xs
xsm
sm
md
lg

นานเท่าไรไม่ได้เห็นตะกรุมหัวเหม่ง? หายากยิ่งเจอ 6 รังในป่าเขมร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

<br><FONT color=#00003>นกกระสาขนาดใหญ่ชนิดนี้ ในประเทศไทยเคยมีรายงานพบอยู่เพียง 2 พื้นที่เมื่อหลายปีก่อน และจำนวนไม่กี่ตัว สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าโลกเพิ่งพบรัง 6 รังในเขตป่าสงวน จ.มณฑลคีรี ของกัมพูชา. Courtesy WCS. </a>

MGR ออนไลน์ -- คนรุ่นใหม่แทบจะไม่รู้จักมากไปกว่าเคยได้ยินชื่อเสียง เนื่องจากของ "นกตะกรุมหัวล้าน" ได้กลายเป็นสัตว์ปีกที่หายากมากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ พบตัวสุดท้ายในประเทศไทยก็หลายปีมาแล้ว แต่สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าในกัมพูชาประกาศสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับการพบรังของนกชนิดนี้ถึง 6 รัง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

เรื่องนี้ได้เป็นข่าวที่นำความยินดีปรีดาสู่ผู้คนในประชาคมอนุรักษ์ รวมทั้งบรรดานักปักษีวิทยาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล

ทีมสังเกตุการณ์และติดตามของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society) หรือ WC กล่าวว่า ได้พบรังนกตะกรุม (Lesser Adjutant Stork) บนต้นไมใหญ่ทางตอนเหนือของเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าแก้วเสมา (Keo Seima Wildlife Sanctuary) ซึ่งเป็นเขตที่ราบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.มณฑลคีรี (Mondol Kiri) เมื่อวันที่ 10 เดือนนี้ เป็นครั้งแรกที่พบนกป่าขนาดใหญ่และหายากชนิดนี้่ในพื้นที่ดังกล่าว

นกตะกรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Leptoptilos javanicus เป็นนกกระสาขนาดใหญ่พันธุ์หนึ่ง ตัวโตเต็มที่อาจสูง 100-120 เซ็นติเมตร ปีกกางออกกว้าง 210 ซม. เชื่อกันว่าประชากรยังเหลืออยู่รวมกันไม่เกิน 10,000 ตัวในทั่วโลก แต่ได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วไม่กี่ปีมานี้ จึงถูกจัดประเภทเป็นสัตว์ป่าที่ถูกคุกคามในบัญชีของสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature)

แก้วเสมาเป็นเขตป่าธรรมชาติที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ กับความหลากหลายทางชีวนานาพันธุ์มากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักอนุรักษ์ฯได้ทยอยค้นพบสัตว์ป่าหายากหลากหลายชนิด ในเขตป่าแห่งนี้ บางชนิดเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้

"เขตอนุรักษ์สัตว์ป่าแก้วเสมา เป็นแหล่งอาศัยสำคัญเพื่อการมีชีวิตรอดและการขยายพันธุ์ของบรรดาสัตว์ที่มีความเสี่ยงชนิดต่างๆ มีทั้งเขตป่าแห้ง ทุ่งหญ้าและป่าชุ่มน้ำ ที่ปลา กบเขียด สัตว์เลื้อยคลาน หอยทาก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กๆ อาศัยหากินได้" WCS อธิบายในเอกสารแถลงข่าวฉบับในวันอังคาร 18 ก.ย.ที่ผ่านมา

นายโซ้ต วันเดือน (Sot VandoeunX) ผู้ประสานงานทีมติดตามสอดส่องในกัมพูชาระบุว่า ปัจจุบันการตัดไม้ทำลายป่า เป็นภัยคุกคามอย่างยิ่ง และส่งผลอย่างรุนแรงต่อถิ่นวางไข่ของนกตะกรุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแพร่พันธุ์ ดังนั้นการปกป้องคุ้มครองแหล่งทำรังจึงมีความสำคัญมากต่อการอยู่รอดของนกหายากชนิดนี้"
.
<br><FONT color=#00003>เหม่งจนกลายเป็นอัตลักษณ์ ถูกขนานนามว่า ตะกรุมหัวล้าน. En.Wikipedia.Org</a>
<br><FONT color=#00003>ทำรังบนต้นไม้สูงใกล้แหล่งน้ำซึ่่งเป็นแหล่งหากิน ปะปนอยู่กับรังของนกตะกรามและกระทุง. Courtesy WCS. </a>
ข้ออมูลในเว็บไซต์ BirdLife International เมื่อปี 2556 ระบุว่า นกตะกรุมมีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย พบในประเทศอินเดีย หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีนตอนใต้ และเกาะชวา

กระสาชนิดนี้มีลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้นๆ ขึ้นกระจายห่างๆ ทำให้ศรีษะดูล้านเลี่ยน จะงอยปากมีขนาดใหญ่สีออกเหลือง มีแต้มสีแดงที่บริเวณโคนปากในฤดูผสมพันธุ์ มีแข้งและเท้าสีน้ำตาลแกมเขียวจนถึงสีคล้ำเกือบดำ นกอายุน้อยขนจะมีสีดำค่อนข้างด้าน บนส่วนหัวและลำคอมีขนปกคลุมมากกว่าโตเต็มวัย

ตะกรุมหากินสัตว์เล็กๆตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร ตั้งแต่ กุ้ง หอย ปู ปลา จนถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเช่นงู กบ เขียด มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ในช่วงปลายปี คือ พ.ย.-ธ.ค.

สำหรับในประเทศไทยหาพบได้ยากมาก เคยมีรายงานพบในศรีสะเกษ ราชบุรี ชุมพร ตรัง ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส และ มีรายงานการทำรังในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย พัทลุง กับป่าพรุ ในนราธิวาส เมื่อปี 2522

ปัจจุบันเหลือฝูงสุดท้ายที่เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา อันเป็นเกาะที่เงียบสงบ ห่างไกลจากการถูกรบกวน และ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 เคยมีรายงานพบจำนวน 2 ตัวในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย -- ปัจจุบันตะกรุมเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.


กำลังโหลดความคิดเห็น