xs
xsm
sm
md
lg

กัมพูชาเพิ่งเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เอี่ยมที่สนามบินสีหนุวิลล์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>อาคารอเนกประสงค์สนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ของกัมพูชา ที่ก่อสร้างต่อเติมใหม่ช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้งานเป็นกว่า 8,000 ตารางเมตร พิธีเปิดจัดขึ้นตอนเช้าวันพุธ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา -- ทั้งจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินที่ไปยังปลายทางแห่งนี้ เติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา. -- ภาพโดยสำนักข่าวกัมพูชา. </a>

MGR ออนไลน์ -- ทางการกัมพูชาทำพิธีเปิดใช้อาคารผู้โดยสารที่ฟื้นฟูต่อเติมและพัฒนาขึ้นใหม่ ที่สนามบินนานาชาติจังหวัดพระสีหนุในวันพุธ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อรองรับการสัญจรทางอากาศที่ขยายตัวในอัตราสูงมาก ในเมืองและจังหวัดท่องเที่ยวชายทะเลอ่าวไทย ในขณะที่บริษัทร่วมทุนเจ้าของสัมปทานเปิดเผยแผนการต่อไป ที่จะขยายทางวิ่งขึ้นลงให้ยาวขึ้นเป็น 3.3 กิโลเมตร เพื่อเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ขึ้นลงได้ เช่นเดียวกับสนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ และ เสียมราฐ

แผนการทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นความพยายามอันยิ่งยวด เพื่อรับมือกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของการลงทุนจากต่างประเทศ กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หลังจากสนามบินสีหนุแห่งนี้เคยลุ้มลุกคลุกคลานมาในช่วงหนึ่ง รวมทั้งในบางห้วงเวลาที่ไม่มีสายการบินใด บินประจำเชื่อมปลายทางแห่งนี้เลย

พิธีเปิดอาคารผู้โดยสารจัดขึ้นเรียบง่าย โดยการเข้าร่วมของนายเหมา ฮาวันนัล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการบินพลเรือนแห่งชาติ นายยุน มิน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระสีหนุ กับ นายนิโคลัส โน้ตบาร์ต ซีอีโอบริษัทวินซีคอนเซสชั่น (VINCI Concession) ซึ่งเป็นประธานกลุ่มบริษัทวินซีแอร์พอร์ตส (VINCI Airports) พร้อมแขกรับเชิญอีกจำนวนหนึ่ง

อาคารหลังเก่าใช้งานมาตั้งแต่เริ่มทำการฟื้นฟูสนามบินโกงกาง (Koang Kang = ป่าโกงกาง) เมื่อปี 2550 โดยบริษัท Societe Concessionnaire des Aeroports (SCA) ผู้รับสัมปทานเมื่อก่อน มีการขยายทางวิ่งจาก 1,300 เป็น 2,500 เมตร ปรับปรุงลานจอด ติดตั้งระบบไฟสัญญาณ ระบบเรดาร์ และ อื่นๆ จนได้มาตรฐานสากล

ตามตัวเลขที่เผยแพร่โดยบริษัทซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการ เมื่อปีที่แล้วมีผู้โดยสารไปใช้บริการ Sihanouk International Airport แห่งนี้จำนวน 338,000 คน รวม 5,557 เที่ยวบิน คิดเป็นอัตราเพิ่ม 115.4 และ 112.2% ตามลำดับ เทียบกับปี 2559 และ อาคารผู้โดยสารที่ฟื้นฟูขึ้นใหม่นี้ คาดว่าจะสามารถรองรับ การสัญจรตลอด 5 ปีข้างหน้า
.
<FONT color=#00003>อาคารอเนกประสงค์ สนามบินสีหนุ ในภาพวันที่ 19 ก.ค.2552 หรือ เมื่อ 9 ปีที่แล้ว ครั้งยังไม่ได้ต่อเติมเป็นอาคาร 2 ชั้นทั้งหลัง. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.</a>
สนามบินนานาชาติสีหนุอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก ราว 20 กิโลเมตร -- ต้องขอบคุณโครงการลงทุนจากจีนที่ผุดขึ้นอย่างหนาตา ทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จ.พระสีหนุ และ การก้าวเข้าสู่ยุคทองของการท่องเที่ยวชายทะเล ที่มีนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวต่างชาติจากทั่วสารทิศ หลั่งไหลเข้าไปตลอดทั้งปี จึงทำให้สนามบินแห่งนี้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาเป็นลำดับ

