xs
xsm
sm
md
lg

"ปลาบึก" ขึ้นบกบ่ายวันนี้สำนักใหญ่ปักหมุดหัวหาดสุราษฎร์ฯ ภูเก็ต-พังงาฉลุยสมุยสาหัส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

หน่วยงานพยากรณ์อากาศ กองทัพเรือสหรัฐ JTWC ออกรายงานพยากรณ์ล่าสุด 11.00 น. พายุโซนร้อนปลาบึก เคลื่อนตัวเร็วขึ้น และ อาจเข้าถึงฝั่งตอนบ่ายวันนี้ จากเดิมคาดว่าจะเป็นช่วงกลางคืน และกำหนดจุด ขึ้นบก ในพื้นที่ใต้เมืองสุราษฎร์ธานี พายุลูกนี้สร้างความสับสนให้แก่นักพยากรณ์อากาศตลอด 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา (โปรดดูภาพที่ 2-3 ประกอบ) หน่วยเวลาที่ใช้ทางทหารเป็น ซูลูไทม์ (Sulu Time หรือ ซี ไทม์) ซึ่งก็คือ เวลามาตรฐานกรีนิช แต่บอกเวลา 00-24 ชั่วโมง -- บวก 7 ชั่วโมงจะเป็นเวลาในประเทศไทย.

MGR ออนไลน์ -- พายุโซนร้อนปลาบึกเล่นเอาเถิดกับบรรดาโหรพยากรณ์สำนักต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา กลายเป็นพายุที่คาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนตัวยากที่สุดอีกลูกหนึ่ง แต่ในที่สุดศูนย์ร่วมแจ้งเตือนไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center) ของกองทัพพเรือสหรัฐ ได้ออกแผนภูมิล่าสุดชั่วโมงที่ผ่านมาปักหมุด บริเวณใต้ตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เป็น "หัวหาด" ของพายุลูกใหญ่ และ กำหนดเวลา "ขึ้นบก" ประมาณ 15.00 น.วันนี้

ก่อนหน้านี้เพียงประมาณ 6 ชั่วโมง JTWC ได้นำพยากรณ์เส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุปลาบึก ขึ้นบนกูเกิ้ลเอิร์ธ แบ่งวิถีการเคลื่อนตัวออกเป็น 3 เส้นทางใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นความไม่แน่ไม่นอนในการคิดคำนวณ ก่อนจะฟันธงเป็นจุดสุราษฎร์ธานีในชั่วโมงที่ผ่านมา

แต่ในขณะเดียวกัน ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางของเวียดนาม ซึ่งออกพยากรณ์เกี่ยวกับพายุ "ลูกที่ 1" ของปีนี้ทุกๆ 3 ชั่วโมงได้ออกแผนภูมิล่าสุดแสดงให้เห็น ปลาบึกกำลังเคลื่อนเข้าฝั่งทะเลภาคใต้ของไทย ที่อีกจุดหนึ่ง โดยพัดผ่านตัวเมืองสิชล จ.นครศรีธรรมราช -- ใต้แหลมตะลุมพุกลงไป -- ห่างจากจุดที่ JTWC กำหนด ลงไปกว่าร้อยกิโลเมตร

ในช่วงเวลาเดียวกัน สำนักแจ้งเตือนความเสี่ยงเกี่ยวกับพายุรุนแรงในเขตร้อน หรือ Tropical Storm Risk ในกรุงลอนดอน ได้ออกแผนภูมิอีกชิ้นหนึ่ง แสดงให้เห็นจุดขึ้นฝั่งของพายุปลาบึกใน จ.สุราษฎร์ธานีเช่นเดียวกัน -- ก่อนพายุจะเคลื่อนผ่านใจกลางเมืองสุราษฎร์ฯ

ไม่ว่าจะอย่างไร เส้นทางคาดการณ์ต่างๆเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า พังงา-ภูเก็ต-กระบี่ ที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลใหญ่ที่สุดของไทยนั้น อยู่ห่างจากใจกลางของพายุลูกใหญ่นี้ออกไป และ ปลอดภัยจากการทำลายล้าง -- อย่างน้อยที่สุดก็ในชั่วโมงนี้ -- ในขณะที่พายุเริ่มเคลื่อนตัวเร็วขึ้น

แต่วิถีเคลื่อนตัวล่าสุดของพายุ -- ถ้เากเป็นไปตามนี้ -- ก็จะทำให้เกาะสมุย เกาะพงัน และ เกาะเต่า แหล่งท่องเที่ยวในอ่าวไทย อยู่ใกล้ศูนย์กลางมากที่สุด อาจจะได้่รับความเสียหายหนักที่สุด

