xs
xsm
sm
md
lg

ปินส์เอาแน่เรือดำน้ำ Kilo ติดจรวดคาลิเบอร์ "ฟรีดาวน์" รัสเซียให้ใช้ก่อนผ่อนทีหลัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพจากวิดีโอ ขณะเรือรอสตอฟ-ออน-ดอน (Rostov-On-Don) ขณะดำใต้น้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปล่อยอาวุธนำวิถีชนิดร่อนแบบคาลิเบอร์ไปถล่มเป้าหมายกลุ่มก่อการร้ายไอซิสในซีเรีย ที่อยู่ไหลออกไปหลายร้อยกิโลเมตร  -- หลังเสร็จสิ้นการศึก จรวดร่อน ชนิดนี้ก็มีชื่อกระฉ่อนโลก และกลายเป็นอาวุธหลักอีกระบบหนึ่งบนเรือรบผิวน้ำกับเรือใต้น้ำที่ไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ทุกรุ่นทุกลำของกองทัพเรือรัสเซีย รวมทั้งเป็นที่หมายตาของกองทัพเรือฟิลิปปินส์. </a>

MGR ออนไลน์ -- สงครามในซีเรียได้ส่งผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่มากก็น้อย รัฐมนตรีกลาโหมเดล ฟิน โลเรนซานา (Delfin Lorenzana) ออกยืนยันเป็นครั้งแรกว่า กองทัพเรือกำลังหมายตาเรือดำน้ำชั้นคิโลติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบคาลิเบอร์ (Kaliber) -- ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับที่รัสเซียใช้ยิงถล่มเป้าหมายกลุ่มก่อการร้ายไอซิสในซีเรียในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ คณะกรรมการชุดหนึ่งจะไปเยือนรัสเซียสัปดาห์หน้า เพื่อเยี่ยมชมกระบวนการผลิต

นายโลเรนซานา ซึ่งเป็นอดีตนายทหารยศนายพลตรีแหงกองทัพฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่าเป็นความประสงค์และเป็นนโยบายของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต (Rodrigo Duterte) ที่จะให้เรือดำน้ำผลิตในรัสเซียเป็นลำแรกของกองทัพ หลังจากสองฝ่ายได้พัฒนาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยฟิลิปปินส์หมายตาเรือดำน้ำค่ายยุโรปเช่นของเยอรมนีและฝรั่งเศส รวมทั้งเรือที่ผลิตในเกาหลีไปด้วยในขณะเดียวกัน

รัฐบาลรัสเซียได้สนับสนุนกองทัพปิลิฟฟินส์ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมาก ในภารกิจปราบปรามการก่อการร้ายโดยกองกำลังอิสลามหัวรุนแรงที่นิยมไอซิสในประเทศ รวมทั้งสงครามปราบปรามยาเสพติด

รัฐบาลรัสเซียได้หยิบยื่นเงินกู้ผ่อนปรน หรือ ซ้อฟท์โลน ให้ฟิลิปปินส์เพื่อการนี้อีกด้วย ในกรณีที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นเงินกู้ปราศจากดอกเบี้ย หรือ เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาดก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการเจรจา ระหว่างสองฝ่าย
.

.
สัปดาห์หน้านี้ตนเองกำลังจะนำคณะของกระทรวงฯ ชุดหนึ่ง เดินทางเยือนกรุงมอสโก ตามคำเชิญของฝ่ายรัสเซีย และเพื่อไปเยี่ยมชมแหล่งผลิต กับกระบวนการผลิตเรือดำน้ำ (ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) พล.ต.โลเรนซานา ให้สัมภาษณ์วันพฤหัสบดี หรือ หนึ่งวันหลังจากสำนักข่าวกลาโหมชั้นนำ "เจนส์ 360" รั่วข่าวเกี่ยวกับแผนจัดหาเรือดำน้ำคิโลเป็นครั้งแรก

