xs
xsm
sm
md
lg

"โด๋เหมื่อย" ผู้นำคอมมิวนิสต์เวียดนามยุคปั่นป่วนสิ้นลมแล้วรวมอายุ 101 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

<br><FONT color=#00003>เลขาธิการใหญ่พรรคฯ ให้สัมภาษณ์ระหว่างการประชุมสมัชชาครั้งที่ 8 พรรคคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอย 30 มิ.ย.2539 ปีที่ได้รับเลือกให้อยู่ในตำแหน่งคานอำนาจสามเส้าต่อไปอีกหนึ่งวาระ 5 ปี่ แต่ไปไม่ถึงปลายทาง ต้องลาออกกลางสมัย เปิดทางให้สายทหารหัวอนุรักษ์นิยมขึ้นแทน เพื่อส่งผ่านอำนาจสู่มือผู้นำอีกรุ่นหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองในวันนี้. -- Associated Press/Xoan Lam. </a>

MGR ออนไลน์ -- นายโด๋เหมื่อย (Đỗ Mười) อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ที่เคยอยู่ในตำแหน่งยาวนานในยุคที่เวียดนามเริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ๆ ได้ถึงแก่อนิจกรรมคืนวันจันทร์ที่ผ่านมารวมอายุ 101 ปี นี่คือผู้นำที่ได้เห็นช่วงปีที่การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศปั่นป่วนที่สุดยุคหนึ่ง ในท่ามกลางการต่อสู้ทางความคิด และความขัดแย้งระหว่างฝ่ายปฏิรูปฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายคอมมิวนิสต์จารีตนิยม ที่หวั่นเกรงการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว อีกฝ่ายหนึ่ง

ความขัดแย้งดังกล่าวดำเนินมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี จนกระทั่งอำนาจทางการเมือง ถูกถ่ายไปยังผู้นำอีกรุ่นหนึ่งในช่วง 20 ปีมานี้ ซึ่งทำให้การปฏิรูปเศรษฐกิจ ทำให้เวียดนามเข้าสสู่ยุคเศรษฐกิจแบบตลาด สามารถดำเนินต่อไปได้ นำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่สามารถสัมผัสได้ในวันนี้่

หลายคนมองว่านายเหมื่อยเป็นฝ่ายจารีตนิยม แต่แท้จริงแล้วเจ้าตัวเป็นผู้นำที่ได้ชื่อว่า "ไม่มีสี" เป็นตัวกลางในการถ่วงดุลย์อำนาจระหว่างคอมมิวนิสต์ 2 กลุ่มในพรรค และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป -- ความขัดแย้งฝยด้านแนวทางลงเอยด้วยชัยชนะของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในระยะแรก แต่โอกาสพลิกมาเป็นของสายปฏิรูปจากภาคใต้ในทศวรรษถัดมา ซึ่งนำมาสู่การเป็นประเทศเวียดนาม ที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว และในอัตราสูงเช่นทุกวันนี้

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการในวันอังคาร 2 ต.ค. -- นายเหมื่อย เสียชีวิตในโรงพยาบาลทหาร 108 กรุงฮานอย ที่เข้ารักษาอาการป่วยมาเป็นเวลานาน