ภาคใต้ของไทยเริ่มได้รับอิทธิพลจากพายุปลาบึก 24 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ และ รุนแรงยิ่งขึ้นในวันนี้ ภาพถ่ายโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาของทุกสำนักพยากรณ์ ล้วนแสดงให้เห็นทั่วทั้งภาค มีเมฆฝนปกคลุมหนาแน่นลงไปจนถึงตอนเหนือของมาเลเซีย รวมทั้งเกาะลังกาวี -- ในขณะที่กรุงเทพฯ กับปริมาณมณฑลมีเมฆเบาบาง กับรายงานฝนตกประปรายเท่านั้น
.
วงรีทั้ง 3 วงในภาพจากกูเกิ้ลเอิร์ธ แสดงให้เห็นเขตอิทธิพลที่เกิดจาก เส้นทางเคลื่อนตัวที่เป็นไปได้จำนวน 3 เส้นทาง สำนัก JTWC นำขึ้นแสดงในตอนเช้าตรู่วันนี้ ก่อนจะ ฟันธง เมื่อเวลา 11.00 น. ระบุเป็นเส้นทางบนสุด กับหัวหาดสุราษฎร์ธานี .
.
ภาพขยายให้เห็น 3 เส้นทางที่เป็นไปได้ เพียง 6-7 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ในที่สุด JWTC ก็กำหนดจุดขึ้นบกที่สุราษฎร์ธานีในบ่ายวันนี้ ตามแนวแรกเส้นบนสุด.
.
แผนภูมิโดยสำนักพยากรณ์อากาศมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐ ในวันนี้แสดงจุดขึ้นบกที่สุราษฎร์ฯ เช่นเดียวกัน.
.
ไกลออกไปในกรุงลอนดอน สำนัก TSR แสดงเส้นทางในแนวเดียวกัน -- สุราษฎร์ธานี.
.
สำนักเวียดนามเห็นต่าง -- ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ในกรุงฮานอย ออกแผนภูมินี้ 11.00 น. ชี้จุดขึ้นบกไปที่ อ.สิชล นครศรีธรรมราช ในแนวที่อยู่ใต้แหลมตะลุมพุกลงไป --สำนักนี้เกาะติดพายุปลาบึก และ ออกรายงานพยากรณ์ทุกๆ 3 ชั่วโมงตลอด 3 วันมานี้่.
.
กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยคาดว่าจะเกิดฝนตกคลุมภาคใต้เป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ มีลมแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง ลงไปจนถึง จ.สตูล

สำหรับเวียดนามพายุโซนร้อนปลาบึก นับเป็นลูกที่ 1 จากทะเลจีนใต้ในปีนี้ตามระบบการนับของประเทศที่เป็นหน้าด่านของอนุภูมิภาค ซึ่งเมื่อปีที่แล้วถูกดีเปรสชขั่นรุนแรง พายุโซนร้อนกับไต้ฝุ่นพัดถล่มรวมกัน 9 ลูก และ สื่อของทางการรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 218 คน พายุสร้างความเสียหายให้เป็นมูลค่า 650 ล้านดอลลาร์

ปลาบึก (ปาบึก) พายุชื่อลาว ก่อตัวขึ้นในแถบหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ ก่อนเพิ่มความหนาแน่นของมวลกลายเป็นดีเปรสชั่น และพัฒนาความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางขึ้นเป็นพายุโซนร้อน -- สำนักพยากรณ์ของเวียดนาม และ TRS ได้จัดปลาบึกเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทย 3 ม.ค.ที่ผ่านมา -- ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ในกรุงฮานอย ยังคงปลาบึกเป็นไต้ฝุ่นจนถึงเช้าวันศุกร์นี้

หน่วยพากรณ์อากาศเวียดนาม ยังคงเกาะติดปลาบึกอย่างเหนียวแน่น ถึงแม้พายุจะเคลื่อนผ่านน่านน้ำไปแล้วก็ตาม แต่ยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่อง ทางการยังคงห้ามเรือหาปลาออกจากฝั่งมาเป็นวันที่สาม เนื่องจากคลื่นลมแรงในทะเลจีนใต้ สื่อในเวียดนามยังคงรายงานฝนตกโดยทั่วไป และ ตกหนักในหลายพื้นที่จังหวัดเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง อันเป็นอิทธิพลของพายุลูกที่ 1 นี้.
กำลังโหลดความคิดเห็น