xs
xsm
sm
md
lg

เวียดควักอีก $1.3 พันล้านอาคารหลังที่ 3 สนามบินไซ่ง่อน ทำคู่มหาโปรเจ็คท์ "ลองแถ่ง"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ภาพไม่หลอก -- วันที่ 8 ก.ค.2559 ดูจากมุมนี้ จะเห็นแพนหางดิ่งของเครื่องบินทั้งหมด 6 ลำอยู่ในโซนเดียวกัน ที่หางไม่โผล่อีกไม่รู้กี่ลำ และ ยิ่งจอดไกลอาคารออกไปเท่าไร ก็ยิ่งส่อว่าสนามบินแห่งนี้แออัด -- เครื่องบินแออัดบนลานจอด คนแออัดอยู่ในตึก -- อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 จะช่วยแก้ปัญหาให้สนามบินไซ่ง่อน ไปอีก 10-20 ปีจนกว่า สนามบินใหญ่ที่ อ.ลองแถ่ง จะสร้างเสร็จ. -- ภาพโดยวุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </a>

MGRออนไลน์ -- นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนซวนฟุก ได้ตกลงอนุมัติโครงการปรับปรุง ท่าอากาศยานนานาชาตินครโฮจิมินห์ ด้วยการสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่้มขึ้นอีก 1 หลัง โดยไม่เพิ่มรันเวย์ แต่จะต้องมีการก่อสร้างในส่วนอื่น เพื่อรองรับ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สนามบินเตินเซินเญิ๊ต (Tân Sơn Nhất) รับผู้โดยสารเพิ่มได้อีก 25 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 50 ล้านภายในปี 2568 เมื่อการก่อสร้างทุกเฟส แล้วเสร็จสมบูรณ์

การปรับปรุงขีดความสามารถ ของสนามบินไซ่ง่อน ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติใหญ่ที่สุด ของเวียดนามในปัจจุบัน เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ในขณะที่สายการบินชั้นนำหลายแห่ง ทยอยประกาศลดเที่ยวบิน ไปยังสนามบินแห่งนี้ลง เนื่องจากความไม่สะดวกในการขึ้นลง ทำให้เสียเวลา ต้องเลื่อนเที่ยวบินมามากต่อมาก

การสัญจรทางอากาศในเวียดนามขยายตัวเร็วมาก แต่การขยายท่าอากาศยานรองรับล่าช้า -- หลังปรับปรุงมาหลายครั้ง ท่าอากาศยานไซ่ง่อน รับผู้โดยสารได้เพียง 25 ล้านคนต่อปีเท่านั้่น แต่ตลอด 2-3 ปีมานี้ มีผู้ไปใช้บริการที่นั่น เฉลี่ยปีละ 36 ล้านคน ซึ่งทำให้ภายในสนามบิน เกิดความแออัดในขั้นวิกฤติ โดยยังไม่ได้พูดถึงจำนวนอากาศยาน ที่เพิ่มขึ้นเป็นเงา


ตามรายงานของสื่อทางการ การขยายสนามบินเตินเซินเญิ๊ต เป็นไปตามข้อเสนอของบริษัท ADPi ซึ่งบริษัทสถาปนิกและออกแบบท่าอากาศยานชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก เป็นบริษัทลูกของ Paris Aéroport หรือ Aéroports de Paris เมื่อก่อน มีผลงานการออกแบบ และก่อสร้าง ท่าอากาศยานชั้นนำหลายแห่ง รวมทั้งสนามบินชาร์ลส เดอ โกล สนามบินออร์ลี และ สนามบินเลอบูเกต์ ในกรุงปารีส

ตามรายในเว็บไซต์ข่าวเวียดนามเอ็กซ์เพรส ADPi เสนอให้ก่อสร้างอาคารหลังที่ 3 บนที่ดินผืนหนึ่ง เนื้อที่ราว 20 เฮกตาร์ (125 ไร่) ทางทิศใต้ ภายในบริเวณสนามบินปัจจุบัน -- ใต้ลงไปจากอาคาร 1 กับอาคาร 2 และ ให้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอีกจำนวนหนึ่ง ในพื้นที่สนามกอล์ฟของกองทัพประชาชน (โปรดดูกราฟิกส์ G1 ประกอบ) ที่อยู่ทางตอนเหนือของสนามบิน สำหรับเป็นคลังสินค้า กับโรงซ่อมอากาศยาน ซึ่งจะย้ายไปอยู่ในโซนเดียวกัน