นายโลเรนซานากล่าวอีกว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกาะที่ทะเลล้อมรอบทุกทิศทาง หากไม่มีเรือดำน้ำการป้องกันประเทศก็ไม่มีวันสมบูรณ์ได้ เรือดำน้ำยังเป็นขวัญกำลังใจสำคัญของกองทัพกับประชาชนอีกด้วย -- ฝ่ายรัสเซียให้คำมั่นว่าจะสนองเรือดำน้ำลำแรกให้ได้ภายใน 12 เดือน หลังการเซ็นสัญญาจัดซื้่อจัดหา

ฟิลิปปินส์เผชิญหน้ากับพรรคคอมมิวนิสต์ที่นิยมลัทธิเหมาเจ๋อตง ที่ได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์จีนมาเป็นเวลายาวนานตลอดช่วงปีแห่งสงครามเย็น นอกจากนั้นยังมีกองกำลังติดอาวุธอิสลามแยกดินแดนทางตอนใต้ของประเทศอีกหลายกลุ่ม รวมทั้งกลุ่มที่นิยมไอซิส ฟิลิปปินส์ใช้กำลังทหารจำนวนมาก ใช้อาวุธหนักนานาชนิด รวมทั้งการโจมตีทางอากาศ ในการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายอิสลามแยกดินแดน การโจมตีครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ฝ่ายรัฐบาลสามารถเอาชนะได้ แต่การก่อการร้ายยังไม่หมดไป
.
<br><FONT color=#00003>เดือน มิ.ย.2560 พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย รัฐมนตรีกลาโหมไปเยี่ยมชมฐานทัพเรือภาคพื้นทะเลดำ ที่เซวาสโตโปล คาบสมุทรไครเมียของรัสเซีย ร่วมถ่ายภาพบนเรือรอสตอฟ-ออน-ดอน (Rostov-On-Don) เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ากองทัพเรือพม่ากำลังหมายตาเรือคิโล 636.3 ในแผนการจัดหา 2-3 ลำ ภาพนี้น่าจะพอทำให้เชื่อได้ว่าพม่าเอาจริง -- ของมันต้องมี.  </a>
เมื่อปีที่แล้วรัสเซียส่งเรือพิฆาตลำหนึ่งจากกองทัพเรือแปซิฟิกไปเยือนฟิลิปปินส์พร้อมเรือสนับสนุนอีก 2 ลำ บรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก รวมทั้งยานยนต์สำหรับการทหาร โดยรัฐมนตรีกลาโหม พล.อ.เซอร์เก โชยกู เป็นผู้มอบให้แก่ประธานาธิบดีดูเตอร์เต ด้วยตนเอง รัสเซียยังเสนออาวุธเพื่อการป้องกันประเทศให้แก่ฟิลิปปินส์อีกหลายรายการ

ถ้าหากการเจรจาสองฝ่ายประสบความสำเร็จ ฟิลิปปินส์ก็จะเป็นประเทศที่สองในอาเซียนถัดจากเวียดนาม ที่มีเรือดำน้ำพลังงานดีเซล-ไฟฟ้า คุณภาพเยี่ยมของโลกรุ่นหนึ่งประจำการ ในขณะที่ทราบกันทั่วไปว่าพม่ายังคงติดพันเจรจาซื้อเรือดำน้ำชนิดเดียวกันนี้ 2-3 ลำจากรัสเซีย ส่วนราชนาวีไทยเลือกเรือดำน้ำที่ผลิตจากจีนจำนวน 3 ลำ

ในเดือน ธ.ค.2552 เวียดนามเซ็นสัญญาจัดหาเรือคิโลติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบคาลิเบอร์รุ่นหนึ่งจากรัสเซีย เป็นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์ เริ่มส่งมอบปี 2556 จนครบทั้ง 6 ลำใน ปี 2559 กลายเป็นชาติที่มีกำลังใต้น้ำแข็งแกร่งที่สุดในอาเซียน ถ้าหากการเจรจาระหว่างฟิลิปปินส์-รัสเซี่ยประสบความสำเร็จ ทั้งอนุภูมิภาคก็จะมีเพียงกัมพูชากับบรูไน ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกเล็กที่สุดของอาเซียนเท่านั้น ไม่มีเรือใต้น้ำประจำกองทัพ ในขณะที่ลาวไม่มีพรมแดนติดทะเล