อดีตผู้นำพรรคฯ คนนี้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มายาวนาน 80 ปี -- ตามประวัติอย่างเป็นทางการนั้น เป็นชาวเมืองหลวงโดยกำเนิด เกิดวันที่ 2 ก.พ.2450 ในเดขตอำเภอแท็งจี๋ ซึ่งในปัจจุบันไม่มีอีกแล้ว -- ในชื่อจริงเหวียน ซวี โก๋ง (Nguyễn Duy Cống) เข้าร่วมขบวนการเยาวชนต่อต้านฝรั่งเศสตั้งแต่อายุ 14 ปี เข้าเป็นสมาชิกองค์การเยาวชนของขบวนการเวียดนาม หรือ ชาวเวียดนามผู้รักชาติ เมื่ออายุ 19 แต่ถูกจับกุมในอีกเพียง 3 ปีค้อมา และถูกฝรั่งเศสลงโทษจำคุก 10 ปี
.
<br><FONT color=#00003>ภาพวันที่ 21 ม.ค.29 นายโด๋ เหมื่อย ไปร่วมพิธีเปิดประชุมสมัชชาครั้งที่ 16 พรรคคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอย ซึ่งพรรคได้เลือกนายเหวียน ฟุ๊ จ่อม (Nguyễn Phú Trọng) เป็นเลขาธิการใหญ่อีกหนึ่งสมัย -- นายเหมื่อย ถึงแก่อนิจกรรมคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา. -- Agence France-Press/Pool/Luong Thai Linh. </a>
นายเหมื่อยในวัยหนุ่มถูกส่งไปใช้แรงงาน และ คุมขังในเรือนจำหว่าล่อ (Hỏa Lò) ที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นในฮานอย ซึ่งต่อมารู้จักกันไปทั่วโลกในชื่อ "ฮานอย ฮิลตัน" (Hanoi Hilton) อันเป็นที่คุมขังเชลยศึกอเมริกันหลายคน รวมทั้งวุฒิสมาชิกจอห์น แม็คเคน ผู้ล่วงลับ

นายเหมื่อยอยู่ในเรือนจำแห่งนั้่น 4 ปี ก็เป็นช่วงที่กองทัพพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นเข้าไปมีอิทธิพลในคาบสมุทรอินโดจีน กำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสในเวียดนาม เป็นช่วงที่นายเหมื่อยสามารถหลบหนีการคุมขัง โดยออกทางท่อระบายน้ำของเรือนจำได้ กลับไปเข้าร่วมการต่อสู้ และ แต่นั้นมาได้ออกปฏิบัติการในพื้นที่หลายจังหวัด จนกระทั่งได้ติดยศทางทหารครั้งสุดท้าย เป็นระดับนายพลจัตวากองทัพเวียดมินห์

นายเหมื่อยเริ่มโดดเด่นขึ้นมาในพรรคในช่วงปลายทศวรรษ 1940 และ กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนามในปี 2531 ต่อมาในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 7 ของพรรคคอมมิวนิสต์ เดือน มิ.ย.2534 ได้รับเลือกขึ้นเป็นเลขาธิการใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของพรรคในวาระ 5 ปี

แต่ในขณะเดียวกัน สมัชชา 7 ก็ได้เลือกผู้นำอีก 2 คน ที่มีความคิดความเชื่อต่างกันสองแนวทาง ขึ้นสู่อำนาจแบบคู่ขนานกันไปด้วย

นายเหมื่อยเป็นหนึ่งใน "สามเสาหลัก" ที่คานอำนาจกันในพรรค ถัดลงไปเป็นตำแหน่งประธานาธิบดี ที่ได้จากสายทหารคือ พล.อ.เล ดึ๊ก แองห์ (Lê Đức Anh) อดีตรัฐมนตรีกลาโหม กับ "เส้าที่สาม" ซึ่งได้แก่ นายกรัฐมนตรี นายหวอ วัน เกียต (Võ Văn Kiệt) ที่เติบโตไปจากภาคใต้ของประเทศ อดีตเลขาธิการพรรคสาขานครโฮจิมินห์ ซึ่งได้สร้างตัวอย่างความสำเร็จของการปฏิรูปขึ้นในนครใหญ่แห่งนั้น
.
<br><FONT color=#00003>ภาพวันที่ 28 พ.ย.2538 นายเหมื่อย เดินทางเยือนปักกิ่ง พบเจรจากับนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงของจีนกับผู้นำอีกหลายคน รวมทั้งนายเจียงเจ๋อหมิน ประธานพรรคในเวลา การล่มสลายของโซเวียตทำให้จีนกับเวียดนาม คอมมิวนิสต์ต่างสายต่างอุดมการณ์ต้องปรับสัมพันธ์ต่อกัน. -- Agence France-Press/Xuan Lam. </a>
นั่นคือช่วงปีที่บรรดาผู้นำคอมมิวนิสต์เวียดนาม อยู่ในสภาพขวัญผวาทางการเมือง จากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อปี 2532 หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต ที่นำโดยนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ เลขาธิการใหญ่ประสบความล้มเหลว และ ประเทศแตกเป็นเสี่ยงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เมื่อเกิดความพยายามรัฐประหารยึดอำนาจในกรุงมอสโก โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์หัวรุนแรง ถึงแม้จะล้มเหลวก็ตาม

