องดูว่าพื้นฐานเขามาจากไหน ใครอบรมเลี้ยงดูเขาอยู่กับใคร จากนั้นเรียกมาคุยใช้ทักษะในการสื่อสาร และต้องเปิดโอกาสให้เขาได้พูดได้คุยว่าเหตุผลทำไมถึงทำแบบนี้ ทำไมถึงพูดแบบนี้ ต้องพูดคุยกันค่ะ”
ไม่เด็ด! โซเชียลฯ ระหว่างครูกับเด็ก
ในยุคที่ต้องใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสาร จำเป็นแค่ไหนที่ครูและนักเรียนต้องใช้โซเชียลฯ ในการพูดคุย? อาจารย์นคร มองว่าหากใช้ในทางที่ถูกที่ควรก็เป็นประโยชน์ได้ไม่น้อย
“ถ้าใช้ในทางที่ถูกที่ควรมันก็เป็นประโยชน์นะคะ สามารถที่จะสื่อสารได้พูดคุยได้ แต่ถ้ามาทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ มันก้ไม่ควร คือคนที่เป็นครูในสังคมมันก็มีทั้งครูที่มีชีวิต และครูที่ไม่มีชีวิต สภาวะแวดล้อม ต้นไม้ สะพาน สถานที่ พวกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นครู ที่เราได้เรียนรู้และศึกษา ถ้าหากครูที่มีชีวิตเป็นครูที่ทำให้เราได้รู้เช่นเห็นชาติ และทำให้เด็กเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ดี เราก็ต้องเอามาไตร่ตรองว่าสิ่งเหล่านี้เราจะไม่เอามาทำให้เกิดในชีวิตเรา
ถ้าใครเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม มีความกตัญญู มีความซื่อสัตย์ และรู้จักเสียสละ นั้นก็คือครูที่ดี แล้วทำไมเราไม่ทำตามแบบอย่างแบบนั้นบ้างล่ะ การยกตัวอย่างและทำให้เห็นตรงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรเราต้องสอนให้รอบด้าน ทั้งด้านดีและด้านไม่ดีว่าเป็นยังไงให้เขาได้รู้ แต่เด็กบางคนที่ไม่มีคนสั่งสอน ไม่มีคนชี้นำ ทุกอย่างมันก็จะมองภาพไม่ออก”
ต่อข้อซักถามที่ว่า การใช้สื่อโซเชียลมีเดียแชทคุยกับเด็กนักเรียนควรมีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน เธอกล่าวตอบเพียงว่าด้วยความที่มีวุฒิภาวะมากกว่า การที่จะโพสต์ต้องเป็นไปในแนวทางอบรมสั่งสอน
“จริงๆ คนเป็นครูต้องมีวุฒิภาวะอยู่แล้ว อายุก็มากกว่า ประสบการณ์ก็มากกว่า การที่เราจะพูดจะคุยอะไรก็ตาม มันต้องเป็นไปในแนวทางอบรมสั่งสอน ดูแล และใช้สื่อโซเชียลฯ ให้เกิดประโยชน์ ต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่โพสต์เข้าไป ถึงแม้หน้าจอของเราจะตัดทิ้งไปแล้ว แต่มันไปอยู่ในอวกาศเต็มไปหมด มันไม่สามารถลบออกมาได้”
ด้วยความที่เป็นแม่พิมพ์ของชาติ การวางตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องระมันระวังและรู้ขอบเขตในการสื่อสารด้วยโซเชียลมีเดีย อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยกล่าวทิ้งท้าย
“เพราะฉะนั้น การจะทำอะไรสักอย่างในโซเชียลเน็ตเวิร์กมันยากมาก ทั้งการใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ การลงรูปที่ไม่สุภาพ สิ่งเหล่านั้นมันแสดงให้เห็นถึงตัวตน หรือการไม่ได้รับการอบรม และเรื่องการวางตัวของครูก็สำคัญค่ะ มันอยู่ที่ครูวางตัวยังไงด้วย เพราะคนที่เป็นครูมีวุฒิภาวะต้องรู้แล้วว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ การใช้โซเชียลจึงต้องใช้อย่างระมัดระวังและต้องรู้ขอบเขตในการสื่อสารด้วยค่ะ”
ข่าวโดยASTV ผู้จัดการLive
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต และเฟซบุ๊ก ลูกคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน
"ASTVผู้จัดการ Live" และ "@astv_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารและเรื่องราวร้องทุกข์ในสังคมมาได้: astvmanager.live.lite@gmail.com
หรือ โทร.0-2629-4488 ต่อ 1477, Fax 0-2629-4754