ฟิลิปปินส์ที่อยู่ภายใต้การปกป้องของสหรัฐมานานกว่าครึ่งศตวรรษ ในฐานะพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดในย่านนี้ เริ่มแสดงความขุ่นเคืองและกลายเป็นความบาดหมางทางการทูต ปธน.ดูเตอร์เต ที่ไม่พอใจหลังถูกรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา วิจารณ์เกี่ยวกับการใช้ความรุงแรงในการปราบปรามยาเสพติด ที่ทำให้มีผู้คนถูกสังหารไปหลายพันคนในช่วงกว่า 10 ปีมานี้
.

.
ฟิลิปปินส์พูดถึงการจัดหาเรือดำน้ำมาหลายปี ซึ่งรวมอยู่ในแผนการพัฒนาความสามารถในการป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่อง และ ทราบกันทั่วไปว่าในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา นายดูเตอร์เตเซ็นอนุมัติเงินงบประมาณ 5,600 ล้านดอลลาร์ ในการยกระดับความสามารถของกองทัพระยะใหม่ ในนั้นรวมถึงการจัดหาเรือดำน้ำในชั้นต้นจำนวน 2 ลำด้วย

ในปี 2559 กองทัพเรือฟิลิปปินส์นำเสนอเรือดำน้ำโครงการ 212 หรือ Type 212 ต่อรัฐบาล ซึ่งเป็นรุ่นพัฒนาล่าสุดของเรือดำน้ำสัญชาติเยอรมัน แต่ถึงต้นปี 2560 กระทรวงกลาโหมเริ่มพุ่งความสนใจไปที่เรือดำน้ำรัสเซีย

เรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo-Class) ต่อตามโครงการ 636.3 หรือ โครงการ "วาสชาฟเวียนสกา" (Varshavjanka) ตามระบบของประเทศผู้ผลิต แต่เดิมผลิตในอีกชื่อหนึ่งคือ "โครงการ 877" เข้าประจำการกองทัพสหภาพโซเวียตในคริสต์ทศวรรษ1980 ปัจจุบันยังมีเรือรุ่นเก่านี้ประจำการในกองทัพรัสเซีย อินเดีย รวมทั้งกองทัพเรือจีนอีกหลายสิบลำ

ต่อมารัสเซี่ยได้พัฒนาเรือคิโลใหม่ กลายเป็นโครงการ 636 -- การพัฒนามาต่อเนื่องทำให้มาถึงรุ่นปัจจุบันคือ 636.3 เรียกกันทั่วไปว่า เรือคิโล "รุ่นปรับปรุง" หรือ Improved Kilo Submarine
.
<br><FONT color=#00003>ภาพจากคลิปของกระทรวงกลาโหมเวียดนาม แสดงการโหลดตอร์ปิโด 533 มม.ผ่านท่องยิงทางด้านหน้าเรือคิโล 636.3 ลำหนึ่ง ที่ฐานทัพอ่าวกามแรงเมื่อปีที่แล้ว อาวุธปล่อยนำวิถีคาลิเบอร์ ก็ ปล่อย หรือ ยิงผ่านท่อนี้เช่นเดียวกัน. </a>
เรือชั้นคิโลได้พิสูจน์ตัวเองตลอดมาในเรื่องคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความเงียบอันเป็นคุณสมบัติ มี่มีความสำคัญยิ่งยวดในการปฏิบัติภารกิจและการอยู่รอด กลุ่มนาโต้ให้ฉายาเรือโซเวีย/รัสเซียรุ่นนี้ว่า "หลุมดำ" (Blackhole) ในมหาสมุทร ที่ยากในการตรวจจับ -- ปัจจุบันกองทัพเรือรัสเซียเองยังคงนำเรือคิโลเข้าประจำการอย่างต่อเนื่อง