ปัจจุบันมีสายการบินจีนหลายสาย รวมทั้งสายการบินกัมพูชาเอง เปิดบินประจำเชื่อมสนามบินสีหนุ กับฮ่องกง มาเก๊า และอีกหลายปลายทางในแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่เสิ่นเจิ้น เฉิงตู ไปจนถึงอู่ฮั่น (Wu Han) อู่ซี (Wu Xi) ไกลออกไปจนถึงนครคุนหมิง ในมลฑลหยุนหนัน

สถิติจำนวนผู้โดยสารกับเที่ยวบินที่ไปใช้บริการในช่วง 5 ปีก่อนหน้านั้นคือ -- 2559 จำนวน 156,887 คน และ 2,626 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 65.79% และ 41.77% ปี 2558 จำนวน 94,630 คน และ 1,853 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 118.07% และ 85.67% ตามลำดับ ปี 2557 จำนวน 43,400 คน และ 998 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 120.16% และ 15.09% ปี 2556 จำนวน 19,713 คน และ 570 เที่ยวบิน คิดเป็นอัตราเพิ่ม 51.38% และ 63.32% ตามลำดับ

การปรับปรุงอาคารผู้โดยสารครั้งล่าสุด โดยหลักๆ เป็นการขยายเนื้อที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นราว 80% กลายเป็น 4,800 ตารางเมตร ปรับปรุงบริเวณเช็คอิน ห้องพักผู้โดยสารรอขึ้นเครื่อง และ ปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอรับกระเป๋า รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ใหม่สำหรับการลำเลียงขนส่งสัมภาระสำหรับผู้โดยสาร สื่อของทางการรายงาน
.
<FONT color=#00003>ภาพโดยสำนักข่าวกัมพูชา</a>
<FONT color=#00003>ภาพโดยสำนักข่าวกัมพูชา</a>
<br><FONT color=#00003>มองจากระยะห่างจะเห็นการต่อเติมอาคารออกไป และก่อสร้างขึ้นเป็น 2 ชั้นเต็มหลัง เมื่อเทียบกับอาคารเดิมในภาพที่ 2. -- ภาพโดยสำนักข่าวกัมพูชา. </a>
การขยายอาคารออกไป รวมทั้งก่อสร้างขึ้นเป็น 2 ชั้นเต็มทั้งหลัง ทำให้มีเนื้่อที่สำหรับร้านค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่มให้บริการมากขึ้น รวมทั้งร้านค้าจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมชนิดต่างๆ

เจ้าหน้าที่ของ VINCI เปิดเผยว่า โครงการปรับปรุงต่อไปก็คือ ต่อรันเวย์ออกไปอีก 800 เมตร เพื่อให้ได้ระยะทางเพิ่มเป็น 3,300 เมตร ให้สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารไอพ่น ที่จะเปิดบินเส้นทางประจำ รวมทั้งเที่ยวบินจากทิศทางต่างๆ ที่เช่าเหมาลำไปลงที่นั่น

รัฐบาลกัมพูชาได้ใช้นโยบายร่วมทำงานกับภาคเอกชน หรือ PPP (Public-Private Partnership) ในการพัฒนาท่าอากาศยานในประเทศทั้งสามแห่ง ซึ่งได้แก่ท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ ท่าอากาศยานเสียมราฐ และ สีหนุวิลล์ โดยเซ็นความตกลงเรื่องนี้กับกลุ่มทา SCA เมื่อปี 2538 ซึ่งกลายมาเป็นกลุ่ม VINCI ในปัจจุบัน

ผู้ถือหุ้นในท่าอากาศยานนานาชาติทั้งสามแห่งของกัมพูชาในปัจจุบันประกอบด้วย VINCI Airports จากฝรั่งเศส (70%) และ บริษัทมูฮิบบะ มาสเตอรอน (Muhibbah Masteron Cambodia) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนมาเลบเซสีย-กัมพูชา อีก 30%

ท่าอากาศยานนานาชาติสีหนุวิลล์ยังคงใช้โคดชื่อเดิมเป็น KOS โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ International Air Transport Association (IATA) ใช้ชื่อนี้มาต่อเนื่องตามชื่อเก่าของเมืองเมื่อก่อน -- ก่อนที่จะกลายมาเป็นสีหนุวิลล์ -- ซึ่งก็คือเมืองกัมปงโสม (Kampong Som) นั่นเอง.


กำลังโหลดความคิดเห็น