xs
xsm
sm
md
lg

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพคุก 5 ปี เขมรแก้กฎหมายปกป้องสถาบันฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>รัฐบาลฮุนเซน กำลังดันแก้ไขกฎหมายอาญา ให้การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นความผิดทางอาญาด้วย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี พร้อมปรับหนักยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้กระทำความผิดเป็น นิติบุคคล -- นักสิทธิมนุษยชนวิตกว่า รัฐบาลกัมพูชาจะใช้กฎหมายใหม่ ในการปราบปราม ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าเดิม. </a>

MGRออนไลน์ -- คณะรัฐนตรีกัมพูชลงมติระหว่างการประชุมประจำเดือน ก.พ. ตอนเช้าวันศุกร์ 2 ก.พ.นี้ รับร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ที่กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี บุคคลหรือนิติบุคลใดก็ตาม ที่กระทำการใดๆ อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ ล่วงละเมิดต่อ องค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระประมุขแห่งรัฐ

นับเป็นมาตรการใหม่ของรัฐบาล ที่จะให้มีบทลงโทษต่อผู้กระทำผิดฐานดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดต่อ มาตรา 7 รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2536 ที่ระบุให้พระมหากษัตริย์ "จะล่วงละเมิดมิได้" -- โดยแก้ไขกฎหมายอาญา ให้การกระทำความผิด ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เป็นความผิดทาง อาญาด้วย ซึ่งปัจจุบันมิได้ระบุไว้ และ ผู้กระทำความผิดเพียงได้รับโทษปรับ อันเป็นความผิดทางแพ่งเท่านั้น

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการ นอกเหนือจากโทษจำคุกแล้ว ร่าง พรบ.แก้ไขกฎหมายอาญา ยังระบุให้ผู้ใดที่ดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ ต้องถูกลงโทษปรับด้วย โดยเพิ่มโทษเป็นตั้งแต่ 2 ล้าน จนถึง 10 ล้านเรียล สกุลเงินกัมพูชา (หรือ 500-2,500 ดอลลาร์/16,500-82,500 บาท) และ ถ้าผู้กระทำผิด เป็นนิติบุคคล โทษปรับจะเพิ่มขึ้นเป็น สูงสุด 50 ล้านเรียล (ประมาณ 12,500 ดอลลาร์/ 412,500 บาท)

คณะกรรมการปฏิบัติการเร็ว ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งในวันเดียวกัน ระบุว่าการแก้ไขกฎหมายอาญา ครั้งนี้ เป็นการเพิ่มมาตรการในการพิทักษ์ปกป้อง องค์พระประมุขของชาติ จึงระบุให้เป็นการกระทำผิดทางอาญาด้วย และ ยังเป็นไปตามข้อเสนอโดย สภารัฐธรรมนูญ (Constitutional Council of Cambodia)

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างนักรณรงค์สิทธิมนุษยชน ที่เตือนว่า กฎหมายว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีแนวโน้มที่จะถูกใช้เป็นอาวุธทางการเมือง ในประเทศที่ศาลมักถูกกล่าวหาว่าดำเนินการตามคำขอของฮุนเซน และยังมีความเสี่ยงที่กฎหมายนี้จะกลายหนึ่งในหลายฉบับ ที่ปัจจุบันถูกนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง โดยรัฐบาลกัมพูชาเพื่อปิดปากผู้เห็นต่าง

“กฎหมายนี้เป็นการโจมตีอย่างรุนแรงต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น” แบรด อดัมส์ จากฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าว

พรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP) ถูกยุบพรรคตามคำสั่งศาลในเดือน พ.ย. สมาชิกพรรคจำนวนมากหลบหนีไปต่างประเทศ ขณะที่หัวหน้าพรรคถูกคุมขังเพื่อรอพิจารณาคดี ในข้อหาก่อกบฎ ขณะเดียวกันสหรัฐฯ และสหประชาชาติต่างถอนการสนับสนุนการเลือกตั้งของกัมพูชาในครั้งนี้

หลังการเซ็นสัญญาสันติภาพ ณ กรุงปารีส เดือน ต.ค.2534 ระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดของสงครามกลางเมือง นำไปสู่การจัดตั้ง องค์การอำนาจปกครองเฉพาะกาล ภายใต้องค์การสหประชาชาติ พร้อมกับการสถาปนารัฐกัมพูชา (State of Cambodia) ขึ้นมาเป็นการชั่วคราว ภายใต้การบริหารขององค์การอำนาจเฉพาะกาล ซึ่งนำมาสู่การจัดร่างรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2536 และ การเลือกตั้งทั่วไป ในปีเดียวกัน

รัฐกัมพูชากลายเป็นราชอาณาจักรกัมพูชา และ ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นมา

พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนี ( Preah Bat Samdech Preah Boromneat Norodom Sihamoni) ขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ( Preah Bat Samdech Preah Norodom Sihanouk) ทรงสละราชสมบัติเมื่อปี 2547

ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ของกัมพูชา ทรงมีพระชนมายุ 64 พรรษา ยังไม่มีองค์รัชทายาท และ ยังทรงเป็นโสด

สภารัฐธรรมนูญของกัมพูชา เป็นองค์คณะตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2536 ทำหน้าที่กำกับดูแล การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการวินิจฉัย รวมทั้งตัดสินข้อโต้แย้งต่างๆ ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รวมทั้งให้คำเเนะนำแก่ฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการบังคับใช้รัธรรมนูญ

องค์คณะสภารัฐธรรมนูญแห่งกัมพูชา ประกอบด้วยประธาน 1 คน กรรมการอีก 8 คน -- ประธานสภาฯ มีเกียรติ กับฐานะเทียบเท่าประธานรัฐสภา (National Assembly) กรรมการทั้ง 8 คน มีฐานะเทียบเท่า รองประธานรัฐสภา

สภารัฐธรรมนูญองค์คณะแรก ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี 2541 ประกอบด้วยตัวแทนที่แต่งตั้งจาก 3 ฝ่ายๆ ละ 3 คน ซึ่งได้แก่ พระมหากษัตริย์ รัฐสภา กับ คณะตุลาการศาลสูงของประเทศ -- ประธานสภารัฐธรรมนูญ ได้จากการเลือกโดยฉันทามติของกรรมการทั้ง 8 คน จะมีการเปลี่้ยนกรรมการ 1 ใน 3 ทุกๆ 3 ปี โดยการเลือกจาก 3 ฝ่าย ฝ่ายละ 1 คน

เพราะฉะนั้น คณะกรรมการสภารัฐธรรมนูญจึงมีวาระ 9 ปี โดยแต่ละฝ่ายจะคัดเลือกเอาบุคคล ที่มีฐานะทางสังคมดี อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เป็นชาวเขมรโดยกำเนิด เรียนสำเร็จทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การทูต หรือ เศรษฐศาสตร์ มีประสบการณ์ในการงานอาชีพ ไม่ตำกว่า 15ปี.


กำลังโหลดความคิดเห็น