สเป็กของโรงงานเป็นเรือขนาด 2,300-2,350 ตันขณะลอยลำ และ 3,000-3,950 ตัน เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา ทำความเร็วสูงสุด 20 นอต (37 กม./ชม.) เมื่อแล่นอยู่ใต้น้ำ และ 17 นอต หรือ 31 กม./ชม. เมื่อแล่นบนผิวน้ำ ระดับปฏิบัติการปรกติ 240 เมตรใต้น้ำ แต่ดำได้ลึกสุด ราว 300 เมตร ลูกเรือสามารถปฏิบัติการใต้น้ำต่อเนื่องได้เป็นเวลา 45 วัน

ระบบอาวุธหลักเป็นตอร์ปิโดขนาด 533 มม. พร้อมท่อยิง 6 ท่อ ที่สามารถใช้ "ยิง" อาวุธปล่อยนำวิถีแบบคาลิเบอร์ที่มีขนาดเท่ากันได้
.

.
สงครามในซีเรียทำให้โลกได้เห็นประสิทธิภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์จากค่ายโซเวียต/รัสเซียหลายชนิดและประเภท แต่ได้รับความสนใจมากที่สุดดูจะไม่มีอะไรเกินเทคโนโลยีอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ "ร่อน" (Guided Cruise Missile) หรือ "จรวดร่อน" 2-3 รุ่นที่ไม่เคยได้เห็นใช้งานมาก่อน ในสภาพที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงในสนามรบ ทั้งชนิด "ปล่อย" จากเรือรบในทะเลแคสเปียน เพื่อไปโจมตีที่ตั้งสำคัญของไอซิสในซีเรีย รวมเป็นระยะทางที่ "ร่อนไป" กว่า 1,500 กม. กับรุ่นที่ปล่อยจากเครื่องบินรบและเรือดำน้ำในทะเลเมดิเรเนียน ในการรุกรบครั้งใหญ่หลายครั้งที่ผ่านมา

ปลายปี 2558 กองทัพรัสเซียเปิดฉากโจมตีระยะไกลด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีคาลิเบอร์จากเรือรบใต้น้ำครั้งแรก โดย "ปล่อย" หรือ ยิงจากเรือดำน้่ำรอสตอฟ-ออน-ดอน (Rostov-On-Don/B237) จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปโจมตีเป้าหมายกลุ่มก่อการร้ายในซีเรียนับสิบแห่งอย่างแม่นยำ กระทรวงกลาโหมรัสเซีย เผยแพร่ทั้งภาพเคลือนไหวและภาพนิ่ง รวมเปิดแผนที่การนำวิถีผ่านระบบดาวเทียมโกลนาส (GLONASS) แสดงการทำงานของระบบอาวุธชนิดนี้ให้เป็นที่ประจักษ์กันทั่วไป

รัสเซียยิงจรวดร่อนคาลิเบอร์จากเรือดำน้ำชั้นคิโลจากกองทัพเรือภาคทะเลดำอีกหลายลำ รวมทั้งเรือกราสโนดาร์ (Grasnodar/B265) เรือ Krasnodar (B-265) เรือเวลิคี นอฟกอรอด (Velikiy Novgorod/B-268) กับเรือคอลปิโน (Kolpino /B-271) -- ทั้งหมดเป็นเรือ 636.3 "คิโลรุ่นปรับรุง"

หลังเสร็จสิ้นการศึกในซีเรียรัสเซียประกาศให้เรือรบทุกลำ รวมทั้งเรือดำน้ำที่ไม่ได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ทั้งหมด ติดระบบอาวุธปล่อยนำวิถีแบบคาลิเบอร์เป็นอาวุธหลักอีกชนิดหนึ่งด้วย.


กำลังโหลดความคิดเห็น