การล่มสลายของโซเวียตที่เคยเป็นหลังพิงตลอดหลายทศวรรษ ได้ส่งผลกระทบรุ่นแรงต่อเวียดนาม เนื่องจากความช่วยเหลือที่จำเป็นต่างๆ หายไป ต้องยืนอยู่ให้ได้ด้วยตนเองอย่างโดดเดี่ยว

ในทางเศรษฐกิจนั้น การปฏิรูปภายใต้การนำของสายก้าวหน้าคือ นายเหวียน วัน ลีง (Nguyễn Văn Linh) อดีตเลขาธิการใหญ่พรรค ที่เติบโตมาจากภาคใต้ ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อนหน้านั้น พร้อมๆ กับนโยบายเปเรสตรอยกา (Perestroyka) ของนายกอร์บาชอฟในโซเวียต การล้มเหลวถึงกับพังทลายของค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่ ส่งผลกระทบต่อสายปฏิรูปในพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามโดยตรง

การดำเนินนโยบายโด่ยเหมย (Đổi Mới) หรือ การเปลี่ยนใหม่/การฟื้นฟูใหม่ ปรับทิศทางเศรษฐกิจให้เป็น "แบบตลาดแนวสังคมนิยม" (Socialist-Oriented Market Economy) ของนายวัน ลีง จึงถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากกองทัพ และ ผู้นำสายอนุรักษ์นิยมที่ยังเหลืออยู่ กระแสหวาดระแวงนี้ดำเนินต่อมาข้ามสมัย จนถึงสมัชชาครั้งที่ 9 ของพรรค
.
<br><FONT color=#00003>ภาพวันที่ 8 ธ.ค.2538 นายเหมื่อยต้อนรับการไปเยือนของผู้นำคิวบาฟิเดล คัสโตร อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เสียชีวิตคืนวันจันทร์ที่่ผ่านมาที่โรงพยาบาลทหาร 108 ในกรุงฮานอย. -- Agence France-Press/Hoang Dinh Nam. </a>
นายเหมื่อย ยังคงได้รับเลือกตั้งให้อยู่ในตำแหน่งอีก 1 สมัย ในการประชุมสมัชชาครั้งที่ 8 ของพรรคคอมมิวนิสต์ปี 2539 และอยู่ภายใต้การคานอำนาจสามเส้า กับ พล.อ.เล ดึ๊ก แอง นายหวอ วัน เกียต เช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 8 ที่นำโดยโด๋เหมื่อย ไปไม่ถึงปลายทาง อยู่ไม่ครบสมัย เลขาธิการใหญ่พรรคลาออกจาตำแหน่ง ระหว่างการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 4 ในเดือน ธ.ค.2540 ซึ่งถือเป็นการลาออกกลางสมัย ทำให้สายอนุรักษ์นิยมที่นำโดย พล.ท.เล ข่า เฟียว (Lê Khả Phiêu) หัวหน้ากรมใหญ่การเมืองกองทัพประชาชน ได้ขึ้นสู่อำนาจ

นายเหมื่อย พล.อ.แอง กับ นายหวอ วัน เกียต ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการกลางชุดที่ 8 ต่อไปจนถึง เม.ย.2544 ที่มีการกระชุมสมัชชาครั้งที่ 9 ของพรรค ที่เกิดการประนีประนอมระหว่างสายอนุรนักษ์ยิมกับสายปฏิรูปในพรรค

ยุคของนายเหมื่อย จึงถือเป็นยุคการส่งถ่ายอำนาจการนำสู่มือผู้นำอีกรุ่นหนึ่ง และ กลายมาเป็นยุคแห่งการปฏิรูปอย่างเต็มกำลัง หลังจากยุคแห่งความยุ่งยากทางการเมืองผ่านพ้นไป และ ประเทศมีความมั่นคง ไม่หวาดหวั่นต่อการล่มสลาย เช่นในทศวรรษที่ 1990.
กำลังโหลดความคิดเห็น