กระทรวงกลาโหมเวียดนามและกองทัพฯ ได้ตกลง ส่งมอบพื้นที่สนามกอล์ฟคืนแก่รัฐบาล เพื่อโครงการขยายสนามบิน เนื่องจากไม่มีพื้นที่ส่วนอื่น ที่จะยายออกไปได้อีก
.
<br><FONT color=#00003>พื้นที่สีเหลืองทางตอนใต้ของสนามบิน เนื้อที่ 20-25 เฮกตาร์ จะเป็นที่ตั้งอาคารหลังใหม่ เหนือขึ้นไปเป็นบริเวณสนามกอล์ฟ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นโรงซ่อมกับคลังสินค้า. -- Graphics by Vietnam Express.</a>
<br><FONT color=#00003>ภาพแสดงที่ตั้งของอาคารหลังใหม่ (T3) กับอาคาร 1 และ 2 ในปัจจุบัน เส้นสีแดงคือ ทางเข้าออก ที่จะต้องตัด/สร้างเพิ่มเติม เพื่อเชื่อมกับถนนสายหลัก จากตัวเมือง. -- Graphics by Vietnam Express.</a>
เวียดนามกำลังจะต้องลงทุนอย่างมหาศาล ในการปรับปรุง/ขยายท่าอากาศยาน เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ที่เติบโตเร็วมาก ในขณะที่หลายปีมานี้ สายการบินแห่งชาติ กับสายการรบินอื่นๆ ในประเทศ สั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มนับร้อยๆ ลำ และ กำลังจะมีการส่งมอบอีก 100-200 ลำในไม่กี่ปีข้างหน้า

นอกจากการขยายสนามบินไซ่งอ่น กระทรวงขนส่งก็กำลังเดินหน้า โครการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ที่ใหญ่กว่า ซึ่งอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางทิศตะวันออกราว 46 กิโลเมตร ในเขต อ.ลองแถ่ง (Long Thành) จ.โด่งนาย ( Đồng Nai ) -- สนามบินลองแถ่ง ออกแบบให้สามารถรับผู้โดยสารได้ 60-70 ล้านคนต่อปี ด้วยเงินลงทุนทั้งโครงการราว 6,000 ล้านดอลลาร์ - ยิ่งล่าช้าต้นทุนการก่อสร้าง ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เหนือขึ้นไป ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงฮานอย ก็จะต้องขยายขีดความสามารถเช่นกัน ทั้งๆ ที่อาคารผู้โดยสารรหลังที่ 2 เพิ่งเปิดใช้มาไม่กี่ปี

สนามบินเตินเซินเญิ๊ต สร้างเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ในสมัยรัฐบาลเก่า เพื่อใช้เป็นฐานทัพอากาศ ต่อมามีการต่อขยายออกไป เป็นพื้นที่สำหรับการบินพาณิชย์ แต่ที่สำคัญคือ ตำแหน่งที่ตั้งเมื่อก่อนนี้ อยู่ห่างจากย่านใจกลางกรุงเก่าไซ่ง่อนเพียง 8 กม ทำให้สนามลินถูกโอบล้อม ด้วยบ้านเรือประชาชน จากทุกทิศทุกทาง

การขยายขีดความสามารถของสนามบิน ตามข้อเสนอของ ADPi ทำให้ไม่ต้องลงทุน สร้างรันเวย์เพิ่มเป็นแห่งที่ 3 คงเหลือไว้เพียง 2 รันเวย์เท่าเดิม เวียดนามเอ็กซ์เพรสรายงาน แต่ได้สนามบินที่ใหญ่ขึ้น ขีดความสามารถมากขึ้น แก้ปัญหาได้ในระยะยาวตลอด 10-20 ปีข้างหน้า และ ปัญหาต่างๆจะหมดไป เมื่อการก่อสร้างสนามบินลองแถ่ง ทยอยเปิดใช้ ในช่วง 10-20 ปีข้างหน้า เช่นกัน

การก่อสร้างอาคารหลังที่ 3 สามารถแล้วเสร็จได้ภายใน 2-3 ปี และ การก่อสร้างส่วนขยายอื่นๆ อีก 1-2 ปี -- สื่อของทางการรายงานว่า งบประมาณ 1,300 ล้านดอลลาร์ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมพื้นที่ -- นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้สั่งการให้กระทรวงขนส่ง เร่งดำเนินงานด้านเอกสาร และ เริ่มการระดมเงินลงทุนตั้งแต่บัดนี้.


กำลังโหลดความคิดเห็น